คอสอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คอสอง ในคำวัดใช้เรียกภิกษุผู้อยู่ในอันดับที่สองถัดจากองค์ต้นที่เป็นประธานสงฆ์ในพิธีสวดมนต์ตามบ้านหรือในวัด โดยเป็นผู้ช่วยเหลือประธานสงฆ์ในการสวดมนต์ มีหน้าที่รับบทสวดที่องค์ประธานขึ้น คล้ายกับเป็นลูกคู่ในวงเพลงที่ร้องแก้กัน เมื่อคอสองรับแล้วรูปอื่น ๆ ก็สวดรับต่อกันไป ทำให้การสวดไม่ขาดตอน

คอสองมีธรรมเนียมว่าจะต้องวางเสียงให้สูง ต่ำ พอดีกับเสียงของประธานสงฆ์ที่ขึ้นบทสวด หากรับสูงหรือต่ำเกินไปจะทำให้คอต่อ ๆ ไปรับได้ยากแลฟังไม่ไพเราะ กล่าวคือในการสวดมนต์มีธรรมเนียมกำหนดไว้ว่ารูปหลัง ๆ ต้องฟังเสียงและจังหวะสวดของรูปต้น ๆ เป็นหลัก ไม่ใช่สวดไปตามใจชอบ หรือตามเสียงสูงต่ำปกติของตน

อ้างอิง[แก้]