ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดเลบัป

พิกัด: 39°0′N 63°0′E / 39.000°N 63.000°E / 39.000; 63.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

39°0′N 63°0′E / 39.000°N 63.000°E / 39.000; 63.000

จังหวัดเลบัป

Lebap welaýaty
อาณาเขตของจังหวัดเลบัปในประเทศเติร์กเมนิสถาน
อาณาเขตของจังหวัดเลบัปในประเทศเติร์กเมนิสถาน
ประเทศ เติร์กเมนิสถาน
ศูนย์กลางการบริหารตืร์กเมนาบัต
พื้นที่
 • ทั้งหมด93,727 ตร.กม. (36,188 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สำมะโนปี 2022)
 • ทั้งหมด1,447,298 คน
 • ความหนาแน่น15 คน/ตร.กม. (40 คน/ตร.ไมล์)
เว็บไซต์lebap.gov.tm

จังหวัดเลบัป (เติร์กเมน: Lebap welaýaty) เป็นหนึ่งในจังหวัดของประเทศเติร์กเมนิสถานที่ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีพรมแดนติดกับประเทศอัฟกานิสถานและประเทศอุซเบกิสถานตามแนวแม่น้ำ อามูดาร์ยา จังหวัดนี้มีศูนย์กลางการบริหารคือเมืองตืร์กเมนาบัต (เดิมชื่อชาร์ดโซว์) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 93,727 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรอยู่ที่ 1,447,298 คน (สำมะโนปี 2022)[1][2]

ชื่อเลบัปเป็นรูปแบบภาษาเติร์กเมนิสถานของ Lab-e āb ในภาษาเปอร์เซีย (เปอร์เซีย: لب آب) ซึ่งหมายถึง "ริมแม่น้ำ" และได้ถูกนำมาใช้เรียกบริเวณตอนกลางของแม่น้ำอามูดาร์ยามาเป็นเวลานานแล้ว[3]

ในจังหวัดนี้มีเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Repetek และเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Köýtendag ซึ่งรวมถึงภูเขาที่สูงที่สุดในเติร์กเมนิสถาน ซึ่งก็คือ Aýrybaba โดยมีความสูงอยู่ที่ 3,137 เมตรจากระดับน้ำทะเล[4] จังหวัดเลบัปยังเป็นที่ตั้งของสถานีคาราวาน Dayahatyn อีกด้วย

จังหวัดนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอามูดาร์ยา โดยมีทะเลทรายกึซึลกุม (Kyzylkum) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำ และมีทะเลทรายการากุมตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำ พื้นที่ประมาณสามในสี่ของภูมิภาคอยู่ในทะเลทรายการากุม[5] สภาพอากาศแดดจัดและแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ของจังหวัดนี้เอื้ออำนวยต่อการผลิตฝ้ายที่มีเส้นใยยาวและคุณภาพสูงได้

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Turkmenistan: Regions, Major Cities & Towns - Population Statistics, Maps, Charts, Weather and Web Information". www.citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 2024-01-16.
  2. Statistical Yearbook of Turkmenistan 2000-2004, National Institute of State Statistics and Information of Turkmenistan, Ashgabat, 2005.
  3. UNESCO., Ahmad Hasan Dani, and V. M. Masson. 1992. History of civilizations of Central Asia. Vol. V. Paris: Unesco. p.128
  4. "Всё о Койтендаге: Айрыбаба, Ходжапиль, Плато динозавров, Карлюкские пещеры…" (ภาษารัสเซีย). Alpagama. 7 April 2015.
  5. Çaryýew, B.; Ilamanow, Ýa. (2010). TÜRKMENISTANYŇ GEOGRAFIÝASY (ภาษาเติร์กเมน). Ashgabat: Ministry of Education. p. 296.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]