จง (สถาปัตยกรรม)
ซง หรือ จง (ซองคา: རྫོང, ไวลี: rdzong, สัทอักษรสากล: [dzoŋ˩˨], dzong) หมายถึงหมู่สิ่งปลูกสร้างที่ประกอบด้วยป้อมปราการ อาราม หอคอย กุฏิสงฆ์ และอาคารทำการ
ในประเทศภูฏาน จงใช้งานหลากหลาย ทั้งใช้งานในเชิงศาสนา การทหาร การปกครอง ไปจนถึงเป็นศูนย์กลางชุมชน รวมถึงเป็นที่จัดเทศกาล เซชู ประจำปี โดยปกติแล้ว ครึ่งหนึ่งของห้องในจงแบบภูฏานจะใช้งานสำหรับการปกครอง อีกครึ่งหนึ่งใช้งานทางศาสนาเป็นวัด และเป็นอาราม ในปี 2012 รัฐบาลภูฏานขึ้นทะเลียนจงห้าแห่งเป็นแหล่งมรดกโลกเบื้องต้นของยูเนสโก ได้แก่ ปูนาคาจง, วังเดวโพตรังจง, ปาโรจง, ตรงซาจง และ ดากานาจง (Dagana Dzong)[1]
ในทิเบตโบราณมีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 53 แคว้นซึ่งเรียกว่า จง[2] ในแต่ละจงจะประกอบด้วยสองจงเปิน คือของลามะและของฆราวาส[3]
ในยุคร่วมสมัย ในประเทศภูฏานปัจจุบันนิยมสร้างอาคารที่มีลักษณะภายนอกแบบจง ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเท็กซัสเอลปาโซ (UTEP) มีการสร้างอาคารแบบจงซึ่งถือว่าหาได้ยากนอกแถบหิมาลัย ผลงายออกแบบโดยเฮนรี ทรอสต์[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Dzongs: The centre of temporal and religious authorities (Punakha Dzong, Wangdue Phodrang Dzong, Paro Dzong, Trongsa Dzong and Dagana Dzong)".
- ↑ Le Tibet, Marc Moniez, Christian Deweirdt, Monique Masse, Éditions de l'Adret, Paris, 1999, ISBN 2-907629-46-8
- ↑ Das, Sarat Chandra. (1902). Lhasa and Central Tibet. Reprint (1988): Mehra Offset Press, Delhi, p. 176.
- ↑ For more details see the UTEP Handbook of Operations เก็บถาวร 2012-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.