คู่ควบความร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คู่ควบความร้อน ต่อกับมัลติมิเตอร์ แสดงอุณหภูมิห้องในแบบองศาเซลเซียส

คู่ควบความร้อน หรือ เทอร์โมคัปเปิล (อังกฤษ: thermocouple) เป็นอุปกรณ์วัดอุณหภูมิชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย

โลหะ 2 ชนิดนำมาสัมผัสกันมากกว่า 1 จุด เช่น ทองแดงและเหล็ก เมื่อนำมาต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วทำให้รอยต่อทั้ง 2 ข้างมีอุณหภูมิต่างกัน ซึ่งเมื่อจุดสัมผัสเหล่านั้นมีอุณหภูมิแตกต่างกัน จะเกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าขึ้น โดยแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะเพิ่มตามความต่างของอุณหภูมิ (แรงเคลื่อนไฟฟ้า ความต่างของอุณหภูมิ)[1]

การมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเล็กน้อย จากความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ปลายทั้งสอง จะถูกเรียกว่าปรากฏการณ์ “Thermoelectric effect” หรือ “Seebeck effect”

เทอร์โมคัปเปิลสามารถวัดอุณหภูมิที่ต่ำและสูงมากได้ ทนอุณหภูมิได้สูง ราคาถูก[2] เทอร์โมคัปเปิลมีวิธีการวัดอุณหภูมิไม่เหมือนกับวิธีอื่น ๆ เทอร์โมคับเปิลทำงานด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีการกระตุ้นจากภายนอก ปํญหาหลักของเทอร์โมคัปเปิลคือ มีความแม่นยำต่ำ ไม่สามารถวัดได้ละเอียดกว่าระดับองศาเซลเซียส[3]

เทอร์โมคัปเปิลมีการใช้อย่างแพร่หลายทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม มีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ เช่น วัดอุณหภูมิในเตาเผา, เครื่องยนต์กังหันแก๊ส, เครื่องยนต์ดีเซล รวมถึงนิยมใช้เป็นเซนเซอร์วัดอุณหภูมิในบ้านและอาคารสำนักงาน และใช้เป็นเซนเซอร์ตรวจจับไฟไหม้

อ้างอิง[แก้]

  1. อภิธานศัพท์ฟิสิกส์. แหล่งที่มา:http://203.158.100.140/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=751&Itemid=62[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
  2. Ramsden, Ed (September 1, 2000). "Temperature measurement". Sensors. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-22. สืบค้นเมื่อ 2020-05-18.
  3. "Technical Notes: Thermocouple Accuracy". IEC 584-2(1982)+A1(1989). สืบค้นเมื่อ 2020-05-18.