จะมาลุดดีน อัลอัฟกานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จะมาลุดดีน อัลอัฟกานี
ส่วนบุคคล
เกิด
Sayyid Jamaluddin ibn Safdar

ฮ.ศ.1254/ ค.ศ.1839
ไม่ทราบสถานที่แน่นอน[1][2][3]
มรณภาพ9 มีนาคม ค.ศ.1897 (58 ปี)
สาเหตุการเสียชีวิตมะเร็งที่ขากรรไกร[4]
ที่ฝังศพคาบูล, อัฟกานิสถาน[4]
ศาสนาอิสลาม
สัญชาติไม่ทราบ[1][2][3]
ลัทธิไม่ทราบ[1][2][3]
แนวคิดโดดเด่นPan-Islamism, เอกภาพระหว่างซุนนี-ชีอะฮ์, เอกภาพระหว่างฮินดู-มุสลิม[5]
ตำแหน่งชั้นสูง

ซัยยิด จะมาลุดดีน อัลอัฟกานี[7][8][9][10] (ปาทาน: سید جمال‌‌‌الدین افغاني) รู้จักกันในชื่อ ซัยยิด จะมาลุดดีน อัลอัฟกานี อะซะดาบาดี[11][12][13] (ปาทาน: سید جمال‌‌‌الدین اسدآبادي) และรู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัลอัฟกานี (ค.ศ. 1838/1839 – 9 มีนาคม ค.ศ. 1897) เป็นนักคิดเจ้าของลัทธิรวมกลุ่มอิสลามและเป็นปัญญาชนคนสำคัญในโลกอิสลาม เกิดเมื่อ พ.ศ. 2382 ใกล้กับเมืองฮะมะดันในอิหร่านตะวันตก และเข้าศึกษาทางด้านอิสลามที่สำนักอิสลามนิกายชีอะห์ในอิรัก ก่อนจะเผยแพร่ลัทธิรวมกลุ่มอิสลาม เพื่อฟื้นฟูศาสนาอิสลามให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งโลก ใน พ.ศ. 2400 เขาได้เดินทางไปอินเดีย และได้เห็นเหตุการณ์กบฏซีปอย ทำให้เขารู้สึกเกลียดชังอังกฤษ เขาได้เดินทางไปอัฟกานิสถานและสนับสนุนให้อัฟกานิสถานต่อสู้กับอังกฤษ แต่ไม่สำเร็จจึงถูกเนรเทศออกมา

จากนั้นจามาลได้ไปเผยแพร่ศาสนาในอียิปต์ ซึ่งความเชื่อของเขาได้รับความนิยมมาก แต่ในที่สุด เขาถูกขับออกจากอียิปต์เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยสนับสนุนให้ข้าหลวงอิสมาอีลสละบัลลังก์ให้เตาฟีก บุตรชาย และสนับสนุนให้ชาวอียิปต์ต่อต้านตะวันตก เมื่ออกจากอียิปต์เขาเดินทางไปยังไฮเดอราบาดและเขียนบทความโจมตีเซอร์ไซยิด อาหมัด ข่านที่นิยมอังกฤษ เขาจึงถูกจำคุกที่กัลกัตตา เมื่อพ้นโทษจึงเดินทางไปปารีสและออกหนังสือพิมพ์ต่อต้านอังกฤษ ภายหลังได้เดินทางไปรัสเซียและอิหร่าน แต่ก็ถูกปฏิเสธจากรัฐบาลเหล่านี้ จามาลจึงตั้งองค์กรลับและออกใบปลิวต่อต้านรัฐบาลที่ยอมให้สัมปทานแก่ตะวันตก

ในบั้นปลายชีวิต เขาได้เดินทางไปยังออตโตมานใน พ.ศ. 2435 เพื่อพบกับสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ในระยะแรก สุลต่านสนับสนุนเขา แต่ภายหลังเมื่อสุลต่านพบว่าจามาลไม่ได้จงรักภักดีต่อพระองค์อย่างแท้จริงจึงสั่งกักบริเวณจนเขาถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งเมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ. 2439 แม้ว่าจามาลจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเกลี้ยกล่อมผู้นำมุสลิมต่างๆต่อต้านตะวันตกแต่ไม่สำเร็จ แต่คนรุ่นต่อมาได้นำความคิดของเขามาใช้จนเกิดเป็นขบวนการภราดรภาพอิสลามในอียิปต์

อ้างอิง[แก้]

  • ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. จามาล อุดดีน อัล-อัฟกานี ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 92 - 95
  1. 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ OEPSTI
  2. 2.0 2.1 2.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ EI2
  3. 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ OEIP
  4. 4.0 4.1 Nikki R. Keddie, Nael Shama (2014). "Afghānī, Jamāl al-Dīn al-". ใน Oliver Leaman (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Islam and Politics. Oxford University Press. In 1897 al-Afghānī died of cancer of the jaw. No evidence supports the story that he was poisoned by the sultan. In 1944, his remains were transferred to Kabul, Afghanistan, and a mausoleum was erected there.
  5. "AFḠĀNĪ, JAMĀL-AL-DĪN" (ภาษาอังกฤษ). Encyclopaedia Iranica. 22 July 2011. In Hyderabad 1880-81 Afḡānī published six Persian articles in the journal Moʿallem-e šafīq, which were reprinted in Urdu and Persian in various editions of Maqālāt-e Jamālīya. The three major themes of these articles are: 1. advocacy of linguistic or territorial nationalism, with an emphasis upon the unity of Indian Muslims and Hindus, not of Indian Muslims and foreign Muslims; 2. the benefits of philosophy and modern science; and 3. attacks on Sayyed Aḥmad Khan as a tool of the British. On nationalism, he writes in “The Philosophy of National Unity and the Truth about Unity of Language” that linguistic ties are stronger and more durable than religious ones (he was to make exactly the opposite point in the pan-Islamic al-ʿOrwat al-woṯqā a few years later). In India he felt the best anti-imperialist policy was Hindu-Muslim unity, while in Europe he felt it was pan-Islam.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Keddie
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 N.R. Keddie (15 December 1983). "Afghan, Jamal-ad-Din". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010.
  8. "Afghan, Jamal ad-Din al-". Oxford Centre for Islamic Studies. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010.
  9. "Jamāl ad-Dīn al-Afghān". Elie Kedourie. The Online Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ JVL
  11. Stéphane A. Dudoignon; Hisao Komatsu; Yasushi Kosugi (2006). Intellectuals in the Modern Islamic World: Transmission, Transformation, Communication. New horizons in Islamic studies. Taylor & Francis. p. 42. ISBN 0415368359.
  12. Said Amir Arjomand (1988). Authority and Political Culture in Shi'ism. SUNY series in Near Eastern studies. SUNY Press. p. 120. ISBN 0887066380.
  13. Ahmad Hasan Dani (2005). Chahryar Adle (บ.ก.). History of Civilizations of Central Asia: Towards the contemporary period: from the mid-nineteenth to the end of the twentieth century. History of Civilizations of Central Asia. UNESCO. p. 465. ISBN 9231039857.

สารานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]