ข้ามไปเนื้อหา

ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ออสเตรเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ออสเตรเลีย
Map indicating location of Australia and Japan

ออสเตรเลีย

ญี่ปุ่น
สถานทูตออสเตรเลียในโตเกียว
สถานทูตญี่ปุ่นประจำกรุงแคนเบอร์รา

มีความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งความสัมพันธ์โดยทั่วไปมีความอบอุ่นและยังคงเติบโตแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดกันมาก อันมีสาระสำคัญ และขับเคลื่อนโดยผลประโยชน์ร่วมกัน โดยทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับโลกตะวันตก ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในพันธมิตรทางเศรษฐกิจหลักของออสเตรเลีย โดยเป็น "พันธมิตรทางการค้ารายใหญ่อันดับสองของออสเตรเลียและเป็นแหล่งลงทุนด้านทุนที่สำคัญเพิ่มมากขึ้น" รวมถึงในยุคปัจจุบัน ความสัมพันธ์ได้ขยายเกินขอบเขตการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการค้าที่แข็งแกร่งไปสู่ด้านอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรม, การท่องเที่ยว, การป้องกันประเทศ และความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์[1]

ส่วนความตึงเครียดสูงมีในช่วงเริ่มต้นของความสัมพันธ์ เช่น สงครามโลกครั้งที่สอง รวมถึงการที่ญี่ปุ่นมองว่าตนเองมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 คริสต์ทศวรรษ 1990[2] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลออสเตรเลียและผู้นำทางธุรกิจมองว่าญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญและเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเติบโตและความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตของออสเตรเลียในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่วนญี่ปุ่นถือว่าออสเตรเลียเป็นพันธมิตรที่สำคัญ เป็นแหล่งพลังงาน, แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์ขั้นปฐมภูมิที่เชื่อถือได้, เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว, เป็นช่องทางเชื่อมโยงที่มีประโยชน์สู่โลกตะวันตก และเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจระดับกลางเพียงหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย โทนี แอบบ็อตต์ ได้ยกย่องญี่ปุ่นว่าเป็นเพื่อนที่ใกล้ชิดที่สุดของออสเตรเลียในเอเชียใน ค.ศ. 2013 และดำเนินการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสองประเทศในปีถัดไป[3] ออสเตรเลียและญี่ปุ่นต่างยอมรับกันและกันว่าเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยทั้งคู่เป็นประชาธิปไตยเสรีนิยมที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นพันธมิตรสำคัญของสหรัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มารีส เพย์น กล่าวถึงประเทศญี่ปุ่นว่าเป็น "หุ้นส่วนที่สำคัญ" ในภูมิภาค ขณะที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ กล่าวถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวว่าเป็นแกนหลักของความมั่นคงในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก

ออสเตรเลียมีสถานทูตอยู่ที่โตเกียว และมีสถานกงสุลใหญ่อยู่ที่โอซากะ[4] ส่วนญี่ปุ่นมีสถานทูตในแคนเบอร์รา, สถานกงสุลใหญ่ในซิดนีย์, เมลเบิร์น, บริสเบน และเพิร์ท ตลอดจนสถานกงสุลในเคเอินส์[5] โดยทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก

ประวัติ

[แก้]

ยุคอาณานิคม

[แก้]

การนำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลียครั้งแรกของญี่ปุ่นได้รับการบันทึกว่าเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1865 และการนำเข้าขนแกะจากออสเตรเลียครั้งแรกของญี่ปุ่นได้รับการบันทึกว่าเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1888[6] ส่วนชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ทราบว่ามาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียคือพ่อค้าที่ย้ายถิ่นไปยังควีนส์แลนด์ใน ค.ศ. 1871 ครั้นเมื่อก่อตั้งสหพันธรัฐออสเตรเลียใน ค.ศ. 1901 คาดว่าออสเตรเลียมีผู้ย้ายถิ่นชาวญี่ปุ่นประมาณ 4,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเมืองทาวน์สวิลล์ ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งสถานกงสุลแห่งแรกขึ้นใน ค.ศ. 1896 ผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่ทำงานในอุตสาหกรรมอ้อยและอุตสาหกรรมทางทะเล รวมไปถึงการเลี้ยงเต่า, โทรคัส, ปลิงทะเล และการเก็บไข่มุก[7]

รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งสถานกงสุลแห่งที่สองในซิดนีย์เมื่อ ค.ศ. 1897 ซึ่งได้รับการยกระดับเป็นสถานกงสุลใหญ่ใน ค.ศ. 1902[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. M. Beeson, Bilateral Economic Relations in a Global Political Economy: Australia and Japan
  2. "Whaling a small issue in relations between Australia and Japan". 31 March 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2011. สืบค้นเมื่อ 6 February 2012.
  3. Kenny, Mark (2013-10-09). "Tony Abbott says Japan is Australia's 'closest friend in Asia'". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-11-21.
  4. "Australian Government embassies, high commissions, consulates, multilateral missions and representative offices". Department of Foreign Affairs and Trade. สืบค้นเมื่อ 2024-08-02.
  5. "Embassy and Consulates in Australia". www.sydney.au.emb-japan.go.jp (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-11-21.
  6. "Australia and Japan: How distance and complementarity shape a remarkable commercial relationship - Chapter 2 - Shaping forces: Complementarity and distance". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-18. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  7. Kodansha Encyclopedia, ISBN 4-06-205938-X, pp81-82
  8. Horikawa 2020, pp. 6–7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]