ข้ามไปเนื้อหา

จอร์จ สุทรรศน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอร์จ สุทรรศน์
George Sudarshan
จอร์จ สุทรรศน์ในปี 2009 ที่มุมไบ
เกิด16 กันยายน ค.ศ. 1931(1931-09-16)
ติรุวิตางกูร์
เสียชีวิต13 พฤษภาคม ค.ศ. 2018(2018-05-13) (86 ปี)[1]
 สหรัฐ รัฐเท็กซัส[2]
สัญชาติธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมัทราส
มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์
มีชื่อเสียงจากแสงอาพันธ์
ตัวแทนพีของสุทรรศน์–เกลาเบอร์
ทฤษฎี V-A
แทคีออน
ปรากฏการณ์ควอนตัมซีนอน
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกรอเบิร์ต มาร์ชัก

เอนนากกัล จานฑี จอร์จ สุทรรศน์ (มลยาฬัม: എണ്ണക്കൽ ചാണ്ടി ജോർജ് സുദർശൻ, ฮินดี: एन्नाक्कल चांडी जॉर्ज सुदर्शन, อังกฤษ: Ennackal Chandy George Sudarshan, 16 กันยายน 1931 – 13 พฤษภาคม 2018) เป็น นักฟิสิกส์ทฤษฎี เกิดที่อินเดีย และเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทกซัส

สุทรรศน์ได้สร้างคุณูปการมากมายในสาขาฟิสิกส์เชิงทฤษฎี เช่น แสงอาพันธ์, ตัวแทนพีของสุทรรศน์–เกลาเบอร์ [en], ทฤษฎี VA, แทคีออน, ปรากฏการณ์ควอนตัมซีนอน, ระบบเปิดควอนตัม [en] และ ลินด์บลาเดียน [en], ทฤษฎีบทสปิน–สถิติ, เมทริกซ์ความหนาแน่น เป็นต้น ผลงานของเขายังรวมไปถึงด้านความสัมพันธ์ตะวันออก–ตะวันตก ปรัชญา และศาสนา อีกด้วย

ชีวประวัติ

[แก้]

สุทรรศน์เกิดที่ อาณาจักรติรุวิตางกูร์ (ปัจจุบันคือรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย) เขาเติบโตในครอบครัวคริสเตียน นิกายโทมัส แต่ละทิ้งศาสนาคริสต์ในปี 1954 เมื่อเขาแต่งงานกับลลิถา เพื่อนร่วมชั้นซึ่งนับถือศาสนาฮินดู สุทรรศน์ถือว่าตนเองเป็นฮินดูนิกายเวทานตะ[3] เขาอ้างถึงความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับมุมมองของเขาที่มีต่อพระเจ้าและการขาดประสบการณ์ทางวิญญาณเป็นเหตุผลในการออกจากศาสนาคริสต์[4][5] ลลิถาภรรยาของเขาเสียชีวิตในปี 1990 ทั้งสองมีบุตรชายด้วยกันสามคน[6]

เขาได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยโกฏฏายัม[7] และสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมจาก มหาวิทยาลัยคริสเตียนมัทราส ในปี 1951 และในปี 1952 เขาได้รับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมัทราส เขาย้ายไปที่สถาบันวิจัยพื้นฐานฏาฏา (TIFR) ซึ่งเขาทำงานร่วมกับโหมี ชหางคีร์ ภาภา เป็นเวลาช่วงสั้น ๆ จากนั้นเขาจึงได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ ในนิวยอร์ก ซึ่งเขาได้เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาภายใต้ รอเบิร์ต มาร์ชัก เขาได้รับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ในปี 1958 จากนั้นจึงย้ายไปที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเขาได้ทำงานเป็นเพื่อนร่วมงานหลังปริญญาเอกร่วมกับจูเลียน ชวิงเงอร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "訃報 エンナカル・チャンディー・ジョージ・スダルシャン [Ennackal Chandy George Sudarshan September 16, 1931 - May 13, 2018]". ベック葬儀社. 15 May 2018. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
  2. "著名な科学者ECG・スダルシャン、テキサスで死去 [Acclaimed scientist ECG Sudarshan passes away in Texas]". en:Mathrubhumi. 14 May 2018. สืบค้นเมื่อ 14 May 2018.
  3. W. Mark Richardson, บ.ก. (2002). "George Sudarshan". Science and the Spiritual Quest: New Essays by Leading Scientists. Routledge. p. 243. ISBN 9780415257664. I would now say I am a Vedantin, with these two religious and cultural streams mixed together.
  4. W. Mark Richardson, บ.ก. (2002). "George Sudarshan". Science and the Spiritual Quest: New Essays by Leading Scientists. Routledge. p. 243. ISBN 9780415257664. PC: "Did your training as a scientist contribute at all to your growing dissatisfaction with the church?" GS: "No. It was simply that I found that the people who professed to practice were really not practicing. In other words, there was a great deal of show and not that much genuine spiritual experience. Further, a God “out there” did not fully satisfy me."
  5. W. Mark Richardson, บ.ก. (2002). "George Sudarshan". Science and the Spiritual Quest: New Essays by Leading Scientists. Routledge. p. 250. ISBN 9780415257664. God is not an isolated event, something separate from the universe. God is the universe.
  6. W. Mark Richardson, บ.ก. (2002). "George Sudarshan". Science and the Spiritual Quest: New Essays by Leading Scientists. Routledge. p. 243. ISBN 9780415257664. I was born in an Orthodox Christian family. I was very deeply immersed in it, and so by the age of seven I had read the entire Bible from Genesis to Revelation two or three times. I was not quite satisfied with Christianity, and gradually I got more and more involved with traditional Indian ideas.
  7. "A proud moment for CMS College: Prof. Sudarshan delights all at his alma mater". The Hindu. Jul 5, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-02. สืบค้นเมื่อ 5 April 2010.