ข้ามไปเนื้อหา

จาง จั้วหลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จาง จั้วหลิน
張作霖
จาง จั้วหลิน ในเครื่องแบบทหาร
จอมพลสูงสุดแห่งรัฐบาลทหารจีน
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน ค.ศ. 1927 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1928
หัวหน้ารัฐบาลพัน ฟู่
ก่อนหน้ากู้ เหวย์จฺวิน
(ประธานาธิบดีรักษาการ)
ถัดไปถาน หยานไข่
(ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลคณะชาติ)
ขุนศึกแมนจูเรีย
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1922 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1928
ถัดไปจาง เสฺวเหลียง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มีนาคม ค.ศ. 1875(1875-03-19)
ไห่เฉิง มณฑลเหลียวหนิง จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต4 มิถุนายน ค.ศ. 1928(1928-06-04) (53 ปี)
เฉิ่นหยาง มณฑลเฟิ่งเทียน สาธารณรัฐจีน
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
เชื้อชาติจีน
พรรคการเมืองก๊กเฟิ่งเทียน
คู่สมรส
  • จ้าว ฉงกุย
  • หลู โช่วซฺเวียน
บุตร14 คน รวมถึง:
ชื่อเล่นนายพลเก่า
นายพลสายฝน
พยัคฆ์แห่งมุกเดน
ราชาแห่งทิศอีสาน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
ประจำการค.ศ. 1900–1928
ยศมหานายพลแห่งสาธารณรัฐจีน, จอมพลสูงสุด
ผ่านศึก

จาง จั้วหลิน[a] (19 มีนาคม ค.ศ. 1875 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1928) เป็นขุนศึกชาวจีน ผู้ปกครองแมนจูเรียตั้งแต่ ค.ศ. 1916 ถึง ค.ศ. 1928 เป็นผู้นำก๊กเฟิ่งเทียน อันเป็นหนึ่งในกลุ่มการเมืองที่สำคัญที่สุดในสมัยขุนศึกของจีน ในช่วงบั้นปลายชีวิต จางได้สถาปนาตนเองเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนในช่วงเวลาสั้น ๆ

เขาเป็นบุตรชายของครอบครัวชาวนาผู้ยากจนในแมนจูเรีย[1] เมื่ออายุได้ยี่สิบปี เขาถูกเกณฑ์เป็นทหารม้าในการต่อสู้สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1894-1895)[2] ต่อมาเมื่อสงครามสิ้นสุดลง เขาจึบเดินทางกลับบ้านเกิดและผันตัวไปเป็นโจร[2] ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่เขาเริ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลบางกลุ่มที่ต่อมาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของก๊กทหารของเขา[3] สืบเนื่องจากความอ่อนแอของราชสำนักหลังจากเหตุการณ์กบฏนักมวย ทำให้กลุ่มโจรเป็นเพียงกองกำลังทหารที่สำคัญหนึ่งเดียวในภูมิภาค เป็นเหตุให้ทางการเริ่มเข้าหากลุ่มโจรเหล่านี้มากขึ้น[3] และทำให้กลุ่มโจรของจางเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพใน ค.ศ. 1903[4] ภายหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นยุติลง กองกําลังของจางยังคงมีรักษาสถานะที่คลุมเครือของตนไว้ระหว่างกองทหารปกติกับกลุ่มคนนอกกฎหมาย[5]

เขามีบทบาทสำคัญในการบดขยี้การปฏิวัติซินไฮ่ในมณฑลเฟิ่งเทียนในช่วง ค.ศ. 1911-1912[6] ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1916 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการพลเรือนและทหารของมณฑล และใน ค.ศ. 1919 เขาได้รับอำนาจควบคุมเหนือพื้นที่สามมณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือ (มณฑลเฟิ่งเทียน มณฑลจี๋หลิน และมณฑลเฮย์หลงเจียง)[6] โดยเขาควบคุมดินแดนเหล่านี้จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1928 ในฐานะผู้นำก๊กเฟื่งเทียน[6] จางถือเป็นหนึ่งในขุนศึกที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของจีน โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เขาเริ่มขยายอำนาจไปยังมองโกเลียและที่ราบทางตอนเหนือของจีน[6] ในช่วงต้น ค.ศ. 1925 เขากลายเป็นผู้นําทหารที่มีอํานาจมากที่สุดในภาคเหนือของประเทศ[6] และตกเป็นเป้าหมายสำคัญในเหตุการณ์กรีธาทัพขึ้นเหนือเมื่อ ค.ศ. 1926 ที่นำโดยก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองและเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของจางในปักกิ่ง[6]

เขาสามารถสร้างอิทธิพลต่อการเมืองระดับชาติได้ด้วยทรัพยากรอันมหาศาลที่เขาได้รับจากการแสวงประโยชน์ในมณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่มั่งคั่ง มีประชากรเบาบาง และอยู่ในระดับการพัฒนาเต็มที่ รวมถึงยังได้รับการหนุนหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง[7] ฝ่ายการเมืองของจางส่วนใหญ่ก็เป็นผู้บริหารที่มีทักษะทั้งทางทหารและพลเรือน ซึ่งยังคงซื่อสัตย์ต่อเขาโดยแท้จริง[7] จางมีแนวคิดที่โน้มเอียงไปทางต่อต้านชาตินิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งนำไปสู่การปราบปรามการประท้วงอย่างรุนแรงตามเขตเมืองทั่วประเทศใน ค.ศ. 1925[8] การดำรงอยู่ซึ่งอำนาจของเขาในช่วงกลางทศวรรษนั้นเกิดจากการสนับสนุนของญี่ปุ่นอย่างแน่วแน่ ซึ่งสําหรับญี่ปุ่นแล้ว มองว่าจางเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการปกป้องผลประโยชน์ของญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับขุนศึกคนอื่น ๆ[8] จางยังถูกมองว่าเป็นบุคคลผิดยุคสมัยที่เปรียบได้กับผู้พิชิตของจีนในอดีต แต่เพียงแค่เขาขาดอุดมการณ์ที่จะรักษาอำนาจของตนไว้[9]

จางเริ่มเมินเฉยต่อความประสงค์ของญี่ปุ่นที่ต้องการให้เขาละทิ้งความทะเยอทะยานของชาติและมุ่งสนใจไปที่การปฏิรูปมณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อผลประโยชน์ ทำให้ท้ายที่สุด จางจึงถึงแก่อสัญกรรมจากการลอบสังหารโดยนายทหารกองทัพคันโตเมื่อ ค.ศ. 1928[10] ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่จางกำลังล่าถอยไปยังฐานทัพทางตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเผชิญกับการรุกรานของเจียง ไคเชก[11] จาง เสฺวเหลียง ผู้เป็นบุตรชาย ยังคงควบคุมมณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือต่อไปจนถึง ค.ศ. 1931[12]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. จีนตัวเต็ม: 張作霖; จีนตัวย่อ: 张作霖; พินอิน: Zhāng Zuòlín; เวด-ไจลส์: Chang Tso-lin; ชื่อรอง หยู่ติ๋ง (雨亭; Yǔtíng) และสมญานาม จาง เหล่า เกตา (張老疙瘩; Zhāng Lǎo Gēda)

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Fairbank & Twitchett 1983, p. 295.
  2. 2.0 2.1 McCormack 1977, p. 16.
  3. 3.0 3.1 McCormack 1977, p. 17.
  4. Nathan 1998, p. 1903.
  5. McCormack 1977, p. 18.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 McCormack 1977, p. 9.
  7. 7.0 7.1 McCormack 1977, p. 251.
  8. 8.0 8.1 McCormack 1977, p. 147.
  9. McCormack 1977, p. 253.
  10. McCormack 1977, pp. 223, 248.
  11. Wou 1978, p. 143.
  12. Boorman 1967, p. 115.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Boorman, Howard L. (1967). Biographical Dictionary of Republican China, Volume 1 (ภาษาอังกฤษ). Columbia University Press. p. 471. ISBN 9780231089586.
  • Ch'i, Hsi-sheng (1976). Warlord Politics in China, 1916-1928 (ภาษาอังกฤษ). Stanford University Press. p. 282. ISBN 9780804708944.
  • Dull, Paul S. (1952). "The Assassination of Chang Tso-Lin". The Far Eastern Quarterly. 11 (4): 453-463.
  • Fairbank, John King; Twitchett, Denis (1983). The Cambridge History of China: Republican China 1912-1949, Part 1 (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 9780521235419.
  • Li, Jiannong (1956). The Political History of China, 1840-1928 (ภาษาอังกฤษ). Stanford University Press. p. 545. ISBN 9780804706025.
  • McCormack, Gavan (1977). Chang Tso-lin in northeast China, 1911-1928 : China, Japan, and the Manchurian idea (ภาษาอังกฤษ). Stanford University Press. p. 334. ISBN 9780804709453.
  • Mitter, Rana (2000). The Manchurian Myth: Nationalism, Resistance, and Collaboration in Modern China (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. p. 295. ISBN 9780520221116.
  • Nathan, Andrew (1998). Peking Politics 1918-1923: Factionalism and the Failure of Constitutionalism (ภาษาอังกฤษ). Center for Chinese Studies. p. 320. ISBN 9780892641314.
  • Pye, Lucian W. (1971). Warlord Politics: Conflict and Coalition in the Modernization of Republican China (ภาษาอังกฤษ). Praeger. p. 224. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2015.
  • Wou, Odorik Y. K. (1978). Militarism in modern China. The career of Wu P’ei-Fu, 1916-1939 (ภาษาอังกฤษ). Australian National University Press. p. 349. ISBN 0708108326.
  • Yoshihashi, Takehiko (1963). Conspiracy at Mukden : the rise of the Japanese military (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. p. 274. OCLC 258717.
  • Young, John W. (1972). "The Hara Cabinet and Chang Tso-lin, 1920-1". Monumenta Nipponica. 27 (2): 125-142.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า จาง จั้วหลิน ถัดไป
กู้ เหวย์จฺวิน
รักษาการประธานาธิบดี
จอมพลสูงสุดแห่งรัฐบาลทหารจีน
เทียบเท่าประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน

(18 มิถุนายน ค.ศ. 1927 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1928)
ถาน หยานไข่
ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลคณะชาติ