ข้ามไปเนื้อหา

ความบอดการเห็นเป็น 3 มิติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความบอดการเห็นเป็น 3 มิติ หรือ ความไม่เห็นเป็น 3 มิติ (อังกฤษ: Stereoblindness, stereo blindness) เป็นความไม่สามารถเห็นเป็น 3 มิติ ทำให้ไม่สามารถรู้ความใกล้ไกลด้วยตาทั้งสองผ่านการรวมและเปรียบเทียบภาพจากตาทั้งคู่โดยสมอง บุคคลที่สามารถใช้ตาเพียงข้างเดียวจะมีภาวะนี้แน่นอน แต่ก็อาจเกิดเมื่อตาไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมควร

ผู้ที่ไม่เห็นเป็น 3 มิติแต่มีตาดีทั้งสองข้างก็ยังใช้การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ในระดับหนึ่ง แม้จะน้อยกว่าคนปกติ งานศึกษาหนึ่งได้แสดงว่า เมื่อให้ตัดสินทิศทางการหมุนของรูปทรงกระบอกโปร่งใสแบบเสมือน ผู้ที่ไม่เห็นเป็น 3 มิติจะทำด้วยสองตาได้ดีกว่าใช้ตาข้างที่ถนัด และปรากฏว่า ตัดสินทิศทางของรูปที่หมุนในตาแต่ละข้างต่างหาก ๆ แล้วรวมการตัดสิน ไม่ได้อาศัยความต่างของรูปที่เห็นโดยตาสองข้าง (ที่คนปกติจะใช้)[1] นอกจากนั้น สิ่งเร้าแบบเคลื่อนไหวที่เห็นด้วยสองตา ดูจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกว่าตัวเองเคลื่อนไหวของบุคคล[2] อีกอย่างหนึ่ง ในบางกรณี ตาแต่ละข้างจะมีบทบาทในการมองเห็นรอบนอก (peripheral vision) ในแต่ละข้างของขอบเขตภาพ

กรณีดัง

[แก้]

มีผู้เสนอว่า จิตรกรคนดังชาวดัตช์แร็มบรันต์อาจไม่เห็นเป็น 3 มิติ ซึ่งช่วยเขาให้แสดงภาพ 3 มิติโดยวาดเป็น 2 มิติได้ดี[3][4] นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอว่า ดูเหมือนจะมีจิตรกรที่ไม่เห็นเป็น 3 มิติมากเมื่อเทียบกับคนที่มองเห็นภาพ 3 มิติได้ชัด[5]

ในปี พ.ศ. 2555 มีรายงานว่า คนไข้ฟื้นสภาพจากภาวะไม่เห็นเป็น 3 มิติโดยดูภาพยนตร์ 3 มิติ[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Christa M. van Mierlo; Eli Brenner; Jeroen B.J. Smeets (2011). "Better performance with two eyes than with one in stereo-blind subjects' judgments of motion in depth". Vision Research. 51 (11): 1249–1253. doi:10.1016/j.visres.2011.03.015. PMID 21458479. S2CID 615787.
  2. Jeremy M. Wolfe; Richard Held (March 1980). "Cyclopean stimulation can influence sensations of self-motion in normal and stereoblind subjects". Perception & Psychophysics. 28 (2): 139–142. doi:10.3758/bf03204339. PMID 7432987.
  3. Marmor M. F., Shaikh S., Livingstone M. S., Conway B. R., Livingstone MS, Conway BR (September 2004). "Was Rembrandt stereoblind?". N. Engl. J. Med. 351 (12): 1264–5. doi:10.1056/NEJM200409163511224. PMC 2634283. PMID 15371590. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-17. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
  4. "Rembrandt (van Rijn)".
  5. "A defect that may lead to a masterpiece". New York Times. 2011-06-13.
  6. Peck, Morgen (2012-07-19). "How a movie changed one man's vision forever". BBC News. สืบค้นเมื่อ July 20, 2012.

No.4 is linked to a pill sale site. Please correct to https://web.archive.org/web/20060210012412/http://www.artinthepicture.com/artists/Rembrandt/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]