ความมั่นใจในร่างกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Yolanda โดย Miriam Lenk ซึ่งเธอระบุว่ารูปปั้นนี้เป็น “ไอคอนถึงความมั่นใจของสตรี .... Yolanda ครอบครองพื้นที่ที่มีอยู่และไม่สนใจต่อข้อขัดแย้ง"[1]

ความมั่นใจในร่างกาย (อังกฤษ: body positivity) เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีรากฐานภายใน้ความคิดที่ว่ามนุษย์ทั้งปวงควรมีความมั่นใจในรูปร่างของร่างกาย (positive body image) ในขณะเดียวกันก็ท้าทายแนวทางที่สังคมนำเสนอและมองต่อร่างกายทางกายภาพ การเคลื่อนไหวนี้สนับสนุนการยอมรับร่างกายทุกรูปแบบโดยไม่สนใจต่อความสามารถทางกาย, ขนาดร่างกาย, เพศ, เขื้อชาติ หรือรูปร่างภายนอก การเคลื่อนไหวนี้ดิ้นรนเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมและการรับรู้ของผู้คนต่อสินค้าและบริการบางชนิดที่ได้กำไรจากการรู้สึกไม่ปลอดภัยทางรูปร่างของผู้คนเช่นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ซึ่ง Alan Smithee ได้วิเคราะห์ไว้[2] นักกิจกรรมจะเชื่อว่าขนาดตัวนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ทางที่ร่างกายของมนุษย์ถูกจัดวางในลำดับขั้นของอำนาจและความต้องการไขว่คว้า[3] เป้าหมายของการเคลื่อนไหวนี้เพื่อแสดงถึงมาตรฐานความงามที่เกินจริงและสร้างความมั่นใจต่อบุคคล[4][5][6]

รากฐานของแนวคิดนี้อยู่ในขบวนการยอมรับความอ้วน (fat acceptance movement) เช่นเดียวกับ National Association to Advance Fat Acceptance[7] ความแตกต่างของแนวคิดนี้จากการยอมรับความอ้วนนั้นคือมีการยอมรับรูปแบบของร่างกายทุกแบบ ในขณะที่การยอมรับความอ้วนนั้นสนับสนุนรูปแบบร่างกายอ้วน หรือน้ำหนักเกินเท่านั้น[8] แนวคิดนี้เชื่อว่าทั้งการเหยียดหยามคนอ้วน (fat-shaming) และ การเหยียดหยามคนผอม (skinny-shaming)[9] เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ และรูปกายทุกแบบควรได้รับการเชิดชูและยอมรับ[10]

การวิจารณ์[แก้]

อย่างไรก็ตาม นักคติสตรีนิยม (feminists) บางส่วนได้วิจารณ์การเคลื่อนไหวนี้ว่าสามารถดำเนินไปเพียงเพื่อเน้นย้ำความคิดแบบปิตาธิปไตย (patriarchal) มากกว่าการส่งเสริมสตรีนิยมแท้

แนวคิดในการโพสต์ภาพไม่ตัดต่อของร่างกายเพื่อเป็นการยอมรับมันนั้นเป็นการระทำที่ซึ่งนั่งวิชาการด้านเพศ Amber E Kinser ระบุว่าเป็น “สตรีนิยมเทียม” ("false feminism") โดย Kinser วิจารณ์ว่าการกระทำเพื่อทนไม่เป็นการไม่ท้าทายต่อระบอบปิตาธิปไตยแลเแคมเปญเช่นนี้ไม่สามารถทลายความเป็นเหตุผลของการโต้แย้งเรื่องความมีค่าของสตรีเกี่ยวพันโดยตรงกับรูปลักษณ์ภายนอกของเธอ[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Yolanda Art Print". Saatchi Art (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-12.
  2. Smithee, Alan (June 2019). "How will body image trends influence the fitness market in Spain by 2035". Researchgate.
  3. Alptraum, Lux. "A Short History of 'Body Positivity'". Fusion (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-23.
  4. CWYNAR-HORTA, JESSICA (August 2016). "DOCUMENTING FEMININITY: BODY POSITIVITY AND FEMALE EMPOWERMENT ON INSTAGRAM" (PDF). สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  5. Cwynar-Horta, Jessica (2016-12-31). "The Commodification of the Body Positive Movement on Instagram". Stream: Inspiring Critical Thought (ภาษาอังกฤษ). 8 (2): 36–56. ISSN 1916-5897.
  6. Dalessandro, Alysse. "15 Influencers Define Body Positivity" (ภาษาอังกฤษ).
  7. "A Short History of 'Body Positivity'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-15.
  8. Ospina, Marie Southard. "11 Influencers Discuss the Differences Between Body Positivity and Fat Acceptance". Bustle.
  9. Woolf, Emma (August 5, 2013). "Why is skinny-shaming OK, if fat-shaming is not?". The Guardian.
  10. Bansal, Nimisha (2018-03-30). "Why Skinny Shaming is Just as Bad as Fat Shaming". She the People.
  11. Darwin, Helana (2018-01-28). "Omnivorous Masculinity". dx.doi.org. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.