จักรพรรดิฉีเหวินเซฺวียน
จักรพรรดิฉีเหวินเซฺวียน 北齊文宣帝 | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||||||||
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉีเหนือ | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 9 มิถุนายน ค.ศ. 550[1][2] – 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 559 | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิฉีเฝย์ | ||||||||||||||||
จักรพรรดินี | จักรพรรดินีเจ้าซิน | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ฉีเหนือ | ||||||||||||||||
พระราชบิดา | เกา ฮวน | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | จักรพรรดินีอู่หมิง | ||||||||||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 526[4] | ||||||||||||||||
สวรรคต | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 559[4][1] |
จักรพรรดิฉีเหวินเซฺวียน ((北)齊文宣帝) (ค.ศ. 526–559), พระนามเดิม เกา หยาง (高洋), พระนามรอง จึจิ้น (子進), พระนามเซียนเปย์ โหวหนีกั้น (侯尼干) เป็นจักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฉีเหนือ พระองค์เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของเกา ฮวน แม่ทัพใหญ่ของราชวงศ์เว่ย์ตะวันออก หลังจากการเสียชีวิตของเกา เฉิง ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของเกา ฮวน ในปี ค.ศ. 549 พระองค์ก็กลายเป็นผู้สำเร็จราชการของราชวงศ์เว่ย์ตะวันออก ในปี ค.ศ. 550 พระองค์บังคับให้จักรพรรดิเว่ย์เสี้ยวจิงมอบราชบัลลังก์แก่พระองค์ ทำให้ราชวงศ์เว่ย์ตะวันออกสิ้นสุดและเริ่มต้นราชวงศ์ฉีเหนือ
ในช่วงต้นรัชสมัยของจักรพรรดิฉีเหวินเซฺวียน พระองค์เป็นที่รู้จักในเรื่องความเอาใจใส่ด้านการทหาร และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกองทัพราชวงศ์ฉีเหนืออยู่ในระดับสูงสุด นอกจากนี้พระองค์ยังพยายามทำให้ภาระภาษีเท่ากันและลดการฉ้อรัฐโดยเสนอเงินเดือนให้ข้าราชการอย่างเพียงพอ พระองค์มอบหมายงานของราชสำนักส่วนใหญ่ให้กับหยาง หยิ่นซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถ และในเวลาไม่นานทำให้งานในราชสำนักมีประสิทธิภาพและกองทัพแข็งแกร่ง ในปีต่อ ๆ มา จักรพรรดิฉีเหวินเซฺวียนได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคพิษสุราเรื้อรังและอาจถึงขั้นวิกลจริต[5] บันทึกประวัติศาสตร์จีนบันทึกความโกรธบ้าเลือดของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลของพระองค์ด้วยความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาชาวจีนสามารถถือได้ว่าเป็นการปกครองที่ดีและมีประสิทธิภาพ[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Academia Sinica Chinese-Western Calendar Converter.
- ↑ Zizhi Tongjian, vol. 163.
- ↑ Zizhi Tongjian, vol. 168.
- ↑ 4.0 4.1 Book of Northern Qi, vol. 4.
- ↑ Andrew Eisenberg (1 January 2008). Kingship in Early Medieval China. BRILL. p. 99. ISBN 978-90-04-16381-2.
- ↑ Andrew Eisenberg (1 January 2008). Kingship in Early Medieval China. BRILL. p. 102. ISBN 978-90-04-16381-2.