ข้ามไปเนื้อหา

ค่าคงตัวแม่เหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ค่าคงตัวแม่เหล็ก (magnetic constant) หรือ สภาพให้ซึมผ่านได้ของสุญญากาศ (vacuum permeability) เป็น ค่าคงตัวทางฟิสิกส์ ที่หมายถึงสภาพให้ซึมผ่านได้ทางแม่เหล็กในสุญญากาศ มักเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์

ค่าคงตัวแม่เหล็กเป็นค่าคงตัวสากลซึ่งมาจากการทดลอง เชื่อมโยงกับการวัดทางกลศาสตร์และทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า โดยมีที่มาจากสมการสนามแม่เหล็ก ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุหรือกระแสไฟฟ้าและยังปรากฏในสมการอื่น ๆ สำหรับสนามแม่เหล็กในสุญญากาศ

ในปี 2006 ค่านี้ได้รับการนิยามโดยระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ เป็น[1]

µ0 = ×10−7 V·s/(A·m)

ในการนิยามหน่วยฐานเอสไอใหม่ ค.ศ. 2019 ได้มีการนิยามค่าคงตัวแม่เหล็กขึ้นใหม่เป็น

ค่าคงตัวแม่เหล็กเป็นค่าคงตัวพื้นฐานทางฟิสิกส์ และเป็นหนึ่งในค่าคงที่ที่ปรากฏใน สมการของแมกซ์เวลล์ในสุญญากาศ ในกลศาสตร์ดั้งเดิม พื้นที่อิสระเป็นแนวคิดในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สอดคล้องกับสุญญากาศที่สมบูรณ์แบบในทางทฤษฎี บางครั้งเรียกว่า "สุญญากาศของพื้นที่ว่าง" หรือ "สุญญากาศแบบดั้งเดิม"[1]

ในสุญญากาศ ค่าคงที่แม่เหล็กคือ อัตราส่วน ของความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก ต่อ ความแรงสนามแม่เหล็ก

ค่าคงตัวแม่เหล็ก และ ค่าคงตัวไฟฟ้า และอัตราเร็วของแสง สัมพันธ์กันโดย

ศัพท์เฉพาะศาสตร์

[แก้]

NIST/CODATA กล่าวถึง μ0 ว่าเป็น สภาพให้ซึมผ่านได้ทางแม่เหล็กในสุญญากาศ[2] ก่อนการตีความใหม่ในปี 2019 เคยถูกเรียกว่า ค่าคงตัวแม่เหล็ก[3] ในอดีต ค่าคงตัว μ0 มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ในหนังสือเล่มแดง IUPAP ปี 1987 ค่าคงตัวนี้เรียกว่า สภาพให้ซึมผ่านได้ของสุญญากาศ[4] คำศัพท์อีกคำหนึ่งซึ่งปัจจุบันหาได้ยากและเลิกใช้แล้ว คือ "สภาพยอมทางแม่เหล็กของสุญญากาศ " ดูตัวอย่างเช่น Servant et al.[5] ส่วนชื่ออื่น ๆ นอกจากนี้ เช่น "สภาพให้ซึมผ่านได้ของปริภูมิอิสระ" ยังคงแพร่หลายอยู่

องค์กรมาตรฐานต่าง ๆ เคยใช้ชื่อ "ค่าคงตัวแม่เหล็ก" เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "สภาพให้ซึมผ่านได้" และ "สุญญากาศ" ซึ่งมีความหมายในเชิงฟิสิกส์ การเปลี่ยนชื่อเกิดขึ้นเนื่องจาก μ0 เป็นค่าที่กำหนดไว้ และไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองวัด ในระบบ SI ใหม่ สภาพให้ซึมผ่านได้ของสุญญากาศไม่ถูกกำหนดไว้อีกต่อไป แต่เป็นปริมาณที่วัดได้ที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวเนื่องกับค่าคงตัว (ที่ถูกวัด) ของโครงสร้างละเอียดไร้มิติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Magnetic constant". Fundamental Physical Constants. Committee on Data for Science and Technology. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-20. สืบค้นเมื่อ 2010-02-04 – โดยทาง National Institute of Standards and Technology.
  2. "CODATA Value: vacuum magnetic permeability". physics.nist.gov.
  3. See Table 1 in Mohr, Peter J; Taylor, Barry N; Newell, David B (2008). "CODATA Recommended Values of the Fundamental Physical Constants: 2006" (PDF). Reviews of Modern Physics. 80 (2): 633–730. arXiv:0801.0028. Bibcode:2008RvMP...80..633M. CiteSeerX 10.1.1.150.1225. doi:10.1103/RevModPhys.80.633.
  4. SUNAMCO (1987). "Recommended values of the fundamental physical constants" (PDF). Symbols, Units, Nomenclature and Fundamental Constants in Physics. p. 54.
  5. Lalanne, J-R; Carmona, F; Servant, L (1999-07). Optical Spectroscopies of Electronic Absorption. World Scientific Series in Contemporary Chemical Physics (ภาษาอังกฤษ). Vol. 17. WORLD SCIENTIFIC. doi:10.1142/4088. isbn 978-981-02-3861-2.. ISBN 978-981-02-3861-2. {{cite book}}: no-break space character ใน |doi= ที่ตำแหน่ง 19 (help); ตรวจสอบค่า |doi= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)