ค่าคงที่โครงสร้างละเอียด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในวงการของฟิสิกส์ ค่าคงที่โครงสร้างละเอียด (fine-structure constant) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ค่าคงที่ของซัมเมอร์เฟล (Sommerfeld's constant) โดยใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัวอักษร α สามารถคำนวณได้จากสมการ 4πε0ħcα = e2 ที่อยู่ในทฤษฎีที่อธิบายแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในปัจจุบันเรียกกันว่า quantum electrodynamics (QED) ซึ่งเป็นทฤษฎีควอนตัมที่อธิบายปรากฎการณ์ของอนุภาคมีประจุที่ระดับพลังงานสูง ค่าแอลฟาที่คำนวณได้ประมาณ 1/137 ซึ่งเป็นค่าที่สามารถใช้ได้ในทุกระบบหน่วย

ความเป็นมา[แก้]

นักฟิสิกส์ที่ชื่อว่า อาร์โน ซัมเมอร์เฟล (Arnold Sommerfeld) ได้นิยามค่าคงที่นี้ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1916 เนื่องจากเขาต้องการที่จะศึกษาเส้นสเป็คตรัมแสดงระดับพลังงานของอะตอมไฮโดรเจน และเลข 137 นี้ได้ทำให้นักฟิสิกส์งุนงงมากว่า เหตุใดอัลฟาจึงมีค่าเท่ากับ 1/137 แม้แต่ Wolfgang Pauli นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 1945 ก็ได้ครุ่นคิดและฝังใจกับเลข 137 มากจนถึงกับได้เอ่ยปากขอให้ได้สิ้นใจตายในห้องเลขที่ 137 ของโรงพยาบาลในเมือง Zurich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ความสำคัญ[แก้]

ค่าคงที่โครงสร้างละเอียดเป็นดัชนีบ่งบอกความแรงของแรงแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เกิดอันตรกิริยากันระหว่างประจุ เช่น แรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนกับอิเล็กตรอน หรือแรงดึงดูดระหว่างโปรตอนกับอิเล็กตรอนเพราะอะตอมสามารถคงรูปได้ด้วยแรงไฟฟ้า ในวารสาร Physical Review Letters ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2001 นักดาราสาสตร์ชาวอเมริกัน อังกฤษและออสเตรเลียได้มีการนำเสนอรายงานว่า เมื่อ 10,000 ล้านปีก่อน ค่าคงที่โครงสร้างละเอียดมีค่าไม่เท่ากับในปัจจุบันวึ่งเป็นเรื่องที่สร้างความตื่นเต้นในวงการฟิสิกส์อย่างมาก ซึ่งถ้าหากค่าคงที่โครงสร้างละเอียดนี้มีค่าไม่คงที่และสามารถเปลี่ยนค่าได้จริง ธาตุต่างๆ อาจจะเกิดความไม่เสถียร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าค่าคงที่โครงสร้างละเอียดมีค่าเท่ากับ 0.1 ไอโดรเจนจะไม่สามารถรวมตัวกับฮีเลียมได้เนื่องจากโปรตอนในนิวเคลียสจะเกิดการผลักกันอย่างรุนแรง หมายความว่า ดวงอาทิตย์ก็จะไม่สามารถคงสภาพอยู่ได้นั่นเอง

ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันได้ว่าค่าคงที่โครงสร้างละเอียดสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ซึ่งทำให้ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอสไตน์ยังคงมีความถูกต้องและสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ

การนิยามเทียบกับค่าคงที่อื่นๆ[แก้]

ค่าคงที่โครงสร้างละเอียดที่เขียนอยู่ในเทอมของ α มีค่าเทียบเท่ากับค่าคงที่พื้นฐานอื่นๆ ดังนี้

เมื่อ:

  • e จำนวนประจุของอิเล็กตรอน
  • π ค่าคงที่ Pi มีค่าประมาณ 3.14
  • ħ = h/2π ค่าคงที่ของพลังค์แบบลดค่า
  • c ความเร็วแสงในสูญญากาศ
  • ε0 ค่าสภาพยินยอมในสูญญากาศ
  • µ0 ค่าสภาพซาบซึมได้ในสูญญากาศ
  • ke ค่าคงที่คูลอมบ์ (Coulomb constant)
  • RK ค่าคงที่ฟอน คลิทชิง (von Klitzing constant)
  • Z0 ค่าการเหนี่ยวนำในสูญญากาศ (vacuum impedance หรือ impedance of free space)

ค่าคงที่โครงสร้างละเอียดในระบบอื่น[แก้]

ในระบบหน่วย cgs หน่วยของประจุไฟฟ้าจะถูกนิยามโดยใช้ค่าคงที่ของคูลอมบ์ (ke) ดังนั้นค่าคงที่คงโครงสร้างละเอียดจะแสดงได้ดังสมการ

ในระบบ natural units ซึ่งโดยปกติจะถูกใช้ในฟิสิกส์พลังงานสูง เมื่อ 1=ε0 = c = ħ = 1 ค่าของค่าคงที่โคร สร้างละเอียดจะแสดงได้เป็น

ระบบนี้การนิยามค่าของประจุอิเล็กตรอนจะมีค่าประมาณ e = α ≈ 0.30282212

อ้างอิงจาก[แก้]

Peskin, M.; Schroeder, D. (1995). An Introduction to Quantum Field Theory. Westview Press. p. 125. ISBN 0-201-50397-2.

http://www.electron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=2525&Itemid=4 เก็บถาวร 2015-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

http://www.vcharkarn.com/vcafe/5851

https://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A1:_%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94 เก็บถาวร 2019-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/07/X8073368/X8073368.html