ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดตรังในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดตรังในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

← พ.ศ. 2550 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 (โมฆะ) →

4 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ผู้ใช้สิทธิ82.65%
  First party Second party
 
Abhisit Vejjajiva 2009 official.jpg
9153ri-Yingluck Shinawatra.jpg
พรรค ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย
ที่นั่งก่อนหน้า 4 0
ที่นั่งที่ชนะ 4 0
ที่นั่งเปลี่ยน Steady Steady
คะแนนเสียง 290,787 19,888
% 86.50 5.92

ผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประชาธิปัตย์

นายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เพื่อไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง พ.ศ. 2554 เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยแบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 4 เขตเลือกตั้ง[1] จำนวนที่นั่งเท่าเดิมจากการเลือกตั้งครั้งก่อนเมื่อปี 2550 แต่ละเขตเลือกตั้งจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละ 1 คน

บรรยากาศการเลือกตั้ง

[แก้]

สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหาเสียงด้วยวิธีการนั่งสองแถวโบราณหาเสียง พร้อมกับนางสุพร วงศ์หนองเตย ภรรยา  ด.ช.สุขิตกุล หรือน้องต่อ อายุ 11 ปี ลูกชายคนเล็ก  นายสาธร วงศ์หนองเตย น้องชาย ทั้งนี้ นายสาทิตย์ พร้อมทีมงานได้จอดรถแวะลงหาเสียงกับประชาชนตามพื้นที่ต่างๆ  พร้อมชูนโยบายการเรียนฟรี 15 ปี  การเพิ่มเงินผู้สูงอายุให้มีสวัสดิการดีขึ้น  การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ  และการประกันราคาผลทางการเกษตร โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน  ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับ จ.ตรัง  พร้อมกับอ้อนขอคะแนนเสียงจากประชาชนว่า  หากตัดสินใจเลือกตนเอง ก็เท่ากับได้เลือก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  และได้เลือก นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกันทีเดียวทั้ง 2 คน  ที่สำคัญยังสนับสนุนให้ นายอภิสิทธิ์ ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง  และหากพรรคประชาธิปัตย์ได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง  ตนก็จะเดินหน้าสานต่อนโยบายที่ยังทำคั่งค้างในอดีตต่อไป[2]

เมื่อคืนวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ที่บริเวณลานสนามกีฬาเทศบาลนครตรัง 2 (ทุ่งแจ้ง) พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดเวทีปราศรัยใหญ่ในพื้นที่ จังหวัดตรัง เป็นครั้งสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งการเปิดเวทีปราศรัยครั้งนี้นำโดย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎณระบบบัญชีรายชื่ออันดับ 2 รวมทั้งแกนนำของพรรค เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และผู้สมัคร ส.ส.ตรัง ทั้ง 4 เขต ร่วมเปิดเวทีปราศรัยในครั้งนี้

ด้าน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการแบ่งขั้วอย่างชัดเจน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ลงพื้นที่หาเสียงทั่วประเทศ แม้แต่ในพื้นที่ของเสื้อแดง หรือของพรรคเพื่อไทย หลายพื้นที่แม้ว่าจะถูกห้ามเข้าไปหาเสียงแต่ตนก็ได้เข้าไปทุกพื้นที่ และเกือบทุกพื้นที่ในภาคอสานและภาคเหนือ ก็จะมีกลุ่มก่อกวนโดยตลอด และจากการสอบถามชาวบ้านที่รักความเป็นธรรม ก็ได้บอกว่ากลุ่มก่อกวนไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ แต่เป็นกลุ่มคนที่ได้ว่าจ้างมาเพื่อให้ก่อกวน ไม่ว่าตนหรือนายกรัฐมนตรี ไปที่ใดก็จะต้องตามรบกวนตลอด

 ในการปราศรัยหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อคืนที่ผ่านมา พลตำรวจตรีสาคร ทองมุนี ผบก.ภ.จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในการรักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลสำคัญ และแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ จำนวน 200 นาย โดยมีการตั้งด่านตรวจก่อนถึงเวทีปราศรัย 1 กิโลเมตร ซึ่งปรากฏว่าทุกฝ่ายให้ความร่วมมืออย่างดี ส่วนในวันเลือกตั้ง ก็จะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 2,000 นาย ประจำหน่วยเลือกตั้ง รวมทั้งเป็นชุดม้าเร็วในการติดตามผู้กระผิดกฎหมายเลือกตั้ง[3] 

ภาพรวม

[แก้]

ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (รวมทั้งจังหวัดตรัง)

[แก้]
พรรค คะแนนเสียง
จน. % +/–
ประชาธิปัตย์ 290,787 86.50% ลดลง1.43%
เพื่อไทย 19,888 5.92% เพิ่มขึ้น3.26%
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 762 0.23% ลดลง6.81%
อื่น ๆ 24,724 7.35% เพิ่มขึ้น4.98%
ผลรวม 336,161 100.00%
คะแนนเสียง
ประชาธิปัตย์
  
86.50%
เพื่อไทย
  
5.92%
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
  
0.23%
อื่น ๆ
  
7.35%

ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (รายเขตเลือกตั้ง)

[แก้]
เขตการเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย อื่น ๆ ผลรวม ผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบ่งเขต
คะแนนเสียง % คะแนนเสียง % คะแนนเสียง % คะแนนเสียง %
เขต 1 69,783 85.72% 5,007 6.15% 6,615 8.13% 81,405 100.00% ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง
เขต 2 74,748 86.99% 5,563 6.47% 5,614 6.53% 85,925 100.00% ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง
เขต 3 71,680 86.36% 3,854 4.64% 7,464 8.99% 82,998 100.00% ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง
เขต 4 74,576 86.89% 5,464 6.37% 5,793 6.75% 85,833 100.00% ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง
ผลรวม 290,787 86.50% 19,888 5.92% 25,486 7.58% 336,161 100.00%

ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต (รวมทั้งจังหวัดตรัง)

[แก้]
พรรค จำนวน
ผู้สมัคร
คะแนนเสียง ที่นั่ง
จน. % จน. +/– %
ประชาธิปัตย์ 4 289,136 90.94% 4 Steady 100.00%
เพื่อไทย 4 23,340 7.34% 0 Steady 0.00%
อื่น ๆ 12 5,479 1.72% 0 Steady 0.00%
ผลรวม 20 317,955 100.00% 4 Steady 100.00%
คะแนนเสียง
ประชาธิปัตย์
  
90.94%
เพื่อไทย
  
7.34%
อื่น ๆ
  
1.72%
ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์
  
100.00%

ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต (รายเขตเลือกตั้ง)

[แก้]
เขตการเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย อื่น ๆ ผลรวม ผลการเลือกตั้ง
คะแนนเสียง % คะแนนเสียง % คะแนนเสียง % คะแนนเสียง %
เขต 1 69,178 90.52% 5,502 7.20% 1,740 2.28% 76,420 100.00% ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง
เขต 2 73,769 88.58% 6,291 7.55% 3,219 3.87% 83,279 100.00% ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง
เขต 3 71,802 93.44% 4,733 6.16% 307 0.40% 76,842 100.00% ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง
เขต 4 74,387 91.37% 6,814 8.37% 213 0.26% 81,414 100.00% ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง
ผลรวม 289,136 90.94% 23,340 7.34% 5,479 1.72% 317,955 100.00%

ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

[แก้]
 •  ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จังหวัดตรัง
พรรค คะแนนเสียง ร้อยละ
เพื่อไทย (1) 19,888 5.92
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2) 762 0.23
ประชาธิปไตยใหม่ (3) 1,525 0.45
ประชากรไทย (4) 192 0.06
รักประเทศไทย (5) 7,410 2.20
พลังชล (6) 105 0.03
ประชาธรรม (7) 122 0.04
ดำรงไทย (8) 69 0.02
พลังมวลชน (9) 1,132 0.34
ประชาธิปัตย์ (10) 290,787 86.50
ไทยพอเพียง (11) 650 0.19
รักษ์สันติ (12) 1,248 0.37
ไทยเป็นสุข (13) 57 0.02
กิจสังคม (14) 484 0.14
ไทยเป็นไท (15) 164 0.05
ภูมิใจไทย (16) 5,159 1.54
แทนคุณแผ่นดิน (17) 268 0.08
เพื่อฟ้าดิน (18) 94 0.03
เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (19) 119 0.04
การเมืองใหม่ (20) 196 0.06
ชาติไทยพัฒนา (21) 445 0.13
เสรีนิยม (22) 82 0.02
ชาติสามัคคี (23) 65 0.02
บำรุงเมือง (24) 31 0.01
กสิกรไทย (25) 99 0.03
มาตุภูมิ (26) 1,333 0.40
ชีวิตที่ดีกว่า (27) 45 0.01
พลังสังคมไทย (28) 24 0.01
เพื่อประชาชนไทย (29) 115 0.03
มหาชน (30) 2,671 0.80
ประชาชนชาวไทย (31) 121 0.04
รักแผ่นดิน (32) 44 0.01
ประชาสันติ (33) 43 0.01
ความหวังใหม่ (34) 285 0.05
อาสามาตุภูมิ (35) 34 0.01
พลังคนกีฬา (36) 85 0.03
พลังชาวนาไทย (37) 20 0.01
ไทยสร้างสรรค์ (38) 16 0.01
เพื่อนเกษตรไทย (39) 52 0.02
มหารัฐพัฒนา (40) 120 0.04
บัตรดี 336,161 93.15
บัตรเสีย 13,923 3.86
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 10,789 2.99
ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 360,873 82.65
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 436,630 100.00

ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต

[แก้]

เขต 1เขต 2เขต 3เขต 4

สัญลักษณ์และความหมาย
* ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
** ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิ์
ผู้สมัครที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว
( ) หมายเลขประจำตัวของผู้สมัคร
ตัวหนา ผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้งที่ 1

[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วยอำเภอเมืองตรัง

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดตรัง
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ สุกิจ อัถโถปกรณ์ (10)* 69,178 90.52
เพื่อไทย เจริญ ศรนรายณ์ (1) 5,502 7.20
รักษ์สันติ สารภี หนองตรุด (12) 794 1.04
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ทินกฤต แก้วละเอียด (2) 653 0.86
เพื่อฟ้าดิน สุภร ปัญญาพิเคราะห์ (18) 277 0.36
ความหวังใหม่ สุรสิงห์ เสียงใส (34) 16 0.02
ผลรวม 76,420 100.00
บัตรดี 76,420 86.87
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,097 6.93
บัตรเสีย 5,455 6.20
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 87,972 80.80
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 108,882 100.00
ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง

เขตเลือกตั้งที่ 2

[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วยอำเภอห้วยยอด อำเภอรัษฎา และอำเภอวังวิเศษ (ยกเว้นตำบลวังมะปราง)

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จังหวัดตรัง
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ สาทิตย์ วงศ์หนองเตย (10)* 73,769 88.58
เพื่อไทย ชัยพร ชูเสน (1) 6,291 7.55
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน วรวรรณ เปียตี๋ (2) 1,426 1.71
ความหวังใหม่ จักรกฤต แก้วทอง (34) 789 0.95
รักษ์สันติ ทิพย์พร จันทร์เพชร (12) 731 0.88
เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย ชัยทัต สีสุข (19) 273 0.33
ผลรวม 83,279 100.00
บัตรดี 83,279 90.88
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 3,632 3.96
บัตรเสีย 4,725 5.16
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 91,636 82.76
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 110,726 100.00
ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง

เขตเลือกตั้งที่ 3

[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 3 ประกอบด้วยอำเภอปะเหลียน อำเภอนาโยง อำเภอหาดสำราญ และอำเภอย่านตาขาว (เฉพาะตำบลนาชุมเห็ด ตำบลโพรงจระเข้ ตำบลในควน และตำบลหนองบ่อ)

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 3 จังหวัดตรัง
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ สมชาย โล่สถาพรพิพิธ (10)* 71,802 93.44
เพื่อไทย รัตนศักดิ์ นันตสินธุ์ (1) 4,733 6.16
ความหวังใหม่ วันทา วงศ์ธรรมโอสถ (34) 233 0.30
เพื่อฟ้าดิน เสรี ทองพันธุ์ (18) 74 0.10
ผลรวม 76,842 100.00
บัตรดี 76,842 86.01
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 4,948 5.54
บัตรเสีย 7,553 8.45
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 89,343 84.58
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 105,636 100.00
ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง

เขตเลือกตั้งที่ 4

[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 4 ประกอบด้วยอำเภอกันตัง อำเภอสิเกา อำเภอย่านตาขาว (ยกเว้นตำบลนาชุมเห็ด ตำบลโพรงจระเข้ ตำบลในตวน และตำบลหนองบ่อ) และอำเภอวังวิเศษ (เฉพาะตำบลวังมะปราง)

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 4 จังหวัดตรัง
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล (10)* 74,387 91.37
เพื่อไทย ประโวทย์ ศรีจันทร์ทอง (1) 6,814 8.37
ความหวังใหม่ ปกิต ยอดสนิท (34) 133 0.16
เพื่อฟ้าดิน วราภรณ์ จริงจิตร (18) 80 0.10
ผลรวม 81,414 100.00
บัตรดี 81,414 88.57
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 4,406 4.79
บัตรเสีย 6,102 6.64
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 91,922 82.53
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 111,386 100.00
ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. "ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554" (PDF). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. สาทิตย์นั่งสองแถวโบราณหาเสียงเมืองตรัง[ลิงก์เสีย]
  3. การเลือกตั้งจังหวัดตรัง[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]