คอลิด อัลอัสอัด
คอลิด อัลอัสอัด | |
---|---|
خالد الأسعد | |
เกิด | คอลิด มุฮัมมัด อัลอัสอัด 1 มกราคม ค.ศ. 1932[1] แพลไมรา สาธารณรัฐซีเรียที่ 1[2] |
เสียชีวิต | 18 สิงหาคม ค.ศ. 2015 แพลไมรา ซีเรียสมัยพรรคบะอษ์ | (83 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | ตัดหัว |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยดามัสกัส |
อาชีพ | นักโบราณคดี |
ตำแหน่ง | หัวหน้าฝ่ายโบราณวัตถุสถานที่แพลไมรา |
เกียรติยศ |
คอลิด มุฮัมมัด อัลอัสอัด (อาหรับ: خالد الأسعد; เสียงอ่านภาษาอาหรับ: [ɐlʔæsʕæd]; 1 มกราคม ค.ศ. 1932 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 2015) เป็นนักโบราณคดีชาวซีเรียที่เป็นหัวหน้าฝ่ายโบราณวัตถุสถานในเมืองโบราณแพลไมรา แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก เขาดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลากว่า 40 ปี[6] อัลอัสอัดถูกตัดหัวตามสาธารณะโดยกลุ่มไอซิสในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2015 ด้วยอายุ 83 ปี[6]
ชีวิตช่วงต้น การศึกษา และครอบครัว
[แก้]อัลอัสอัดเกิดใน ค.ศ. 1932 ที่แพลไมรา ซึ่งเป็นบริเวณที่เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่[7] เขาได้รับประกาศนียบัตรด้านประวัติศาสตร์และได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยดามัสกัส[8] อัลอัสอัดมีลูกชาย 6 คนและลูกสาว 5 คน หนึ่งในนั้นเขาตั้งชื่อเป็น Zenobia ตามราชินีผู้เป็นที่รู้จัก[8]
อาชีพ
[แก้]โบราณคดี
[แก้]อนทำงาน อัลอัสอัดได้ขุดค้นและบูรณะแพลไมราโบราณ เขาดำรงตำแหน่งผู้ดูแลหลักของที่ตั้งแพลไมราใน ค.ศ. 1963 โดยดำรงตำแหน่งนี้มาเป็นเวลากว่า 40 ปี[9] การสำรวจของเขาเน้นไปที่ปราการของแพลไมราในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3[10] และทำงานร่วมกับคณะโบราณคดีจากอเมริกา โปแลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส และสวิสเซอร์แลนด์ ความสำเร็จของเขาคือการยกระดับแพลไมราให้เป็นแหล่งมรดกโลก[8] เขาสามารถพูดภาษาแอราเมอิกได้เชี่ยวชาญ และแปลข้อความเป้นประจำจนกระทั่ง ค.ศ. 2011[6]
อัลอัสอัดจัดนิทรรศการโบราณวัตถุแห่งแพลไมราตั้งแต่ ค.ศ. 1974 เป็นต้นมา[11]
เมื่อเขาเกษียณใน ค.ศ. 2003 Walid ลูกชายของเขารับช่วงต่องานของพ่อที่แพลไมรา มีรายงานว่าทั้งสองถูกฝ่ายรัฐอิสลามคุมตัวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 มีเพียงลูกชายเท่านั้นที่รอดชีวิต[12][13]
การเมือง
[แก้]เชื่อกันว่าเขาเข้าร่วมกับพรรคบะอษ์สังคมนิยมซีเรียประมาณ ค.ศ. 1954[8] แต่ไม่เป็นที่กระจ่างว่าเขาเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลบัชชาร อัลอะซัดอย่างเด่นชัดหรือไม่.[13] The Economist รายงานว่าบางคนอ้างว่าเขาเป็น "ผู้สนับสนุนที่มั่นคง" ของอัลอะซัด[14]
เสียชีวิต
[แก้]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 แพลไมราและเมืองโบราณที่อยู่ใกล้เคียงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอิสลาม อัลอัสอัดช่วยอพยพผู้คนออกจากพิพิธภัณฑ์ในเมืองก่อนที่กลุ่มรัฐอิสลามจะเข้ายึดครอง[8] แต่เขาถูกจับกุมตัวไป ฝ่ายรัฐอิสลามจึวทรมานอัลอัสอัดพื่อพยายามค้นหาตำแหน่งของโบราณวัตถุที่เขาช่วยซ่อนไว้[15][16] เขาถูกสังหารที่แพลไมราตอนอายุ 83 ปีในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2015[17]
มีรายงานว่าร่างของเขาถูกนำไปจัดแสดงที่แพลไมรา (ตัดมุร) ส่วนใหม่ และจากนั้นนำไปในส่วนเก่า ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติที่รัฐอิสลามทำลายทิ้งไปแล้ว[16][18][19][20][21]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 ฝ่ายซีเรียรายงานพบร่างกายของอัลอัสอัดในพื้นที่ชนบททางตะวันออกของแพลไมรา 10 กม.[22]
นอกจากอัลอัสอัดที่ถูกสังหารแล้ว Qassem Abdullah Yehya รองผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ DGAM ยังทำหน้าที่ปกป้องพื้นที่แพลไมรา และถูกกลุ่มรัฐอิสลามสังหารขณะปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2015 ขณะนั้นเขามีอายุ 37 ปี[23]
สื่อสิ่งพิมพ์ที่คัดเลือก
[แก้]- Asaad, Khaled (1980). Nouvelles découvertes archéologiques en Syrie [New archaeological discoveries in Syria] (ภาษาฝรั่งเศส). Damascus: Direction générale des antiquités et des musées. OCLC 602249622.; 2nd edition 1990.
- Asaad, Khaled; Bounni, Adnan (1984). Palmyra. Geschichte, Denkmäler, Museum (ภาษาเยอรมัน). Damascus: Direction générale des antiquités et des musées.
- Gawlikowski, Michael; Asaad, Khaled (1995). Palmyra and the Aramaeans. ARAM periodical. Vol. 7. Oxford: The ARAM Society for Syro-Mesopotamian Studies. OCLC 68075497.
- Asaad, Khaled (1995). "Restoration Work at Palmyra". ARAM Periodical. 7 (1): 9–17. doi:10.2143/ARAM.7.1.2002213. OCLC 4632456923.
- Asaad, Khaled; Yon, Jean-Baptiste (2001), Inscriptions de Palmyre. Promenades épigraphiques dans la ville antique de Palmyre (= Guides archéologiques de l'Institut Français d'Archéologie du Proche-Orient Bd. 3). Institut Français d'Archéologie du Proche-Orient, Beirut 2001; ISBN 2-912738-12-1.
- Asaad, Khaled; Schmidt-Colinet, Andreas (eds) (2013), Palmyras Reichtum durch weltweiten Handel. Archäologische Untersuchungen im Bereich der hellenistischen Stadt. 2 vols. Holzhausen, Vienna 2013; ISBN 978-3-902868-63-3, ISBN 978-3-902868-64-0.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hubbard, Ben (19 August 2015). "Syrian Expert Who Shielded Palmyra Antiquities Meets a Grisly Death at ISIS' Hands". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 September 2017.
- ↑ "Profile: Khaled al-Asaad". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-08-19. สืบค้นเมื่อ 2018-08-26.
- ↑ "President Al-Assad Grants Archeologist Khaled al-Asaa'd Syrian Order of Merit of Excellent Degree". syriatimes.sy. 2015-09-03. สืบค้นเมื่อ 2019-08-22.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 The martyr of Palmyra Khaled Al Asaad (PDF). International Council on Monuments and Sites. 2016. p. 13.
- ↑ "داعش يذبح أهم شخصية للآن ويعلقه على عمود بالطريق - منوعات". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-03. สืบค้นเมื่อ 2019-08-22.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Syrian archaeologist 'killed in Palmyra' by IS militants". BBC News. 19 August 2015. สืบค้นเมื่อ 19 August 2015.
- ↑ "Khaled al-Asaad: Authority on the antiquities of the Syrian city of Palmyra who was devoted to studying and protecting its treasures". The Independent. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Davies, Caroline (19 August 2015). "Khaled al-Asaad profile: the Howard Carter of Palmyra". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 August 2015.
- ↑ Paraszczuk, Joanna (24 August 2015). "ISIS Killed Khalid al-Assad for Refusing to Betray Palmyra". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
- ↑ "Khaled al-Asaad obituary". The Daily Telegraph. 2 September 2015. สืบค้นเมื่อ 6 October 2015.
- ↑ Leriche, Pierre (September 2015). "Khaled al-Asaad, the martyr of Palmyra". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 6 October 2015.
- ↑ https://www.facebook.com/564867637010224/videos/1001939786865569 แม่แบบ:User-generated source
- ↑ 13.0 13.1 "Profile: Khaled al-Asaad, Syria's 'Mr Palmyra'". BBC News. 19 August 2015. สืบค้นเมื่อ 21 August 2015.
- ↑ "Islamic State and antiquities: Nothing is sacred". The Economist. 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 23 August 2015.
- ↑ "Isis beheads Palmyra scholar and hangs him from ruins he spent his life restoring". The Independent (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
- ↑ 16.0 16.1 Aji, Albert; Mroue, Bassem (19 August 2015). "Islamic State beheads Syrian antiquities scholar in ancient town of Palmyra". U.S. News & World Report. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 19 August 2015.
- ↑ Domingo, Plácido (December 2016). "End the International Destruction of Cultural Heritage". Vigilo. Din l-Art Ħelwa: National Trust of Malta (48): 30–31. ISSN 1026-132X.
- ↑ Hubbard, Ben (19 August 2015). "Shielding Syrian Antiquities, to a Grisly Death at ISIS' Hands". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 August 2015.
- ↑ "Islamic State militants behead archaeologist in Palmyra – Syrian official". Reuters. 18 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2016.
- ↑ "IS tötet früheren Chef-Archäologen von Palmyra" [IS kills former chief archaeologist of Palmyra]. Tagesschau (ภาษาเยอรมัน). 19 August 2015.
- ↑ "Beheaded Syrian scholar refused to lead Isis to hidden Palmyra antiquities". The Guardian. 19 August 2015.
- ↑ Ruaa-jazaeri (7 February 2021). "Three corpses found east of Palmyra, one believed to be for archeologist martyr al-Asa'ad". Syrian Arab News Agency (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 8 February 2021.
- ↑ "Article: Two more 'EverySyrian' heroes murdered while protecting our shared cultural heritage". OpEdNews. 21 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.