ความสัมพันธ์ไทย–อินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ไทย–อินเดีย
Map indicating location of อินเดีย and ไทย

อินเดีย

ไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย (ฮินดี: भारत-थाईलैंड संबंध) เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2490 ไม่นานหลังจากอินเดียได้รับเอกราชจากจักรวรรดิบริติช ประเทศอินเดียและประเทศไทยมีพรมแดนทางทะเลที่ติดกันบริเวณหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ของอินเดียและทะเลอันดามันของประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ไทยและอินเดียมีการสานต่อความสัมพันธ์อันดีต่อกันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งจากการเพิ่มความร่วมมือในเชิงธุรกิจและเศรษฐกิจ, การแลกเปลี่ยนกันเยี่ยมเยือนโดยผู้นำหรือตัวแทนระดับสูงของรัฐ และการลงนามในหลายข้อตกลงร่วมกันหลายฉบับเพื่อเพิ่มความแน่นแฟ้นในสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้มีมากขึ้น นอกจากนี้ไทยกับอินเดียยังมีความสัมพันธ์กันในระดับพหุภาคีหลายส่วน เช่น ในฐานะความสัมพันธ์ของอินเดียกับอาเซียน, สภาภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Forum; ARF), การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และกลุ่มความร่วมมือบิมสเทค (BIMSTEC) ที่ประกอบด้วยบังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า เนปาล และภูฏาน รวมถึงการเดินทางขนส่งระดับไตรภาคีระหว่างอินเดีย ไทย และพม่า อินเดียยังเป็นสมาชิกของความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue; ACD) และกลุ่มความร่วมมือแม่น้ำโขง-คงคา (Mekong–Ganga Cooperation; MGC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกหกประเทศ

สถานเอกอัครราชทูตไทยในอินเดียตั้งอยู่ที่กรุงนิวเดลี และมีสถานกุลไทยในอินเดีย 3 แห่ง ได้แก่ที่มุมไบ โกลกาตา และเจนไน ในขณะที่สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยตั้งอยู่ที่ซอยประสานมิตร เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร และมีสถานกงสุลอินเดียที่จังหวัดเชียงใหม่

นอกจากนี้ อินเดียและไทยยังมีความสัมพันธ์กันในเชิงวัฒนธรรมมานานหลายศตวรรษ โดยวัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียอย่างมาก เช่น คำในภาษาไทยที่มีรากมาจากภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีของแคว้นมคธ ศาสนาพุทธแบบเถรวาท หรือแม้แต่มหากาพย์รามายณะของฮินดูก็เป็นที่รู้จักดีในฐานะรามเกียรติ์ของประเทศไทย[1]

ความสัมพันธ์ทางการค้าในสมัยโบราณ[แก้]

ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับอินเดียสืบต้นตอถึง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีความสัมพันธ์ทางการค้ากับอินเดียเหนือ (ลูกปัดคาร์เนเลี่ยนแกะสลัก) และอินเดียใต้ (ลูกปัดอินโด-แปซิฟิก)[2][3]

การพัฒนาในยุคปัจจุบัน[แก้]

นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับนายกรัฐมนตรีประเทศอินเดีย มันโมหัน สิงห์ ขณะการเดินทางเยือนประเทศอินเดียอย่างเป็นทางการในปี 2011

อดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยเดินทางเยี่ยมอินเดียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4-5 เมษายน 2011 ตามคำเชิญของมันโมหัน สิงห์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งผู้นำของทั้งสองรัฐเห็นสมควรที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและฟื้นฟูการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการรวมถึงเศรษฐกิจในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค ผ่าน อาเซียน-อินเดีย (ASEAN-India), BIMSTEC และ MGC นอกจากนี้ยังได้มีการตกลงในการเพิ่มการค้าระหว่างประเทศจากมูลค่าการค้าปี 2010 ที่ 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นสองเท่าในปี 2014[4]

อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยเดินทางเยี่ยมอินเดียอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2012 ในฐานะอาคันตุกะของรัฐเนื่องในวันสาธารณรัฐของอินเดีย ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญถึงความสัมพันธ์อันดีระกว่างของประเทศ ในการเดินทางเยี่ยมเยียนครั้งนั้นได้มีการลงนามในข้อตกลงทวิภาคี 6 ฉบับ หนึ่งในนั้นคือสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งนักโทษข้ามแดน[5]

นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยเดินทางเยี่ยมอินเดียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16-18 มิถุนายน 2016 เข้าพบนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทระ โมที โดยมีการเพิ่มพูนข้อตกลงทางการค้า[6]

การเปรียบเทียบ[แก้]

อินเดีย สาธารณรัฐอินเดีย ไทย ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน
ธงชาติ อินเดีย ไทย
ประชากร 1,324,171,354 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 3,287,263 ตร.กม. (1,269,219 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 416.6 คน/ตร.กม. (1,079 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง นิวเดลี กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด มุมไบ – 12,478,447 คน (เขตปริมณฑล 18,414,288 คน) กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี: เทราปที มุรมู พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี: นเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรี: เศรษฐา ทวีสิน
ภาษาราชการ ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
จีดีพี (ราคาตลาด) 3.050 ล้านล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 2,191 ดอลลาร์) 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร 63.9 พันล้านดอลลาร์ 5.69 พันล้านดอลลาร์

อ้างอิง[แก้]

  1. Ghosh L., Jayadat K. (30 August 2017). "Thai Language and Literature: Glimpses of Indian Influence". India-Thailand Cultural Interactions. Springer. pp. 135–160. doi:10.1007/978-981-10-3854-9_9. ISBN 978-981-10-3854-9.
  2. Solheim, Wilhelm G.; FRANCIS, PETER (2003). "Review of ASIA'S MARITIME BEAD TRADE, 300 B.C. TO THE PRESENT, PETER FRANCIS, JR". Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. 76 (2 (285)): 129–132. ISSN 0126-7353. JSTOR 41493507.
  3. Bellina, Bérénice (Jan 2001). "Alkaline Etched Beads East of India in the Late Prehistoric and early historic periods". Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient. 88: 191–205. doi:10.3406/befeo.2001.3513.
  4. "Archived copy". www.indiablooms.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2011. สืบค้นเมื่อ 11 January 2022.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. "Brief on India - Thailand Relations" (PDF). Ministry of External Affairs, GoI. September 2019.
  6. https://www.thairath.co.th/content/638820

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Cœdès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  • Lokesh, Chandra, & International Academy of Indian Culture. (2000). Society and culture of Southeast Asia: Continuities and changes. New Delhi: International Academy of Indian Culture and Aditya Prakashan.
  • R. C. Majumdar, Study of Sanskrit in South-East Asia
  • R. C. Majumdar, Ancient Indian colonisation in South-East Asia.
  • R. C. Majumdar, Champa, Ancient Indian Colonies in the Far East, Vol.I, Lahore, 1927. ISBN 0-8364-2802-1
  • R. C. Majumdar, Suvarnadvipa, Ancient Indian Colonies in the Far East, Vol.II, Calcutta,
  • R. C. Majumdar, Kambuja Desa Or An Ancient Hindu Colony In Cambodia, Madras, 1944
  • R. C. Majumdar, Hindu Colonies in the Far East, Calcutta, 1944, ISBN 99910-0-001-1
  • R. C. Majumdar, India and South-East Asia, I.S.P.Q.S. History and Archaeology Series Vol. 6, 1979, ISBN 81-7018-046-5.
  • R. C. Majumdar, History of the Hindu Colonization and Hindu Culture in South-East Asia
  • Rejaul Karim Laskar, "India-Thailand Relations", The Assam Tribune, June 23, 2011
  • Daigorō Chihara (1996). Hindu-Buddhist Architecture in Southeast Asia. BRILL. ISBN 90-04-10512-3.