คุรุอังคัท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คุรุอังกัต)
คุรุอังคัท
Guru Angad image from 1770
ภาพเฟรสโกของคุรุอังคัตที่เมืองโควินทาล
ส่วนบุคคล
เกิด
ภาอีเลหนา (Bhai Lehna)

31 มีนาคม ค.ศ.1504
มรณภาพ29 มีนาคม ค.ศ. 1552(1552-03-29) (47 ปี)
ศาสนาศาสนาซิกข์
คู่สมรสMata Khivi
บุตรBaba Dasu, Baba Dattu, Bibi Amro และ Bibi Anokhi
บุพการีMata Ramo กับ Baba Pheru Mal
รู้จักจากสร้างมาตรฐานของอักษรคุรมุขี
ตำแหน่งชั้นสูง
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าคุรุนานัก
ผู้ดำรงตำแหน่งถัดมาคุรุอมรทาส

คุรุอังคัท (Guru Angad) หรือบางเอกสารสะกดแตกต่างกันไป เช่น คุรุอังคัต, คุรุอังกัต, คุรุอังขัต และ คุรุอังฆัต เป็นคุรุศาสดาองค์ที่สองของศาสนาซิกข์ พระองค์ประสูติในครอบครัวของชาวฮินดูในหมู่บ้านหริเก (Harike) ในเมืองมุกตเสร์ (Muktser) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดียใกล้กับแคว้นปัญจาบในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1504 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1552[2][3] พระองค์มีพระนามแรกประสูติว่า "ภาอี เลห์นา" (Bhai Lehna) พระบิดาของของพระองค์เป็นพ่อค้า ส่วนพระองค์เองทรงบวชเป็นนักบวช "บูชารี" (Pujari; นักบวชที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมในโบสถ์พราหมณ์) และเป็นศาสนจารย์ ที่นับถือพระแม่ทุรคาเป็นหลัก[3][4] ต่อมา ได้ทรงพบกับคุรุนานัก ศาสดาคุรุพระองค์แรกของซิกข์ จึงทรงเปลี่ยนศาสนามาเป็นชาวซิกข์และทรงงานช่วยเหลือคุรุนานักเป็นเวลาหลายปี ท่านคุรุนานักประทานพระนามใหม่ให้กับท่านภัย เลห์นา ว่า "คุรุอังคัท" (Guru Angad) อันแปลว่า "แขนขาของเรา" (my own limb)[5] และได้แต่งตั้งให้เป็นคุรุศาสดาองค์ที่สองต่อจากตัวคุรุนานักเอง แทนที่จะแต่งตั้งพระบุตรของพระองค์ด้วยซ้ำ[3][4][6]

หลังการสิ้นพระชนม์ของคุรุนานักใน ค.ศ. 1539 คุรุอังคัตจึงทรงสืบสานและดำรงตำแหน่งผู้นำของศาสนาซิกข์ต่อจากคุรุนานัก[7][8] ผลงานสำคัญของท่านที่ทรงช่วยพัฒนาศาสนาซิกข์ คือการพัฒนาและจัดระบบอักษรคุรมุขีโดยพัฒนาดัดแปลงจากอักษรทาครี ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในแถบเทือกเขาหิมาลัย[2][4] ท่านยังทรงรวบรวมเพลงสวดของคุรุนานักและนิพนธ์เพลงสวดขึ้นอีก 62-63 เพลง[4] ต่อมาพระองค์ได้ทรงเลือกคุรุศาสดาองค์ต่อไปด้วยแนวคิดเช่นเดียวกับคุรุนานัก คือไม่เลือกพระบุตรของตนแต่เลือกผู้ที่มีความสามารถมากกว่า ซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาคุรุอมรทาส เป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 3 ถัดจากพระองค์เอง[7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. H. S. Singha (2000). The Encyclopedia of Sikhism (over 1000 Entries). Hemkunt Press. p. 20. ISBN 978-81-7010-301-1.
  2. 2.0 2.1 Arvind-Pal Singh Mandair (2013). Sikhism: A Guide for the Perplexed. Bloomsbury Academic. pp. 35–37. ISBN 978-1-4411-0231-7.
  3. 3.0 3.1 3.2 Louis E. Fenech; W. H. McLeod (2014). Historical Dictionary of Sikhism. Rowman & Littlefield Publishers. p. 36. ISBN 978-1-4422-3601-1.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. pp. 18–20. ISBN 978-1-898723-13-4.
  5. Clarke, Peter B.; Beyer, Peter (2009). The World's Religions: Continuities and Transformations. Abingdon: Routledge. p. 565. ISBN 9781135210991.
  6. Shackle, Christopher; Mandair, Arvind-Pal Singh (2005). Teachings of the Sikh Gurus: Selections from the Sikh Scriptures. United Kingdom: Routledge. xiii–xiv. ISBN 0-415-26604-1.
  7. 7.0 7.1 Kushwant Singh. "Amar Das, Guru (1479–1574)". Encyclopaedia of Sikhism. Punjab University Patiala. สืบค้นเมื่อ 10 December 2016.
  8. 8.0 8.1 William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. pp. 20–21. ISBN 978-1-898723-13-4.
ก่อนหน้า คุรุอังคัท ถัดไป
คุรุนานักเทพ คุรุศาสดาของศาสนาซิกข์
คุรุอมรทาส