ความรุนแรงทางการเมืองของปาเลสไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความรุนแรงทางการเมืองของปาเลสไตน์ หมายถึง การก่อเหตุรุนแรงหรือการก่อการร้ายซึ่งมีลัทธิชาตินิยมปาเลสไตน์เป็นเหตุจูงใจ[1] วัตถุประสงค์ทางการเมืองได้แก่การกำหนดการปกครองด้วยตนเองและเอกราชเหนือปาเลสไตน์[2][3] "การปลดปล่อยปาเลสไตน์" และการสถาปนารัฐปาเลสไตน์ ไม่ว่าทั้งในประเทศอิสราเอลและดินแดนปาเลสไตน์ หรือเฉพาะในดินแดนปาเลสไตน์[4][5][6] บางครั้งความรุนแรงดังกล่าวมุ่งเป้าหมายจำกัดกว่า เช่น การปลดปล่อยนักโทษชาวปาเลสไตน์ในประเทศอิสราเอล อีกเป้าหมายสำคัญหนึ่งคือการเรียกร้องสิทธิกลับมาตุภูมิของชาวปาเลสไตน์[7]

กลุ่มปาเลสไตน์ซึ่งเกี่ยวข้องในความรุนแรงซึ่งมีการเมืองเป็นเหตุจูงใจ ได้แก่ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ฟะตะห์ แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP) กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PFLP-GC) แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ องค์การอะบู นิดาล, ญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ และฮะมาส[8] PLO ประกาศเลิกก่อการร้ายอย่างเป็นทางการในปี 1988 และฟะตะห์แถลงว่าจะไม่ข้องแวะกับการก่อการร้ายอีก แม้องค์การฯ ยังคงจูงใจให้เกิดการก่อการร้ายโดยการให้รางวัลเป็นค่าจ้างปริมาณมากแก่ครอบครัวชาวปาเลสไตน์ที่ถูกฆ่าหรือลักพาตัวขณะก่อเหตุก่อการร้ายโดยกองทุนมรณสักขีองค์การปาเลสไตน์ ซึ่งคิดเป็นรายจ่ายร้อยละ 7 ของงบประมาณแห่งชาติขององค์การฯ[9] PFLP-GC ไม่ปฏิบัติการต่อในระดับนานาชาติ องค์การอะบู นิดาลถูกยุบไปหลังเขาเสียชีวิตเหลือเพียงชื่อเท่านั้น[10][11][12]

ยุทธวิธีที่ใช้ ได้แก่ การจับตัวประกัน การจี้เครื่องบิน การปาก้อนหิน การใช้มีดแทง การยิงและการวางระเบิด[13] รัฐบาลสหรัฐ แคนาดาและสหภาพยุโรปถือหลายกลุ่มข้างต้นว่าเป็นองค์การก่อการร้าย[14][15][16]

ความรุนแรงทางการเมืองของปาเลสไตน์มุ่งเป้าชาวอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์ ชาวเลบานอน ชาวจอร์แดน[17] ชาวอียิปต์[18] ชาวอเมริกันและพลเมืองของประเทศอื่น[19] เกิดการโจมตีทั้งในและนอกประเทศอิสราเอลและยังมุ่งเป้าต่อเป้าหมายทั้งทางทหารและพลเรือน สถิติของอิสราเอลระบุว่ามีชาวอิสราเอลถูกฆ่า 3,500 คน[19][20] และได้รับบาดเจ็บ 25,000 คนอันเนื่องจากความรุนแรงของปาเลสไตน์นับแต่การสถาปนารัฐอิสราเอลในปี 1948 จำนวนดังกล่าวรวมทหารและพลเรือน รวมทั้งผู้เสียชีวิตในเหตุยิงปะทะ[21][22] สถิติของอิสราเอลที่แสดงรายการการโจมตีก่อการร้ายข้าศึกนับรวมกรณีที่เป็นการปาก้อนหินด้วย การวางระเบิดฆ่าตัวตายคิดเป็น 0.5% ของการโจมตีของชาวปาเลสไตน์ต่ออิสราเอลในอินติฟาดาอัลอักซอในช่วงสองปีแรก แม้จำนวนดังกล่าวคิดเป็นครึ่งหนึ่งของชาวอิสราเอลที่ถูกฆ่าในช่วงเวลานั้น[23]

ความเศร้า แผลใจหรือการล้างแค้นอิสราเอลส่วนบุคคลยังคงเป็นส่วนสำคัญในการจูงใจก่อเหตุโจมตีต่อชาวอิสราเอล[24][25][26]

อ้างอิง[แก้]

  1. As'ad Ghanem, "Palestinian Nationalism: An Overview."
  2. de Waart, 1994, p. 223. Referencing Article 9 of The Palestinian National Charter of 1968. The Avalon Project has a copy here [1]
  3. De Waal, 2004, pp. 29–30.
  4. Schulz, 1999, p. 161.
  5. Khaled Abu Toameh (July 22, 2009). "'Fatah has never recognized Israel'". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 2009-03-09.[ลิงก์เสีย]
  6. McGreal, Chris (January 12, 2006). "Hamas drops call for destruction of Israel from manifesto". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09.
  7. "Palestine National Charter". 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 14, 2012. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 9, 2012.
  8. Holly Fletcher (April 10, 2008). "Palestinian Islamic Jihad". Council on Foreign Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-11. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09.
  9. Booth, William (21 May 2017). "Israel wants Trump to stop Palestinian payments to prisoners and families of 'martyrs'". Washinington Post. สืบค้นเมื่อ 5 June 2017.
  10. Peter Chalk, Encyclopedia of Terrorism , ABC-CLIO 2012 p.33.
  11. Curtis R. Ryan, 'Democracy, Terrorism, and Islamist Movements,' in Suleyman Ozeren, Ismail Dincer Gunes, Diab M. Al-Badayneh (eds.), Understanding Terrorism: Analysis of Sociological and Psychological Aspects, IOS Press 2007 pp.120-131 p.122.
  12. James Ciment, Kenneth Hill, (eds.)Encyclopedia of Conflicts since World War II edited by , M.E. Sharpe, 1999 o.75
  13. Beitler, Ruth Margolies. "The intifada: Palestinian adaptation to Israeli counterinsurgency tactics" Terrorism and Political Violence 7.2 (1995). Sep 5, 2010
  14. "State Dept. List of Terrorist organizations". State.gov. สืบค้นเมื่อ 2014-05-15.
  15. "Currently listed entities". Department of Public Safety and Emergency Preparedness. August 7, 2013. สืบค้นเมื่อ August 22, 2013.
  16. "Council decision of 21 December 2005" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-09-24. สืบค้นเมื่อ August 21, 2013.
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ loc
  18. Tuesday, October 26, 2004, Interior Ministry: defendants are eight Egyptians led by a Palestinian national living in Al-Arish [2]
  19. 19.0 19.1 B'Tselem – Statistics – Fatalities เก็บถาวร ตุลาคม 8, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Btselem.org. Retrieved on 2012-05-09.
  20. "Which Came First – Terrorism or "Occupation"? Israeli Ministry of Foreign Affairs". Mfa.gov.il. สืบค้นเมื่อ 2014-05-15.
  21. Terrorism deaths in Israel – 1920–1999 เก็บถาวร กันยายน 28, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  22. Palestinian terrorism since Sept 2000. Mfa.gov.il. Retrieved on 2010-09-29.
  23. Avishai Margalit, “The Suicide Bombers,' at New York Review of Books, January 16, 2003.
  24. Avishai Margalit, “The Suicide Bombers,' at New York Review of Books, January 16, 2003 :'the main motivating force for the suicide bombers seems to be the desire for spectacular revenge.'
  25. Peter Beinart, 'The American Jewish Cocoon,'[ลิงก์เสีย] at New York Review of Books, September 26, 2013.
  26. Eyad El Sarraj, 'Suicide Bombers: Dignity, Despair, and the Need for Hope. An Interview with Eyad El Sarraj,' at Journal of Palestine Studies, Vol. 31, No. 4 (Summer 2002), pp. 71-76, p.71:'the people who are committing the suicide bombings are the children of the first intifada—people who witnessed so much trauma as children. So, as they grew up, their own identity merged with the national identity of humiliation and defeat, and they avenge that defeat at both the personal and national levels.'