คิงอาร์เธอร์แอนด์เดอะไนทส์ออฟจัสติซ (วิดีโอเกม)

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คิงอาร์เธอร์แอนด์เดอะไนทส์ออฟจัสติซ
ภาพปก
ผู้พัฒนาแมนลีย์แอนด์แอสโซซิเอตส์
ผู้จัดจำหน่ายเอนิกซ์
กำกับโรเบิร์ต แอล. เจอเราด์
อำนวยการผลิตคานห์ เลอ
ซึเนะโอะ โมริตะ
ยาซูฮิโระ ฟูกูชิมะ
ออกแบบฟิลิป โฮลต์
ไมเคิล โบรลต์
มาร์ก โรส
โปรแกรมเมอร์แซม ดีซี
เคนต์ ปีเตอร์สัน
เจมส์ เฮก
ศิลปินเควิน พัน
จอห์น บารอน
ฮันส์ พิเวนิตสกี
แต่งเพลงโรเบิร์ต ริดิฮอล์ก
เครื่องเล่นซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเต็ม
วางจำหน่าย
แนวแอ็กชันผจญภัย
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

คิงอาร์เธอร์แอนด์เดอะไนทส์ออฟจัสติซ (อังกฤษ: King Arthur & the Knights of Justice) เป็นวิดีโอเกมแอ็กชันผจญภัยที่พัฒนาโดยแมนลีย์แอนด์แอสโซซิเอตส์ และเผยแพร่โดยเอนิกซ์สำหรับระบบซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเต็มในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1995 โดยอิงจากซีรีส์การ์ตูนที่มีชื่อเรื่องเดียวกัน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจแบบไม่เคร่งครัดจากตำนานกษัตริย์อาเธอร์ และเกมนี้ได้รับการเผยแพร่ในทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะ

ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นผู้เล่นอเมริกันฟุตบอลที่ถูกส่งตัวไปยังอังกฤษในยุคกลาง และได้รับภารกิจในการช่วยกษัตริย์อาเธอร์ รวมถึงทำลายมอร์กานาแม่มดผู้ชั่วร้าย ตลอดจนกองทัพของเธอ เกมดังกล่าวเป็นเกมของเอนิกซ์เกมแรกที่พัฒนาโดยบริษัทอเมริกัน และได้รับแรงบันดาลใจจากซีรีส์เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา โดยได้รับคำวิจารณ์ตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงแย่มาก

รูปแบบการเล่น[แก้]

มาตรวัดของตัวละครจะแสดงที่ด้านบนของหน้าจอ ที่ฉากนี้ กษัตริย์อาเธอร์และเหล่าอัศวินอยู่ตรงกลางและด้านล่างของหน้าจอ

เกมดังกล่าวเป็นเกมแอ็กชันผจญภัย โดยเล่นจากมุมมองจากบนลงล่าง ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นกษัตริย์อาเธอร์ และมาพร้อมกับอัศวินแห่งความยุติธรรมสองคนที่ทำการบังคับโดยเครื่องเล่นวิดีโอเกม ผู้เล่นต่อสู้กับศัตรูโดยกวัดไกวดาบหรือการโจมตีพิเศษ รวมถึงสามารถป้องกันการโจมตีหนักและเบาได้[2]

อัศวินสิบสองคนมีให้ตั้งแต่เริ่มต้น (รวมถึงกษัตริย์อาเธอร์) แต่ละคนมีอาวุธ, ท่าทาง และตัวเลขของพลังชีวิต, พลังป้องกัน, ความแข็งแกร่ง และความเร็ว บอสแต่ละตัวของเกมมีจุดอ่อนเฉพาะกับอัศวินคนใดคนหนึ่ง[3] การเปลี่ยนสมาชิกคณะทำได้โดยไปที่ห้องโต๊ะกลมในแคมิลอต[4][5] ตัวละครแต่ละตัวมีมาตรวัดชีวิต และกษัตริย์อาเธอร์ก็มีมาตรวัดพลังเช่นกัน[5] ผู้เล่นต้องรวบรวมไอเทมต่าง ๆ เพื่อทำภารกิจและวัตถุประสงค์ให้สำเร็จ ในขณะที่บางไอเทมสามารถใช้เพื่อฟื้นฟูมาตรวัดชีวิตของตัวละครได้[6]

คุณลักษณะแผนที่โอเวอร์เวิลด์ช่วยให้ผู้เล่นสามารถเข้าถึงสถานที่ที่เคยเยือนไปแล้วได้โดยตรง[7] เกมนี้ไม่มีคุณสมบัติการเซฟ แต่อนุญาตให้เข้าถึงจุดต่าง ๆ ของเนื้อเรื่องด้วยระบบพาสเวิร์ด[4][8]

โครงเรื่อง[แก้]

เหตุการณ์ของเกมตั้งอยู่ในมุมมองสมมติของบริเตนในคริสต์ศตวรรษที่ 5[9] มอร์กานาแม่มดผู้ชั่วร้ายได้กักขังกษัตริย์อาเธอร์และอัศวินโต๊ะกลมด้วยเวทมนตร์ในถ้ำแก้วใต้ปราสาทของเธอ ผ่านกำแพงฮาดริอานุส ส่วนที่แคมิลอต พ่อมดของกษัตริย์ที่ชื่อเมอร์ลินได้ใช้แก้วสารพัดนึกและหาทีม "นักรบ" ที่กล้าหาญในอนาคต ซึ่งนำโดยกษัตริย์อาร์เธอร์และแต่งตั้งให้เป็น "เหล่าอัศวิน" อันที่จริงแล้ว พวกเขาเป็นนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลแม้ว่าพ่อมดเมอร์ลินจะตีความชื่อของพวกเขาว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคชะตา เขาเรียกพวกเขาย้อนเวลากลับไป และเทพธิดาแห่งโต๊ะก็เปลี่ยนพวกเขาให้เป็น "อัศวินแห่งความยุติธรรม" เมอร์ลินขอให้พวกเขาทำลายตราประทับของกษัตริย์อาร์เธอร์และอัศวินโต๊ะกลมโดยรวบรวมกุญแจแห่งความจริงทั้งสิบสองดอก[10]

เหล่าอัศวินได้รับดาบเอกซ์แคลิเบอร์จากเทพธิดาแห่งทะเลสาบ โดยพิสูจน์คุณค่าของพวกเขาด้วยการอ้างสิทธิ์ในโล่เพนดรากอนจากมังกรหนุ่มที่ชีลด์ไฮตส์ พวกเขาช่วยเหลือเอเร็ค ผู้ปกครองปราสาททินทาเจลที่ถูกปลด และกู้คืนกุญแจแห่งความจริงดอกแรกในปราสาท พวกเขาเดินทางเข้าไปในหมู่บ้านเวลตัน ซึ่งอยู่ภายใต้คาถาควบคุมจิตใจ และกู้กุญแจแห่งความจริงดอกที่สองที่กรูซัมคีป หลังจากทำลายเวทมนตร์ในเวลตันและข้ามทางของบลินเดอร์ พวกเขาได้รับกุญแจแห่งความจริงดอกที่สามที่ปราสาทแซงกวิน[11]

ในระหว่างอุบัติการณ์ วอร์ลอร์ดตนหนึ่งแทรกซึมเข้าสู่แคมิลอตและวางยาพิษสไควร์ เอเวอเรตต์ เหล่าอัศวินจึงรวบรวมยาแก้พิษในบึงซาการ์และช่วยสไควร์ เอเวอเรตต์ จากนั้นพวกเขาก็อ้างสิทธิ์กุญแจแห่งความจริงดอกที่สี่ในสโตนคีป พวกเขาช่วยเหลือลูกชายของโนม คิง เพื่อให้ได้กุญแจแห่งความจริงดอกที่ห้า และรวบรวมกุญแจธาตุสี่ดอกเพื่อปลดล็อกการเข้าถึงปราสาทวิเลอร์และกุญแจแห่งความจริงดอกที่หก เหล่าอัศวินพบกุญแจแห่งความจริงดอกที่เจ็ดและแปดในหมู่บ้านคราวน์ฮอร์นและแหลมแห่งความตายตามลำดับ กุญแจดอกที่เก้าและสิบพบในแบล็กรูตคีปและดาร์กซีตทาเดิลในขณะที่ค้นหาชิ้นส่วนของคทาแห่งไรโอธามัสที่หายไป ซึ่งสามารถทำลายเปิดเส้นทางในกำแพงเฮเดรียนได้[12]

ด้วยการใช้คทา เหล่าอัศวินจะผ่านกำแพงเฮเดรียนและเข้าไปในป่ามืด ซึ่งพบกุญแจแห่งความจริงดอกที่สิบเอ็ด ในสุสาน พวกเขาต้องสะดุดกับรูปปั้นของมอร์กานา ซึ่งยิงลำแสงเวทมนตร์ออกมาสังหารอัศวินทั้งสองในกลุ่ม อาเธอร์เดินทางไปยังเมืองแห่งความตายด้วยตัวเองจากนั้นไปยังที่ราบแห่งความตาย และชุบชีวิตอัศวินที่ตายไปแล้วสองคนกลับคืนมา พวกเขาไปถึงปราสาทของมอร์กานา, สวนหิน และเอาชนะมอร์กานาในร่างมังกร[note 1] แล้วจึงได้รับกุญแจแห่งความจริงดอกสุดท้าย ในลำดับตอนจบของเกม สมาชิกในกลุ่มจะแสดงความยินดีกับกษัตริย์อาเธอร์พระองค์จริงที่ทรงได้รับการปลดปล่อย และเมอร์ลินใช้สโตนเฮนจ์ส่งพวกเขากลับสู่ยุคของพวกเขา[12]

การพัฒนา[แก้]

คิงอาร์เธอร์แอนด์เดอะไนทส์ออฟจัสติซเป็นเกมเอนิกซ์เกมแรกที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทอเมริกัน: แมนลีย์แอนด์แอสโซซิเอตส์ ในอิสซาควาห์ รัฐวอชิงตัน ซึ่งมีคนที่ทำงานกับเกมประมาณยี่สิบสี่คนแม้ว่าจะไม่ใช่ทุกคนในเวลาเดียวกัน ในตอนแรกได้มีการวางแผนสำหรับตลับขนาด 16 เมกะบิต แต่ในที่สุดก็มีการเพิ่มอีกสี่เมกะบิตเพื่อขยายเกม ส่วนการพัฒนาใช้เวลาประมาณสองปี[13]

นอกเหนือจากซีรีส์การ์ตูนต้นฉบับแล้ว ผู้พัฒนายังรวบรวมแนวคิดจากหลายแหล่งเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ รวมถึงซีรีส์เกมแอ็กชันผจญภัยอย่างเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา และหนังสือ เช่น เดอะบุ๊กออฟเมอร์ลิน ของที. เอช. ไวท์ รวมถึงนิทานจากกวียุคกลางอย่างมารีแห่งฝรั่งเศส พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่าส่วนที่ยากที่สุดของการพัฒนาคือสร้างปริศนาสำหรับแต่ละภูมิภาค เนื่องจากพวกเขาต้องการให้ "สนุกและท้าทาย แต่ไม่ซ้ำซาก" ในขณะที่พวกเขาพยายามรักษาสมดุลระหว่างแอ็กชันและปริศนา พวกเขาสังเกตว่าพวกเขามุ่งเน้นไปที่แง่มุมปริศนาของเกมมากกว่า ส่วนที่เป็นที่ชื่นชอบของเกมสำหรับผู้พัฒนา ได้แก่ การต่อสู้ของมังกร, บอสแบล็กวิง และขุนศึกของมอร์กานา[13]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ออลเกม3/5 stars[14]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี5.626/10[15]
นินเท็นโดเพาเวอร์2.68/5[16]

เกมนี้ได้รับการวิจารณ์เชิงลบโดยทั่วไป นักวิจารณ์อิสระ โรเบิร์ต ชมิทซ์[17] ให้ 0.5 เต็ม 11 คะแนน โดยกล่าวถึงเกมนี้ว่า "แย่มาก" และการอธิบายว่าเกมนี้เกือบจะ "ไม่พูดดีกว่า" ชมิทซ์วิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของเอนิกซ์ที่ใช้เกมจากการ์ตูนที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก[18] นักวิจารณ์ทั้งสี่ของนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีนั้นแตกต่างกัน เอ็ด เซมราด และแดนยอน คาร์เพนเทอร์ กล่าวว่า "ก็โอเค" ด้วยดนตรีที่หนักแน่น, เอฟเฟกต์เสียงที่สมจริง และเควสต์มหากาพย์ที่สมดุลเมื่อเทียบกับกราฟิกที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในขณะที่อัล มานูเอล และซูชิ-เอกซ์ กล่าวว่ามันเป็นการโคลนของเซเก็นเด็นเซ็ทสึ 2 ที่มีอยู่ทั่วไป ทั้งคาร์เพนเทอร์ และซูชิ-เอกซ์ ตั้งข้อสังเกตว่าเกมจะมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการสังเกตเห็นเนื่องจากมีการเปิดตัวในเดือนเดียวกับโครโนทริกเกอร์[15] อัลลัน มิลลิแกน ในบทวิจารณ์สำหรับเกมมิงอินเทลลิเจินซ์เอเจนซีได้ตัดสินว่าทั้งกราฟิกและเสียงอยู่ในระดับปานกลาง, การออกแบบตัวละคร "แย่มาก", โครงเรื่องทั่วไปและปริศนาไม่ท้าทาย เขาตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผู้เล่นจะรู้ล่วงหน้าว่าอัศวินคนไหนเหมาะกับบอสตัวไหนมากที่สุด[3] มิลลิแกนกล่าวถึงเกมนี้ว่า "คิดได้แย่อย่างไม่น่าเชื่อ" และเปรียบว่าเป็น "การสืบทอดการดึงเควสต์" เขาวิพากษ์วิจารณ์ความจริงที่ว่าศัตรูทั้งหมดบนหน้าจอจะต้องพ่ายแพ้เพื่อที่จะก้าวผ่านทางบางส่วน รวมถึงความเป็นไปได้ที่ตัวละครและศัตรูจะถูกซ่อนจากมุมมองของผู้เล่นหลังวัตถุขนาดใหญ่ ปัญญาประดิษฐ์ของเหล่าอัศวินก็ถูกติเตียนเช่นกัน เช่นเดียวกับการขาดภาพเคลื่อนไหวเมื่อตัวละครหรือศัตรูถูกโจมตี[3]

หมายเหตุ[แก้]

  1. รอมของเกมมีบทสนทนาที่ไม่ได้ใช้คือ "แกโชคดีพอที่จะเอาชนะมังกรของข้า แต่ข้าจะกลับมา และข้าจะแก้แค้น!" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดิมทีมอร์กานาไม่ควรกลายเป็นเพียงแค่เรียกมังกรแล้วหนีไปหลังจากที่มันถูกฆ่า

อ้างอิง[แก้]

  1. Averill, Alan (May 1995), "King Arthur & the Knights of Justice", Nintendo Power, Epic Center, Nintendo, vol. 72, p. 36.
  2. King Arthur & the Knights of Justice Instruction Booklet, Enix, May 1995, p. 4.
  3. 3.0 3.1 3.2 Milligan, Allan. "King Arthur and the Knights of Justice". Gaming Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.[ลิงก์เสีย] Alt URL
  4. 4.0 4.1 "King Arthur & the Knights of Justice". Electronic Gaming Monthly. No. 73. Sendai Publishing. August 1995. p. 124.
  5. 5.0 5.1 King Arthur & the Knights of Justice Instruction Booklet, Enix, May 1995, pp. 6–7.
  6. King Arthur & the Knights of Justice Instruction Booklet, Enix, May 1995, p. 10.
  7. King Arthur & the Knights of Justice Instruction Booklet, Enix, May 1995, p. 8.
  8. King Arthur & the Knights of Justice Instruction Booklet, Enix, May 1995, p. 5.
  9. King Arthur & the Knights of Justice Instruction Booklet, Enix, May 1995, p. 13.
  10. King Arthur & the Knights of Justice Instruction Booklet, Enix, May 1995, p. 3.
  11. Averill, Alan (May 1995), "King Arthur & the Knights of Justice", Nintendo Power, Epic Center, Nintendo, vol. 72, pp. 39–43.
  12. 12.0 12.1 Manley & Associates (May 1995). King Arthur & the Knights of Justice (Super Nintendo Entertainment System). Enix.
  13. 13.0 13.1 Averill, Alan (March 1995), "King Arthur & the Knights of Justice", Nintendo Power, Epic Center, Nintendo, vol. 70, pp. 36–37.
  14. "King Arthur and the Knights of Justice". Allgame. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.[ลิงก์เสีย]
  15. 15.0 15.1 "Review Crew: King Arthur and the Knights of Justice". Electronic Gaming Monthly. No. 73. Sendai Publishing. August 1995. p. 35.
  16. Alessi, Lee. "King Arthur & the Knights of Justice Reviews". Game Rankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-09. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  17. GhaleonOne (1998-12-04). "Working Designs Press Release!". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-13. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  18. Schmitz, Robert. "RPG Critic - King Arthur & The Knights Of Justice". Working Designs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1999-10-08. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]