จักรพรรดิจิ้นเซี่ยวอู่
จักรพรรดิจิ้นเซี่ยวอู่ Emperor Xiaowu of Jin | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กษัตริย์พระองค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันออก | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 12 กันยายน ค.ศ. 372 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 396 | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิจิ้นเจี่ยนเหวิน | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิจิ้นอาน | ||||||||||||||||
ผู้สำเร็จราชการ | พระนางซู่ไทเฮา (ค.ศ. 373 – 376) | ||||||||||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 362 | ||||||||||||||||
สวรรคต | 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 396 | (34 ปี)||||||||||||||||
ฝังพระศพ | สุสานหลงผิง (隆平陵), หนานจิง มณฑลเจียงซู | ||||||||||||||||
คู่อภิเษก | พระจักรพรรดินีเสี้ยวอู่ติ้ง พระจักรพรรดินีอานเต๋อ | ||||||||||||||||
พระราชบุตร | จักรพรรดิจิ้นอาน จักรพรรดิจิ้นกง พระองค์หญิงจิ้นหลิง | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิจิ้นเจี่ยนเหวิน | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | พระนางเสี้ยวอู่เหวิน |
จักรพรรดิจิ้นเซี่ยวอู่ (จีนตัวย่อ: 晋孝武帝; จีนตัวเต็ม: 晉孝武帝; พินอิน: Jìn Xiàowǔ Dì; เวด-ไจลส์: Chin Hsiao-wu-ti; อังกฤษ: Emperor Xiaowu of Jin; ค.ศ. 362–396) พระนามเดิม ซือหม่า เย่า (司馬曜) พระนามรอง ฉางหมิง (昌明) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์จิ้นของจีน ในรัชกาลของพระองค์ ราชวงศ์จิ้นประสบปัญหาครั้งใหญ่จากการรุกรานของรัฐฉินเก่า แต่พระองค์ก็ยังคงเป็นจักรพรรดิจิ้นพระองค์สุดท้ายที่มีอำนาจของจักรพรรดิอย่างแท้จริง เพราะหลังจากนั้น ในรัชสมัยของพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ อำนาจในราชสำนักจะถูกควบคุมโดย ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และขุนศึกต่างๆ จักรพรรดิจิ้นเซี่ยวอู่สิ้นพระชนม์อย่างผิดปกติ บางตำราระบุว่าเขาถูกนางสนมจางปลงพระชนม์หลังจากที่นางถูกพระองค์ดูหมิ่น
พระราชประวัติ
[แก้]จักรพรรดิจิ้นเซี่ยวอู่ ค.ศ. 362 ในรัชกาลที่ จักรพรรดิจิ้นเจี่ยนเหวิน พระราชบิดาเป็นอ๋องแห่งไคว่จี ส่วนสมุหนายกตกอยู่กับจักรพรรดิจิ้นอาย พระมารดาของพระองค์คือ หลี่ หลิงหรง เดิมทีนางเป็นคนรับใช้ที่ทำงานทอผ้า แต่จากคำพูดของผู้วิเศษที่ทำนายว่าลูกชายของนางจะได้เป็นรัชทายาท (ลูกชายของนางทุกคนเสียชีวิตก่อนเวลานั้น) จักรพรรดิเจี่ยนเหวินทรงรับนางเป็นพระสนม แล้วนางก็ให้กำเนิดซือหม่า เย่า เมื่อพระองค์ทรงพระราชสมภพ พระนางทรงตั้งพระนามว่า เย่า หลังจากนั้นพระนางก็ให้กำเนิดพระอนุชาอีก 1 พระองค์ คือ ซือหม่า เต้าจึ ด้วยที่พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของพระเจ้าเจี้ยนเหวิน พระองค์จึงได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทในช่วงต้นรัชกาล และในปี ค.ศ. 365 เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้เพียง 3 พระชันษา จักรพรรดิจิ้นเฟ่ย ได้สถาปนาตำแหน่งอ๋องแห่งหลางหยาให้กับจักรพรรดิเจี่ยนเหวิน และมอบตำแหน่งอ๋องแห่งไคว่จีให้พระองค์ จักรพรรดิเจี่ยนเหวินทรงปฏิเสธ แต่จักรพรรดิเฟ่ยก็ไม่ยอมให้พวกเขารับตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่กว่านี้
ในปี ค.ศ. 371 จักรวรรดิจิ้นแพ้สงครามคร้งใหญ่ให้กับ มู่หรง ฉุย แม่ทัพแห่งรัฐหยานเดิม ในปี ค.ศ. 369 สมุหนายก หฺวน เหวิน กล่าวหาว่าจักรพรรดิเฟ่ยหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และไม่น่าเป็นพระบิดาที่แท้จริงของพระราชโอรสของพระองค์เอง จากนั้นเขาก็ปลดจักรพรรดิจิ้นเฟ่ยลงและสถาปนาซือหม่า ยวี่เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ (ในฐานะจักรพรรดิจิ้นเจี้ยนเหวิน) แม้ว่าอำนาจที่แท้จริงจะอยู่ในมือของหฺวัน เหวินก็ตาม ในปี ค.ศ. 372 จักรพรรดิเจี้ยนเหวินทรงพระประชวรและทรงสถาปนาซือหม่าเย่าเป็นรัชทายาท [1] แต่ด้วยความประสงค์ของพระองค์ พระองค์พร้อมเสนอบัลลังก์ให้กับหฺวัน เหวิน ถ้าเขาต้องการ แต่ขุนนางหวัง ถ่านจึ (王坦之) คัดค้านจักรพรรดิเจี่ยนเหวิน โดยให้ความเห็นว่า หฺวันเหวินเป็นได้แค่ตำแหน่งรัฐบุรุษเท่านั้น เทียบเท่าจูกัดเหลียง และหวัง เต่า อย่างไรก็ตาม เมื่อจักรพรรดิเจี่ยนเหวินสิ้นพระชนม์ ขุนนางส่วนมากยังหวาดกลัวหฺวันเหวินและไม่เต็มใจที่จะยอมรับรัชทายาทซือหม่าเย่าเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ในทันที ในที่สุดจากการชักจูงของหวังเปียวจือ (จีน: 王彪之) รัชทายาทซือหม่าเย่าก็ได้ขึ้นครองบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิเสี้ยวอู่เป็นผลสำเร็จ
อ้างอิง
[แก้]ก่อนหน้า | จักรพรรดิจิ้นเซี่ยวอู่ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิจิ้นเจี่ยนเหวิน | พระมหากษัตริย์จีน (ค.ศ. 362–396) |
จักรพรรดิจิ้นอาน|} |