คุยกับผู้ใช้:Daxza

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตราประจำองค์รัชกาลต่าง ๆ ของไทย[แก้]

   ตราประจำองค์พระมหากษัตริย์ หรือที่เรียกว่า พระราชสัญจกรนั้น ใช้สำหรับประทับในเอสารสำคัญอันแสดงถึง

พระราชอำนาจในการปกครองแผ่นดิน หรือเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นพระประมุขของชาติไทย ตราประจำพระองค์ ของรัชกาลต่าง ๆ มีดังนี้คือ

      รัชกาลที่ 1 “มหาอุณาโลม” เป็นตรางา ลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ “อุ” อยู่ตรงกลาง (“อุ” มีลักษณะ

เป็นม้วนกลมคล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า “ด้วง”) ตรามหาอุณาโลมนี้ หมายถึงตาที่สามของ พระอิศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์

      รัชกาลที่ 2 “ครุฑจับนาค” เป็นตรางา ลักษณะกลม รูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ฉิม” ซึ่งเป็นที่อยู่

ของพญาครุฑ

      รัชกาลที่ 3 “มหาปราสาท” เป็นตรางา ลักษณะกลม รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ทับ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสัญจกรเป็นรูปปราสาท
      รัชกาลที่ 4 “พระมหาพิชัยมงกุฎ” เป็นตรางา ลักษณะกลมรีรูปพระมหามงกุฎ (ตรมพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ)

อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรปริวาร 2 ข้าง มีพานทอง 2 ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง (พระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชร หมายถึง พระฉายา เมื่อผนวชว่า วชิรญาน) อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา (หมายถึง ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์ และดาราศาสตร์)

      รัชกาลที่ 5 “พระจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว” เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5 ซม. ยาว 6.8 ซม. มีรูปพระเกี้ยว

ยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง 2 ชั้น (หมายถึงพระเกี้ยวเจ้าฟ้าในคราวโสกัณฑ์) เคียงด้วยฉัตรปริวาร 2 ข้าง ที่ริมขอบทั้ง 2 ข้าง มีพานทอง 2 ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา (เป็นการเจริญรอยจำลองพระราชสัญจกร ของรัชกาลที่ 4)

      รัชกาลที่ 6 “มหาวชิราวุธ” เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5 ซม. ยาว 6.8 ซม. รูปวชิราวุธ มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง 2 ชั้น ตั้งอยู่เหนือตั้ง มีฉัตรปริวาร 2 ข้าง (รูปตรานี้ใช้ตามพระนามของพระองค์)
      รัชกาลที่ 7  “พระไตรศร” เป็นตรางา  ลักษณะกลมรี กว้าง 5.4 ซม. ยาว 6.7 ซม. รูปราวพาดพระแสงศร 3 องค์

คือพระแสงศรพรหมศาสตร์, พระแสงศรอัคนีวาต และพระแสงศรประลัยวาต (เป็นศรของพระพรหม, พระนารายณ์และของพระอิศวร ซึ่งใช้ตามความหมายของพระนามเดิมคือ “ประชาธิปกศักดิเดชน์” คำว่า “เดชน์” แปลว่า “ลูกศร”) เบื้องบนมีรูปพระแสงจักรและพระแสงตีคูล อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ มีบังแทรกตั้งอยู่ 2 ข้าง มีลายกระหนกแทรกอยู่ระหว่างพื้น

      รัชกาลที่ 8   “รูปพระโพธิสัตว์” เป็นตรางา ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง 7 ซม.  รูปพระโพธิสัตว์ประทับบน

บัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วด้านหลังแท่นรัศมี มีแท่น รองรับตั้งฉัตร บริวาร 2 ข้าง (รูปพระโพธิสัตว์นี้เดิมเป็นตราประจำในพระราชวังดุสิต)

       รัชกาลที่ 9 “พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์” เป็นตรางา ลักษณะรูปไข่ กว้าง 5 ซม. สูง 6.7 ซม. รูป

พระที่นั่งอัฎทิศประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ “อุ” รอบ ๆ มีรัศมี (วันบรมราชาภิเษกได้เสด็จได้เสด็จ ประทับที่นั่งอัฎทิศ) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Daxza (พูดคุยหน้าที่เขียน) 12:51, 26 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

มกราคม 2553[แก้]

สวัสดี และยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทย ซึ่งขณะนี้การแก้ไขที่หน้า หมวดหมู่:ภัยธรรมชาติ ได้ถูกย้อนกลับแล้ว เนื่องจากว่าเนื้อหาที่คุณเพิ่มนั้นไม่เป็นสารานุกรม หรืออาจนำมาจากเว็บไซต์ หรือแหล่งข้อมูลอื่น ซึ่งในกรณีแบบนี้อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งเราขอแนะนำให้คุณศึกษาวิธีเขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ และแนวทางการเขียนให้ดียิ่งขึ้น ขอบคุณสำหรับความพยายามที่จะปรับปรุงบทความ โปรดทราบว่าผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง อาจถูกห้ามมิให้แก้ไขบทความชั่วคราว อย่างไรก็ดีเรายินดีรับเนื้อหาที่คุณเขียนขึ้นเองเสมอ

ข้อความนี้เป็นข้อความที่แจ้งอัตโนมัติโดยบอตคุง กรุณาแจ้งที่หน้านี้หากคุณคิดว่าการแจ้งนี้เป็นความเข้าใจผิด --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 20:58, 26 มกราคม 2553 (ICT)

กรุณาหยุดเพิ่มเนื้อหาที่ไม่เป็นสารานุกรม หรืออาจละเมิดลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่น อย่างที่คุณได้ทำที่หน้า หมวดหมู่:ภัยธรรมชาติ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจถือเป็นการก่อกวน นี่เป็นการเตือนครั้งสุดท้าย และในกรณีที่ทางเราพบว่าคุณได้ก่อกวน หรือยังพยายามใส่เนื้อหาที่อาจละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งหน้า คุณอาจถูกบล็อกจากการแก้ไขชั่วคราวได้ทันที หากพบว่านี่เป็นความเข้าใจผิดและคุณได้มีเจตนาดี กรุณาแจ้งที่หน้านี้ ขอขอบคุณสำหรับร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 21:04, 26 มกราคม 2553 (ICT)