คุยกับผู้ใช้:Naasanac

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Naasanac สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Naasanac! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (คุย) 17:24, 11 มิถุนายน 2562 (ICT)

ศาสตราจารย์ พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนะจินดา[แก้]

ประวัติ พ.ศ. ๒๔๖๒ เกิดวันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๔๖๒ ณ กรุงเทพมหานคร บุตรอำมาตย์เอก พระยา อนุบาล พายัพกิจ (ปุ่น อาสนะจินดา) อดีตปลัดมณฑลประจำจังหวัดเชียงใหม่ และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กับ คุณหญิงอนุบาลพายัพกิจ (เยียน อรรถวรรณา) มีพี่น้องร่วมบิดา ๕ คน คือ (๑) น.ส.ชุ่มใจ อาสนะจินดา สมรสกับนายวุฒิ สุวรรณรักษณ์ (๒) ศาสตราจารย์ พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนะจินดา ชื่อเดิม บุญภูล ได้รับพระราชทานตั้งชื่อจากสมเด็ดพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาดุจฉาเจ้า ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นพูนพล เมื่อเข้ารับราชการทหาร (๓) นายเพิ่มพล อาสนะจินดา สมรสกับ นางเพลินพิศ อาสนะจินดา (๔) น.ส.เสนอบุณย์ อาสนะจินดา สมรสกับ นายสมโภช สุมาวงศ์ (๕) น.ส.กรรณิการ์ อาสนะจินดา พ.ศ. ๒๔๘๐ จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๘๒ จบปริญญาตรีทางวิศวกรรมแผนที่ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. ๒๔๘๖ บรรจุเข้ารับราชการทหาร เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๘๖ ณ กรมแผนที่ทหาร ตำแหน่งสำรองราชการ กองบังคับการ เป็นข้าราชการสามัญ โอนจากกรมแผนที่ทหาร ไปประจำกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (ปตอ.พัน ๒) เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๘๖ พ.ศ. ๒๔๙๕ สมรสกับนางสาววิลาวัณย์ โชตินุชิต บุตรีหลวงและนางสาวบรรณบริหาร อดีตข้าหลวงตรวจการสรรพากรภาค ๔ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๙๕ มีบุตรและธิดา รวม ๔ คน ตามลำดับดังนี้ (๑) นายพิพัฒน์ อาสนะจินดา รับราชการตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับ น.ส.เมตตา สินอาษา มุบุตร ๒ คน คือ (๑) เด็กชายพิริยะ อาสนะจินดา (๒) เด็กหญิงปริยานุช อาสนะจินดา (๒) นายกมลวัฒก์ อาสนะจินดา พนักงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทการบินไทย จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ตำแหน่ง Reservation Supervisor แผนกสำรองที่นั่ง ได้รับพระราชทานสมรสกับนางสาวอรุณี สวัสดิ์ศรี มีบุตร ๓ คน คือ (๑) เด็กหญิงสิริกาญจน์ อาสนะจินดา (๒) เด็กชายประสานกิต อาสนะจินดา (๓) เด็กชายสุวิชญ์พงศ์ อาสนะจินดา (๓) นางสาวอังสนา อาสนะจินดา พนักงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทการบินไทย จำกัด ตำแหน่งผู้ช่วยนายสถานีการบินไทย สนามบินชาลส์ เดอะโกล กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้รับพระราชทานสมรสกับนายวิภัณฑ์ รัตนชัยพล (๔) นางสาวอัมภาศรี อาสนะจินดา พ.ศ. ๒๕๓๔ ถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เมื่อวันจันทร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ เวลา ๑๔.๕๕ น. ณ วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร

คุณวุฒิทางการศึกษา พ.ศ. ๒๔๘๒ ปริญญาตรีทางวิศวกรรมแผนที่ทหาร มหาวิทยาลับฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ปริญญาโททางภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลับชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๒๕ ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณวุฒิพิเศษ พ.ศ. ๒๔๘๙ ศึกษาและฝึกงานพิเศษทางการทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ จากองค์การทำแผนที่ ของกองทหารสหราชอาณาจักร ประเทศสิงคโปร์ พ.ศ. ๒๔๙๔ ประกาศนียบัตรนักธรรมตรี ระหว่างอุปสมบท ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔ วุฒิบัตรอบรมนักบริหารรุ่นที่ ๒๓ และอบรมรวมรุ่น พ.ศ. ๒๕๑๔ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์

ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารและตำแหน่ง พ.ศ. ๒๔๘๖ ว่าที่ร้อยตรี ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๘๖ พ.ศ. ๒๔๘๗ ร้อยตรี ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๗ พ.ศ. ๒๔๘๘ ร้อยโท ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๘๘ พ.ศ. ๒๔๙๐ ร้อยเอก ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๐ พ.ศ. ๒๔๙๙ พันตรี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๙ พ.ศ. ๒๕๐๔ พันโท ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๔ พ.ศ. ๒๕๐๕ พันเอก ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๕ พ.ศ. ๒๕๐๘ พันเอก (พิเศษ) ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๘

ประวัติการรับราชการ พ.ศ. ๒๔๘๖ บรรจุเข้ารับราชการทหาร เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๘๖ ณ กรมแผนที่ทหาร ตำแหน่งสำรองราชการ กองบังคับการ พ.ศ. ๒๔๘๖ รับราชการทหารกองประจำการ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๘๖ เป็นจ่าสิบเอก ผู้บังคับหมู่ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๘๖ พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๘ ว่าที่ร้อยตรีประจำแผนกที่ ๑ กรมแผนที่ทางบก เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๘๖-๒๔๘๘ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นผู้ช่วยแม่กองแผนที่รูปถ่ายทางอากาศและแม่เหล็กพิภพ แผนกที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๙ พ.ศ. ๒๔๙๐ สำรองราชการกองบังคับการ กรมเสนาธิการทหารบก และไปศึกษาต่อที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ พ.ศ. ๒๔๙๑ ประจำกรมเสนาธิการทหารบก เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๔๙๑ และไปเรียนต่อที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทุนกองทัพบก (๒๔๙๑-๒๔๙๓) พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๕ เป็นอาจารย์โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๓-๒๔๙๔ และเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๐-๒๕๐๕ พ.ศ. ๒๔๙๖ ประจำแผนกศึกษา โรงเรียนแผนที่ทหารบก กรมแผนที่ทหาร เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๖ พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๓๔ อาจารย์พิเศษวิชาภูมิศาสตร์และแผนที่ในสภาบันอุดมศึกษาต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๓๔ ดังนี้ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - มหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ - วิทยาลัยครูจันทรเกษม - โรงเรียนนายเรืออากาศ กองทัพอากาศ - โรงเรียนรังวัดที่ดิน กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย - วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ เชียงใหม่ - อาจารย์พิเศษประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นนายช่างกองรวบรวมแผนที่ กรมแผนที่ทหาร เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๔๙๘ รักษาการหัวหน้าแผนกประกอบแผนที่ กรมแผนที่ทหาร เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๙๘ พ.ศ. ๒๔๙๙ อาจารย์พิเศษวิชาภูมิศาสตร์และแผนที่โรงเรียนสงครามจิตวิทยาและโรงเรียนเสนาธิการทหาร (๒๔๙๙-๒๕๐๔) พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นนายทหารกองหนุน เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๐๐ พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นหัวหน้ากองสามเหลี่ยมใหญ่ กรมแผนที่ทหาร เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๐๕ พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๘ เป็นนายทหารฝ่ายเทคนิค กรมแผนที่ทหาร ตั้งแต่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๐๕-๒๕๐๘ พ.ศ. ๒๕๐๙ ข้าราชการพลเรือนชั้นพิเศษ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ พ.ศ. ๒๕๑๐ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๐ พ.ศ. ๒๕๑๕ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (๒๕๑๕-๒๕๑๖) พ.ศ. ๒๕๑๘ คณบดี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยเชียงใหม่-๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๓๒ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. ๒๔๙๒ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ ๕ (บ.ม.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๒ พ.ศ. ๒๔๙๖ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๕ (บ.ช.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๖ พ.ศ. ๒๔๙๘ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ ๔ (จ.ม.) เมื่อวันที่ ๕ ๒๔๙๘ พ.ศ. ๒๕๐๐ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๔ (จ.ช.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๐ พ.ศ. ๒๕๐๔ ตริตราภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ ๓ (ต.ม.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๔ พ.ศ. ๒๕๐๖ เหรียญราชการชายแดน เมื่อวัน ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๙๒ พ.ศ. ๒๕๐๖ ตริตราภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๓ (ต.ช.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๖ พ.ศ. ๒๕๐๗ เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๑๑ ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ ๒ (ท.ม.) เมื่อวันที่ ๕ ๒๕๑๑ พ.ศ. ๒๕๑๕ ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๒ (ท.ช.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๑๘ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๘ พ.ศ. ๒๕๒๑ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๑

ตำแหน่งและราชการพิเศษในประเทศ พ.ศ. ๒๔๘๙ ศึกษาเพื่อเตรียมการทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศชุดแรกในประเทศไทย จากกองทหารอังกฤษ ประเทศสิงคโปร์ พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๐ สำรวจสภาพภูมิศาสตร์ทหารชุดแรงทั้งประเทศ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมเสนาธิการทหารบก และผู้เชี่ยวชาญทางทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๐) พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๔ ที่ปรึกษาทางวิชาการแผนที่ในการแก้คดีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ กรณีเข้าพระวิหาร ๓ ครั้ง (พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๔) พ.ศ. ๒๕๐๔ จัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์ชุดแรกของประเทศไทย เพื่อใช้ในการประชุมทางวิชาการ แผนที่กับองค์การสหประชาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่ปรึกษาในการร่างหลักสูตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๖ ผู้ประสานงานจัดตั้งศูนย์สารนิเทศทางแผนที่ ตามความร่วมมือระหว่างกรมแผนที่ทหาร และองค์การสหประชาชาติ ณ กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๑๗ กรรมการร่วมพิจารณาส่งเสริมการขยายสนามบินเชียงใหม่ ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๑ นายกสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทยคนแรก (พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๑) ก่อตั้งสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทยโดยการสนับสนุนของสภาวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ พ.ศ. ๒๕๑๙ กรรมการบริหารคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๐ กรรมการยีออเดซีและยีออฟิสิคส์แห่งชาติปี ๒๕๒๐ พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๓ กรรการภูมิศาสตร์ทางมนุษยชาติ องค์การ PACIFIC SCIENCE ASSOCIATION HAWAII U.S.A. (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๓) พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๓ กรรมการพิจารณาการเข้าดำรงตำแหน่งทางวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๓) พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๓ กรรมการสังคมศาสตร์ ฝ่ายการศึกษาสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ปรึกษาการวิจัยผังเมืองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๙ กรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อเสนอแนะและให้ข้อคิดเห็นทางวิชาการ และตรวจผลงานวิจัยทางภูมิศาสตร์ที่สนับสนุนโดยสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการสาขาภูมิศาสตร์ของสภาการฝึกหัดครู และของ อ.ก.ค. กรมการฝึกหัดครู พ.ศ. ๒๕๓๐ อนุกรรมการวิสามัญของทบวงมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ประเมินผลทางวิชาการ งานวิจัยสาขาภูมิศาสตร์ของผู้ขอดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๑ กรรมการสาวิทยาลัยโยนกลำปางในระยะก่อตั้ง (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๑) พ.ศ. ๒๕๓๐ ที่ปรึกษางานวิจัยหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๐ กรรมการโครงการตรวจสอบและสืบค้นดวงเมืองและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ของจังหวัดเชียงใหม่ และวิยาลัยล้านนา วิทยาลัยครูเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๒ ผู้บรรยายพิเศษในการอบรมมัคคุเทศก์ของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ รุ่นที่ ๑-๖

ตำแหน่งและราชการพิเศษในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๔๘๙ นักวิชาการแผนที่ในแก่กองทัพสหราชอาณาจักร ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๒๖ เมษายน - ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๘ พ.ศ. ๒๔๙๐ ดูงานทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ สหภาพพม่า และสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๗ เมษายน - ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๐ พ.ศ. ๒๕๐๒ ประชุมกิจการรังวัดความดึงดูดของพิภพที่กรุงปารีส และดูงานที่บริษัททวิลด์ ประเทศสวิสเซอรืแลนด์ เกี่ยวกับการผลิตเครื่องมือจากรูปถ่าย ระหว่างวันที่ ๑๐ กันยายน - ๗ ตุลาคม ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๕ กรรมการผู้แทนกรมแผนที่ทหารฝ่ายวิชาการแผนที่ ในคณะกรรมการเตียมเรื่องเขาพระวิหารทางกฎหมาย และเดือนทางไปปฏิบัติราชการต่างประเทศเกี่ยวกับคดีนี้ ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์ และ ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ ๕ เมษายน - ๓ พฤษภาคม ๒๕๐๔ ครั้งที่ ๒ กรุงปารีสและกรุงลอนดอน ระหว่างวันที่ ๒๖ ธันวาคม - ๒๒ มกราคม ๒๕๐๕ ครั้งที่ ๓ กรุงเฮก ระหว่างวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ - ๖ เมษายน ๒๕๐๕ พ.ศ. ๒๕๐๔ กรรมการผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยกิจการแผนที่ของเอเชียและตะวันออกไกล ครั้งที่ ๓ ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๒๗ ตุลาคม - ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ พ.ศ. ๒๕๐๖ กรรมการผู้แทนกรมแผนที่ทหารบก ในคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-พม่า เดินทางไปดูสถานการณ์ที่วิคตอเรียพอยท์ สหภาพพม่า ระหว่างวันที่ ๕ -๑๐ มิถุนายน ๒๕๐๖ พ.ศ. ๒๕๐๗ ผู้แทนประเทศไทยในการประชุมภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศที่กรุงลอนดอน และ ดูงานที่บริษัทวิลด์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของการผลิตเครื่องทำแผนที่จากรูปถ่าย ระหว่างวันที่ ๑ กรกฎาคม - ๙ สิงหาคม ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๐๗ กรรมการผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยกิจการแผนที่ของเอเชียและตะวันออกไกล ครั้งที่ ๔ ที่กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน - ๖ ธันวาคม ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๑๗ หัวหน้าคระผู้แทนไทยไปประชุมภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ ประเทศนิวซีแลนด์ ธันวาคม ๒๕๑๗ พ.ศ. ๒๕๑๘ ผู้แทนไปประชุมร่วมกับองค์การแอนซัส ตามคำเชิญของรัฐบาลประเทศออสเตรเลีย มกราคม ๒๕๑๗ พ.ศ. ๒๕๑๙ ดูงานการสอนและหลักสูตรภูมิศาสตร์ในกิจการท่องเที่ยว ณ ประเทศมาเลเซีย และ อินโดนีเซียโดยได้รับทุนพิเศษ จาก เอ.ดี.ซี สิงคโปร์ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๒๔ ประชุมไลออนส์สากลและศึกษากิจการท้องฟ้าจำลอง และหอส่องดาวในหลายรัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๒๗ เดินทางไปศึกษาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่กรุงปักกิ่ง ถึงสิบสองปันนา พ.ศ. ๒๕๒๘ เดินทางไปแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าทางวิชาการกับนักภูมิศาสตร์จีน ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนกับคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทย

งานบริการทางสังคม พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๒ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือ พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๑๙ ลูกเสือชาวบ้าน ฝึกอบรมที่วัดพระสิงห์รุ่นแรก ตุลาคม ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๑๙ กรรมการประสานงานก่อตั้งสโมสรไลออนส์สตรีแห่งแรกของภาคเหนือ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๓๔ กรรมการสงเคราะห์ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๓๔ พ.ศ. ๒๕๒๔ กรรมการต่างๆของจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ กรรมการจัดงานฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการจัดการหาทุนร้านมัจฉากาชาดเพื่อนำไปใช้ในการบริการโลหิตของเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ ๒๕๒๔-๒๕๓๔ พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๕ ผู้ว่าการไลออนส์สากลภาค ๓๑๐ เอ พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๕ พ.ศ. ๒๕๒๖ กรรมการอำนวยการเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ ๓ สมัย และได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้น ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๓๑ กรรมการมูลนิธิสงเคราะห์ของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๓๑ พ.ศ. ๒๕๒๗ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือ พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๓๐ และ เดินทางไปมณฑลยูนาน YUNNAN เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๔ กรรมการสมาคมปราบวัณโรคจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๔ พ.ศ. ๒๕๓๒ ร่วมมือจัดตั้งสโมสรไลออนส์คำดารารัศมีเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๒ รองประธานบ้านเชียงใหม่ มูลนิธิสิริวัฒนาเชสเชียร์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยพิการ

สมาชิกสมาคม องค์กร สาธารณประโยชน์อื่นๆ สมาชิกตลอดชีวิตสภาการชาดไทย สมาชิกตลอดชีวิตสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย สมาชิกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาชิกสมทบ พ.อ.ส.ว. ฝ่ายหาทุน จังหวัดเชียงใหม่ ในการสนับสนุนการปฎิบัติการ ของหน่วยแพทย์อาสาฯ นายกสมาคมศิทย์เก่าปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยเชียงใหม่ นายกสโมสรไลออนส์เชียงใหม่ ประธานไลออนส์เขต ๕ ภาคเหนือ ประธานกรรมการสโมสรลีโอ สโมสรเยาวชนในเครือของสโมสรไลออนส์สากล ประธานกรรมการฝ่ายอาสาสมัครเพื่อรณรงค์หาทุนให้แก่กองทุนสงเคราะห์ชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ประธานกรรมการพัฒนาวัดฝายหิน วัดประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการจัดขบวนรถบุปผาชาติและกรรมการตัดสินการประกวดรถ ตั้งแต่เริ่มจัดงาน จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๑

ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. ๒๔๘๗ แผนที่ดาราศาสตร์ ๔ แผ่นชุด รวบรวมเขียนกับ พลตรี หลวงลออ ภูมิลักษณ์ จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ทหารบก, ๒๔๘๗ พ.ศ. ๒๔๘๙ System of the Transliteration of the Thai Maps", The Survey Production Center, Royal Engineer, British Armed Forces, Singapore, 1946. (Many maps were transliterated and published billingua at the center during the period of six months of works.) พ.ศ. ๒๔๙๒ "STEREOSCOPIC INSTRUMENTS FOR PHOTOGRAMMETRIC MAPPING" (วิทยานิพนธ์, พ.ศ. ๒๔๙๒) มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (วิทยานิพนธ์พิมพ์จำนวนจำกัด แต่อิทธิพลพอควรในการเสนอแนะประเทศฟิลิปปินส์ให้ทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศในโอกาสต่อมา) พ.ศ. ๒๔๙๔ - "LAND UTILIZATION IN THAILAND" (วิทยานิพนธ์, พ.ศ. ๒๔๙๔) มหาวิทยาลัยชิคาโก (บางส่วนของวิทยานิพนธ์นี้เป็นตำราเรียนที่อาจารย์ได้เขียนเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ทางภาคพื้นเอเชีย - ดร.กินส์เบิร์ก) - ความก้าวหน้าในการทำแผนที่ของสหรัฐอเมริกา, จัดพิมพ์โดยกรมแผนที่ทหารบก, ๒๔๙๔ พ.ศ. ๒๔๙๗ - การทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศในประเทศไทย, พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระวิภัติ ภูมิประเทศ, พิมพ์โดยกรมแผนที่ทหารบก, ๒๔๙๗ - "Joint Millitary Geographical Survey and Research", the Royal Thai Army Staff and U.S. Millitary Attache, 1954-57. พ.ศ. ๒๔๙๙ แผนที่ชุดภูมิศาสตร์ไทย, ๒๔๙๙, โรงพิมพ์คุรุสภา (อาจารย์มานี ธรรมครองอาตม์ ร่วมเขียนคำบรรยายภาคประวัติศาสตร์) พ.ศ. ๒๕๐๑ ทรัพยากรของโลก, ๒๕๐๑, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๒ Classified Researches for defending the Cambodian Claim of the Phra Viharn Temple the National Defense Counsel, Office of Prime Minister Bangkok, 1959-62 พ.ศ. ๒๕๐๓ - โน้ตแผนที่ชั้นประถม ๓, ๒๕๐๓, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - โน้ตแผนที่ชั้นประถม ๔, ๒๕๐๓, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - โน้ตแผนที่ชั้นประถม ๕, ๒๕๐๓, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - โน้ตแผนที่ชั้นประถม ๖, ๒๕๐๓, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - โน้ตแผนที่ชั้นประถม ๗, ๒๕๐๓, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - ร่วมเขียนอัขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย, ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๐๓ พ.ศ. ๒๕๐๔ - "Cartographic Research", the National Resources Atlas, Thailand, the Royal Thai Survey Department, 1961 - โน้ตแผนที่ชั้นมัธยม ๑, ๒๕๐๔, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - โน้ตแผนที่ชั้นมัธยม ๒, ๒๕๐๔, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - โน้ตแผนที่ชั้นมัธยม ๓, ๒๕๐๔, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - สมุดแผนที่ (แผนที่เล่า) ประถมศึกษาต้น บริษัทไทยวัฒนาพานิช - สมุดแผนที่ (แผนที่เล่า) ประถมศึกษาปลาย บริษัทไทยวัฒนาพานิช - สมุดแผนที่ (แผนที่เล่า) มัธยมศึกษา บริษัทไทยวัฒนาพานิช - แผนที่ทรัพยากรประเทศไทย, กรมแผนที่ทหาร, ๒๕๐๔ พ.ศ. ๒๕๐๕ - Classified Researches in evaluation of the decision of the International Court of Justice over the Phra Viharn Case, the National Defense Counsel, Office of the Prime Minister, Bangkok, 1962. - ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ ชั้นประถม ๕, ๒๕๐๕, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ ชั้นประถม ๖, ๒๕๐๕, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ ชั้นประถม ๗, ๒๕๐๕, บริษัทไทยวัฒนาพานิช พ.ศ. ๒๕๐๖ - ร่วมเขียนสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน, ๒๕๐๖ - ภูมิศาสตร์มัธยม ๑, ๒๕๐๖, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - ภูมิศาสตร์มัธยม ๒, ๒๕๐๖, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - ภูมิศาสตร์มัธยม ๓, ๒๕๐๖, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - ประวัติศาสตร์มัธยม ๑, ๒๕๐๖, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - ประวัติศาสตร์มัธยม ๒, ๒๕๐๖, บริษัทไทยวัฒนาพานิช - ประวัติศาสตร์มัธยม ๓, ๒๕๐๖, บริษัทไทยวัฒนาพานิช พ.ศ. ๒๕๐๗ - สมุดหัดอ่านและเขียนแผนที่ ชั้นประถม ๕, ๒๕๐๗ , บริษัทไทยวัฒนาพานิช จำกัด - สมุดหัดอ่านและเขียนแผนที่ ชั้นประถม ๖, ๒๕๐๗ , บริษัทไทยวัฒนาพานิช จำกัด - สมุดหัดอ่านและเขียนแผนที่ ชั้นประถม ๗, ๒๕๐๗ , บริษัทไทยวัฒนาพานิช จำกัด - ร่วมเขียน Atlas of South East Asia, ๒๕๐๗, กับนักภูมิศาสตร์ชาวฝรั่งเศส, อังกฤษ, อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์, จัดโดยบริษัท Mac Millan Co. Ltd. - ร่วมเขียนรายงานของรัฐบาล โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๗, บทที่ ๑ ว่าด้วยภูมิศาสตร์ประเทศไทย - แผนที่ทรัพยากรประเทศไทย, กรมแผนที่ทหาร, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๐๗ - แผนที่ภูมิศาสตร์ประเทศไทย ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๐๗ พ.ศ. ๒๕๐๘ แผนที่สถิติประเทศไทย, ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๐๘ พ.ศ. ๒๕๐๙ ตำรา "ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจประเทศไทย" ระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา พิมพ์เผยแพร่โดยห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยวัฒนาพานิช กรุงเทพฯ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๐๙ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๐ - งานร่วมงานเขียนคำและบทความ ในสารานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน และ อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙-๓๔ - "Physical Background of Thailand" พิมพ์เผยแพร่โดยโรงพิมพ์ สำนักนายกรัฐมนตรีกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๑๐ พ.ศ. ๒๕๑๒ - THE TRAIL STUDY OF NORTHERN THAILAND ๒๕๑๒, (งานวิจัย) พิมพ์โดยสถาบันวิจัยประยุกต์แห่งประเทศไทย, และบทคัดย่อพิมพ์เผยแพร่ โดย POST และ SPECTRM, SEATO, BANGKOK. - ภูมิศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์, ๒๕๑๒ วารสารแผนที่ นำลงพิมพ์หลายเล่มต่อเนื่องกัน พ.ศ. ๒๕๑๕ งานวิจัย HIGH ALTITUDE PHOTOGRAMMETRY IN DETERMINATION THE TRUE FIGUE OF THE EARTH พ.ศ. ๒๕๑๕-๑๘ ใช้ผลการค้นคว้าเพื่อสอนนักศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ และนำเสนอที่ประชุม THE EIGHT UNITED NATIONAS REGIONAL CARTOGRAPHIC CONFERENCE FOR ASIA AND THEEE FAR EAST ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ มกราคม ๒๕๒๐ เป็นเอกสารหมายเลข E/CONF. ๖๘/๑.๕๗

พ.ศ. ๒๕๑๖	- "HILL-TRIBE DEVELOPMENT IN THAILAND; TEA CAN HELP" พิมพ์เผยแพร่ใน SOUTH-EAST ASIA TREATY ORGANIZATION, BANGKOK THAILAND พ.ศ. ๒๕๑๖

- งานวิจัย "TOPOGRAPHIC MAPPING OF HUMID TROPICAL ASIA" พ.ศ. ๒๕๑๖-๑๗ พิมพ์เผยแพร่โดย องค์การการศึกษาสหประชาชาติ (UNESCO) ๒๕๑๗ พ.ศ. ๒๕๑๗ - งานวิจัย "การรังวัดเพื่อหาตำแหน่งทางดาราศาสตร์ โดยไม่มีปฏิทินดาว" เป็นงานออกแบบบทความให้แก่วารสารแผนที่ฉบับใหม่ ๒๕๑๗ - "THAILAND" มีแผนที่และสถิติประกอบ พิมพ์เผยแพร่โดย UNIVERSITY OFCHICAGO, CHICAGO, U.S.A ในวารสาร ENCYCLOPEDIA BRITANNICA, XUIII, pp.197-205, 1974 (พ.ศ. ๒๕๑๗) พ.ศ. ๒๕๑๗ NATURAL RESOURCES OF HUMID TROPICAL ASIA พ.ศ. ๒๕๑๘ "DEVELOPEMNT OF GEOGRAPHY IN THAILAND" พิมพ์เผยแพร่โดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ในเอกสารทางวิชาการในการสัมมนาภูมิศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ "พัฒนาภาคอีสานโดยการเลี้ยงปลา" พิมพ์เผยแพร่โดยสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ในวารสารภูมิศาสตร์ ฉบับที่ ๑ เล่ม ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๑๙ ดาราศาสตร์ในกิจการแผนที่และการเดินเรือ พ.ศ. ๒๕๒๐ "ชนชาติต่างๆในประเทศไทย" บทความในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๐ พ.ศ. ๒๕๒๒ POSSIBILITY OF APPLICATION OF MULTISECTRAL SENSING IN GRASSLAND STUDY พ.ศ. ๒๕๓๐ ประวัติวิวัฒนาการเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๒ - บทบาทของท้องถิ่นในการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว - ๒๕ ปีแห่งการพัฒนาทางสาขาวิชาภูมิศาสตร์ - ความรับผิดชอบของบุคคลในชาติต่อการรักษาเขตแดนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๓ - "คำกราบบังคมทูลเฉลิมพระเกียรติคุณและถวายชัยมงคล" สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงรับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ - "ถ้ารักรถหมั่นตรวจเครื่องยนต์ ถ้ารักตนหมั่นตรวจร่างกาย" ลานนาสารปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๕ กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๓๓

บทความทางวิชาการ และบทความวิจัยอื่นๆ (ไม่ปรากฏปีพิมพ์) บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารและหนังสื่อพิมพ์ การบรรยายทางวิทยุกระจายเสียง และการประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและนานาประเทศหลายเรื่อง ตลอดอายุการทำงานเกี่ยวกับ - ส่งเสริมวิชาการทางภูมิศาสตร์ - ส่งเสริมการท่องเที่ยว - ส่งเสริมการผลิตใบชาทางภาคเหนือ งานวิจัยทางแผนที่ ที่รับผิดชอบตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับโครงการพัฒนาท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ - งานแผนที่หมู่บ้ากะเหรี่ยง ครูบาวงศ์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูด ในโครงการหลวงพัฒนาชาวเขาตามพระประสงค์พระบาทสมเด็ดพระจ้าอยู่หัว เพื่อพิจารณาทำเลที่เหมาะสมในการทำฝาย และอ่างเก็บน้ำเพื่อการตั้งถิ่นฐานและการที่ใช้ที่ดีที่ถูกต้อง แต่มีปัญหาเพราะกรมพัฒนาที่ดินเปิดป่าเร็วเกินไป ทำให้ป่าที่ช่วยอุ้มน้ำไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้เลยทำให้โครงการฝายและอ่างเก็บน้ำขาดน้ำไปด้วย - งานแผนที่หมู่บ้านชาวเขา ห้วยน้ำขุ่น อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นงานโครงการหลวงพัฒนาชาวเขาตามพระประสงค์ ของหม่อมเจ้าภีศะเดช รัชนี เพื่อพิจารณาวางแผนการใช้ที่ดินตามไหล่เขา โดยเฉพาะการขยายไร่ชา เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่มีลาดค่อนข้างชัน แต่มีปัญหาในหาในการทำแผนที่ยังไม่เสร็จ เพราะรูปถ่าย ซึ่งได้ถ่ายจากเครื่องบินปีกหมุนมีเมฆบังและมัวเพราะกำลังมีฝน จึงยังไม่สามารถจะประกอบแผนที่ได้จนเวลาล่วงเลยมา ๒ ปีแล้ว - งานแผนที่หมู่บ้านห้วยลึก กม.๙๕ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในโครงการหลวงพัฒนาชาวเขา ตามพระกระแสรับสั่ง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพิจารณาแหล่งน้ำใต้ดินในหินปูน เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำและเจาะน้ำบาดาล เพื่อขยายพื้นที่ทำไร่ โดยศึกษาจากหลุมจมของหินปูน และทางน้ำซึมจาใต้ดิน มีปัญหาที่ว่าในฤดูฝนน้ำมีมากแต่ไหลออกตามผิวดินเป็นส่วนมาก ไม่มีทางเก็บพอถึงฤดูแล้งจะมีแต่น้ำพุจากหินปูนที่ยังไหลอยู่ในระดับต่ำเท่านั้น ส่วนในระดับสูงเป็นพื้นที่แห้งแล้งที่ควรจะทำไร่ได้ถ้ามีน้ำ - งานในโครงการรวบรวมข้อมูลพิเศษเพื่อทูลเกล้าถวายฯ เกี่ยวกับ "บริเวณน้ำพุร้อนในจังหวัดเชียงใหม่" งานแผนที่เฉพาะกิจตามพระกระแสรับสั่งด่วนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในหัวข้อต่างๆ คือ - แผนที่แสดงบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำปิงที่จังหวัดกำแพงเพชร (ใช้เวลาทำประมาณ ๒ วัน) เพื่อใช้พิจารณาแหล่งน้ำ - แผนที่เส้นทางดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ (ใช้เวลาทำ ๑๒ ชั่วโมง) เพื่อใช้พิจารณาแหล่งน้ำ - แผนที่บริเวณชายแดนจังหวัดปราจีนบุรี เฉพาะตำบล (ใช้เวลาทำ ๒๔ ชั่วโมง) เพื่อพิจารณาปัญหาชายแดน - แผนที่บริเวณชายแดนจังหวัดตราดและระยอง (ใช้เวลาทำ ๒๔ ชั่วโมง) เพื่อพิจารณาปัญหาชายแดน - แผนที่บริเวณเขาพนมรุ้งแสดงลักษณะธรณีวิทยาและภูมิสัณฐาน (ใช้เวลาประมาณ ๓ วัน) เพื่อพิจารณาประกอบกิจการโบราณคดี Naasanac (คุย) 15:38, 22 มิถุนายน 2562 (ICT)