จอมี่นยุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมี่นยุ
ကျော်မင်းယု
เกิด13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
รัฐฉาน ประเทศพม่า[1]
เสียชีวิต23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (53 ปี)
เรือนจำอี้นเซน ย่างกุ้ง ประเทศพม่า
ชื่ออื่นโกจิมมี
การศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (RASU – ภาควิชาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 3)
รับโทษประหารชีวิต
สถานะทางคดีถูกประหารโดยการแขวนคอ
คู่สมรสนีลาเต้น (နီလာသိန်း)
บุตร1 คน
บิดามารดา
  • ทินยุ (ဦးတင်ယု - บิดา)
  • อะมาหญุ่น (ဒေါ်အမာညွန့် - มารดา)

จอมี่นยุ (พม่า: ကျော်မင်းယု, Kyaw Min Yu) หรือที่รู้จักในชื่อ โกจิมมี (Ko Jimmy; 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) เป็นนักเขียนและนักโทษการเมืองชาวพม่า และสมาชิกของกลุ่มนักศึกษารุ่น 88 (၈၈ မျိုးဆက် ကျောင်းသားများ) เขาถูกประหารในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565[2] หลังจากถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเผด็จการที่ยึดอำนาจในการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2564[3]

อาชีพ[แก้]

นักกิจกรรม[แก้]

จอมี่นยุมีชื่อเสียงในช่วงการก่อการกำเริบ 8888 ในฐานะนักกิจกรรมนักศึกษา[4][5] เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 15 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึง 2546 จากการเข้าร่วมในเหตุการณ์ 8888[6] และต่อมาเขาถูกจำคุกอีกห้าปีหลังจากร่วมการประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันกับกลุ่มนักศึกษารุ่น 88 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550[7]

นักเขียน[แก้]

เขาเขียนหนังสือแนวพัฒนาตนเองเรื่อง การสร้างมิตรภาพ (မိတ်ဖြစ်ဆွေဖြစ်) ซึ่งกลายเป็นหนังสือขายดีในปี พ.ศ. 2548[8] เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555 เขาตีพิมพ์นวนิยายเรื่อง พระจันทร์ในทะเลสาบอี้นเล่ (လမင်းဆန္ဒာအင်းလေးကန်) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2553 ระหว่างถูกจำคุกในเมืองตองจี[8] ขณะรับโทษในตองจี เขาเขียนเรื่องสั้นการเมืองแนวหลังสมัยใหม่จำนวนหนึ่ง ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้นามปากกาว่า Pan Pu Lwin Pyin[8] โกจิมมีแปลนวนิยายมากมายรวมทั้ง เทวากับซาตาน และ รหัสลับดาวินชี ขณะถูกจำคุก[8]

การรัฐประหารในพม่า พ.ศ. 2564 และการประหารชีวิต[แก้]

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 หลังรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 จอมี่นยุและบุคคลที่มีชื่อเสียงอีก 6 คน[9] ได้แก่ มี่นโกไนง์ (မင်းကိုနိုင်), มโย่ยานนองเต้น (မျိုးရန်နောင်သိန်း), อี้นเซนอองโซ่ (အင်းစိန်အောင်စိုး), มองมองเอ้ (မောင်မောင်အေး), ปานแซโล (ပန်ဆယ်လို) และลี่นลี่น (လင်းလင်း) ถูกตั้งข้อหาและออกหมายจับตามมาตรา 505(ข) (၅၀၅(ခ)) แห่งประมวลกฎหมายอาญาของสภาการบริหารแห่งรัฐในข้อหายุยงให้เกิดความไม่สงบต่อรัฐและคุกคาม "ความสงบสุขของสาธารณะ" ผ่านการเผยแพร่ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์[10][11][12][13] เขาถูกจับกุมในอำเภอดะโกนของนครย่างกุ้งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564[14] ศาลทหารพม่าได้พิพากษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2565 ให้ประหารชีวิตจอมี่นยุภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศ จากการติดต่อกับคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ, รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) และกองกำลังป้องกันประชาชน (PDF)[3] เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 มีการประกาศว่า จอมี่นยุถูกประหารชีวิตพร้อมกับเซยาตอ (ဇေယျာသော်) และนักเคลื่อนไหวอีกสองคน[2][15]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

จอมี่นยุเกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ในรัฐฉาน ทางตะวันออกของพม่า ในช่วงเวลาของการก่อการกำเริบ 8888 เขาเป็นนักศึกษาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์ย่างกุ้ง (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง)[15]

เขาสมรสกับนีลาเต้น นักเคลื่อนไหวทางการเมือง[16] พวกเขาพบกันขณะถูกจองจำหลังเหตุการณ์ 8888 และแต่งงานกันหลังจากที่ทั้งคู่ได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2547[15] ทั้งคู่มีลูกสาวหนึ่งคนชื่อ เนชีมี่นยุ (နေခြည်မင်းယု)[17]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ขณะที่จอมี่นยุถูกประหารชีวิต เขามีอายุ 53 ปี[2][15][18]

ผลงานตีพิมพ์[แก้]

  • မိတ်ဖြစ်ဆွေဖြစ် [การสร้างมิตรภาพ] (2548)[8]
  • လမင်းဆန္ဒာအင်းလေးကန် [พระจันทร์ในทะเลสาบอี้นเล่] (2555)[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Political Prisoner Profile No. 0050" (PDF). Assistance Association for Political Prisoners (Burma). 7 สิงหาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Myanmar junta executes four democracy activists" (ภาษาอังกฤษ). Reuters. 25 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2022.
  3. 3.0 3.1 "Myanmar military tribunal sentences prominent activist, former lawmaker to death". Radio Free Asia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2022.
  4. "The Story of Ko Jimmy". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). 6 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
  5. "Myanmar activist arrested in junta raid: wife". sg.news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
  6. Andrews, Jim (4 กันยายน 2007). "A Very Special Kind of Courage". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2012.
  7. Beech, Hannah (16 มกราคม 2012). "With U.S.-Burma Ties on the Mend, Will a Lifting of Sanctions Be Next?". Global Spin. TIME. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2012.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Another student leader, another book". The Myanmar Times. 17 กันยายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
  9. "Tatmadaw charges activists, public figures for crimes against the state". The Myanmar Times. 14 กุมภาพันธ์ 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2022.
  10. ကိုမင်းကိုနိုင်၊ ကိုဂျင်မီ၊ အဆိုတော်လင်းလင်း ၊ အင်းစိန်အောင်စိုး၊ ကိုမျိုးရန်နောင်သိမ်း၊ ပန်ဆယ်လို နှင့် မောင်မောင်အေး တို့အား ရာဇသတ်ကြီး ပုဒ်မ ၅၀၅(ခ)ဖြင့် တရားစွဲထားပြီး ဖမ်းဝရမ်းထုတ်ထားကြောင်း တပ်မတော် ကြေညာ. Eleven Media Group (ภาษาพม่า). 13 กุมภาพันธ์ 2021.
  11. ကိုမင်းကိုနိုင်အပါအဝင် နာမည်ကြီး လူပုဂ္ဂိလ် (၇)ဦးကို ဖမ်းဝရမ်းထုတ် [Issued an arrest warrant of 7 famous people including Min Ko Naing]. The Voice Weekly (ภาษาพม่า). 13 กุมภาพันธ์ 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2022.
  12. ကိုမင်းကိုနိုင်အပါအဝင် ခုနစ်ဦးကို စစ်အစိုးရ ဖမ်းဝရမ်းထုတ်. Radio Free Asia (ภาษาพม่า). 13 กุมภาพันธ์ 2021.
  13. ကိုမင်းကိုနိုင်၊ ကိုဂျင်မီ၊ အဆိုတော်လင်းလင်းတို့ အပါအဝင် (၇) ဦးကို ဖမ်းဝရမ်းထုတ်. Duwun (ภาษาพม่า). 13 กุมภาพันธ์ 2021.
  14. "Myanmar junta arrests 88 Generation leader Ko Jimmy". Myanmar NOW (ภาษาอังกฤษ). 24 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Murphy, Brian (26 กรกฎาคม 2022). "Kyaw Min Yu, Myanmar activist known as Ko Jimmy, executed at 53". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2022.
  16. Bodenham, Patrick (28 พฤษภาคม 2012). "Home of the free: the Burmese family that democracy brought back". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
  17. ၈၈ မျိုးဆက် ခေါင်းဆောင် မနီလာသိန်း ထောင်ပြောင်းပေးရေး တောင်းဆို. Radio Free Asia (ภาษาพม่า). 20 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
  18. "Myanmar: Military executes four democracy activists including ex-MP". BBC News. 25 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2022.