คังโคตรี

พิกัด: 30°59′38″N 78°56′28″E / 30.994°N 78.941°E / 30.994; 78.941
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คังโคตรี
เมือง
คังโคตรี
คังโคตรี
คังโคตรี ตั้งอยู่ในรัฐอุตตราขัณฑ์
คังโคตรี
คังโคตรี
คังโคตรี ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
คังโคตรี
คังโคตรี
พิกัด: 30°59′38″N 78°56′28″E / 30.994°N 78.941°E / 30.994; 78.941
ประเทศ อินเดีย
รัฐไฟล์:..Uttarakhand Flag(INDIA).png อุตตราขัณฑ์
อำเภออุตตรากาสี
ความสูง3,415 เมตร (11,204 ฟุต)
ประชากร
 (2001)
 • ทั้งหมด606 คน
ภาษา
 • ทางการฮินดี
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
ทะเบียนพาหนะUK
เว็บไซต์badrinath-kedarnath.gov.in
แม่น้ำภาคิรถี และเทือกเขาหิมาลัยในนครคงโคตริ

คังโคตรี (ฮินดี: गंगोत्री) เป็นเมืองในอำเภออุตตรากาสี ในรัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย ห่างจากตัวเมืองอุตตรากาสีซึ่งเป็นเมืองหลักของรัฐอุตตราขัณฑ์ 99 กิโลเมตร นครแห่งนี้เป็นเมืองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำคงคาที่ชาวฮินดูในประเทศอินเดียมาเริ่มต้นแสวงบุญริมฝั่งแม่น้ำภาคิรถี ตามเทพปกรณัมของศาสนาฮินดู แม่พระคงคาเสด็จลงมา ณ ที่นี้เป็นที่แรกในโลกมนุษย์หลังจากเมื่อพระอิศวรปล่อยแม่น้ำคงคาอันยิ่งใหญ่ออกจากพระเกศา (มวยผม) ของพระองค์

เมืองนี้จะเปิดให้ผู้แสวงบุญเข้ามาเยือนได้เพียงปีละหกเดือน ระหว่างต้นเดือนพฤษภาคม ถึงปลายเดือนตุลาคม ของทุกปี หลังจากนั้นเมืองนี้จะปิดในช่วงฤดูหนาวที่มักมีหิมะตกหนัก และหิมะถล่ม ชาวเมืองจะย้ายลงไปอยู่ที่เมืองอื่นๆด้านล่าง เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิชาวบ้านและผู้แสวงบุญชาวฮินดูจะอัญเชิญเทวรูปนางพระคงคาขึ้นเสลี่ยงเดินเท้าขึ้นมาจากหมู่บ้านมุกห์วาส ใกล้เมืองฮาร์ซิล และมีพิธีเฉลิมฉลองต้อนรับการกลับมาของพระนางคงคาทุก ๆ ปี[1][2]

คงโคตริมนเทียร[แก้]

คงโคตริมนเทียรเป็นโบสถ์พราหมณ์สร้างจากหินแกรนิตสีขาว อันสถาปนาโดยผู้บัญชาการทหารกูรข่า อมาร์ สิงห์ ทาพา ในพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 18) อุทิศให้แก่พระแม่คงคาเทวี โดยโบสถ์พราหมณ์แห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ก้อนหินใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำชื่อ ภคีรถศิลา ที่เชื่อกันว่าพระราชาภคีรถบำเพ็ญตบะขอให้พระศิวะอัญเชิญพระแม่คงคาลงมาจากสรวงสวรรค์เพื่อล้างบาปให้แก่บรรพบุรุษของพระองค์[3]

คงโคตริ มณเฑียร จะปิดตั้งแต่หลังเทศกาลทีปาวลี(เริ่มต้นในฤดูหนาว)เนื่องจากหิมะตกอย่างหนัก และจะอัญเชิญเทวรูปพระแม่คงคาไปประดิษฐานที่หมู่บ้านมุขบาและจะกลับมาเปิดอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ผลิก่อนเทศกาลคงคาทุศเซราตามปฎิทินอินเดีย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=mra-web&month=08-2015&date=11&group=5&gblog=28
  2. https://board.postjung.com/904045
  3. "Gangotri Dham – The Origin Of River Ganges | RitiRiwaz" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-12-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-14.
  4. https://timesofindia.indiatimes.com/travel/travel-news/gangotri-dham-is-now-closed-for-the-winter-months/articleshow/87566208.cms