คำสัตย์ปฏิญาณฮิตเลอร์
คำว่า คำสัตย์ปฏิญาณฮิตเลอร์ (เยอรมัน: Führereid หรือ Eid auf den Führer "คำสัตย์ปฏิญาณท่านผู้นำ") มักถูกเรียกกันบ่อยในภาษาอังกฤษอย่างง่ายๆว่า คำสัตย์ปฏิญาณของทหาร[1] -หมายถึง คำสัตย์ปฏิญาณของความจงรักภักดีโดยเจ้าหน้าที่และทหารของกองทัพเยอรมันและข้าราชการพลเรือนของนาซีเยอรมนี ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1934 ถึง ปี ค.ศ. 1945 ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์โดยเฉพาะ แทนที่จะจงรักภักดีต่อรัฐธรรมนูญของประเทศ
ข้าพเจ้าสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อรัฐธรรมนูญของไรช์และปฏิญาณ เมื่อข้าพเจ้าได้เป็นทหารที่หาญกล้าที่มีความต้องการที่จะพิทักษ์ไรช์เยอรมันและสถาบันกฏหมายเสมอ (และ) เชื่อฟังต่อท่านประธานาธิบดีและต่อผู้บังคับบัญชาของข้าพเจ้า
— คำสัตย์สาบานของเหล่าทหารแห่งกองทัพไรชส์แวร์ในช่วงสาธารณรัฐไวมาร์
ข้าพเจ้าสาบานต่อพระเจ้าด้วยคำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อข้าพเจ้าต้องการที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์และจริงใจแก่ประชาชนและปิตุภูมิของข้าพเจ้า และเตรียมพร้อมที่จะเป็นทหารที่หาญกล้าและเชื่อฟัง เพื่อที่จะเสี่ยงชีวิตของข้าพเจ้าเพื่อคำปฏิญาณนี้ตลอดกาล
— คำสัตย์สาบานของเหล่าทหารแห่งกองทัพไรชส์แวร์ในช่วงหลังจากฮิตเลอร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี, รัฐบัญญัติมอบอำนาจ และไกลช์ชัลทุง
ข้าพเจ้าสาบานต่อพระเจ้าด้วยคำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ท่านผู้นำของจักรวรรดิเยอรมันและประชาชน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ ข้าพเจ้าจะยอมรับเชื่อฟังอย่างไม่มีเงื่อนไขและเป็นทหารที่หาญกล้า ข้าพเจ้าจะเตรียมตัวพร้อมตลอดกาล เพื่อที่จะพลีชีพของข้าพเจ้าสำหรับคำปฏิญาณนี้
— คำสัตย์สาบานของเหล่าทหารแห่งกองทัพแวร์มัคท์ต่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์, วันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1934
ข้าพเจ้าสาบาน: ข้าพเจ้าจะซื่อสัตย์และเชื่อฟังต่อท่านผู้นำจักรวรรดิเยอรมันและประชาชน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, เพื่อปฏิบัติตามกฏหมาย และเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในงานราชการของข้าพเจ้าอย่างเต็มที่, ขอพระเจ้าจงช่วยข้าพเจ้า
— คำสัตย์สาบานของข้าราชการพลเรือน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ For example, in Total War: Causes and Courses of the Second World War by Peter Calvocoressi and Guy Wint (Penguin and Pantheon, 1972), The Western Hemisphere, Part I, chapter 2, "From Versailles to the Soldiers' Oath: 1919-34"