ข้ามไปเนื้อหา

คอแทม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รายละเอียดบนกระดานเกมแบ็กแกมมอนแบบเปอร์เซียที่ทำงานฝังประดับแบบคอแทม

คอแทม (เปอร์เซีย: خاتم; Khātam) เทนคิกเปอร์เซียโบราณในการทำงานฝังประดับ เป็นรูปแบบหนึ่งของการตัดต่อไม้ซึ่งทำด้วยการประดับพื้นผิวของวัตถุไม้โดยใช้ชิ้นไม้ กระดูก หรือโลหะ ที่ตัดออกมาเป็นชิ้นรูปเรขาคณิตที่มีขนาดพอดีอย่างวิจิตร ศิลปะการสร้างสรรค์คอแทมเรียกว่า คอแทม-คอรี (เปอร์เซีย: خاتم‌کاری; Khatam-kari)[1] หรือ คอแทมแบนดี (เปอร์เซีย: خاتم‌بندی; khatam-bandi)

กระบวนการออกแบบแม่ลายงานฝังประดับนั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน บ้างครั้งอาจต้องใช้ชิ้นส่วนมากถึง 400 ชิ้นต่อตารางนิ้วสำหรับชิ้นงานที่มีคุณภาพมาตรฐาน[2] แท่งไม้สีต่าง ๆ, งาช้าง, กระดูก, โลหะ หรือจากวัสดุอื่น ๆ จะถูกทากาวประกบเข้าด้วยกันเป็นกระจุกที่มีความยาวซึ่งมีหน้าตัดเป็นรูปกลม สี่เหลี่ยม หรือหลายเหลี่ยม[3] จากนั้นจึงตัดออกมาเป็นแผ่นสไลซ์บาง ๆ และผสมกับอย่างอื่นเพื่อสร้างแม่ลายที่วิจิตร ในแต่ละลูกบาศก์เซนติเมตรอาจมีชิ้นส่วนเดี่ยว ๆ รวมกันถึง 250 ชิ้นที่ประกบติดกัน ก่อนนำมาขัดเงา ทาน้ำมัน และทำให้เรียบ ชิ้นงานฝังประดับมีความสำคัญเป็นพิเศษในสมัยซาฟาวี[4] ไม้ที่นำมาใช้ทำคอแทม เช่น พลู, วอลนัต, สนไซเปรส และ สน ชิ้นงานจะนำมาใช้ประดับบานประตู, ขอบกระจกหน้าต่าง, กล่องบรรจุอัลกุรอาน, กล่องไม้บรรจุของมีร่า, ปากกาหรือที่วางปากกา และประดับศาสนสถาน[5]

งานประดับคอแทมนิยมทำบนบานประตูของศาสนสถาน เช่นในนครมอชแฮด, โกม, ชีรอซ และ แรย์ ในประเทศอิหร่าน ไปจนถึงใช้ประดับห้องฝังประดับในพระราชวังเช่นวังซอแดแบด และวังหินอ่อนในเตหะราน ในหัจจุบัน ศูนย์กลางสำคัญของช่างศิลป์คอแทมอยู่ที่ชีรอซ, เอสแฟฮอน และเตหะราน เป็นต้น ส่วนใหญ่ทำในเวิร์กช็อปเอกชนหรือที่อยู่ภายใต้องค์การมรดกวัฒนธรรมอิหร่าน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Meals, Roy A. (2020-10-20). Bones: Inside and Out (ภาษาอังกฤษ). W. W. Norton & Company. p. 296. ISBN 978-1-324-00533-9.
  2. Smith, C. S. (1967). Materials. Scientific American, 69.
  3. Ahuja, Bhawna (30 September 2022). "Khātam-Kari — Story of Handcrafted Persian Art". IndraStra Global (ภาษาอังกฤษ). ISSN 2381-3652. LCCN 2015203560. OCLC 923297365. สืบค้นเมื่อ 8 September 2024.
  4. Kadoi, Yuka (2016-03-11). Arthur Upham Pope and A New Survey of Persian Art (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 360. ISBN 978-90-04-30990-6.
  5. Burke, Andrew (15 September 2010). Iran. Lonely Planet. p. 70. ISBN 978-1-74220-349-2.