งานศึกษาตามรุ่นตามแผน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพแสดงจุดเริ่มต้นและทิศทางการดำเนินงานของงานศึกษามีกลุ่มควบคุม เทียบกับงานศึกษาตามรุ่น (cohort study) ในงานศึกษามีกลุ่มควบคุม เริ่มต้นจากข้อมูลการเกิดโรค ผู้วิจัยจะตรวจสอบและวิเคราะห์หาเหตุของโรค ส่วนในงานศึกษาตามรุ่น เริ่มต้นจากสมมุติฐานของโรค ผู้วิจัยจะสังเกตดูปัจจัยที่เป็นสมมุติฐานของโรคสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ของโรค[1] การศึกษาตามรุ่นตามแผน หรือในอนาคต (prospective) จะศึกษาการเกิดของโรคในอนาคต ส่วนการศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง (retrospective) จะศึกษาการเกิดของโรคที่มีแล้ว

งานศึกษาตามรุ่นตามแผน[2] (อังกฤษ: prospective cohort study) เป็นการศึกษาตามรุ่น (cohort study) ที่ติดตามกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน (cohort) แต่ต่างกันโดยองค์ที่เป็นประเด็นการศึกษา เพื่อที่จะกำหนดว่าองค์เหล่านี้มีอิทธิพลต่ออัตราการเกิดของผล (outcome) เช่นโรค มากเท่าไร[3] ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถติดตามรุ่นของคนขับรถบรรทุกวัยกลางคนที่มีลักษณะนิสัยการสูบบุหรี่ต่าง ๆ กัน เพื่อทดสอบสมมุติฐานว่า อัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดภายใน 20 ปีจะอยู่ในระดับสูงสุดสำหรับผู้สูบบุหรี่มาก ตามมาด้วยผู้สูบบุหรี่น้อยลงมา และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

งานศึกษาตามแผนเป็นวิธีการศึกษาที่สำคัญเพื่อตรวจสอบสมุฏฐานของโรคและความเจ็บไข้อย่างอื่น ๆ ลักษณะะเฉพาะของงานก็คือ เมื่อรับสมัครลงทะเบียนผู้ร่วมเข้าการทดลองเพื่อตรวจข้อมูลเบื้องต้นคือปัจจัย (เช่นการสูบบุหรี่) ที่เป็นประเด็นการศึกษา ผู้ร่วมการทดลองจะยังไม่เกิดผลที่เป็นประเด็นที่สนใจ (เช่นโรคมะเร็งปอด)[4] แล้วจึงติดตามบุคคลเหล่านั้น "ตามยาว" คือเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งปกติจะเป็นหลายปี เพื่อกำหนดว่า จะเกิดมีโรคหรือไม่ ว่าเมื่อไรจึงเกิดมีโรค และว่า ปัจจัยนั้นมีอิทธิพลต่อผลที่เกิดขึ้นบ้างไหม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสามารถใช้ข้อมูลเพื่อตอบคำถามหลายอย่าง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยง กับผลที่เกี่ยวเนื่องกับโรค ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถกำหนดข้อมูลเบื้องต้นของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่ แล้วเปรียบเทียบอุบัติการณ์โรคหัวใจของบุคคลเหล่านั้นต่อ ๆ มา หรือว่า เราอาจจะจัดกลุ่มผู้รวมการทดลองโดยดัชนีมวลกาย (BMI) แล้วเปรียบเทียบความเสี่ยงการเกิดขึ้นของโรคหัวใจหรือโรคมะเร็ง

งานศึกษาตามแผนมีความน่าเชื่อถือตามลำดับชั้นหลักฐาน (hierarchy of evidence) สูงกว่าการศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง (Retrospective cohort study)[5] และอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่างานศึกษามีกลุ่มควบคุม[6]

ข้อดีของการศึกษาตามแผนก็คือสามารถกำหนดองค์ความเสี่ยงที่จะเกิดโรค เพราะเป็นการเก็บข้อมูลตามแผนคือเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่เก็บเป็นระยะ ๆ ดังนั้น ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากจำข้อมูลในอดีตผิด ๆ (recall error) จึงมีน้อยลง[7][8]

ตัวอย่าง[แก้]

  • Caerphilly Heart Disease Study ในสหราชอาณาจักร เป็นงานศึกษาเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 ในเมือง Caerphilly เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางสังคม ทางการใช้ชีวิต ทางอาหาร และอื่น ๆ กับโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • Framingham Heart Study สหรัฐอเมริกา เป็นงานศึกษาที่เริ่มในปี ค.ศ. 1948 ในเมือง Framingham เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาสามัญประจำบ้านเช่นแอสไพริน กับโรคหัวใจ
  • Rotterdam Study ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นงานศึกษาเริ่มในปี ค.ศ. 1990 เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีผลต่ออุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคประสาท โรคตา และโรคระบบต่อมไร้ท่อ ในคนชรา

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Meirik, O. "Cohort and Case-Control Studies". ใน Campana, Aldo (บ.ก.). Reproductive Health. Geneva Foundation for Medical Education and Research.
  2. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ "cohort" ว่า "ตามรุ่น" เช่น "cohort analysis" แปลว่า "การวิเคราะห์ตามรุ่น", และ "prospective study" ว่า "การศึกษาตามแผน"
  3. "Definition of prospective cohort study - NCI Dictionary of Cancer Terms".
  4. LaMorte, Wayne. "Prospective and Retrospective Cohort Studies". Boston University College of Public Health. สืบค้นเมื่อ 2013-11-25.
  5. Euser, A.M; Zoccali, C; Jager, K.J; Dekker, F.W. (2009). "Cohort Studies: Prospective versus Retrospective". Nephron Clin Pract. 113: c214–c217. doi:10.1159/000235241. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Manolio, TA; Bailey-Wilson, JE; Collins, FS (Oct 2006). "Genes, environment and the value of prospective cohort studies". Nat. Rev. Genet. 7 (10): 812–20. doi:10.1038/nrg1919. PMID 16983377.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. "Oxford Dictionary of Statistics: cohort study". Oxford Dictionary of Statistics. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  8. Porta, M, บ.ก. (2008). A dictionary of epidemiology (5 ed.). New York: Oxford University Press. ISBN 978-0195314502.