คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/นโยบาย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำอธิบาย[แก้]

  1. นโยบายนี้ ผมเรียงรูปแบบตามอย่างฝรั่งเศส เพราะเห็นว่า การมีหัวข้อเป็นรายเรื่องไป ทำให้เข้าใจง่ายดีครับ และคุณ octahedron80 บอกว่า มันดูเหมือนกฎหมาย ควรเขียนเป็นย่อหน้า ๆ ไปดีกว่า ผมยังไม่ได้แก้ส่วนนี้ อยากฟังความเห็นของคนอื่น ๆ ด้วยครับ และใครอยากแก้ เชิญได้เลยครับ ไม่ต้องบอกผม
  2. อย่างที่บอก ใครอยากแก้ เชิญได้เลยครับ ไม่ต้องบอกผม ไม่ว่าในจุดไหน
  3. เนื้อหาในนโยบาย ส่วนใหญ่เอามาจากของอังกฤษ บวกกับเพิ่มเติมเองเล็กน้อย ดังอธิบายไว้ข้างล่างนี้
จริง ๆ แล้วนโยบายบางอย่างของ ENWP ก็เป็นลักษณะข้อ ๆ นะครับ (เช่น CSD) แต่อาจไม่ชัดเจนเท่านี้ ผมว่าการยุบรวมทุกหน้า (Policy/procedure) ทั้งหมดมารวมกันหน้าเดียวจะสะดวกในการอ้างอิงครับ จึงไม่มีข้อคัดค้านว่าควรจะปรับเป็นความเรียง อย่างไรก็ดีเพื่อให้เข้าใจง่ายโดยคร่าว ๆ ผมอาจปรับบางส่วนไปเป็นความเรียงในหน้าของ ArbCom เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจกับความเรียงได้โดยง่าย ส่วนหากต้องการรายละเอียดเชิงลึกก็ให้อ้างนโยบายนี้เป็นหลักได้ครับ --∫G′(∞)dx 15:12, 15 ตุลาคม 2554 (ICT)

ที่มาที่ไป[แก้]

  1. ข้อ 1 บทวิเคราะห์ศัพท์
    1. อันนี้ไม่มีที่ไหน ผมแยกมาขึ้นไว้ตรงนี้เอง เพราะการรวบรวมคำย่อไว้แต่แรก น่าจะสะดวกต่อการอ่านที่สุด (มากกว่า เขียนไปแล้วแทรกในบรรทัดต่อ ๆ ไป เช่น "...ให้คณะอนุญาโตตุลการ ('คอต.') ปฏิบัติหน้าที่...")
  2. ข้อ 2 การเลือกตั้งตุลาการ
    1. มาจาก Selection and appointment
    2. ที่ผมเพิ่มขึ้นมา คือ การให้ผู้ใช้ที่อยากเป็นตุลาการเสนอตัวเองก็ได้ หรือคนอื่นจะเสนอเขาก็ได้, ระยะเวลาเสนอชื่อ และข้อห้ามตุลาการลงคะแนนเลือกตั้งกันเอง
  3. ข้อ 3 เงื่อนไขการเป็นผู้สมัคร
    1. มาจาก Selection and appointment
  4. ข้อ 4 การดำรงตำแหน่ง
    1. ยังหาอยู่ แต่จำได้ว่า มาจากของอังกฤษที่ว่า ให้ตุลาการทำหน้าที่ทันที่ที่ได้รับเลือกตั้ง แล้วผมก็เพิ่มไปว่า "เว้นแต่คดีนั้นมาถึงคราววินิจฉัยชี้ขาดแล้ว" เพราะมีหลัก (ซึ่งไม่แน่ใจว่าควรนำมาใช้ไหม) ว่า ถ้าตุลาการไม่ได้ร่วมพิจารณาแล้ว ห้ามวินิจฉัย ที่บอกว่าไม่แน่ใจว่าควรนำมาใช้ไหม เพราะกระบวนพิจารณานี้เป็นทางอินเทอร์เน็ต ไม่เหมือนในโลกจริง --Aristitleism 19:48, 15 ตุลาคม 2554 (ICT)
       ความเห็น ต่อมา ผมตัดข้อความ "เว้นแต่..." นั้นออก โดยให้ผู้ได้รับเลือกใหม่เข้าทำคดีได้ทันที ไม่ว่าคดีมาถึงขั้นตอนไหน เพราะนอกจากเหตุผลที่เป็นกระบวนพิจารณาทางอินเทอร์เน็ตดังกล่าวแล้ว ในข้อหลัง ๆ ผมยังเสนอให้คนนอกมาลงมติร่วมได้ในกรณีที่ตุลาการมีคะแนนเสียงเท่ากัน (ดู ข้อ 26 การประชุมปรึกษาคดี) แสดงว่า คนนอกโผล่มาขั้นตอนสุดท้ายยังลงมติได้ แล้วทำไมตุลาการโผล่มาขั้นตอนไหนก็ได้ จึงจะเข้าทำคดีหรือลงมติไม่ได้บ้าง --Aristitleism 19:47, 15 ตุลาคม 2554 (ICT)
  5. ข้อ 5 จริยธรรมของตุลาการ
    1. มาจาก Conduct of arbitrators และ Transparency and confidentiality
    2. "อย่างมีมโนธรรม" แปลมาจาก "conscientiously" ซึ่งอาจแปลว่า อย่างมีสติยั้งคิด, อย่างรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร, อย่างรอบคอบ อะไรทำนองนั้น ก็ได้ แต่ผมเลือกใช้ "มโนธรรม" เพราะเห็นว่าได้ความหมายดี ("น. ความรู้สึกว่า อะไรควรทำอะไร ไม่ควรทำ")
  6. ข้อ 6 เหตุคัดค้านตุลาการ
    1. มาจาก Recusal of arbitrators แล้วผมแยกเป็นบรรทัด ๆ เองแหละ
    2. ตัวอย่างของการมีผลประโยชน์ได้เสีย (ที่บอกว่า "การมีผลประโยชน์ได้เสีย รวมถึง...") นั้น ผมเพิ่มมาเอง
  7. ข้อ 7 การคัดค้านตุลาการ
    1. มาจาก Recusal of arbitrators
  8. ข้อ 8 การถอนตัว
    1. ข้อนี้ผมเพิ่มเอง ในวิกิพีเดียระบุแต่ว่า ถ้ามีเหตุแล้ว ให้คนอื่นคัดค้านตุลาการได้ ผมจึงเพิ่มไปว่า แล้วถ้าตุลาการเห็นว่าตัวเองไม่สมควร จะถอนตัวไปเองโดยยังไม่มีคัดค้านก็ได้
  9. ข้อ 9 เหตุพ้นจากตำแหน่ง
    1. มาจาก Conduct of arbitrators
  10. ข้อ 10 การพักหน้าที่
    1. มาจาก Conduct of arbitrators
  11. ข้อ 11 บทเบ็ดเตล็ด
    1. เพิ่มมาเอง
  12. ข้อ 12 เขตของ คอต.
    1. มาจาก Jurisdiction
    2. ในอังกฤษว่า ให้ คอต. มีเขตแต่ในวิกิพีเดีย ผมเพิ่มโครงการพี่น้องไปด้วย เพราะมันรกร้างว่างคน
  13. ข้อ 13 อำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
    1. มาจาก Jurisdiction
    2. ส่วนที่รื้อฟื้นคดีใหม่ มาจาก Appeal of decisions
  14. ข้อ 14 การบริหารคดี
    1. มาจาก Members และ Procedures and roles
  15. ข้อ 15 สำนักทะเบียน
    1. มาจาก Clerks
  16. ข้อ 16 ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา
    1. มาจาก Procedures and roles
  17. ข้อ 17 ผู้มีสิทธิเสนอข้อหา
    1. ผมเพิ่มเอง ต้องการระบุให้ชัด ๆ เฉย ๆ ครับ โดยกลั่นกรองมาจากเนื้อหาในส่วนอื่น ๆ เอาว่าใครควรเสนอได้บ้าง
  18. ข้อ 18 วิธีเสนอข้อหา
    1. มาจาก Requesting arbitration
    2. ในวิกิฯ อังกฤษว่า ให้ตุลาการกำหนดระเบียบเองว่า จะให้เสนอคำร้องมาในรูปแบบไหน ผมกำหนดเงื่อนไขขั้นต่ำไปว่า ต้องระบุข้อหา (claim) และคำขอ (application) อะไรทำนองนั้น ซึ่งปรกติแล้ว ก็ต้องมี
    3. เดิมผมเพิ่ม "ในกรณีที่มีผู้ร้องหลายคนในเหตุเดียวกัน บุคคลเหล่านั้นอาจยื่นคำร้องร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยจะมอบหมายให้ผู้ร้องคนใดเป็นผู้แทนของทุกคนก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่า การกระทำของผู้แทนนั้นผูกพันผู้ร้องทุกคน" ไปด้วย แต่ตอนนี้ตัดออก เพราะน่าจะไม่เป็นปัญหา
  19. ข้อ 19 การถอนคดี
    1. ผมเพิ่มเอง เผื่อผู้ร้องอารมณ์เย็นขึ้น ปัญหาแก้ง่ายขึ้น หรือไปประนีประนอมกัน อะไรก็แล้วแต่ แล้วขี้เกียจดำเนินคดีแล้ว
  20. ข้อ 20 การพิจารณาโดยเปิดเผย
    1. มาจาก Forms of proceeding
    2. ในวิกิฯ อังกฤษ มีการพิจารณาโดยขาดนัด (default) ด้วย (คือ ถ้าคู่ความฝ่ายไหนไม่ดำเนินคดีตามสมควร เช่น ไม่ให้การในเวลานั้นเวลานี้ บลา ๆ ๆ ให้แพ้คดี) เดิมผมก็ใส่ไว้ แต่ต่อมาตัดออก เพราะซับซ้อนเกินไป ไม่อยากเป็นกฎหมาย
    3. เดิมผมใส่ "องค์คณะ" หรือ "องค์ประชุม" (quorum) ไว้ด้วย แต่ตัดออก เพราะเห็นว่า มันเป็นกระบวนการทางอินเทอร์เน็ต จะรู้ได้ไงว่าใครมาไม่มา
  21. ข้อ 21 การงดบางขั้นตอน
    1. มาจาก Forms of proceeding โดยปรับปรุงจาก กระบวนพิจารณาแบบรวบรัด (summary proceedings ) ของเขา
  22. ข้อ 22 คำสั่งห้ามก่อนวินิจฉัย
    1. มาจาก Temporary injunctions
  23. ข้อ 23 การนำสืบ
    1. เพิ่มมาเอง ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปว่า คู่ความจะเสนอพยานหลักฐานเองก็ได้ หรือ คอต. จะเรียกมาเองก็ได้
  24. ข้อ 24 พยานหลักฐานที่รับฟังได้
    1. มาจาก Admissibility of evidence
  25. ข้อ 25 การปิดการพิจารณาคดี
    1. เพิ่มเอง เพื่อให้รู้ว่า คอต. จะเริ่มลงมติวินิจฉัยคดีเมื่อไร
  26. ข้อ 26 การประชุมปรึกษาคดี
    1. มาจาก Transparency and confidentiality
    2. เพิ่มเองก็มีอยู่ เช่น "ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ตุลาการตั้งบุคคลภายนอกเป็นประธานขึ้นคนหนึ่งเพื่อออกคะแนนเสียงชี้ขาด ถ้าตุลาการไม่อาจตกลงกันในการตั้งประธาน ก็ให้ประชาคมตั้งประธาน" ปรกติ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน จะให้ประธานออกเสียงเพิ่มอีก 1 เสียงเป็นเสียงชี้ขาด (casting vote) แต่ คอต. ไม่มีประธาน หรือจะให้ประธานที่ประชุม ผมก็เห็นว่า คอต. ไม่ได้นั่งประชุมกัน เพราะเป็นกระบวนพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต หรือจะให้กำหนดตุลาการคนใดคนหนึ่งไปออกเสียงเพิ่ม ผมก็เห็นว่า มันคงแน่อยู่แล้วว่า เขาคงออกเสียงเหมือนที่ตนออกไปก่อนแล้ว จึงกำหนดให้เลือกบุคคลที่สามมา
  27. ข้อ 27 รูปแบบคำวินิจฉัย
    1. มาจาก Format of decisions
  28. ข้อ 28 การขอให้อธิบายคำวินิจฉัย
    1. มาจาก Format of decisions
  29. ข้อ 29 วิธีการบังคับ
    1. มาจาก Sanctions
  30. ข้อ 30 การอุทธรณ์
    1. มาจาก Appeal of decisions
  31. ข้อ 31 ขอบข่ายของกระบวนอนุญาโตตุลาการ
    1. มาจาก Policy and precedent
  32. ข้อ 32 ผลของคำวินิจฉัย
    1. เพิ่มเอง
  33. ข้อ 33 การเริ่มใช้นโยบายนี้
    1. มาจาก Ratification and amendment
  34. ข้อ 34 การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้
    1. มาจาก Ratification and amendment

ความเห็นอื่น ๆ[แก้]

  • ตุลาการควรมีวาระด้วยหรือไม่ (ในร่างนโยบายฯ กำหนดให้มี (ซึ่งยังไม่ได้กำหนดระยะเวลา) และให้มีการเลือกตั้งทุกปี ตามของอังกฤษ) แต่ปัญหาหลักของไทยคือ "บ้านพี่ขาดคนหุงข้าว" เราอาจไม่จำต้องเลือก "คนหุงข้าว" บ่อย ๆ --Aristitleism 15:33, 15 ตุลาคม 2554 (ICT)