จตุรเทพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จตุรเทพ
ที่เกิดฮ่องกง
แนวเพลง
ช่วงปี1992–ปัจจุบัน
สมาชิก

จตุรเทพ หรือ สี่ราชาสวรรค์ (อังกฤษ: Four Heavenly Kings) แห่งวงการเพลงจีนกวางตุ้ง หรือ สี่มหาเทวราช (จีน: 四大天王) เป็นฉายาที่ใช้เรียกกลุ่มศิลปินนักร้องชายชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคทศวรรษที่ 90s ประกอบด้วย จาง เสฺวโหย่ว (อังกฤษ: Jacky Cheung) หลิว เต๋อหัว (อังกฤษ: Andy Lau) กัว ฟู่เฉิง (อังกฤษ: Aaron Kwok) และ หลี่หมิง (อังกฤษ: Leon Lai)

หนังสือพิมพ์โอเรียนทัล เดลีนิวส์ (Oriental Daily News) ตั้งฉายานี้ขึ้นในปี ค.ศ.1992 เพื่อยกย่องนักร้องชายฮ่องกง 4 คน ที่มียอดขายแผ่นเสียง ยอดจัดคอนเสิร์ต ยอดขอเพลงจากรายการวิทยุ (Entertainment / Artist - อุตสาหกรรมเพลงป็อปของเกาะฮ่องกง) สูงสุดในสมัยนั้น โดยฉายานี้ได้รับแนวคิดมาจากเทพผู้พิทักษ์ประตูสวรรค์ 4 ทิศ ในพุทธศาสนาเรียกนามว่า ท้าวจตุโลกบาล ซึ่งถูกนำมาตั้งเป็นฉายาของนักร้องผู้โด่งดังทั้งสี่ในนาม จตุรเทพ

พวกเขาทั้งสี่คนได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในวงการเพลงจีนทั้งภาษากวางตุ้งและเพลงภาษาจีนกลาง และทรงอิทธิพลต่อวงการเพลงทั่วเอเชียในช่วงยุคทศวรรษที่ 1990 เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการเพลงโลกในนาม สี่ราชาแห่งวงการเพลงป็อปฮ่องกง (Four Kings of Hong Kong pop-music industry) และพวกเขาทั้งสี่ยังได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 10 นักร้องชายเพลงจีนภาษากวางตุ้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี (ทศวรรษที่ 70s 80s และ 90s) ของเกาะฮ่องกง

จากความสำเร็จของจตุรเทพของเกาะฮ่องกง ทำให้ทางเกาะไต้หวันนำความสำเร็จนี้ไปต่อยอดกับนักร้องวัยรุ่นป็อปไอดอลภาษาจีนกลาง 4 คน ที่โด่งดังมากในเกาะไต้หวัน ซึ่งประกอบไปด้วย หลิน จื้ออิ่ง ทะเกะชิ คะเนะชิโระ ซู โหย่วเผิง และอู๋ ฉีหลง

ประวัติ[แก้]

ในวงการเพลงป็อปฮ่องกง (Canto-pop ; ภาษาจีน : 粵語流行音樂 : a contraction of "Cantonese pop music" or HK-pop ; Hong Kong pop music) ประชากรชาวฮ่องกงใช้ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาประจำถิ่น เริ่มต้นจากยุคทศวรรษที่ 20 (1920s to 1950s : Shanghai origins) ต่อเนื่องยาวนานมาถึงยุคทศวรรษที่ 60 ( 1960s : Cultural acceptance) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มประเทศแถบเอเชียแปซิฟิค มีประเทศที่เป็นตลาดใหญ่หลายประเทศ อาทิเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ , ไต้หวัน , ญี่ปุ่น , เกาหลีใต้ , เวียดนาม , มาเลเชีย , สิงคโปร์ และชาวจีนโพ้นทะเล ฯลฯ เป็นต้น

เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 70 เป็นยุคก่อกำเนิดเพลงจีนกวางตุ้งแนวเพลงสากล และเป็นยุคทองของเพลงจีนจากละครซีรีส์ (1970s : Beginning of the Golden Age : Rise of television and the modern industry ) โดยเฉพาะเพลงประกอบละครซีรีส์จากค่ายสถานีโทรทัศน์ทีวีบี(TVB) ศิลปินนักร้องที่โด่งดังในยุคนี้ นักร้องฝ่ายหญิง เช่น วัง หมิงเฉวียน (Liza Wang) , Lydia Shum , Teresa Cheung , Felicia Wong วงการเพลงป็อปฮ่องกงให้ฉายานักร้องฝ่ายหญิงสี่คนนี้ว่า "สี่ดอกไม้งามแห่งเพลงจีนภาษากวางตุ้ง" (The Four Golden Flowers) , Paula Tsui , Sandra Lang , Jenny Tseng ฯลฯ นักร้องฝ่ายชาย เช่น หลอ เหวิน(Roman Tam) เจ้าของฉายา เจ้าพ่อแห่งเพลงจีนภาษากวางตุ้ง (Grand Godfather of Cantopop) , Joseph Koo , เจิ้ง เส้าชิว(Adam Cheng) , แซม ฮุย(Samuel Hui) เจ้าของฉายา God of Song คนที่ 1 ของเกาะฮ่องกง , หลิน จื่อเสียง(George Lam) ฯลฯ ศิลปินกลุ่ม(Boy band , Girl group) เช่น วงสตริงวัยรุ่น The Wynners (เดอะ วินเนอร์) เป็นต้น

ยุคทศวรรษที่ 80 ถือเป็นยุคทองของวงการเพลงป็อปฮ่องกง (1980s : The Golden Age of Cantopop) เป็นยุคที่วงการเพลงป็อปฮ่องกง โด่งดังเป็นที่ยอมรับในวงกว้างระดับเอเชีย มีศิลปินนักร้องโด่งดังไปทั่วเอเชียอย่างมาก อย่างเช่น วงสตริงวัยรุ่น The Wynners (เดอะ วินเนอร์) , วง Beyond (บียอนด์) ฯลฯ นักร้องฝ่ายชาย เช่น อลัน ทัม(Alan Tam) , เลสลี่ จาง(Leslie Cheung) , เฉิน ไปเฉียง(Danny Chan) ฯลฯ นักร้องฝ่ายหญิง เช่น เหมย เยี่ยนฟาง(Anita Mui) เจ้าของฉายา มาดอนน่าแห่งเอเชีย , Sally Yeh , Priscilla Chan , Sandy Lam ฯลฯ และมีศิลปินนักร้องที่โด่งดังข้ามยุคอีกหลายคน เช่น Paula Tsui , แซม ฮุย(Samuel Hui) , หลิน จื่อเสียง(George Lam) , Jenny Tseng เป็นต้น อลัน ทัม และ เลสลี่ จาง โดดเด่นที่สุดในยุคนี้ จึงเรียกขานกันว่า ยุคสองราชาเพลงจีน : Two kings of Canto - pop

การก่อตั้งกลุ่ม[แก้]

เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 90 ศิลปินนักร้องชื่อดังจากยุค 80s- ความนิยมจางหายจากวงการเพลงป็อปฮ่องกง มีศิลปินนักร้องคนใหม่เริ่มได้รับความนิยมขึ้นมาแทนศิลปินจากยุค 80s- หลายต่อหลายคน นักร้องฝ่ายชาย อาทิเช่น หลิว เต๋อหัว(Andy Lau) , จาง เซียะโหย่ว(Jacky Cheung) เจ้าของฉายา God of Song คนที่ 2 แห่งเกาะฮ่องกง , หลี่หมิง(Leon Lai) , กัว ฟู่เฉิง(Aaron Kwok) , โจว หวาเจี้ยน(Wakin Chau) , หวัง เจี๋ย(Dave Wang) , หลี เคอะฉิน(Hacken Lee) , สวี่ จื้ออัน(Andy Hui) ฯลฯ นักร้องฝ่ายหญิง อาทิเช่น โจว ฮุ่ยหมิ่น(Vivian Chow) , Cass Phang , หวัง เฟย(Faye Wong) เจ้าของฉายา ราชินีเพลงจีนกวางตุ้ง ยุค 90s , เฉิน ฮุ่ยหลิน(Kelly Chen) , เจิ้ง ซิ่วเหวิน(Sammi Cheng) เป็นต้น

ในปี ค.ศ.1990 หลิว เต๋อหัว(Andy Lau) นักแสดงยอดนิยมแห่งวงการภาพยนตร์ เริ่มประสบความสำเร็จในผลงานเพลงคว้ารางวัลนักร้องยอดนิยมประจำปี 1990 มาครองได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1991 จาง เซียะโหย่ว(Jacky Cheung) นักร้องดาวรุ่งจากยุคทศวรรษที่ 80s- ประสบความสำเร็จในผลงานเพลงเป็นอย่างมาก คว้ารางวัลเพลงสองรางวัลใหญ่มาครองเพียงคนเดียว ได้แก่ นักร้องยอดเยี่ยมแห่งปี 1991 , รางวัลเพลงยอดนิยมประจำปี 1991 และในปีเดียวกันนี้ หลี่หมิง(Leon Lai) อดีตนักร้องประกวดจากยุคทศวรรษที่ 80s- แต่โด่งดังในฐานะนักแสดงค่ายสถานีโทรทัศน์ทีวีบี(TVB) ออกอัลบั้มเพลงจีนภาษากวางตุ้ง "Its Love. Its Destiny" ฮิตถล่มทลายติดอันดับอัลบั้มขายดีประจำปี 1991 และคว้ารางวัลนักร้องยอดนิยม(เหรียญเงิน)ประจำปี 1991 และกัว ฟู่เฉิง(Aaron Kwok) อดีตแดนเซอร์(นักเต้น) และนักแสดงค่ายสถานีโทรทัศน์ทีวีบี(TVB) ในยุคทศวรรษที่ 80s- ออกซิงเกิลเพลง และอัลบั้มแนวป็อปแดนซ์ภาษาจีนกวางตุ้ง ประสบความสำเร็จโด่งดังมาก มีท่าเต้นที่โดดเด่นจนเป็นกระแสไปทั่วเกาะฮ่องกง ได้รับรางวัลเพลงแด๊นซ์ยอดเยี่ยมแห่งปี 1991

ต่อมาหนังสือพิมพ์โอเรียนทัล เดลินิวส์ รายงานข่าววงการเพลงฮ่องกงประจำปี 1992 พบว่านักร้องฝ่ายชายทั้ง 4 คนดังกล่าวมียอดขายแผ่นเสียง , ยอดจัดคอนเสิร์ต , ยอดขอเพลงจากรายการวิทยุ(Entertainment / Artist) สูงที่สุด หรือ มีการตลาดของอุตสาหกรรมเพลงป็อป ของเกาะฮ่องกงสูงที่สุดในรอบหลายปี จึงตั้งฉายาให้พวกเขาว่า "สี่ราชาสวรรค์แห่งเพลงจีนภาษากวางตุ้ง" หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Four Heavenly Kings of Canto - pop" เปรียบเปรยพวกเขาทั้ง 4 คน เป็นนักร้องมือถือไมค์ ไฟส่องหน้า อยู่บนเวทีคอนเสิร์ต ประดุจเทพเจ้าเจิดจรัสบนฟากฟ้า จึงนำมารวมตัวกันเป็นกลุ่ม(Brand) "นักร้องจตุรเทพ" ที่โด่งดังและทรงอิทธิพลต่อวงการเพลงทั่วเอเชีย และเริ่มใช้เป็นแบรนด์นักร้องชายเพลงจีนของเกาะฮ่องกงออกสู่ตลาดเพลงเอเชีย และตลาดเพลงโลกตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จาง เสฺวโหย่ว(Jacky Cheung) และ หลิว เต๋อหัว(Andy Lau) เป็นนักร้องจากเอเชียที่ได้รับความนิยมติดอันดับ 1 ใน 25 Billboard(บิลบอร์ดชาร์ต) ของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย วงการเพลงป๊อปฮ่องกง เรียกยุคทศวรรษที่ 90 นี้ว่า ยุค 4 ราชาเพลงจีน 1990s : Four Heavenly Kings era

ยุคปี 2000 มีศิลปินนักร้องหน้าใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย นักร้องฝ่ายชาย เช่น เซี๊ยะ ถิงฟง (Nicholas Tse) , Stephy Tang , Kary Ng , Kenny Kwan , เฉิน อี้ซวิ่น(Eason Chan) เจ้าของฉายา God of Song คนที่ 3 แห่งเกาะฮ่องกง และ "King of Asian pop" ฯลฯ นักร้องฝ่ายหญิง เช่น Renee Li , โคโค่ ลี (Coco Lee) , หลง จู่เอ๋อ (Joey Yung) ฯลฯ ศิลปินกลุ่ม เช่น อาซา - อาเจียว สองสาววงทวินส์(Twins) เป็นต้น ในปี 2004 มีการยกย่องศิลปินนักร้องฝ่ายชาย ในนาม "New Four Heavenly Kings" หรือ "จตุรเทพ รุ่นใหม่" ประกอบด้วย หลี เคอะฉิน(Hacken Lee) , สวี่ จื้ออัน(Andy Hui) , กู่ จี้จี้(Leo Ku) , เอ็ดมอนด์ เหลียง(Edmond Leung) วงการเพลงป๊อปฮ่องกง เรียกสั้นๆว่า กลุ่ม "Big Four" หรือกลุ่ม "ชายสี่" เรียกยุคนี้ว่า วงการเพลงยุคใหม่ 2000s : New era

ยุคปี 2010 หลังจากเกาะฮ่องกงกลับคืนสู่จีนแผ่นดินใหญ่ในปี 1997 เป็นส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่โดยสมบูรณ์ในปี 2005 วงการเพลงป็อปฮ่องกงที่นิยมใช้ภาษาจีนกวางตุ้งซบเซาลงเป็นลำดับ เพลงจีนส่วนใหญ่หันมาใช้ภาษาจีนกลาง หรือ แมนดาริน (Mando-pop) ตามภาษาที่ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ และเรียกเพลงจีนโดยรวมว่า "Chinese pop music" (จีนตัวย่อ: 中文流行音乐 ; จีนตัวเต็ม : 中文流行音樂 ; พินอิน: zhōngwén liúxíng yīnyuè) หรือ ใช้คำย่อว่า C - pop

วงการเพลงป็อปฮ่องกง โด่งดังทั่วเอเชียและโดดเด่นในวงการเพลงโลกในยุคทศวรรษที่ 90 เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มนักร้องจตุรเทพ (Four Heavenly Kings of Canto-pop) ซึ่งเป็นกลุ่มนักร้องชายที่ขับร้องทั้งเพลงจีนภาษากวางตุ้ง (Canto-pop) และเพลงภาษาจีนกลางหรือแมนดาริน (Mando-pop) จนพวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "กระบอกเสียงของคนจีน" (Chinese Speaking) แห่งทศวรรษที่ 90s เป็นที่รู้จักกว้างขวางในวงการเพลงโลกในนาม สี่ราชาแห่งวงการเพลงป็อปฮ่องกง (Four Kings of Hong Kong pop-music industry) และพวกเขายังได้รับยกย่องให้เป็น หนึ่งใน 10 นักร้องชายเพลงจีนภาษากวางตุ้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี ของเกาะฮ่องกง ร่วมกับ แซม ฮุย(Samuel Hui) , หลอ เหวิน(Roman Tam) , อลัน ทัม(Alan Tam) , เลสลี่ จาง(Leslie Cheung) , เฉิน อี้ซวิ่น(Eason Chan) และ หวัง กาคุย(Wong Ka Kui) นักร้องนำวง Beyond อีกด้วย

สมาชิก[แก้]

จางเซียะโหย่ว ในปีพ.ศ. 2561
หลิวเต๋อหัว ในปีพ.ศ. 2554
กัวฟู่เฉิง ในปีพ.ศ. 2545
หลี่หมิง ในปีพ.ศ. 2564

อ้างอิง[แก้]