ความหมายของชีวิต
ความหมายของชีวิต เป็นคำถามปรัชญาว่าด้วยความสำคัญของชีวิตหรือการดำรงอยู่โดยทั่วไป คำถามนี้สามารถแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น "ทำไมเราจึงอยู่ที่นี่" "ชีวิตเกี่ยวกับอะไรกันแน่" และ "อะไรคือจุดประสงค์ของการดำรงอยู่" ความหมายของชีวิตเป็นหัวข้อการคาดคะเนทางปรัชญา วิทยาศาสตร์และเทววิทยามากมายตลอดประวัติศาสตร์ มีการเสนอคำตอบจำนวนมากของคำถามนี้จากภูมิหลังทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ต่าง ๆ
ความหมายของชีวิตอยู่ในแนวคิดทางปรัชญาและศาสนาเรื่องการดำรงอยู่ ความสัมพันธ์ทางสังคม พิชานและความสุข และคล้ายกับประเด็นอื่นอีกมาก เช่น ความหมายเชิงสัญลักษณ์ ภววิทยา คุณค่า จุดประสงค์ จริยศาสตร์ ความดีและความชั่ว เจตจำนงเสรี การดำรงอยู่ของพระเป็นเจ้าหนึ่งหรือหลายองค์ แนวคิดพระเป็นเจ้า วิญญาณและชีวิตหลังความตาย ผลงานวิทยาศาสตร์มุ่งอธิบายข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่สัมพันธ์กันเกี่ยวกับจักรวาล สำรวจบริบทและตัวแปรเสริมเกี่ยวกับ "อย่างไร" ของชีวิต (how of life) วิทยาศาสต์ยังศึกษาและสามารถให้การแนะนำการแสวงความเป็นอยู่ดี (well-being) และแนวคิดศีลธรรมที่สัมพันธ์กัน แนวเข้าสู่การศึกษาแบบมนุษยนิยมตั้งคำถามว่า "อะไรคือความหมายของชีวิตฉัน" คุณค่าของคำถามนี้อาจพ้องกับการบรรลุความเป็นจริงอันติมะ (ultimate reality) หรือความรู้สึกรวมเป็นหนึ่ง (oneness) หรือกระทั่งความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์ (sacredness)
คำถาม
[แก้]คำถามเกี่ยวกับความหมายของชีวิตแสดงออกได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมถึง:
- "อะไรคือความหมายของชีวิต" "ชีวิตนี้เกี่ยวกับอะไร" "เราเป็นใคร"[1][2][3]
- "ทำไมเราอยู่ที่นี่" "เราอยู่ที่นี่เพื่ออะไร"[4][5][6]
- "อะไรคือจุดกำเนิดชีวิต"[7]
- "ธรรมชาติของชีวิตคืออะไร" "ธรรมชาติของความเป็นจริงคืออะไร"[7][8][9]
- "จุดประสงค์ของชีวิตคืออะไร" "จุดประสงค์ของชีวิตหนึ่งคืออะไร"[8][10][11]
- "อะไรคือความสำคัญของชีวิต"[11]
- "อะไรที่มีความหมายและมีคุณค่าในชีวิต"[12]
- "คุณค่าของชีวิตคืออะไร"[13]
- "การอยู่มีเหตุผลอะไร" "เราอยู่เพื่ออะไร"[6][14]
คำถามเหล่านี้มีคำตอบและการให้เหตุผลมากมาย ทั้งทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ตลอดจนคำอธิบายทางปรัชญา เทววิทยาและจิตวิญญาณ
มุมมองที่นิยม
[แก้]"ความหมายของชีวิตคืออะไร" เป็นคำถามที่คนจำนวนมากถามตนเองในขณะหนึ่งของชีวิต ส่วนมากในบริบท "จุดประสงค์ของชีวิตคืออะไร" คำตอบที่นิยมบางคำตอบรวมถึง:
เพื่อตระหนักศักยะและอุดมคติของตน
[แก้]- เพื่อไล่ล่าความฝัน[15]
เพื่อทำฝันของตนให้เป็นจริง[16] - เพื่อใช้ไปกับบางสิ่งที่จะดำรงอยู่นานกว่าชีวิต[17]
- เพื่อขยายศักยะในชีวิตของตน[16]
- เพื่อกลายเป็นบุคคลที่คุณปรารถนาจะเป็นตลอดมา[18]
- เพื่อกลายเป็นแบบที่ดีกว่าของตัวคุณเอง[19]
- เพื่อแสวงความสุข[20][21] และความรุ่งเรือง[3]
- เพื่อเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง[22]
- เพื่อสามารถใส่ตัวเองทั้งหมดในความรู้สึก งานหรือความเชื่อของคนหนึ่ง[17]
- เพื่อติดตามหรือยอมจำนนต่อพรหมลิขิตของเรา[23][24][25]
- เพื่อบรรลุยูไดโมเนีย[26] สปิริตของมนุษย์ที่รุ่งเรือง
เพื่อบรรลุความสมบูรณ์ทางชีววิทยา
[แก้]- เพื่อมีชีวิตต่อ[27] นั่นคือ การอยู่ให้นานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[28] รวมทั้งการแสวงอมตภาพ (ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์)[29]
เพื่อมีชีวิตตลอดไป[29] หรือพยายามจนกว่าจะตาย (die trying)[30] - เพื่อปรับตัว มักเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในวัตถุประสงค์อื่นของตน บางครั้ง เป็นวัตถุประสงค์ในตัวเอง (การปรับตัวเพื่อปรับตัว)
- เพื่อพัฒนา[31][32]
- เพื่อเพิ่มจำนวน เพื่อสืบพันธุ์[15] "ความฝันของทุกเซลล์คือการกลายเป็นสองเซลล์"[33][34][35][36]
เพื่อแสวงภูมิปัญญาและความรู้
[แก้]- เพื่อขยายสัญชานของโลกของตน[16]
- เพื่อตามคำใบ้และเดินออกทางออก[37]
- เพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[38]
เพื่อรู้สิ่งต่าง ๆ มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[39] - เพื่อแสวงภูมิปัญญาและความรู้ และควบคุมจิต เพื่อเลี่ยงความทุกข์อันเกิดจากโมหะ และหาความสุข[40]
- เพื่อเผชิญหน้าความกลัวของเราและยอมรับบทเรียนที่ชีวิตให้เรา[23]
- เพื่อหาความหมายหรือวัตถุประสงค์ของชีวิต[41][42]
- เพื่อหาเหตุผลที่จะอยู่[43]
- เพื่อระงับความไม่สมดุลของจิตโดยการเข้าใจธรรมชาติความเป็นจริง[44]
เพื่อทำดี เพื่อทำสิ่งที่ถูกต้อง
[แก้]- เพื่อจากไปโดยที่โลกเป็นสถานที่ที่ดีกว่าเมื่อคุณค้นพบมัน[15]
เพื่อทำดีที่สุดให้ทุกสถานการณ์ดีกว่าเมื่อคุณค้นพบมัน[15] - เพื่อทำคุณประโยชน์แก่ผู้อื่น[6]
- เพื่อให้มากกว่ารับ[15]
- เพื่อยุติความทุกข์[45][46][47]
- เพื่อสร้างความเสมอภาค[48][49][50]
- เพื่อท้าทายการกดขี่[51]
- เพื่อกระจายความมั่งคั่ง[52][53]
- เพื่อเอื้อเฟื้อ[54][55]
- เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและสปิริต (spirit) ของผู้อื่น[56]
- เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น[3][55][57]
เพื่อฉวยทุกโอกาสช่วยเหลือผู้อื่นขณะผจญภัยในโลกนี้[15] - เพื่อสร้างสรรค์และคิดสิ่งใหม่[56]
- เพื่อให้อภัย[15]
เพื่อยอมรับและให้อภัยข้อบกพร่องของมนุษย์[58][59] - เพื่อมีความจริงใจทางอารมณ์[17]
- เพื่อให้รับผิดชอบ[17]
- เพื่อให้มีเกียรติ[17]
- เพื่อแสวงสันติภาพ[17]
ความหมายเกี่ยวกับศาสนา
[แก้]- เพื่อไปถึงสวรรค์ชั้นสูงสุดและสถิต ณ ใจของพระเจ้า (heart of the Divine)[60]
- เพื่อมีวิญญาณบริสุทธิ์และสัมผัสพระเจ้า[17]
- เพื่อเข้าใจความลับของพระเจ้า[23]
- เพื่อรู้หรือรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า[61][62]
- เพื่อรู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น และรู้เจตจำนงแห่งสวรรค์[63]
- เพื่อรักบางสิ่งใหญ่กว่า ยิ่งใหญ่กว่า และเกินกว่าเราเอง ซึ่งเป็นบางสิ่งที่เราไม่ได้สร้างหรือมีพลังจะสร้าง บางสิ่งอันเป็นนามธรรมและศักดิ์สิทธิ์เพราะความเชื่อของเราในสิ่งนั้น[15]
- เพื่อรักพระเจ้า[61] และสิ่งเนรมิตทั้งหมดของพระองค์[64]
- เพื่อสรรเสริญพระเจ้าด้วยความยินดีในพระองค์ตลอดกาล[65][66]
- เพื่อเผยแผ่ศาสนาและเพิ่มสาวกของพระเยซูคริสต์[67]
- เพื่อกระทำยุติธรรม รักเมตตา และเดินอย่างถ่อมตนกับพระเจ้า[68]
- เพื่อมีลูกดกและทวีมากขึ้น[69] (Genesis 1:28)
- เพื่อให้มีเสรีภาพ (Romans 8:20–21)
- เพื่อเติมเต็มโลกและกำราบมัน[69] (Genesis 1:28)
ชีวิตไม่มีความหมาย
[แก้]- ชีวิตหรือการมีอยู่ขอมนุษย์ไม่มีความหมายหรือจุดประสงค์ที่แท้จริงเพราะการมีอยู่ของมนุษย์มาจากการสุ่มตามธรรมชาติเท่านั้น และสิ่งใดก็ตามที่เกิดจากการสุ่มไม่มีจุดประสงค์ตั้งแต่แรก[44]
- ชีวิตไม่มีความหมาย ทว่าด้วยความเป็นมนุษย์ พวกเราพยายามเชื่อมโยงความหมายหรือจุดประสงค์เพื่อที่เราจะได้อธิบายการมีอยู่ของพวกเราเอง[15]
- ชีวิตไม่มีจุดประสงค์ และสิ่งนี้เองทำให้ชีวิตเป็นสิ่งพิเศษ[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jonathan Westphal (1998). Philosophical Propositions: An Introduction to Philosophy. Routledge. ISBN 0-415-17053-2.
- ↑ Robert Nozick (1981). Philosophical Explanations. Harvard University Press. ISBN 0-674-66479-5.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Julian Baggini (September 2004). What's It All About? Philosophy and the Meaning of Life. USA: Granta Books. ISBN 1-86207-661-8.
- ↑ Ronald F. Thiemann; William Carl Placher (1998). Why Are We Here?: Everyday Questions and the Christian Life. Continuum International Publishing Group. ISBN 978-1-56338-236-9.
- ↑ Dennis Marcellino (1996). Why Are We Here?: The Scientific Answer to this Age-old Question (that you don't need to be a scientist to understand). Lighthouse Pub. ISBN 0-945272-10-3.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Hsuan Hua (2003). Words of Wisdom: Beginning Buddhism. Dharma Realm Buddhist Association. ISBN 0-88139-302-9.
- ↑ 7.0 7.1 Paul Davies (March 2000). The Fifth Miracle: The Search for the Origin and Meaning of Life. Simon & Schuster. ISBN 0-684-86309-X. สืบค้นเมื่อ 2007-07-26.
- ↑ 8.0 8.1 Charles Christiansen; Carolyn Manville Baum; Julie Bass-Haugen (2005). Occupational Therapy: Performance, Participation, and Well-Being. SLACK Incorporated. ISBN 1-55642-530-9.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Evan Harris Walker (2000). The Physics of Consciousness: The Quantum Mind and the Meaning of Life. Perseus Books. ISBN 0-7382-0436-6.
- ↑ "Question of the Month: What Is The Meaning Of Life?". Philosophy Now. Issue 59. สืบค้นเมื่อ 2007-07-26.
- ↑ 11.0 11.1 Jiddu Krishnamurti (2001). What Are You Doing With Your Life?. Krishnamurti Foundation of America. ISBN 1-888004-24-X.
- ↑ Puolimatka, Tapio; Airaksinen, Timo (2002). "Education and the Meaning of Life" (PDF). Philosophy of Education. University of Helsinki. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 September 2007. สืบค้นเมื่อ 26 July 2007.
- ↑ Stan Van Hooft (2004). Life, Death, and Subjectivity: Moral Sources in Bioethics. Rodopi. ISBN 90-420-1912-3.
- ↑ Russ Shafer-Landau; Terence Cuneo (2007). Foundations of Ethics: An Anthology. Blackwell Publishing. ISBN 1-4051-2951-4.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 15.00 15.01 15.02 15.03 15.04 15.05 15.06 15.07 15.08 15.09 David Seaman (2005). The Real Meaning of Life. New World Library. ISBN 1-57731-514-6.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Roger Ellerton PhD, CMC (2006). Live Your Dreams... Let Reality Catch Up: NLP and Common Sense for Coaches, Managers and You. Trafford Publishing. ISBN 1-4120-4709-9.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 John Cook (2007). The Book of Positive Quotations. Fairview Press. ISBN 1-57749-169-6.
- ↑ Steve Chandler (2005). Reinventing Yourself: How to Become the Person You've Always Wanted to Be. Career Press. ISBN 1-56414-817-3.
- ↑ Matthew Kelly (2005). The Rhythm of Life: Living Every Day with Passion and Purpose. Simon & Schuster. ISBN 0-7432-6510-6.
- ↑ Lee, Dong Yul; Park, Sung Hee; Uhlemann, Max R.; Patsult, Philip (June 2000). "What Makes You Happy?: A Comparison of Self-reported Criteria of Happiness Between Two Cultures". Social Indicators Research. 50 (3): 351–362. doi:10.1023/A:1004647517069. S2CID 141773177.
- ↑ Social perspectives[ลิงก์เสีย], ACM Digital Library
- ↑ John Kultgen (1995). Autonomy and Intervention: Parentalism in the Caring Life. Oxford University Press US. ISBN 978-0-19-508531-0.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 George Cappannelli; Sedena Cappannelli (2004). Authenticity: Simple Strategies for Greater Meaning and Purpose at Work and at Home. Emmis Books. ISBN 1-57860-148-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ John G. West (2002). Celebrating Middle-Earth: The Lord of the Rings as a Defense of Western Civilization. Inkling Books. ISBN 978-1-58742-012-2.
- ↑ Rachel Madorsky (2003). Create Your Own Destiny!: Spiritual Path to Success. Avanty House. ISBN 0-9705349-4-9.
- ↑ A.C. Grayling. What is Good? The Search for the best way to live. Weidenfeld & Nicolson, 2003.
- ↑ Lopez, Mike (September 22, 1999). "Episode III: Relativism? A Jedi craves not these things". The Michigan Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-11. สืบค้นเมื่อ 2007-07-26.
- ↑ Lovatt, Stephen C. (2007). New Skins for Old Wine. Universal Publishers. pp. The Meaning of Life. ISBN 1-58112-960-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-14. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
- ↑ 29.0 29.1 Raymond Kurzweil; Terry Grossman (2004). Fantastic Voyage: Live Long Enough to Live Forever. Holtzbrinck Publishers. ISBN 978-1-57954-954-1.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์), Fantastic Voyage เก็บถาวร 6 กรกฎาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - ↑ Bryan Appleyard (2007). How to Live Forever Or Die Trying: On the New Immortality. Simon & Schuster. ISBN 0-7432-6868-7.
- ↑ Cameron, Donald (2001). The Purpose of Life. Woodhill Publishing. ISBN 0-9540291-0-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
- ↑ Wayne, Larry; Johnson, Grace. "Expanding The Oneness". SelfGrowth.com. สืบค้นเมื่อ 2007-07-26.
- ↑ Nick Lane (2005). Power, Sex, Suicide: Mitochondria and the Meaning of Life. Oxford University Press. ISBN 0-19-280481-2.
- ↑ Kenneth M. Weiss; Anne V. Buchanan (2004). Genetics and the Logic of Evolution. Wiley-IEEE. ISBN 0-471-23805-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Jennifer Ackerman (2001). Chance in the House of Fate: A Natural History of Heredity. Houghton Mifflin Books. ISBN 0-618-21909-9.
- ↑ Boyce Rensberger (1996). Life Itself: Exploring the Realm of the Living Cell. Oxford University Press. ISBN 0-19-512500-2.
- ↑ Chris Grau (2005). Philosophers Explore the Matrix. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-518107-4.
- ↑ John M. Cooper; D. S. Hutchinson (1997). Plato: Complete Works. Hackett Publishing. ISBN 0-87220-349-2.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ John E. Findling, Frank W. Thackeray (2001). Events That Changed the World Through the Sixteenth Century. Greenwood Press. ISBN 0-313-29079-2.
- ↑ Tenzin Gyatso, 14th Dalai Lama (1954). The Meaning of Life: Buddhist Perspectives on Cause and Effect. Doubleday.
- ↑ Ernest Joseph Simmons (1973). Tolstoy. Routledge. ISBN 0-7100-7395-X.
- ↑ Richard A. Bowell (2004). The Seven Steps Of Spiritual Intelligence: The Practical Pursuit of Purpose, Success and Happiness. Nicholas Brealey Publishing. ISBN 1-85788-344-6.
- ↑ John C. Gibbs; Karen S. Basinger; Dick Fuller (1992). Moral Maturity: Measuring the Development of Sociomoral Reflection. Lawrence Erlbaum Associates. ISBN 0-8058-0425-0.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 44.0 44.1 Timothy Tang (2007). Real Answers to The Meaning of Life and Finding Happiness. iUniverse. ISBN 978-0-595-45941-4.
- ↑ Tyler T. Roberts (1998). Contesting Spirit: Nietzsche, Affirmation, Religion. Princeton University Press. ISBN 0-691-00127-8.
- ↑ Lucy Costigan (2004). What Is the Meaning of Your Life: A Journey Towards Ultimate Meaning. iUniverse. ISBN 0-595-33880-1.
- ↑ Steven L. Jeffers; Harold Ivan Smith (2007). Finding a Sacred Oasis in Grief: A Resource Manual for Pastoral Care. Radcliffe Publishing. ISBN 1-84619-181-5.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ David L. Jeffrey (1992). A Dictionary of Biblical Tradition in English Literature. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 0-8028-3634-8.
- ↑ Dana A. Williams (2005). "In the Light of Likeness-transformed": The Literary Art of Leon Forrest. Ohio State University Press. ISBN 0-8142-0994-7.
- ↑ Jerry Z. Muller (1997). Conservatism: An Anthology of Social and Political Thought from David Hume to the Present. Princeton University Press. ISBN 0-691-03711-6.
- ↑ Mary Nash; Bruce Stewart (2002). Spirituality and Social Care: Contributing to Personal and Community Well-being. Jessica Kingsley Publishers. ISBN 1-84310-024-X.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Xinzhong Yao (2000). An Introduction to Confucianism. Cambridge University Press. ISBN 0-521-64430-5.
- ↑ Bryan S. Turner; Chris Rojek (2001). Society and Culture: Principles of Scarcity and Solidarity. SAGE. ISBN 0-7619-7049-5.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Anil Goonewardene (1994). Buddhist Scriptures. Harcourt Heinemann. ISBN 0-435-30355-4.
- ↑ 55.0 55.1 Luc Ferry (2002). Man Made God: The Meaning of Life. University of Chicago Press. ISBN 0-226-24484-9.
- ↑ 56.0 56.1 Eric G. Stephan; R. Wayne Pace (2002). Powerful Leadership: How to Unleash the Potential in Others and Simplify Your Own Life. FT Press. ISBN 0-13-066836-2.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Dominique Moyse Steinberg (2004). The Mutual-aid Approach to Working with Groups: Helping People Help One Another. Haworth Press. ISBN 0-7890-1462-9.
- ↑ John Caunt (2002). Boost Your Self-Esteem. Kogan Page. ISBN 0-7494-3871-1.
- ↑ Ho'oponopono
- ↑ Z'ev ben Shimon Halevi (1993). The Work of the Kabbalist. Weiser. ISBN 0-87728-637-X.
- ↑ 61.0 61.1 Michael Joachim Girard (2006). Essential Believing for the Christian Soul. Xulon Press. ISBN 1-59781-596-9.
- ↑ Jaideva Singh (2003). Vijñanabhairava. Motilal Banarsidass. ISBN 81-208-0820-7.
- ↑ T. M. P. Mahadevan (1974). Philosophy: Theory and Practice (Proceedings of the International Seminar on World Philosophy). Centre for Advanced Study in Philosophy, University of Madras.
- ↑ John T. Scully (2007). The Five Commandments. Trafford Publishing. ISBN 1-4251-1910-7.
- ↑ "The Westminster Shorter Catechism". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2008. สืบค้นเมื่อ 21 March 2008.
- ↑ John Piper (2006). Desiring God. Multnomah Books. ISBN 1-59052-119-6.
- ↑ (Matthew 28:18–20)
- ↑ (Micah 6:8)
- ↑ 69.0 69.1 Thomas Patrick Burke (2004). The Major Religions: An Introduction with Texts. Blackwell Publishing. ISBN 1-4051-1049-X.