จักรพรรดิหยาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จักรพรรดิเอี๋ยน)
หยานตี้
เฉินหนงชิมสมุนไพรเพื่อสืบหาสรรพคุณ
ภาษาจีน炎帝
ความหมายตามตัวอักษรจักรพรรดิเปลวเพลิง

หยานตี้ หรือ จักรพรรดิหยาน (จีน: 炎帝; พินอิน: Yán Dì) แปลตรงตัวว่า จักรพรรดิเปลวเพลิง เป็นผู้ปกครองจีนโบราณตามตำนานยุคก่อนราชวงศ์ นักวิชาการสมัยใหม่ระบุว่า เทือกเขานาม หยางโถวชาน ซึ่งอยู่ทางเหนือของนครเป่าจี (宝鸡) ในมณฑลฉ่านซี (陕西) เป็นบ้านเกิดและอาณาเขตของหยานตี้[1]

มีการอภิปรายมายาวนานว่า หยานตี้เป็นบุคคลเดียวกับเฉินหนง (神農) หรือไม่ การประชุมทางวิชาการในประเทศจีนเมื่อ ค.ศ. 2004 ได้มติร่วมกันว่า ใช่[2] ความเป็นไปได้อีกทาง คือ คำว่า "หยานตี้" (จักรพรรดิเปลวเพลิง) เป็นชื่อตำแหน่งของผู้ปกครองชนเผ่าซึ่งสืบทอดกันแบบราชวงศ์ โดยที่เฉินหนงก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า "หยานตี้" (คงจะเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว) ดังนั้น อันที่จริงแล้ว ย่อมจะถูกต้องกว่าถ้า "หยานตี้" จะหมายความถึงบุคคลหลายคน การสืบทอดตำแหน่ง "หยานตี้" นับแต่เฉิงหนงลงมาจนถึงหยานตี้คนสุดท้ายที่ถูกจักรพรรดิหฺวัง (黃帝) พิชิตนั้น อาจกินเวลาราว 500 ปี[3]

รายชื่อหยานตี้[แก้]

รายชื่อโดยทั่วไป ตามที่หฺวังฝู่ มี่ (皇甫謐), สฺวี เจิ่ง (徐整), และซือหม่า เจิน (司馬貞) ระบุ

ชื่อ หมายเหตุ
เฉินหนง (神農) ชื่อเมื่อเกิดว่า เจียง ฉือเหนียน (姜石年)
หลิน ขุย (臨魁)
เฉิง (承)
หมิง (明) ถือเป็นบิดาของกิญ เซือง เวือง (Kinh Dương Vương) ในประมวลเรื่องปรัมปราเวียดนาม
จื๋อ (直)
หลี (釐) หรือ เค่อ (克) ซือหม่า เจิน จัดไว้ว่าอยู่ระหว่าง อาย กับ ยฺหวีหวั่ง
อาย (哀) ถือเป็นบิดาของเอา เกอ (Âu Cơ) ในประมวลเรื่องปรัมปราเวียดนาม
ยฺหวีหวั่ง (榆罔) พ่ายแพ้แก่จักรพรรดิหฺวังที่ป่านเฉวียน (阪泉)

รายชื่อท้ายตำรา ชานไห่จิง (山海經)

ชื่อ หมายเหตุ
หยานตี้ (炎帝)
หยานจู (炎居) น่าจะมีชื่ออื่นว่า จู่ (柱) ด้วย
เจี๋ยปิ้ง (節並)
ซี่ชี่ (戲器)
จู้หรง (祝融)
ก้งกง (共工)
ชู่ชี่ (術器)
โฮ่วถู่ (后土) น้องสาวชู่ชี่
เยหมิง (噎鳴) ลูกของโฮ่วถู่
ซุ่ยฉือ (歳十)

อ้างอิง[แก้]

  1. He Wandan 贺晚旦 and Yang Hongbao 杨红保, in Wang & Meng (2005, pp. 3–4).
  2. Yang Dongchen 杨东晨, in Wang & Meng (2005, p. 15).
  3. Wu (1982, p. 56)

บรรณานุกรม[แก้]

  • Wang Shuxin (王树新); Meng Shikai (孟世凯), บ.ก. (2005). Yan Di Wen Hua 炎帝文化. Beijing: Zhonghua Shuju (中华书局). ISBN 7-101-04854-4.
  • Wu, K. C. (1982). The Chinese Heritage. New York: Crown Publishers. ISBN 0-517-54475-X.