ข้ามไปเนื้อหา

คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น จํากัด
ชื่อท้องถิ่น
株式会社KADOKAWA
ชื่อโรมัน
บริษัทร่วมทุน (ญี่ปุ่น) KADOKAWA
ชื่อเดิมคาโดกาวะดวังโกะคอร์ปอเรชั่น (2557–2562)
ประเภทบริษัทจำกัด
การซื้อขาย
TYO: 9468
อุตสาหกรรม
ก่อตั้ง
  • 10 พฤศจิกายน 1945; 79 ปีก่อน (1945-11-10) (เป็น คาโดกาวะโชเต็ง)
  • 6 มิถุนายน 1997; 28 ปีก่อน (1997-06-06) (เป็น ดวังโกะ)
  • 1 ตุลาคม 2014; 10 ปีก่อน (2014-10-01) (เป็น คาโดกาวะดวังโกะคอร์ปอเรชั่น)
ผู้ก่อตั้งเก็นโยชิ คาโดกาวะ (สำหรับสาขา คาโดกาวะโชเต็ง)
สำนักงานใหญ่ฟูจิมิ, เขตชิโยดะ, โตเกียว
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักทาเคชิ นัตสึโนะ (ประธาน)
รายได้เพิ่มขึ้น ¥258,109 พันล้าน (2567)
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง ¥18,454 พันล้าน (2567)
สินทรัพย์ลดลง ¥340,310 พันล้าน (2567)
พนักงาน
5,349[1]
เว็บไซต์group.kadokawa.co.jp/global
คาโดกาวะ ซากุระทาวน์คอมเพล็กซ์ ใน โทโกโรซาวะ, จังหวัดไซตามะ

บริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น จํากัด (ญี่ปุ่น: Kadokawa Corporationโรมาจิ株式会社KADOKAWAทับศัพท์: Kabushiki-gaisha Kadokawa) เดิมชื่อ คาโดกาวะดวังโกะคอร์ปอเรชั่น[2] เป็นกลุ่มบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ใน ฟูจิมิ, เขตชิโยดะ, โตเกียว

ก่อตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น และ ดวังโกะ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557[3][4] บริษัทมีธุรกิจในด้านความบันเทิง (รวมถึงสตูดิโอผลิตอนิเมะและวิดีโอเกม) สิ่งพิมพ์ และอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสินทรัพย์อื่นๆ

คาโดกาวะ เป็นสมาชิกของสมาคมภาพยนตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น (MPPAJ) จึงเป็นหนึ่งในสตูดิโอภาพยนตร์ขนาดใหญ่สี่แห่งของญี่ปุ่นที่มีอายุน้อยที่สุด

ประวัติของบริษัท

[แก้]

บริษัทโฮลดิ้งที่รู้จักในปัจจุบันในชื่อคาโดกาวะ คอร์ปอเรชั่น เดิมก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2488 ในชื่อ คาโดกาวะโชเต็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ "ฟื้นฟูวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านการตีพิมพ์" ในยุคหลังสงคราม[5] บริษัทได้ควบรวมกิจการกับบริษัท ดวังโกะ จำกัด เพื่อก่อตั้ง คาโดกาวะ ดวังโกะ ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และกลายเป็นบริษัทย่อยของ คาโดกาวะ ดวังโกะ

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 บริษัท คาโดกาวะดวังโกะ ประกาศว่าบริษัท ดวังโกะ จะไม่เป็นบริษัทในเครืออีกต่อไป และจะกลายมาเป็นบริษัทในเครือโดยตรงของบริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น ในการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ส่งผลให้บริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น กลายเป็นบริษัทในเครือเพียงแห่งเดียวของบริษัทโฮลดิ้ง คาโดกาวะดวังโกะ[6]

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 คาโดกาวะดวังโกะ ได้การปรับโครงสร้างบริษัทใหม่[7] โดยเหลือเพียงธุรกิจสิ่งพิมพ์ใน คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น และได้เปลี่ยนชื่อเป็น คาโดกาวะฟิวเจอร์พับลิชชิ่ง โดยที่ คาโดกาวะ ดวังโกะ เองได้กลายเป็น คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น รุ่นที่สองและเป็นบริษัทโฮลดิ้งของบริษัททั้งหมดในเครือคาโดกาวะ ซึ่งชื่อเดิมของ คาโดกาวะโชเต็ง ยังคงอยู่ในฐานะแบรนด์และแผนกหนึ่งของ คาโดกาวะฟิวเจอร์พับลิชชิ่ง

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คาโดกาวะ ประกาศว่าบริษัทได้เป็นพันธมิตรทางการเงินกับ โซนี่ และ ไซเบอร์เอเจนท์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการสร้างและพัฒนา ซึ่งได้ทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ๆ มาในบริษัท พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่แล้วให้สูงสุด ตามข้อตกลงนี้ ทั้งโซนี่และไซเบอร์เอเจนท์จะได้รับหุ้นในบริษัทคิดเป็น 1.93% ในบริษัท[8]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 กาเกาเจแพน ได้เข้าซื้อหุ้น 8.3% ในคาโดกาวะ ทำให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดในขณะนั้น[9] เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 คาโดกาวะ ประกาศว่าได้เป็นพันธมิตรทางการเงินและธุรกิจกับเทนเซ็นต์ ซึ่งได้เข้าซื้อหุ้น 6.86% ในเครือบริษัทเป็นมูลค่า ¥30 พันล้านเยน ($264 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป้าหมายก็เพื่อให้คาโดกาวะขยายการเข้าถึงระดับโลกโดยใช้แพลตฟอร์มของเทนเซ็นต์ โดยประเทศจีนซึ่งมีบริษัทการร่วมทุนกับเทนเซ็นต์อยู่แล้วถือเป็นเป้าหมาย[10]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 คาโดกาวะ ประกาศว่าได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับสำนักพิมพ์ ดูปุยส์ ของบริษัท เบลเยียมพับลิชชิ่ง เพื่อเข้าซื้อหุ้น 51% ในแบรนด์มังงะ เวก้าดูปุยส์ ของ ดูปุยส์ และได้เปิดธุรกิจร่วมกับ ดูปุยส์ ภายใต้ชื่อ เวก้า เอสเอเอส ซึ่งจะนำผลงานของคาโดกาวะเอง รวมถึงมังงะญี่ปุ่นและเกาหลีไปยังตลาดฝรั่งเศส โดย ดูปุยส์ จะคงถือหุ้น 49% ในแบรนด์ร่วมนี้[11][12]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 บริษัทได้ประกาศว่าได้ซื้อสตูดิโออนิเมะ โดงาโกโบ[13]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 มีการรายงานว่า โซนี่กรุ๊ปคอร์ปอเรชั่น กำลังเจรจาซื้อกิจการของ คาโดกาวะ ซึ่งก็เคยหารือเรื่องการเข้าซื้อกิจการของ คาโดกาวะ ทั้งหมด แต่มีความสนใจเฉพาะในสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับอนิเมะและวิดีโอเกมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คาโดกาวะ ยืนยันว่า ข้อเสนอการซื้อกิจการต้องครอบคลุมทั้งบริษัท

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โซนี่ ได้ประกาศ "ความร่วมมือทางทุนและธุรกิจเชิงกลยุทธ์" กับ คาโดกาวะ โดย โซนี่ ได้ซื้อหุ้น 12 ล้านหุ้นในราคา ¥50 พันล้านเยน ($320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2568 ซึ่งทำให้ โซนี่ ถือหุ้น 10% และกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของคาโดกาวะ ภายใต้ข้อตกลงนี้ คาโดกาวะจะร่วมมือกับ โซนี่ ในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของคาโดกาวะ รวมถึงการผลิตอนิเมะร่วมกัน, การทําเป็นไลฟ์แอ็กชัน, และการขยายการจัดจำหน่าย

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 คาโดกาวะ ประกาศการควบรวมกิจการของบริษัท ดวังโกะ, บุ๊ควอล์คเกอร์ และคาโดกาวะคอนเนคเต็ด เข้าด้วยกันเป็นบริษัทเดียว โดยบริษัท ดวังโกะ จะเป็นบริษัทที่อยู่รอดจากการควบรวมกิจการครั้งนี้ ซึ่งการควบรวมกิจการครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมของบริษัทที่ควบรวม เช่น บุ๊ควอล์คเกอร์ ซึ่งจะยังคงดำเนินการภายใต้แบรนด์และการดำเนินงานเดิม แต่จะอยู่ภายใต้การบริหารของ ดวังโกะ

การจับกุมประธาน

[แก้]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ประธานคาโดกาวะ สึกุฮิโกะ คาโดกาวะ ซึ่งเป็นบุตรชายของผู้ก่อตั้ง เก็นโยชิ คาโดกาวะ ถูกจับกุมในการสอบสวนของตำรวจเกี่ยวกับการติดสินบน อัยการกล่าวว่าประธานคาโดกาวะอนุมัติการจ่ายเงิน ¥76 ล้านเยน (ปรับเป็นเงิน ¥69 ล้านเยนตามกฎหมายว่าด้วยอายุความของญี่ปุ่น) ให้กับบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชื่อมโยงกับอดีตผู้บริหารของคณะกรรมการจัดงานโอลิมปิกโตเกียวเพื่อแลกกับการให้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 คาโดกาวะปฏิเสธข้อกล่าวหา และบริษัทของเขาประกาศว่าจะให้ความร่วมมือในการสอบสวน ข้อกล่าวหานี้ทำให้เขาถูกอัยการฟ้องเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565 และในวันต่อมา เขาก็ประกาศความตั้งใจที่จะลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทและเขาก็ยังคงปฏิเสธข้อกล่าวหาและยืนยันว่าจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนในศาล[14]

การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในปี พ.ศ. 2567

[แก้]

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2567 กลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกว่า BlackSuit ได้โจมตีด้วย แรนซัมแวร์ บนเว็บไซต์หลายแห่งที่เป็นของ คาโดกาวะ รวมถึงเว็บไซต์สตรีมมิ่งวิดีโอ นิโคนิโค ส่งผลให้บริการส่วนใหญ่ของเว็บไซต์ถูกระงับชั่วคราว และในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2567 กลุ่มแฮกเกอร์ได้แถลงการณ์บน ดาร์กเว็บ โดยอ้างว่าเป็นคนโจมตีในครั้งนี้ และขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลที่ถูกขโมยไปเป็นจำนวน 1.5 เทระไบต์ ซึ่งรวมถึงข้อมูลของพันธมิตรทางธุรกิจและข้อมูลผู้ใช้ เว้นแต่จะจ่ายค่าไถ่ [15] [16]

บริษัทในเครือ

[แก้]

บริษัท คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น ทำหน้าที่รวบรวมบริษัทในเครือของญี่ปุ่นหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับ คาโดกาวะโชเต็ง ภายใต้ชื่อเครือบริษัทที่เรียกว่า คาโดกาวะกรุ๊ป[17] บริษัทมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ บริษัทสำนักพิมพ์, บริษัทภาพยนตร์และภาพ และบริษัทสื่อผสม สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่จะจำหน่ายหนังสือ, นิตยสารบุงโกบง, มังงะ, และนิตยสารสื่อภาพ[18] บริษัทภาพยนตร์และสื่อภาพจะดูแลภาพยนตร์ญี่ปุ่น, การจำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์ต่างประเทศ และอนิเมะ[19] บริษัทสื่อผสมจะจำหน่ายเนื้อหาดิจิทัล, นิตยสารข้อมูลรายการโทรทัศน์ รวมไปถึงการถ่ายทอดข้อมูลที่ผสมผสานระหว่างสื่อกระดาษ อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ[20] และมีธุรกิจอื่นๆ เช่น ดูแลเกี่ยวกับวิดีโอเกม, การเช่าที่ดิน, รวมถึงบริษัทตัวแทนโฆษณา ทั้งหมดนี้ทำให้เครือคาโดกาวะเป็นบริษัทที่หลากหลายและมีการขยายธุรกิจในหลายภาคส่วน[21]

อดีตบริษัทย่อย

[แก้]
  • อัสมิกเอซ
  • Daihyakka News: ควบรวมเข้ากับดวังโกะในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562
  • คาโดกาวะเอนเตอร์เทนเมนต์: เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คาโดกาวะเอนเตอร์เทนเมนต์ ได้ควบรวมกิจการเข้ากับ คาโดกาวะพิคเจอร์ส
  • คาโดกาวะกรุ๊ปพับลิชชิ่ง: เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 คาโดกาวะกรุ๊ปพับลิชชิ่งได้ควบรวมกิจการเข้ากับ คาโดกาวะกรุ๊ปโฮลดิ้งส์
  • คาโดกาวะเกมส์: ในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2565 คาโดกาวะเกมส์ได้ขายธุรกิจของตนให้กับบริษัทแยกชื่อ ดรากามิเกมส์ ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทด้วย[22]
  • คาโดกาวะ เจ:คอม มีเดีย: ก่อตั้งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง คาโดกาวะโชเต็ง และ เจ:คอม[23] และถูกยุบในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553
  • โซเน็ตคาโดกาวะลิงค์: ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยมี โซเน็ตเอนเตอร์เทนเมนต์ (43.5%), คาโดกาวะโมบาย (43.5%) และ เดนท์สุอีลิ้งค์[24] (13.0%).[25]
  • คาโดกาวะโมบายแอนด์มูฟวี่เกต: ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 คาโดกาวะโมบายได้ควบรวมกิจการกับ มูฟวี่เกต เพื่อก่อตั้งเป็น คาโดกาวะคอนเทนต์เกต[26]
  • คาโดกาวะโปรดักชั่น: เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 บริษัทได้ถูกยุบและรวมเข้ากับ คาโดกาวะคอร์ปอเรชั่น
  • เมจส์: เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เมจส์ ถูกซื้อโดย ชิโยมารุ สตูดิโอ ซึ่งเป็นบริษัทแนวคิดและลิขสิทธิ์ซึ่งมี CEO ของ เมจส์ เป็นผู้นำเช่นกัน[27]
  • มีเดียลีฟส์: ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553 มีเดียลีฟส์ ได้ควบรวมกิจการเข้ากับ เอ็นเตอร์เบรน[28]
  • เอ็นทีทีไพรม์สแควร์: ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 แฟนเซอร์วิส ได้ยุติการร่วมทุนกับ เอ็นทีที
  • ซารูกาคุโช: กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ คาโดกาวะกรุ๊ปโฮลดิ้ง ภายใต้ เอ็นเตอร์เบรน ในช่วงที่บริษัทเข้าซื้อกิจการ แอสกี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553 โพลทูวิน ประกาศว่าได้เข้าซื้อกิจการ ซารูกาคุโช แล้ว[29]
  • สตูดิโอไลด์: ปิดตัวลงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562
  • เวิร์ดส์เกียร์: เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2549 พานาโซนิค ได้ประกาศจัดตั้ง เวิร์ดส์เกียร์ ร่วมกับ คาโดกาวะโมบาย และ โตเกียวบรอดคาสติ้งซิสเต็ม โดยจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549[30] เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553 คาโดกาวะกรุ๊ปโฮลดิ้ง ประกาศว่าจะควบรวม เวิร์ดส์เกียร์ เข้ากับ คาโดกาวะคอนเทนต์เกต โดยจะเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป[31]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "KADOKAWA Integrated Report 2022". group.kadokawa.co.jp (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2023. สืบค้นเมื่อ April 27, 2023.
  2. カドカワ株式会社 Kadokawa Kabushiki-gaisha, จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 株式会社KADOKAWA・DWANGO
  3. "Dwango to merge with Kadokawa". The Japan Times. May 14, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2015. สืบค้นเมื่อ April 13, 2015.
  4. "Publisher Kadokawa, Internet firm Dwango complete merger". The Japan Times. October 1, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2019. สืบค้นเมื่อ April 13, 2015.
  5. "Kadokawa Corporation: Corporation History".[ลิงก์เสีย]
  6. Ressler, Karen. "Nobuo Kawakami Steps Down as Kadokawa Dwango President". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2019. สืบค้นเมื่อ February 16, 2019.
  7. "会社分割(簡易吸収分割)の実施、商号変更及び定款一部変更、並びに代表取締役及び役員の異動に関するお知らせ" (PDF). E-IR (ภาษาญี่ปุ่น). Pronexus Inc. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2019. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
  8. Mateo, Alex (February 5, 2021). "Kadokawa Corporation Forms Capital Alliance with CyberAgent, Sony". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2021. สืบค้นเมื่อ February 5, 2021.
  9. Kim, Joo-wan; Cha, Jun-ho; Koo, Min-ki (August 17, 2021). "Kakao Group's past, present and future as conglomerate". The Korea Economic Daily. สืบค้นเมื่อ November 24, 2024.
  10. "Notice Concerning Strategic Alliance with Tencent Group" (PDF). Kadokawa Corporation. October 29, 2021. สืบค้นเมื่อ July 30, 2022.
  11. "KADOKAWA forms French Joint Venture with Dupuis of European Média-Participations Group". Kadokawa. January 25, 2024. สืบค้นเมื่อ December 18, 2024.
  12. Hazra, Adriana (February 3, 2024). "Kadokawa Launches Joint Venture Business With French Publisher Dupuis". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 18, 2024.
  13. Hodgkins, Crystalyn (July 11, 2024). "Kadokawa Acquires Anime Studio Doga Kobo". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ July 11, 2024.
  14. "เกมจบ คดียังไม่จบ: จับเพิ่มประธานบริษัท 'Kadokawa' จากการขยายผลคดีติดสินบนโอลิมปิกโตเกียว | The Opener". theopener.co.th (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-15. สืบค้นเมื่อ 2025-03-27.
  15. Jiji (3 July 2024). "Hackers behind Kadokawa cyberattack claim new info leak". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2024. สืบค้นเมื่อ 3 July 2024.
  16. Sudo, Tatsuya (July 2, 2024). "More Kadokawa data leaked as deadline for ransom passes". The Asahi Shimbun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2024. สืบค้นเมื่อ 3 July 2024.
  17. "KADOKAWA Corporation" グループ会社一覧 [Group Company Summary] (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Group Holdings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2021. สืบค้นเมื่อ November 10, 2013.
  18. "Publishing businesses under Kadokawa Group Holdings". Kadokawa Group Holdings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2012. สืบค้นเมื่อ November 21, 2009.
  19. "Movie/Visual businesses under Kadokawa Group Holdings". Kadokawa Group Holdings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2013. สืบค้นเมื่อ November 21, 2009.
  20. "Cross media businesses under Kadokawa Group Holdings". Kadokawa Group Holdings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2010. สืบค้นเมื่อ November 21, 2009.
  21. "Other businesses under Kadokawa Group Holdings". Kadokawa Group Holdings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2010. สืบค้นเมื่อ November 21, 2009.
  22. "Kadokawa Games to divest part of its business to Dragami Games, a new company established by Yoshimi Yasuda". Gematsu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-07-31.
  23. "角川ジェイコム・メディア 「J:COM Walker」創刊 J:COM さいたま、J:COM 相模原・大和 各サービスエリアで8 月に発行" (ภาษาญี่ปุ่น). PR Times. June 14, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
  24. インターネット分野専門の広告会社「電通イー・リンク」を設立 (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Cyber Communications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 13, 2011. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
  25. -「地域情報映像」×「ネット地域広告」×「ネット対応機器」- 「株式会社ソネット・カドカワ・リンク」を3 社共同で設立 ~高品質映像で嗜好に適した情報と出会える『地域情報探訪サイト』を構築~ (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). So-net Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 12, 2013. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
  26. 連結子会社 角川モバイルとムービーゲートの合併に関して (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Group Holdings. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2011. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
  27. Romano, Sal (July 26, 2019). "Mages goes independent from Kadokawa Group, 5pb. to consolidate into Mages". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2020. สืบค้นเมื่อ July 26, 2019.
  28. "MediaLeaves, Inc. announcement" (ภาษาญี่ปุ่น). MediaLeaves. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2010. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
  29. 株式会社猿楽庁の株式取得(子会社化)に関するお知らせ (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Pole To Win. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 19, 2013. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.
  30. "角川・松下電器・TBS 3社が電子書籍事業会社 「ワーズギア株式会社」設立で合意 ~読書端末とコンテンツを提供~" (ภาษาญี่ปุ่น). Panasonic. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.[ลิงก์เสีย]
  31. グループ企業再編による 映像・雑誌・デジタル事業の強化について (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Group Holdings. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2011. สืบค้นเมื่อ April 11, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Kadokawa Corporationแม่แบบ:ENGI