ความสัมพันธ์บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา–เซอร์เบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์บอสเนีย–เซอร์เบีย
Map indicating location of Bosnia and Herzegovina and Serbia

บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

เซอร์เบีย

ประเทศสมัยใหม่อย่างประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนากับประเทศเซอร์เบียมีต้นกำเนิดมาจากยูโกสลาเวีย ประชากรส่วนใหญ่ในทั้งสองประเทศพูดภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย ของภาษามาตรฐาน รวมถึงเซอร์เบียเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบของสภายุโรป, องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE), ข้อตกลงการค้าเสรียุโรปกลาง (CEFTA) และเป็นรัฐผู้สมัครอย่างเป็นทางการสำหรับการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป

ประวัติ[แก้]

จุดเริ่มต้นของความร่วมมืออย่างเป็นทางการสามารถโยงไปถึงสงครามบอสเนีย ซึ่งเรปูบลิกาเซิร์ปสกาได้รับการสนับสนุนจากเซอร์เบีย[1] ที่ข้อตกลงเดย์ตัน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเซอร์เบีย สลอบอดัน มีลอเชวิช เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชาวเซิร์บเชื้อสายบอสเนีย เนื่องจากการขาดหายไปของราดอวาน การาจิช ข้อตกลงดังกล่าวรับรองสิทธิ์สำหรับนิติบุคคลในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในการสร้างความสัมพันธ์คู่ขนานพิเศษกับประเทศเพื่อนบ้านที่สอดคล้องกับอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ข้อตกลงว่าด้วยความสัมพันธ์คู่ขนานพิเศษลงนามเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2010[2]

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ประเทศรัสเซียได้คัดค้านข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะประณามการสังหารหมู่สเรเบรนีตซาว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยเรปูบลิกาเซิร์ปสกาและเซอร์เบีย การยับยั้งดังกล่าวได้รับการยกย่องจากประธานาธิบดีเซอร์เบีย ตอมิสลัฟ นีกอลิช โดยระบุว่ารัสเซีย "ป้องกันความพยายามที่จะทำให้ประเทศเซอร์เบียแปดเปื้อนว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" และพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นเพื่อนแท้และซื่อสัตย์[3]

นายกรัฐมนตรีเซอร์เบีย อาเล็กซานดาร์ วูชิช ได้รับเชิญจากรัฐบาลบอสเนียให้เข้าร่วมงานอนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สเรเบรนีตซาประจำปี โดยเดินทางไปที่สเรเบรนีตซาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 เพื่อแสดงความเคารพ ทว่า เขาถูกโจมตีโดยม็อบในฝูงชนด้วยก้อนหิน, ขวด ตลอดจนสิ่งของอื่น ๆ และต้องหลบหนีออกจากสถานที่ดังกล่าว[4]

ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 ทางเซอร์เบียได้บริจาควัคซีนโควิด-19 จำนวน 5,000 โดสให้แก่บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Judah (2009). The Serbs. Yale University Press. pp. 222–224. ISBN 978-0-300-15826-7.
  2. "Successful implementation of agreement on special, parallel relations :: EMG :: Business news from Serbia 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-15. สืบค้นเมื่อ 2011-02-25.
  3. "Russia blocks U.N. condemnation of Srebrenica as a genocide". Reuters. 8 July 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-06-30.
  4. "Serbia's president condemns 'savage' attack on PM at Srebrenica". The Guardian. 11 July 2015.
  5. Војводине, Јавна медијска установа ЈМУ Радио-телевизија. "ФБИХ прихватила Вучићеву понуду - 5.000 вакцина". ЈМУ Радио-телевизија Војводине. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.