คาร์ซิโนเอมบริโอนิกแอนติเจน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คาร์ซิโนเอมบริโอนิกแอนติเจน (อังกฤษ: carcinoembryonic antigen, CEA) เป็นกลัยโคโปรตีนที่มีส่วนในการยึดเกาะของเซลล์ ปกติจะถูกสร้างขึ้นในระยะตัวอ่อนและจะหยุดสร้างก่อนเกิด ดังนั้นมักจะไม่พบในเลือดของร่างกายคนปกติ แม้อาจเพิ่มขึ้นได้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัด

ประวัติ[แก้]

CEA ได้รับการค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1965 โดย Phil Gold และ Samuel O. Freedman ในเนื้อเยื่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์[1]

ที่ใช้[แก้]

จะพบ CEA ได้ในน้ำเลือดของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง[2] มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดเมดุลลารี

อ้างอิง[แก้]

  1. Gold P, Freedman SO. Demonstration of tumor-specific antigens in human colonic carcinomata by immunological tolerance and absorption techniques. J Exp Med 1965;121:439. PMID 14270243.
  2. "Cancer Diagnosis - Information About Cancer - Stanford Cancer Center". สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]