ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดฉะเชิงเทราในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดฉะเชิงเทราในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

← พ.ศ. 2550 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 (โมฆะ) →

4 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ผู้ใช้สิทธิ78.81%
  First party Second party Third party
 
9153ri-Yingluck Shinawatra.jpg
Abhisit Vejjajiva 2009 official.jpg
Wannarat channukul.jpg
พรรค เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
ที่นั่งก่อนหน้า 2 0 2
ที่นั่งที่ชนะ 2 2 0
ที่นั่งเปลี่ยน Steady เพิ่มขึ้น 2 ลดลง 2
คะแนนเสียง 160,227 150,315 2,410
% 43.77 41.06 0.66

ผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประชาธิปัตย์

นายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เพื่อไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2554 เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยแบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 4 เขตเลือกตั้ง[1] จำนวนที่นั่งเท่าเดิมจากการเลือกตั้งครั้งก่อนเมื่อปี 2550 แต่ละเขตเลือกตั้งจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละ 1 คน

บรรยากาศการเลือกตั้ง

[แก้]

ดร.วิทยา จิตรมาศ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยถึงการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยตั้งแต่วันเปิดรับสมัครจนถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร ระหว่างวันที่ 24-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 มีผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 18 คน 8 พรรค แยกเป็นผู้สมัครชาย จำนวน15 คน ผู้สมัครหญิง จำนวน 3 คน[2]

ภายหลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้น นางฐิติมา ฉายแสง ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉะเชิงเทรา เขต 1 พร้อมด้วย นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉะเชิงเทรา เขต 4 พรรคเพื่อไทย เดินทางไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพิ่มเติม เพื่อคัดค้านผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา ภายหลังจากประชาชนร้องเรียนว่า มีการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงจำนวนมาก ซึ่งตนมีหลักฐานประกอบ ทั้งเอกสารและเทปเสียง โดยมีแผ่นซีดีที่ระบุการทุจริตการเลือกตั้ง รวมทั้ง ยังมีหลักฐานที่เป็นเสียงของผู้สมัครในจังหวัดฉะเชิงเทรา[3]

ภาพรวม

[แก้]

ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (รวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทรา)

[แก้]
พรรค คะแนนเสียง
จน. % +/–
เพื่อไทย 160,227 43.77% เพิ่มขึ้น6.64%
ประชาธิปัตย์ 150,315 41.60% เพิ่มขึ้น0.72%
อื่น ๆ 55,536 15.17% ลดลง7.36%
ผลรวม 366,078 100.00%
  • คะแนนเลือกตั้งบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เปรียบเทียบจากคะแนนเลือกตั้งแบบสัดส่วนของ พรรคพลังประชาชน
คะแนนเสียง
เพื่อไทย
  
43.77%
ประชาธิปัตย์
  
41.60%
อื่น ๆ
  
15.17%

ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (รายเขตเลือกตั้ง)

[แก้]
เขตการเลือกตั้ง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ อื่น ๆ ผลรวม ผลการเลือก ส.ส.แบ่งเขต
คะแนนเสียง % คะแนนเสียง % คะแนนเสียง % คะแนนเสียง %
เขต 1 35,361 39.67% 41,843 46.94% 11,935 13.39% 89,139 100.00% ประชาธิปัตย์ ได้ที่นั่ง
เขต 2 42,731 46.17% 32,177 34.77% 17,636 19.06% 92,544 100.00% เพื่อไทย ได้ที่นั่ง
เขต 3 46,752 55.04% 22,782 26.82% 15,403 18.14% 84,937 100.00% เพื่อไทย ได้ที่นั่ง
เขต 4 35,383 35.58% 53,513 53.81% 10,562 10.62% 99,458 100.00% ประชาธิปัตย์ ได้ที่นั่ง
ผลรวม 160,227 43.77% 150,315 41.60% 55,536 15.17% 366,078 100.00%

ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต (รวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทรา)

[แก้]
พรรค จำนวน
ผู้สมัคร
คะแนนเสียง ที่นั่ง
จน. % จน. +/– %
เพื่อไทย 4 163,019 45.47% 2 Steady 50.00%
ประชาธิปัตย์ 4 133,150 37.14% 2 เพิ่มขึ้น2 50.00%
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 1 226 0.06% 0 ลดลง2 0.00%
อื่น ๆ 8 62,118 17.33% 0 Steady 0.00%
ผลรวม 17 358,513 100.00% 4 Steady 100.00%
คะแนนเสียง
เพื่อไทย
  
45.47%
ประชาธิปัตย์
  
37.14%
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
  
0.06%
อื่น ๆ
  
17.33%
ที่นั่ง
เพื่อไทย
  
50.00%
ประชาธิปัตย์
  
50.00%

ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต (รายเขตเลือกตั้ง)

[แก้]
เขตการเลือกตั้ง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ อื่น ๆ ผลรวม ผลการเลือกตั้ง
คะแนนเสียง % คะแนนเสียง % คะแนนเสียง % คะแนนเสียง %
เขต 1 40,996 48.29% 43,510 51.25% 395 0.47% 84,901 100.00% ประชาธิปัตย์ ได้ที่นั่ง
เขต 2 43,881 47.60% 17,779 19.28% 30,531 33.12% 92,191 100.00% เพื่อไทย ได้ที่นั่ง
เขต 3 41,419 49.17% 12,825 15.23% 29,989 35.60% 84,233 100.00% เพื่อไทย ได้ที่นั่ง
เขต 4 36,723 37.79% 59,036 60.74% 1,429 1.47% 97,188 100.00% ประชาธิปัตย์ ได้ที่นั่ง
ผลรวม 163,019 45.47% 133,150 37.14% 62,344 17.39% 358,513 100.00%

ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

[แก้]
 •  ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จังหวัดฉะเชิงเทรา
พรรค คะแนนเสียง ร้อยละ
เพื่อไทย (1) 160,227 43.77
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2) 2,410 0.66
ประชาธิปไตยใหม่ (3) 2,400 0.66
ประชากรไทย (4) 478 0.13
รักประเทศไทย (5) 15,482 4.23
พลังชล (6) 977 0.27
ประชาธรรม (7) 164 0.04
ดำรงไทย (8) 132 0.04
พลังมวลชน (9) 1,210 0.33
ประชาธิปัตย์ (10) 150,315 41.06
ไทยพอเพียง (11) 639 0.17
รักษ์สันติ (12) 2,590 0.71
ไทยเป็นสุข (13) 112 0.03
กิจสังคม (14) 687 0.19
ไทยเป็นไท (15) 323 0.09
ภูมิใจไทย (16) 16,082 4.39
แทนคุณแผ่นดิน (17) 139 0.04
เพื่อฟ้าดิน (18) 170 0.05
เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (19) 546 0.15
การเมืองใหม่ (20) 299 0.08
ชาติไทยพัฒนา (21) 3,197 0.87
เสรีนิยม (22) 237 0.06
ชาติสามัคคี (23) 150 0.04
บำรุงเมือง (24) 59 0.02
กสิกรไทย (25) 134 0.04
มาตุภูมิ (26) 3,173 0.87
ชีวิตที่ดีกว่า (27) 61 0.02
พลังสังคมไทย (28) 57 0.02
เพื่อประชาชนไทย (29) 226 0.06
มหาชน (30) 1,815 0.50
ประชาชนชาวไทย (31) 144 0.04
รักแผ่นดิน (32) 74 0.02
ประชาสันติ (33) 130 0.04
ความหวังใหม่ (34) 133 0.04
อาสามาตุภูมิ (35) 121 0.03
พลังคนกีฬา (36) 501 0.14
พลังชาวนาไทย (37) 112 0.03
ไทยสร้างสรรค์ (38) 39 0.01
เพื่อนเกษตรไทย (39) 123 0.03
มหารัฐพัฒนา (40) 210 0.06
บัตรดี 366,078 92.26
บัตรเสีย 18,993 4.79
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 11,712 2.95
ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 396,783 78.81
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 503,487 100.00

ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต

[แก้]

เขต 1เขต 2เขต 3เขต 4

สัญลักษณ์และความหมาย
* ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
** ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิ์
ผู้สมัครที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว
( ) หมายเลขประจำตัวของผู้สมัคร
ตัวหนา ผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้งที่ 1

[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 1 ประกอบไปด้วยอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และอำเภอบางคล้า (เฉพาะตำบลสาวชะโงก ตำบลบางสวน ตำบลเสม็ดเหนือ และตำบลเสม็ดใต้)

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ บุญเลิศ ไพรินทร์ (10) 43,510 51.25
เพื่อไทย ฐิติมา ฉายแสง (1)* 40,996 48.29
ชาติไทยพัฒนา สัมพันธ์ ไตรติลานันท์ (21) 395 0.47
ผลรวม 84,901 100.00
บัตรดี 84,901 87.33
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,273 6.45
บัตรเสีย 6,051 6.22
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 97,225 78.25
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 124,251 100.00
ประชาธิปัตย์ ได้ที่นั่งจาก เพื่อไทย

เขตเลือกตั้งที่ 2

[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 2 ประกอบไปด้วยอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอคลองเขื่อน อำเภอราชสาส์น อำเภอบางคล้า (ยกเว้นตำบลสาวชะโงก ตำบลบางสวน ตำบลเสม็ดเหนือ และตำบลเสม็ดใต้) และอำเภอพนมสารคาม (เฉพาะตำบลหนองยาว ตำบลเมืองเก่า และตำบลหนองแหน)

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย สมชัย อัศวชัยโสภณ (1)✔ 43,881 47.60
ภูมิใจไทย ณัชพล ตันเจริญ (16)* 29,361 31.85
ประชาธิปัตย์ ชาลี เจริญสุข (10) 17,779 19.28
กิจสังคม เฉลิมชัย ตันเจริญ (14) 676 0.73
ชาติสามัคคี ลัดดาวัลย์ สุขเจริญ (23) 268 0.29
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ธวัชชัย เทพสุภา (2) 226 0.25
ผลรวม 92,191 100.00
บัตรดี 92,191 92.71
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 2,485 2.50
บัตรเสีย 4,766 4.79
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 99,442 81.41
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 122,155 100.00
เพื่อไทย ได้ที่นั่งจาก ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

เขตเลือกตั้งที่ 3

[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 3 ประกอบไปด้วยอำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอพนมสารคาม (ยกเว้นตำบลหนองยาว ตำบลเมืองเก่า และตำบลหนองแหน)

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย รส มะลิผล (1) 41,419 49.17
ภูมิใจไทย พิเชษฐ์ ตันเจริญ (16)* 29,873 35.46
ประชาธิปัตย์ สายัณห์ เกตุประยูร (10) 12,825 15.23
เพื่อฟ้าดิน ธงไท ขันธนเดช (18) 116 0.14
ผลรวม 84,233 100.00
บัตรดี 84,233 90.62
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 3,278 3.53
บัตรเสีย 5,436 5.85
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 92,947 74.37
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 124,978 100.00
เพื่อไทย ได้ที่นั่งจาก ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

เขตเลือกตั้งที่ 4

[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 4 ประกอบไปด้วย อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอบางปะกง และอำเภอแปลงยาว

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 4 จังหวัดฉะเชิงเทรา
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ พลตำรวจโท พิทักษ์ จารุสมบัติ (10) 59,036 60.74
เพื่อไทย วุฒิพงศ์ ฉายแสง (1)* 36,723 37.79
ภูมิใจไทย จักรวาล ท้วมเจริญ (16) 1,246 1.28
กิจสังคม วีรพันธ์ หัตถโชติ (14) 183 0.19
ผลรวม 97,188 100.00
บัตรดี 97,188 90.69
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 4,375 4.08
บัตรเสีย 5,606 5.23
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 107,169 81.13
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 132,103 100.00
ประชาธิปัตย์ ได้ที่นั่งจาก เพื่อไทย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. "ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554" (PDF). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. บรรยากาศการเลือกตั้ง ฉะเชิงเทรา[ลิงก์เสีย]
  3. ตระกูลฉายแสง เตรียมยื่น กกต.ค้านผลเลือกตั้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]