ความสัมพันธ์คอสตาริกา–สหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์คอสตาริกา – สหรัฐ
Map indicating location of Costa Rica and USA

คอสตาริกา

สหรัฐ

ความสัมพันธ์คอสตาริกา – สหรัฐ มีความใกล้ชิดตามประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีในประวัติศาสตร์ที่สหรัฐและคอสตาริกาได้บาดหมาง ตัวอย่างหนึ่งอาจเป็นกรณีของวิลเลียม วอล์กเกอร์ ผู้ปล้นสะดม ถึงกระนั้น พิจารณาว่าโดยทั่วไปคอสตาริกาสนับสนุนสหรัฐในด้านการประชุมแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งความสัมพันธ์ในปัจจุบันมีความเข้มแข็งมาก

ตามรายงานความเป็นผู้นำระดับโลกของสหรัฐประจำ ค.ศ. 2012 ชาวคอสตาริกา 41 เปอร์เซ็นต์เห็นด้วยกับความเป็นผู้นำของสหรัฐ ในขณะที่ 15 เปอร์เซ็นต์ไม่เห็นด้วย และไม่แน่ใจ 44 เปอร์เซ็นต์[1]

ประวัติ[แก้]

แอนโทนี บลินเคน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ และโรโดลโฟ โซลาโน รัฐมนตรีต่างประเทศคอสตาริกา ขณะลงนามความร่วมมือด้านความมั่นคงใน ค.ศ. 2021
สหรัฐส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค ให้แก่คอสตาริกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มโคแวกซ์ใน ค.ศ. 2021

คอสตาริกาและสหรัฐได้รักษาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ ค.ศ. 1851[2]

สหรัฐเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของคอสตาริกา[3] ทั้งสองประเทศแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวลต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นและต้องการรักษาทรัพยากรเขตร้อนของคอสตาริการวมถึงป้องกันความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ใน ค.ศ. 2007 สหรัฐได้ลดหนี้ของคอสตาริกาเพื่อแลกกับการปกป้องและอนุรักษ์ป่าของคอสตาริกาผ่านหนี้สำหรับการเปลี่ยนธรรมชาติภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบัญญัติอนุรักษ์ป่าเขตร้อน นับเป็นข้อตกลงที่ใหญ่ที่สุดในชนิดนี้จนถึงปัจจุบัน[4] ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลทั้งสองนี้สร้างรายได้ 50 ล้านดอลลาร์ซึ่งอุทิศให้แก่โครงการอนุรักษ์

ด้วยการให้ความช่วยเหลือมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) ได้สนับสนุนความพยายามของคอสตาริกาในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ รวมถึงขยายและเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการปฏิรูปนโยบายและการเปิดเสรีทางการค้า ความคิดริเริ่มในการให้ความช่วยเหลือในคริสต์ทศวรรษ 1990 มุ่งเน้นไปที่นโยบายประชาธิปไตย, การปรับปรุงการบริหารงานยุติธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อประเทศได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐเกือบทุกรูปแบบ ภารกิจของหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐในคอสตาริกาก็ปิดตัวลงใน ค.ศ. 1996 อย่างไรก็ตาม หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐได้ทำโครงการมูลค่า 9 ล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 2000–2001 เพื่อสนับสนุนผู้ลี้ภัยจากพายุเฮอริเคนมิตช์ที่สิงสถิตในคอสตาริกา[5]

ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเริ่มลดลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อรัฐบาลเรแกนใช้ดินแดนคอสตาริกาเพื่อโจมตีรัฐบาลซันดีนิสตาของประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของคอสตาริกาอย่างประเทศนิการากัว เพื่อต่อต้านความปรารถนาของรัฐบาลคอสตาริกา ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีคอสตาริกา โอสการ์ อาเรียส ไม่ให้อดีตเจ้าหน้าที่สหรัฐจำนวนหนึ่งเข้าไปในคอสตาริกาหลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐสภาพบว่าการกระทำของพวกเขาในการจัดหาผู้ต่อต้านกบฏนำไปสู่การค้ายาเสพติดโดยนักบินที่ฝ่าฝืน ส่วนรัฐบาลบุชได้หยุดการกู้ยืมเงินขององค์กรการเงินระหว่างประเทศให้แก่รัฐบาลคอสตาริกาหลังจากที่อาเรียสเวนคืนที่ดินซึ่งสร้างสนามบินลับยาวหลายไมล์[6]

อาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐมากกว่า 3,370 คนได้ปฏิบัติหน้าที่ในคอสตาริกานับตั้งแต่ก่อตั้งโครงการใน ค.ศ. 1963 ซึ่งปัจจุบันมีอาสาสมัคร 128 คนให้บริการที่นั่น อาสาสมัครทำงานในด้านการพัฒนาเยาวชน, การพัฒนาชุมชน, ธุรกิจ และการศึกษาภาษาอังกฤษ โดยพวกเขาได้รับการฝึกและทำงานเป็นภาษาสเปน[7]

ตามรายงานโดยการสำรวจสำมะโนประชากรแห่งชาติของคอสตาริกาเมื่อ ค.ศ. 2011 มีพลเมืองอเมริกันอีก 4.1 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ในคอสตาริกาตามจำนวนที่คำนวณใน ค.ศ. 2000 โดยมีพลเมืองอเมริกันอาศัยอยู่ในคอสตาริกา 15,898 คน ตามที่พบในการสำรวจสำมะโนประชากร เมื่อเทียบกับ 9,511 ที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้นใน ค.ศ. 2000[8]

ในช่วงไตรมาสแรกของ ค.ศ. 2011 มีการเผยว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนที่ไปเยือนคอสตาริกามาจากสหรัฐ[9]

ข้อตกลงความร่วมมือต่อต้านยาเสพติดระหว่างสหรัฐ-คอสตาริกา[แก้]

ใน ค.ศ. 1999 ข้อตกลงความร่วมมือต่อต้านยาเสพติดระหว่างสหรัฐ-คอสตาริกา ได้มีผลบังคับใช้ ข้อตกลงดังกล่าวอำนวยความสะดวกในความร่วมมือระหว่างหน่วยยามฝั่งคอสตาริกาและหน่วยยามฝั่งสหรัฐเกี่ยวกับการค้ายาเสพติดและกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอื่น ๆ

ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายทวิภาคีคอสตาริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการค้ายาเสพติดที่ผิดกฎหมายได้ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ได้มีข้อพิพาทภายใน (ภายในประเทศคอสตาริกา) เกี่ยวกับการเข้ามาของกองทัพเรือสหรัฐเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของหน่วยยามฝั่งสหรัฐ[10]

แม้ว่าคอสตาริกามีความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย แต่ก็มีธรรมเนีบมของการทำให้ปลอดทหารและการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสันติ ซึ่งลุยส์ ฟิสมัน สมาชิกรัฐสภาคอสตาริกา กล่าวถึงความกังวลของเขาว่า "นี่เป็นการตรวจสอบเปล่า ๆ สำหรับกองทหารอเมริกัน" ในขณะที่ฆวน การ์โลส เมนโดซา สมาชิกสภานิติบัญญัติฝ่ายค้าน กล่าวเสริมว่า "ประเภทของอาวุธยุทโธปกรณ์ทำให้เชื่อว่าปฏิบัติการเหล่านี้เป็นลักษณะทางทหาร มากกว่าเพื่อต่อต้านการค้ายาเสพติด"

นอกจากนี้ ยังมีการยื่นคำร้องออนไลน์เกี่ยวกับการเข้าของเรือเดินสมุทรของสหรัฐ ซึ่งได้รับมากกว่า 4,200 ลายเซ็น และการระดมผู้ประท้วง[11]

สถานทูตสหรัฐในซานโฮเซ ประเทศคอสตาริกา[แก้]

สถานทูตสหรัฐในประเทศคอสตาริกาอยู่ที่ซานโฮเซ ซึ่งอาคารสำนักงานของสถานทูตแห่งนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1980 และออกแบบโดยสถาปนิกชื่อโรเบิร์ต มาร์กี[12]

ศูนย์วัฒนธรรมอเมริกาเหนือคอสตาริกา[แก้]

ศูนย์วัฒนธรรมอเมริกาเหนือคอสตาริกาเป็นสมาคมที่ไม่แสวงหาผลกำไรในคอสตาริกาซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1945 และได้รับการประกาศ 'สาธารณประโยชน์' โดยรัฐบาลคอสตาริกาใน ค.ศ. 1993[13]

พันธกิจของสมาคมนี้คือ "เป็นผู้นำในแนวทางใหม่ในการสอนภาษา และส่งเสริมประสบการณ์ระหว่างวัฒนธรรม " อย่างแม่นยำมากขึ้นเกี่ยวกับสหรัฐ[13]

ทั้งนี้ สมาคมดังกล่าวเป็นพันธมิตรกับสถานทูตสหรัฐในซานโฮเซ[14]

ตราสัญลักษณ์ศูนย์วัฒนธรรมอเมริกาเหนือคอสตาริกา

สถานทูตคอสตาริกาในวอชิงตัน ดี.ซี.[แก้]

สถานทูตคอสตาริกาประจำสหรัฐตั้งอยู่ในวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนทูตคอสตาริกาคือ ดร. เฟร์นันโด ลอร์กา กัสโตร[15]

การศึกษา[แก้]

มีโรงเรียนอเมริกันนานาชาติแห่งคอสตาริกาอำนวยครอบครัวชาวอเมริกันในคอสตาริกา

อ้างอิง[แก้]

  1. U.S. Global Leadership Project Report - 2012 Gallup
  2. "Message from the Ambassador of Costa Rica to the USA". Embassy of Costa Rica in Washington DC. สืบค้นเมื่อ 2013-01-08.
  3. [1] เก็บถาวร 2019-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, see Economy tab, Export Partners and Import Partners of Costa Rica. October 14, 2010. Retrieved 2013-01-08.
  4. "Segundo canje de deuda por naturaleza entre Estados Unidos y Costa Rica" (ภาษาสเปน). Embajada de los Estados Unidos San Jose, Costa Rica. October 14, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-01-08.
  5. [2], see US-CR relations 3rd paragraph.
  6. “Point West: The Political History of the Guanacaste National Park Project”
  7. [3], see last paragraph
  8. Ramón, Gerardo Ruiz (June 10, 2012). "Más colombianos y estadounidenses viven en Costa Rica". Wvw.elfinancierocr.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-10. สืบค้นเมื่อ 2013-01-08.
  9. [4] เก็บถาวร 2013-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in spanish, see Gráfico 1 (Graphic 1)
  10. Mata, Esteban A. (September 5, 2012). "Asamblea avala ingreso a ocho naves antinarco de los EE. UU". Nacion.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-08. สืบค้นเมื่อ 2013-01-08.
  11. "Costa Rica stirs controversy by green-lighting U.S. warships | Just the Facts - U.S. military aid to Latin America and the Caribbean". Just the Facts. July 13, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2010. สืบค้นเมื่อ 2013-01-08.
  12. Kitty Luce; Jessie Durant, บ.ก. (2012). Robert B. Marquis Collection, c. 1947, 1953-1994 (PDF). Online Archive of California. University of California, Berkley. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-12-01. สืบค้นเมื่อ 2022-06-14.
  13. 13.0 13.1 "¿Quiénes Somos?". Centro Cultural Costarricense Norteamericano. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-14. สืบค้นเมื่อ 2013-01-08.
  14. "Home | Embassy of the United States San Jose, Costa Rica". Costarica.usembassy.gov. 2012-12-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-27. สืบค้นเมื่อ 2013-01-08.
  15. "Contact Us | Embajada de Costa Rica en DC". Embassy of Costa Rica in Washington DC. สืบค้นเมื่อ 2013-01-08.

แม่แบบ:StateDept

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Chase, Cida S. "Costa Rican Americans." Gale Encyclopedia of Multicultural America, edited by Thomas Riggs, (3rd ed., vol. 1, Gale, 2014), pp. 543-551. online
  • Longley, Kyle. Sparrow and the Hawk: Costa Rica and the United States during the Rise of José Figueres (University of Alabama Press, 1997).
  • Mount, Graeme S. "Costa Rica and the Cold War, 1948–1990." Canadian Journal of History 50.2 (2015): 290-316.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]