คูโรเบะ
คูโรเบะ 黒部市 | |
---|---|
![]() ทิวทัศน์นครคูโรเบะ | |
![]() ที่ตั้งของนครคูโรเบะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดโทยามะ | |
![]() | |
พิกัด: 36°52′N 137°27′E / 36.867°N 137.450°E | |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค | ชูบุ, โคชิงเอ็ตสึ |
จังหวัด | ![]() |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลนคร |
• นายกเทศมนตรี | โยชิกาซุ ทาเกกูมะ (武隈 義一) (พรรคเสรีประชาธิปไตย) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 426.31 ตร.กม. (164.60 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 มีนาคม ค.ศ. 2025)[1] | |
• ทั้งหมด | 37,859 คน |
• ความหนาแน่น | 88.8 คน/ตร.กม. (230 คน/ตร.ไมล์) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | สึงะ (Tsuga sieboldii), วอลนัต |
• ดอกไม้ | ซากูระ, แต้ฮวย |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสท้องถิ่น | 16207-8 |
โทรศัพท์ | 0765-54-2111 |
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 725 มิกกาอิจิ นครคูโรเบะ จังหวัดโทยามะ 938-8555 |
เว็บไซต์ | kurobe |
คูโรเบะ (ญี่ปุ่น: 黒部市; โรมาจิ: Kurobe-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัดโทยามะ ในภูมิภาคชูบุของประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 426.31 ตารางกิโลเมตร (164.60 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2025 ประมาณ 37,859 คน และมีความหนาแน่นของประชากร 88.8 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2]
ภูมิศาสตร์
[แก้]
นครคูโรเบะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดโทยามะ มีลักษณะภูมิประเทศตั้งแต่ที่ความสูงที่ระดับน้ำทะเลบริเวณอ่าวโทยามะ ไปจนถึง 3,000 เมตรบริเวณเทือกเขาแอลป์ตอนเหนือที่ติดกับจังหวัดนางาโนะ นครคูโรเบะมีแม่น้ำคูโรเบะไหลผ่านเมือง
นครคูโรเบะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัด และฤดูหนาวที่หนาวเย็นและมีหิมะตกหนัก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในคูโรเบะอยู่ที่ 13.7 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2,277 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 26.2 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 2.6 °C[3]
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]สถิติประชากร
[แก้]ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] จำนวนประชากรของนครคูโรเบะค่อนข้างคงที่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1970 | 41,847 | — |
1980 | 43,096 | +3.0% |
1990 | 43,754 | +1.5% |
2000 | 43,084 | −1.5% |
2010 | 41,852 | −2.9% |
2020 | 39,638 | −5.3% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]พื้นที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าชินโตไอโมโตฮิเมชะและยังมีชื่อเดียวกับแม่น้ำคูโรเบะ ซึ่งทั้งสองเป็นองค์ประกอบสำคัญในตำนานท้องถิ่นเกี่ยวกับงูยักษ์อันทรงพลังแห่งแม่น้ำคูโรเบะ[5]
พื้นที่ที่เป็นคูโรเบะในปัจจุบันเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นเอ็ตจู และเมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งเมืองอิกูจิและเมืองมิกกาอิจิขึ้น และในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1954 เมืองอิกูจิได้รวมเข้ากับเมืองซากูราอิ เพื่อจัดตั้งนครคูโรเบะ[6]
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006 เมืองอูนาซูกิ (จากอำเภอชิโมนีกาวะ) ถูกรวมเข้ากับนครคูโรเบะ[6]
การเมืองการปกครอง
[แก้]
นครคูโรเบะมีการบริหารรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 18 คน
เศรษฐกิจ
[แก้]คูโรเบะเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท YKK
การศึกษา
[แก้]นครคูโรเบะมีโรงเรียนประถม 9 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 4 แห่งที่สังกัดเทศบาลนครคูโรเบะ และมีโรงเรียนมัธยมปลาย 1 แห่งที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโทยามะ นอกจากนี้ ทางจังหวัดยังเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษอีก 1 แห่งในนครคูโรเบะ
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก (JR West): โฮกูริกุชิงกันเซ็ง
- สถานี: คูโรเบะอูนาซูกิอนเซ็ง
รถไฟไอโนกาเซะโทยามะ
รถไฟโทยามะจิโฮ
- สถานี: เด็นเต็ตสึอิชิดะ – เด็นเต็ตสึคูโรเบะ – ฮิงาชิมิกกาอิจิ – โองีว – นางายะ – ชิงคูโรเบะ – ชิตายามะ – วากางูริ – โทจิยะ – อูรายามะ – โอริตาเตงูจิ – โอริตาเตะ – ไอโมโตะ – อูจิยามะ – โอโตซาวะ – อูนาซูกิอนเซ็ง
- ทางรถไฟหุบเขาคูโรเบะ

ทางหลวง
[แก้]ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]สเนก (Sneek) จังหวัดฟรีสลันด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่ 10 กันยายน ค.ศ. 1970[7]
เมคอน-บิบบ์ (Macon-Bibb) รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1977[8]
ซัมช็อก จังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีใต้ เมืองมิตรภาพ[8]
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ซูซูมุ คูโรเบะ - นักแสดง
- มิตสึฮิโระ มิยาโกชิ - นักการเมือง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "人口移動調査" [การสำรวจการย้ายถิ่นประชากร]. จังหวัดโทยามะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2025.
- ↑ สถิติทางการของนครคูโรเบะ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศคูโรเบะ
- ↑ สถิติประชากรคูโรเบะ
- ↑ "愛本姫社". Japan Mystery.
- ↑ 6.0 6.1 ประวัตินครคูโรเบะ(ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ "International Exchange". List of Affiliation Partners within Prefectures (ภาษาอังกฤษ). Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2012. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.
- ↑ 8.0 8.1 หน้าแรกทางการของนครคูโรเบะ (ในภาษาญี่ปุ่น)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]คู่มือการท่องเที่ยว Kurobe จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการของนครคูโรเบะ (ในภาษาญี่ปุ่น)