ควังมย็อง (เครือข่าย)
ควังมย็อง | |
![]() ห้องคอมพิวเตอร์พร้อมการเข้าถึงควังมย็องที่หอศึกษาใหญ่ประชาชนในเปียงยาง | |
ชื่อเกาหลี | |
---|---|
โชซ็อนกึล | 광명 |
ฮันจา | 光明 |
อาร์อาร์ | gwangmyeong |
เอ็มอาร์ | kwang-myŏng |
IPA | [kwa̠ŋ.mjʌ̹ŋ] |
ควังมย็อง (เกาหลี: 광명; อาร์อาร์: gwangmyeong; เอ็มอาร์: kwang-myŏng; แปล แสงสว่าง)[1][2] เป็นบริการอินทราเน็ตระดับชาติของประเทศเกาหลีเหนือ[3] เปิดให้บริการในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ระบบอินทราเน็ตควังมย็องมีความแตกต่างจากอินเทอร์เน็ตโลกในเกาหลีเหนือ ซึ่งมีผู้เข้าถึงได้น้อยกว่าในประเทศ[4]
เครือข่ายใช้ชื่อโดเมนภายใต้โดเมนระดับบนสุด .kp ที่โดยปกติแล้วไม่สามารถเข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ตโลก[5] ณ ค.ศ. 2016 เครือข่ายใช้ที่อยู่ IPv4 ที่สงวนไว้สำหรับเครือข่ายส่วนตัวในช่วง 10.0.0.0/8 หรือที่รู้จักในชื่อบล็อก 24 บิตตามที่กำหนดไว้ใน RFC 1918[5] ชาวเกาหลีเหนือมักพบว่าการเข้าถึงเว็บไซต์ด้วยเลขที่อยู่ไอพีสะดวกกว่าการใช้ชื่อโดเมนที่เป็นตัวอักษรลาติน[5] เช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ตโลก เครือข่ายนี้เป็นโฮสต์เนื้อหาที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ และมีโปรแกรมค้นหาเว็บภายใน นอกจากนี้ยังมีบริการอีเมลและกลุ่มข่าวสาร[6][7][8] อินทราเน็ตได้รับการจัดการโดยศูนย์คอมพิวเตอร์เกาหลี[9][10]
ประวัติศาสตร์
[แก้]เว็บไซต์แรกในเกาหลีเหนือ ซึ่งคือเว็บพอร์ทัลเนนารา (Naenara) สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1996[11] ความพยายามสร้างเครือข่ายควังมย็องในระดับชาติเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1997 โดยมีการพัฒนาบริการอินทราเน็ตบางส่วนในเขตเศรษฐกิจพิเศษราจิน-ซ็อนบงตั้งแต่ ค.ศ. 1995 อินทราเน็ตได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาง[12][13][14] อินทราเน็ตควังมย็องระดับชาติเริ่มเปิดให้บริการในช่วงต้นทศวรรษ 2000[13][15] ผู้ให้บริการอีเมลรายแรกของเกาหลีเหนือคือธนาคารชิลลี (Sili Bank) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2001[16][17][18]
ก่อน ค.ศ. 2006 ชาวเกาหลีเหนือเคยใช้ห้องสนทนาในอินทราเน็ตเพื่อจัดการนัดพบเพื่อเล่นกีฬา เช่น บาสเกตบอล หลังเหตุการณ์ที่ผู้ใช้อินทราเน็ตชาวเกาหลีเหนือประมาณ 300 คนรวมตัวกันแบบม็อบฉับพลันที่โรงยิมเปียงยาง เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปีของเนนารา ห้องสนทนาทั้งหมดก็ถูกลบออกจากอินทราเน็ตของเกาหลีเหนือ[11] มีรายงานว่าห้องสนทนาในระดับภูมิภาคกลับมาอีกครั้งใน ค.ศ. 2015[19]
ใน ค.ศ. 2013 กลุ่มแฮกเกอร์ที่เกี่ยวข้องกับอะนอนิมัส (Anonymous) อ้างว่าได้เจาะเข้าอินทราเน็ตของเกาหลีเหนือ[20] อย่างไรก็ตาม หลักฐานสำหรับการกล่าวอ้างนั้นยังขาดแคลน[21][22][23]
ระบบการประชุมทางวิดีโอที่ชื่อว่ารักว็อน (Rakwon) ถูกพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยคิม อิล-ซ็องใน ค.ศ. 2010 ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ระบบนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมากสำหรับการประชุมทางไกลและปรากฏเป็นประจำในรายงานข่าว มีการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลและการศึกษาทางไกลด้วย[24]
เว็บไซต์ซื้อของออนไลน์แห่งแรกเปิดตัวใน ค.ศ. 2015 และมีเว็บไซต์ดังกล่าว 22 แห่งภายใน ค.ศ. 2021 ธนาคารกลางเกาหลีเหนือเปิดตัวระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ใน ค.ศ. 2020[25]
เนื้อหา
[แก้]ณ ค.ศ. 2014 มีการประมาณการว่าเครือข่ายควังมย็องมีเว็บไซต์อยู่ระหว่างประมาณ 1,000 ถึง 5,500 เว็บไซต์[15][26][8][27] ใน ค.ศ. 2021 แม็กซ์ ฟิชเชอร์จาก วอกซ์ (Vox) ประมาณการว่ามีอยู่ประมาณ 5,000 เว็บไซต์[28] เอ็กเซลซิโอร์ (Excélsior) ก็ประมาณการจำนวนไว้ที่ประมาณ 5,000 เว็บไซต์ในปีถัดมา[29]
เครือข่ายควังมย็องประกอบด้วยเว็บไซต์และบริการมากมาย บางไซต์นำเสนอโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและเศรษฐกิจ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม รวมถึงองค์ความรู้ในสาขาอื่นสามารถพบได้ในที่อื่น ๆ[12][17][30][31] มีรายงานว่าเอกสารส่วนใหญ่เป็นเอกสารทางวิทยาศาสตร์หรือเทคนิคกว่า 30 ล้านฉบับถูกโพสต์ลงในอินทราเน็ต ณ ค.ศ. 2007[9]
เว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลเกาหลีเหนือต่าง ๆ รวมถึงรัฐบาลส่วนภูมิภาค สถาบันวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยและห้องสมุดสำคัญ โรงเรียนท้องถิ่นบางแห่ง และองค์กรอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมขนาดใหญ่บางแห่งสามารถเข้าถึงได้โดยผู้ใช้[11][26] เครือข่ายยังมีเว็บไซต์ (ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์) จากอินเทอร์เน็ตเปิดที่ถูกดาวน์โหลด ตรวจสอบและตรวจพิจารณา[7][32]
บริการอีเมลภายในสามารถใช้งานได้บนเครือข่ายควังมย็อง[6][11][16][33] มีโปรแกรมค้นหาที่ใช้สำหรับการเรียกดูอินทราเน็ตควังมย็อง[8][14][34][17] มีรายงานว่าเครื่องมือค้นหานี้มีชื่อว่า "เนนารา" ซึ่งแปลว่า "ประเทศของเรา"[26][32][35] บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์คล้ายเฟซบุ๊กที่อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยใช้งานกันนั้นมีอยู่ ณ ค.ศ. 2013 และถูกใช้เพื่อโพสต์ข้อความอวยพรวันเกิด[36] ซีเอ็นเอ็นรายงานใน ค.ศ. 2017 ว่ามี "สิ่งที่เทียบเท่าเฟซบุ๊กของเกาหลีเหนือ"[37] มีรายงานว่ามีกระดานข้อความอยู่บนเครือข่าย[32][38][28] บริการสตรีมมิ่งวิดีโอไอพีทีวีที่เรียกว่า มันบัง (만방) ซึ่งมีความหมายในภาษาเกาหลีว่า "ทุกคน" มีรายงานว่าเปิดตัวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 แม้ชื่อมันบังจะปรากฏในเทคโนโลยีของเกาหลีเหนือตั้งแต่ ค.ศ. 2013 สามารถเข้าถึงได้ผ่านกล่องรับสัญญาณที่เปิดใช้งานวายฟาย สามารถเข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์[16][39][40] มีรายงานว่าควังมย็องถูกใช้สำหรับการหาคู่ออนไลน์[34][35][37] ห้องสนทนาถูกใช้โดยชาวเกาหลีเหนือที่สนใจกีฬากระทั่ง ค.ศ. 2006 เมื่อห้องสนทนาเหล่านั้นถูกลบออกไป[11] ห้องสนทนาระดับภูมิภาคถูกเพิ่มเข้ามาใน ค.ศ. 2015[19]
บริการข่าวสารของรัฐภายในประเทศมีให้บริการบนเครือข่าย เช่น สำนักข่าวกลางเกาหลี โรดงชินมุน และวิทยุเสียงเกาหลี[17][16][41] เว็บไซต์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของงานวิชาการและงานวิจัยที่อุทิศให้กับเครือข่ายให้บริการผ่านการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและการแบ่งปันข้อมูลบนเว็บ เช่น สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เกาหลี: 과학기술전시관; ฮันจา: 科學技術展示館)[42] และสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เกาหลี: 의학과학정보센터)[43] ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ก็มีอยู่ในเครือข่าย ซึ่งยังเป็นที่เก็บวิดีทัศน์การบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ[11][44]
เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซและอี-แบงกิงบางแห่งมีอยู่บนเครือข่าย[33][45][46][47] วิดีโอเกมบางเกมก็มีอยู่บนอินทราเน็ตด้วย[11][34][18][35] หนึ่งในเกมที่มีอยู่ในควังมย็องคือหมากรุกเกาหลี[17][26] โทรศัพท์สามารถเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และการชำระเงินผ่านมือถือ[48][49] เว็บไซต์ด้านวัฒนธรรมบางแห่งเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์โดเมน .kp เพียงไม่กี่แห่งที่ชาวต่างชาติสามารถเข้าถึงได้อย่างเปิดเผยผ่านอินเทอร์เน็ตโลก เช่น อย่างน้อยหนึ่งเว็บไซต์ด้านอาหารและอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่แสดงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศ[32][50] บริการอื่น ๆ ที่ใช้งานบนอินทราเน็ต ได้แก่ พจนานุกรม การแพทย์ทางไกล และบริการส่งข้อความ[33] มีรายงานว่าเว็บไซต์ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งอนุญาตให้ชาวเกาหลีเหนือวางแผนวันหยุดพักผ่อนภายในประเทศ
การเข้าถึง
[แก้]ควังมย็องถูกออกแบบมาให้สามารถเข้าถึงได้เฉพาะจากภายในประเทศเกาหลีเหนือ[33][51][52] การเข้าถึงสามารถทำได้ในเมืองใหญ่และเขตต่าง ๆ รวมถึงมหาวิทยาลัยและองค์กรอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมขนาดใหญ่[39] ตัวอย่างเช่น ห้องสมุดที่ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปียงยางให้การเข้าถึงอินทราเน็ต และมีรายงานว่าผู้คนหลากหลายประเภทใช้งาน รวมถึงคนงานโรงงาน เด็ก ละนักวิจัยเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ[33][53] มีเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 3,000 เครื่องที่สามารถใช้งานได้ที่นั่น[54] อินทราเน็ตยังสามารถเข้าถึงได้จากห้องสมุดอีกแห่งที่หอศึกษาใหญ่ประชาชน[35]
เว็บไซต์ต่างๆ ในเครือข่ายโดยทั่วไปแล้วเข้าถึงได้โดยใช้แอดเดรส IPv4 ส่วนตัวแบบบล็อกขนาด 24 บิต
ร้าน "อินเทอร์เน็ตคาเฟ่" (หรือ "อินทราเน็ตคาเฟ่") แห่งแรกในเกาหลีเหนือเปิดทำการในเปียงยาง ซึ่งผู้คนสามารถเข้าถึงบริการอินทราเน็ตของประเทศได้ เปิดทำการใน ค.ศ. 2002 ใกล้กับสถานีควังบก และมีคอมพิวเตอร์ประมาณ 100 เครื่อง[55][56][35] บริษัทจากโซลชื่อฮูนเน็ต (Hoonnet) และบริษัทจากเกาหลีเหนือชื่อชังแซ็งเจเนรัลเทรด (Jangsaeng General Trade Company) เป็นผู้เปิด[9][57] คาเฟ่เหล่านี้ หรือที่รู้จักในชื่อ "ห้องพีซี" หรือ "ร้านเทคโนโลยีสารสนเทศ" เริ่มปรากฏขึ้นทั่วเกาหลีเหนือตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000 และสามารถเข้าใช้ได้โดยมีค่าธรรมเนียม[11][34][18] คาเฟ่เหล่านี้ยังมีบริการอื่น ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย เช่น ชั้นเรียนคอมพิวเตอร์ จากข้อมูลของ เดลีเอ็นเค (Daily NK) ณ ค.ศ. 2005 ราคาสำหรับการเข้าถึงบริการเหล่านี้ถือว่าแพงเกินไปสำหรับประชาชนชาวเกาหลีเหนือโดยเฉลี่ย[58]
กระบวนการติดตั้งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ได้รับอนุมัติในบ้านเรือนของชาวเกาหลีเหนือซึ่งสามารถเข้าถึงอินทราเน็ตได้นั้นจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและอนุญาตจากหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น[11][19][59][60] ใน ค.ศ. 2010 มีการประมาณการว่ามีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลดังกล่าว 200,000 เครื่องในบ้านส่วนตัวในเปียงยาง และการเข้าถึงควังมย็องเป็นเรื่องปกติมากขึ้นในหมู่ผู้คนในเมืองเมื่อเทียบกับผู้อยู่ในพื้นที่ชนบท[11][61][62] ผลสำรวจใน ค.ศ. 2017 พบว่าร้อยละ 19 ของครัวเรือนมีคอมพิวเตอร์ แต่มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงควังมย็องได้ ตัวเลขสำหรับครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงควังมย็องได้คือร้อยละ 5 ในเปียงยาง[63] อย่างไรก็ตาม ควังมย็องยังสามารถเข้าถึงได้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ใน ค.ศ. 2018 มีการประมาณการว่าร้อยละ 18-20 ของประชากรมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถเข้าถึงควังมย็อง[25]
ควังมย็องสามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมงแบบไม่จำกัดผ่านสายโทรศัพท์แบบไดอัลอัป[39] นอกเหนือจากการเข้าถึงจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้ว อินทราเน็ตระดับชาติยังสามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์เคลื่อนที่บนเครือข่าย 3G[53] ข้อมูลเมื่อ 2013[update] มีผลิตภัณฑ์แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จำนวนหนึ่ง รวมถึงแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ซัมจีย็อน ที่สามารถซื้อได้ในเกาหลีเหนือซึ่งอนุญาตให้เข้าถึงควังมย็อง[64] ประมาณการใน ค.ศ. 2017 ระบุว่าจำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเกาหลีเหนือมีระหว่าง 2.5 ถึง 3 ล้านเครื่อง[33] ใน ค.ศ. 2020 ประมาณการอีกครั้งระบุว่ามีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 4.5 ล้านคน[65] โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นช่องทางที่ชาวเกาหลีเหนือใช้เข้าถึงอินทราเน็ตควังมย็องมากกว่า การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วโลกหรือหมายเลขโทรศัพท์ภายนอกเกาหลีเหนือไม่ได้รับอนุญาต ยกเว้นเจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงสุดและพนักงานบางคนของศูนย์คอมพิวเตอร์เกาหลี[33][51][66][67] เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โทรศัพท์ต้องได้รับอนุมัติจากทางการ[33][68] ตามรายงานของวิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia) รัฐบาลเริ่มกำหนดให้ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตั้งซอฟต์แวร์สอดแนมผ่านแอปพลิเคชันเพื่อเข้าถึงอินทราเน็ตใน ค.ศ. 2022 แอปพลิเคชันดังกล่าวชื่อว่าแอปควังมย็อง เชื่อมต่อผู้ใช้กับการสมัครรับข้อมูลหนังสือพิมพ์ โรดงชินมุน ที่ดำเนินการโดยรัฐและบริการด้านการศึกษาและข้อมูลอื่น ๆ แต่ยังมีซอฟต์แวร์สอดแนมที่อนุญาตให้กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ ติดตามตำแหน่งของพวกเขาและดูว่าพวกเขากำลังเข้าถึงเนื้อหาจากต่างประเทศหรือไม่[69]
ใน ค.ศ. 2018 เกาหลีเหนือเปิดตัวบริการวายฟายใหม่ที่มีชื่อว่ามีแร (Mirae; "อนาคต") ซึ่งอนุญาตให้อุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินทราเน็ตในเปียงยาง[70]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 ประเทศเกาหลีเหนือเริ่มติดตั้งเครือข่าย 4G สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อเข้าถึงเครือข่ายอินทราเน็ต[71][72][73][74]
ภาษา
[แก้]เครือข่ายใช้ภาษาเกาหลีเป็นภาษาหลักของส่วนติดต่อผู้ใช้ แม้เว็บพอร์ทัลของรัฐบาล (เนนารา) จะมีหลายภาษา[52][75] มีพจนานุกรมให้บริการแก่ผู้ใช้สำหรับการแปลระหว่างภาษาเกาหลีกับภาษารัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และญี่ปุ่น โดยมีฐานข้อมูลคำศัพท์อย่างน้อย 1,700,000 คำ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ที่อาจไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศ[76]
เว็บไซต์ต่าง ๆ บนอินทราเน็ตอาจมีให้บริการในชุดภาษาที่ต่างกัน เว็บไซต์ที่ขายแสตมป์ไปรษณีย์มีให้บริการในภาษาเกาหลี อังกฤษ และจีน[77] งานเขียนของตระกูลคิมมีให้บริการในภาษาเกาหลี ญี่ปุ่น รัสเซีย และจีน[17]
การควบคุมข้อมูล
[แก้]ควังมย็องถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้เฉพาะภายในประเทศเกาหลีเหนือ และถูกเรียกว่าอินทราเน็ต[52] ควังมย็องป้องกันผู้ใช้ภายในประเทศเกาหลีเหนือจากการเข้าถึงเนื้อหาหรือข้อมูลจากต่างประเทศได้อย่างอิสระและโดยทั่วไปจะป้องกันไม่ให้ชาวต่างชาติเข้าถึงเนื้อหาภายในประเทศ[16][46] อ้างอิงจาก เดลีเอ็นเค ระบุว่ามัน "ป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลลับ" และ "ทำหน้าที่เป็นการตรวจพิจารณาข้อมูล ป้องกันไม่ให้เข้าถึงข้อมูลที่ไม่พึงประสงค์"[78] ดังนั้น หัวข้อและข้อมูลที่ละเอียดอ่อนจึงไม่น่าจะปรากฏบนควังมย็องเนื่องจากการไม่มีการเชื่อมต่อกับโลกภายนอกและการตรวจพิจารณาที่เกิดขึ้น ควังมย็องได้รับการดูแลและตรวจสอบโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล[79] อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจำนวนมากจากอินเทอร์เน็ตทั่วโลกก็เข้ามาอยู่ในควังมย็องภายหลังการประมวลผล[32][59] ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์ที่รัฐบาลอนุมัติจะปฏิเสธการเข้าถึงแอปพลิเคชันใด ๆ ที่ไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลด้วยเช่นกัน[33]
ขณะที่โดยทั่วไปแล้วชาวต่างชาติในเกาหลีเหนือจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงควังมย็อง พวกเขาอาจสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโลกได้[16][46][47][79][80] ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เครือข่ายที่มีการเข้าถึงทั้งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตจะถูกแยกจากกันทางกายภาพ (air gapped) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกันกับคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงควังมย็อง[7]
เนื่องจากไม่มีการเชื่อมต่อโดยตรงกับอินเทอร์เน็ตภายนอก ข้อมูลที่ไม่พึงประสงค์จึงไม่สามารถเข้ามาในเครือข่ายได้ ข้อมูลจะถูกกรองและประมวลผลโดยหน่วยงานของรัฐบาลก่อนถูกนำไปจัดเก็บไว้ในอินทราเน็ตของเกาหลีเหนือ[81] ประเทศพม่าและคิวบาก็ใช้ระบบเครือข่ายที่คล้ายกันซึ่งแยกจากอินเทอร์เน็ตส่วนอื่น และมีการรายงานว่าอิหร่านมีแผนในอนาคตที่จะนำระบบเครือข่ายดังกล่าวมาใช้ แม้จะมีการอ้างว่ามันจะทำงานควบคู่ไปกับอินเทอร์เน็ตและจะไม่เข้ามาแทนที่[82][83][84]
รายชื่อเว็บไซต์
[แก้]ด้านล่างนี้คือรายชื่อเว็บไซต์ที่ปรากฏอยู่บนหน้าพอร์ทัลของเว็บไซต์ควังมย็องใน ค.ศ. 2016[5]
หมวดหมู่ | สาขา | ชื่อเว็บไซต์ | โดเมน | เลขที่อยู่ไอพีของเว็บไซต์ | เว็บไซต์อยู่บนอินเทอร์เน็ตหรือไม่? |
---|---|---|---|---|---|
종합자료기지
(ฐานข้อมูลครอบคลุม) |
과학기술전당 | www.sciteco.aca.kp | 10.93.0.3 | ไม่ | |
남산 (인민대학습당)
นัมซัน (หอศึกษาใหญ่ประชาชน) |
www.gpsh.edu.kp | 10.30.80.101 | www.gpsh.edu.kp เก็บถาวร 2019-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | ||
광명 (중앙과학기술통보사)
ควังมย็อง (สำนักงานสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) |
www.ciast.aca.kp | 10.41.1.2 | ไม่ | ||
열풍 (중앙과학기술보급부)
ย็อลพุง (ศูนย์เผยแพร่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาง) |
www.stdc.gov.kp | 10.30.71.67 | ไม่ | ||
부문별중앙자료기지
(ฐานข้อมูลกลางตามสาขา) |
교육
การศึกษา |
교육 (김일성종합대학)
กโยยุก (มหาวิทยาลัยคิม อิล-ซ็อง) |
www.rns.edu.kp | 10.42.1.5 | www.ryongnamsan.edu.kp เก็บถาวร 2017-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
의학
การแพทย์ |
무병 (김일성종합대학 평양의학대학) | www.mubyong.inf.kp | 10.30.5.222 | ไม่ | |
공학
เทคโนโลยี |
미래 (김책공업종합대학)
มีแร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีคิม แช็ก) |
www.elib.ac.kp | 10.30.50.5 | www.kut.edu.kp เก็บถาวร 2019-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | |
건축
สถาปัตยกรรม |
평양건축종합대학
มหาวิทยาลัยสถาปัตยกรรมเปียงยาง |
www.pua.edu.kp | 10.61.4.2 | ไม่ | |
건설, 설계
การก่อสร้าง,ออกแบบ |
5.21 (국가설계지도국)
5.21 (ศูนย์สารสนเทศการออกแบบก่อสร้าง) |
www.cdic.con.kp | 10.10.5.99 | ไม่ | |
발명, 특허
การประดิษฐ์, สิทธิบัตร |
발명 (국가발명국)
พัลมย็อง (สำนักงานการประดิษฐ์แห่งรัฐ) |
www.ipo.aca.kp | 10.41.50.9 | ไม่ | |
상표, 공업도안
ตราสินค้า, การออกแบบอุตสาหกรรม |
척후대 (중앙산업미술지도국)
ช็อกฮูแด (ศูนย์ศิลปะอุตสาหกรรมกลาง) |
www.tidgio.gov.kp | 10.40.11.130 | ไม่ | |
규격
มาตรฐาน |
래일 (국가귝격체정연구소)
แลอิล (สถาบันมาตรฐานแห่งชาติเกาหลี) |
www.knis.ipo.aca.kp | 10.66.1.3 | ไม่ | |
체육
กีฬา |
우승 (체육과학원)
อูซึง (สถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬา) |
www.ssl.edu.kp | 10.70.5.52 | ไม่ | |
산림
ป่าไม้ |
황금산 (국토환경보호성 중앙양묘장)
ฮวังกึมซัน (เรือนเพาะชำต้นไม้กลาง กระทรวงที่ดินและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ) |
hwanggumsan.edu.kp | 10.192.3.2 | ไม่ | |
나노기술
นาโนเทคโนโลยี |
나노기술 (국가나노기술국)
นาโนเทคโนโลยี (ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ) |
www.nano.aca.kp | 10.10.6.18 | ไม่ | |
각도 도서관
ห้องสมุดจังหวัด |
불야경 (자강도도서관)
บุลยักย็อง (ห้องสมุดจังหวัดชากัง) |
www.fire.edu.kp | 10.214.6.18 | ไม่ | |
분발 (함경북도도서관)
บุนบัล (ห้องสมุดจังหวัดฮัมกย็องเหนือ) |
www.hambuk.edu.kp | 10.205.10.100 | ไม่ | ||
려명 (함경남도도서관)
รย็อมย็อง (ห้องสมุดจังหวัดฮัมกย็องใต้) |
www.shplib.edu.kp | 10.209.223.201 | ไม่ | ||
철령 (강원도도서관)
ช็อลรย็อง (ห้องสมุดจังหวัดคังว็อน) |
www.kwlib.edu.kp | 10.224.4.10 | ไม่ | ||
평안북도도서관
ห้องสมุดจังหวัดพย็องอันเหนือ |
www.pblib.edu.kp | 10.217.1.10 | ไม่ | ||
례성강 (황해북도도서관)
รเยซ็องกัง (ห้องสมุดฮวังแฮเหนือ) |
www.rsr.edu.kp | 10.226.9.80 | ไม่ | ||
황해남도도서관
ห้องสมุดฮวังแฮใต้ |
www.shlib.edu.kp | 10.229.0.35 | ไม่ | ||
라선시도서관
ห้องสมุดนครราซ็อน |
www.rslib.edu.kp | 10.238.5.2 | ไม่ | ||
와우도 (남포시도서관)
วาอูโด (ห้องสมุดนครนัมโพ) |
www.wud.edu.kp | 10.232.101.2 | ไม่ | ||
원격교육기지
(ฐานข้อมูลการศึกษาทางไกล) |
룡남산 (김일성종합대학)
รย็องนัมซัน (มหาวิทยาลัยคิม อิล-ซ็อง) |
N/A (not same website as 《교육 (김일성종합대학)》) | 10.42.1.250 | www.ryongnamsan.edu.kp เก็บถาวร 2017-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | |
원종장 (김일성종합대학 평양의학대학)
ว็อนจงจัง (วิทยาลัยการแพทย์เปียงยาง มหาวิทยาลัยคิม อิล-ซ็อง) |
www.wonjongjang.edu.kp | 10.30.5.133 | ไม่ | ||
리상 (김책공업종합대학)
รีซัง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีคิม แช็ก) |
www.risang.edu.kp | 10.15.15.8 | www.kut.edu.kp เก็บถาวร 2019-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | ||
모체 (평양기계종합대학)
โมเช (มหาวิทยาลัยวิศวกรรมเครื่องกลเปียงยาง) |
www.moche.edu.kp | 10.60.2.30 | ไม่ | ||
선행관 (평양철도종합대학)
ซ็อนแฮงกวัน (มหาวิทยาลัยการรถไฟเปียงยาง) |
www.sgh.edu.kp | 10.192.131.100 | ไม่ | ||
충복 (장철구평양상업종합대학)
ชุงบก (มหาวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์เปียงยาง ชัง ช็อล-กู) |
www.chungbok.edu.kp | 10.40.4.130 | ไม่ | ||
인재 (한덕수평양경공업종합대학)\
อินแจ (มหาวิทยาลัยอุตสาหกรรมเบาเปียงยาง ฮัน ดก-ซู) |
www.iniea.edu.kp | 10.20.66.3 | ไม่ | ||
정준택원산경제대학
มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์วอนซัน จ็อง จุน-แท็ก |
www.wieu.edu.kp | 10.224.21.10 | ไม่ | ||
기타
เบ็ดเตล็ด |
김일성종합대학 | www.rns.edu.kp | 10.42.1.2 | www.ryongnamsan.edu.kp เก็บถาวร 2017-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | |
불멸의 꽃 (조선김일성화김정일화위원회)
บุลมย็อลเอกกด (คณะกรรมาธิการดอกคิมอิลซ็องเกีย-ดอกคิมจ็องอิเลียแห่งเกาหลี) |
www.kfa.org.kp | 10.66.5.11 | www.naenara.com.kp/sites/kkf/ | ||
클락새 (김일성종합대학 정보기술연구소)
คึลลักแซ (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยคิม อิล-ซ็อง) |
www.kulak.edu.kp | 10.50.25.3 | ไม่ | ||
검은모루 (황해북도 상원군도서관)
ค็อมอึนโมลู (ห้องสมุดเทศมณฑลซังว็อน จังหวัดฮวังแฮเหนือ) |
www.kmm.edu.kp | 10.188.1.1 | ไม่ | ||
고려의술 (고려의학과학원)
โครยออึยซุล (สถาบันการแพทย์โครยอ) |
www.koryodoctor.inf.kp | 10.76.1.18 | ไม่ | ||
기둥 (청진광산금속대학)
คีดุง (มหาวิทยาลัยการทำเหมืองแร่และวิศวกรรมโลหะการช็องจิน) |
www.cimmu.edu.kp | 10.205.1.5 | ไม่ | ||
길동무 (함경북도과학기술룡보소)
คิลดงมู (สำนักงานข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจังหวัดฮัมกย็องเหนือ) |
www.hbiast.aca.kp | 10.205.7.10 | ไม่ | ||
과학 (국가과학원)
ควาฮัก (สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัฐ) |
www.sas.aca.kp | 10.193.1.5 | ไม่ | ||
과학기술전자전시관 (과학기술전시관)
หอนิทรรศการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
www.stic.aca.kp | 192.168.10.10 | ไม่ | ||
광야 (인터네트중앙연구소)
ควังยา (สถาบันอินเทอร์เน็ตกลาง) |
www.cii.gov.kp | 10.50.21.3 | ไม่ | ||
로동신문 (로동신문사) | www.rodong.ref.kp | 10.10.3.100 | www.rodong.rep.kp | ||
룡강군도서관 (남포시 룡강군도서관)
ห้องสมุดเทศมณฑลรยงกัง (ห้องสมุดเทศมณฑลรยงกัง นครนัมโพ) |
www.rg.edu.kp | 10.160.1.2 | ไม่ | ||
류경오락장 (인공지능연구소)
พื้นที่นันทนาการรยูกย็อง (สถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์) |
www.ryugyong.inf.kp | 10.70.7.133 | ไม่ | ||
만방 (조선중앙방송위원회) | www.krt.rep.kp | 10.61.61.3 | ไม่ | ||
만병초 (장철구평양상업대학 도서관)
มันบย็องโช (ห้องสมุดมหาวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์เปียงยาง ชัง ช็อล-กู) |
www.manbyongcho.edu.kp | 10.40.4.131 | ไม่ | ||
목란 (목란광명회사)
มกรัน (บริษัทมกรันควังมย็อง) |
www.mokran.com.kp | 10.30.0.85 | ไม่ | ||
방역 (국가발명국)
พังย็อก (สำนักงานการประดิษฐ์แห่งรัฐ) |
www.antivir.ipo.aca.kp | 10.41.50.3 | ไม่ | ||
법무생활 (최고인민회의 상임위원회)
พ็อบมูแซงฮวัล (คณะผู้บริหารสูงสุดประจำสมัชชาประชาชนสูงสุด) |
www.gpa.gov.kp | 10.30.16.18 | ไม่ | ||
불길 (평성석탄공업대학)
พุลกิล (มหาวิทยาลัยการทำเหมืองถ่านหินพย็องซ็อง) |
www.pulgil.edu.kp | 10.220.6.2 | ไม่ | ||
붉은별 (붉은별연구소)
พุลกึนบย็อล (สถาบันวิจัยพุลกึนบย็อล) |
www.osandok.inf.kp | 10.70.7.132 | ไม่ | ||
비약 (3대혁명전시관)
พียัก (หอนิทรรศการสามปฏิวัติ) |
www.exb.edu.kp | 10.50.19.1 | ไม่ | ||
백두산 (백두산건축연구원)
แพ็กตูซัน (สถาบันสถาปัตยกรรมแพ็กตูซัน) |
www.paekdusan.com.kp | 10.30.3.34 | ไม่ | ||
상연 (상업과학연구소)
ซังย็อน (สถาบันวิทยาศาสตร์เชิงพาณิชย์) |
www.sangyon.aca.kp | 10.30.30.30 | ไม่ | ||
선구자 (함경남도과학기술룡보소)
ซ็อนกูจา (สำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจังหวัดฮัมกย็องใต้) |
www.hnst.aca.kp | 10.209.225.2 | ไม่ | ||
신고 (인민보안부)
ชินโก (กระทรวงความมั่นคงประชาชน) |
www.singo.law.kp | 10.250.2.100 | ไม่ | ||
신기 (계명기술개발소)
ชินกี (บริษัทคเยมย็องเทคโนโลยีดีเวลลอปเมนต์) |
www.singi.com.kp | 10.30.80.131 | ไม่ | ||
실리 (평양광명정보기술사)
ชิลลี (เปียงยางควังมย็องไอทีคอร์ปอเรชัน) |
N/A | 10.10.1.15 | ไม่ | ||
실리왁찐 (평양광명정보기술사)
ชิลลีวักจิน (เปียงยางควังมย็องไอทีคอร์ปอเรชัน) |
www.sv.com.kp | 10.10.1.16 | ไม่ | ||
새별기술교류사 (새별기술교류사)
บริษัทแซบย็อลเทคโนโลยีเอกซ์เชนจ์ |
www.saybyol.com.kp | 10.76.1.50 | ไม่ | ||
새세기 (중앙과학기술통보사)
แซเซกี (สำนักงานสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) |
www.newcentury.aca.kp | 10.41.1.10 | ไม่ | ||
생명 (의학과학정보기술사)
แซ็งมย็อง (เมดิคอลไซเอินซ์แอนด์เทคโนโลยีคอร์ปอเรชัน) |
www.icms.hea.kp | 10.65.3.2 | ไม่ | ||
장자강 (자강도전자업무연구소)
ชังชากัง (สถาบันวิจัยธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดชากัง) |
www.ikic.inf.kp | 10.214.1.51 | ไม่ | ||
전만봉 (희천공업대학)
ช็อนมันบง (มหาวิทยาลัยโทรคมนาคมฮีช็อน) |
www.hut.edu.kp | 10.126.0.10 | ไม่ | ||
정보21 (평양정보기술국)
ช็องโบ 21 (สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเปียงยาง) |
www.pic.com.kp | 10.21.1.22 | ไม่ | ||
조선료리 (조선료리협회)
โชซ็อนโยรี (สมาคมทำอาหารเกาหลี) |
www.cooks.org.kp | 10.10.6.40 | www.cooks.org.kp เก็บถาวร 2018-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | ||
조선중앙통신 (조선중앙통신사) | www.kcn.inf.kp | 10.22.1.50 | www.kcna.kp เก็บถาวร 2020-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | ||
중앙버섯연구소 (국가과학원 중앙버섯연구소)
สถาบันวิจัยเห็ดกลาง (สถาบันวิจัยเห็ดกลาง สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัฐ) |
www.mushroom.aca.kp | 10.20.7.2 | ไม่ | ||
지향 (함흥화학공업대학)
ชีฮยัง (มหาวิทยาลัยวิศวกรรมเคมีฮัมฮึง) |
www.huct.edu.kp | 10.208.1.2 | ไม่ | ||
진달래 (만경대정보기술사)
จินดัลแร (มันกย็องแดไอทีคอร์ปอเรชัน) |
www.mit.com.kp | 10.76.12.2 | ไม่ | ||
창성군도서관 (평안북도 창성군도서관)
ห้องสมุดเทศมณฑลชังซ็อง (ห้องสมุดเทศมณฑลชังซ็อง จังหวัดพย็องอันเหนือ) |
www.cslib.edu.kp | 10.145.2.2 | ไม่ | ||
창전 (대동강건재공장)
ชังจ็อน (โรงงานวัสดุก่อสร้างแทดงกัง) |
www.changjon.com.kp | 10.90.6.100 | ไม่ | ||
천리마 (중앙정보통신국)
ช็อลลีมา (ศูนย์สารสนเทศและการสื่อสารกลาง) |
www.pt.net.kp | 172.16.11.23 | ไม่ | ||
천리마타일공장 (천리마타일공장)
โรงงานกระเบื้องช็อลลีมา |
www.taedonggangtile.com.kp | 10.159.127.15 | ไม่ | ||
철벽 (정보보안연구소)
ช็อลบย็อง (ศูนย์วิจัยความปลอดภัยสารสนเทศ) |
www.oun.inf.kp | 10.76.1.25 | ไม่ | ||
체콤기술합영회사 (체콤기술합영회사)
บริษัทร่วมทุนเทคโนโลยีเชคอม |
www.checom.net.kp | 10.40.5.4 | ไม่ | ||
평북 (평안북도전자업무연구소)
พย็องบุก (สถาบันวิจัยธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดพย็องอันเหนือ) |
www.pyongbuk.inf.kp | 10.217.12.2 | ไม่ | ||
평양성 (평양정보기술국)
พย็องยังซ็อง (สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเปียงยาง) |
www.ca.pic.co.kp | 10.21.1.53 | ไม่ | ||
평양택견 (태권도성지관)
พย็องยางแท็กกย็อน (สถานสงเคราะห์เทควันโด) |
www.taekwon-do.edu.kp | 10.70.7.18 | ไม่ | ||
포부 (평북종합대학 농업대학)
โพบู (วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยพย็องบุก) |
www.phobu.edu.kp | 10.217.7.50 | ไม่ | ||
푸른주단 (국가과학원 잔디연구분원)
พุลอึนจูดัน (สถาบันสาขาพืชตระกูลหญ้า สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัฐ) |
www.iandi.aca.kp | 10.72.1.2 | ไม่ | ||
품질 (국가품질감독위원회)
พุมจิล (คณะกรรมการบริหารคุณภาพแห่งรัฐ) |
www.saqm.gov.kp | 10.80.2.40 | ไม่ | ||
학무정 (자강도 전천군도서관)
ฮักมูจ็อง (ห้องสมุดเทศมณฑลจ็อนช็อน จังหวัดชากัง) |
www.hmj.edu.kp | 10.127.131.5 | ไม่ | ||
울림 (평양정보기술국)
อุลริม (สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเปียงยาง) |
N/A | 10.30.18.30 | ไม่ | ||
해당화관 (해당화교류사)
แฮดังฮวากวัน (บริษัทแฮดังฮวาเอกซ์เชนจ์) |
www.hdh.com.kp | 10.76.1.3 | ไม่ | ||
해양 (륙해운성)
แฮยัง (กระทรวงคมนาคมทางบกและทางทะเล ) |
www.mlmt.rai.kp | 10.30.33.2 | www.ma.gov.kp เก็บถาวร 2021-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | ||
아리랑 (5월11일공장)
อารีรัง (โรงงาน 11 พฤษภาคม) |
www.arirang.com.kp | 10.30.71.91 | ไม่ | ||
아침 (조선과학기술총련맹 중앙위원회)
อาชิม (คณะกรรมาธิการกลางสหพันธ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี) |
www.kwust.org.kp | 10.30.5.3 | ไม่ | ||
옥류 (인민봉사총국)
อกรยู (สำนักบริการประชาชน) |
N/A | 10.10.1.14 | ไม่ | ||
우주 (위성정보봉사지점)
อูจู (ฝ่ายบริการข้อมูลดาวเทียม) |
www.space.aca.kp | 10.50.5.5 | ไม่ | ||
원산농업종합대학 | N/A | 10.224.121.100 | ไม่ |
ด้านล่างนี้คือรายชื่อเว็บไซต์ที่ไม่ได้ระบุไว้โดยตรงบน www.sciteco.aca.kp (พอร์ทัลเว็บไซต์ของควังมย็อง) ใน ค.ศ. 2016 และเว็บไซต์ที่ได้รับการยืนยันว่าสร้างขึ้นบนควังมย็องหลังจาก ค.ศ. 2016
![]() |
ชื่อเว็บไซต์ภาษาเกาหลี | ชื่อเว็บไซต์แปลเป็นภาษาอังกฤษ | วัตถุประสงค์ | โดเมน | เลขที่อยู่ไอพีของเว็บไซต์ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
《만물상》 | ร้านค้าทั่วไป | อี-คอมเมิร์ซ | manmulsang.com manmulsang.com.kp |
10.99.1.11 | [85][86][87][88][89] |
《관광》 | การท่องเที่ยว | สั่งซื้อทัวร์ในประเทศ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [90] |
《조선우표》 《조선우표사》 |
แสตมป์เกาหลี | ข้อมูลเกี่ยวกับแสตมป์ของเกาหลีเหนือ | ไม่ทราบ | 10.99.1.75 | [89][91][92] |
《은정》 | ความผูกพัน | บริการคลาวด์คอมพิวติง | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [93] |
《은파산》 | ภูเขาเงิน | อี-คอมเมิร์ซ | unphasan.com.kp | ไม่ทราบ | [94] |
《생물공학》 | วิศวกรรมชีวภาพ | การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [95] |
《푸른 산》 | ภูเขาสีน้ำเงิน | ข้อมูลด้านป่าไม้ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [96] |
《황금산》 | ภูเขาทอง | ข้อมูลด้านป่าไม้ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [96] |
《이채어경》 | การประมงที่สดใส | ข้อมูลด้านการประมง | ไม่ทราบ | 10.193.6.3 | [97][98] |
《봄향기》 | กลิ่นฤดูใบไม้ผลิ | ร้านค้าออนไลน์สำหรับเครื่องสำอางพุมฮยังกี | bomhyanggi.com | ไม่ทราบ | [99][100] |
《황금벌》[a] | ทุ่งทอง | ข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [101][102] |
《자강력》 | การพัฒนาตนเอง | บริการจัดหางาน | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [103] |
《생활의 벗》 | เพื่อนชีวิต | การชมภาพยนตร์ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [104] |
《체육열풍》 | กระแสกีฬา | ข้อมูลด้านกีฬา | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [105] |
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | เว็บไซต์สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าเปียงยาง; ข้อมูลสุขภาพเด็ก | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [106] |
《룡남산법률사무소》의 홈페지 | สำนักงานกฎหมายรยงนัมซัน | บริการด้านกฎหมาย | ไม่ทราบ[b] | ไม่ทราบ | [108] |
《옥류》 | อกรยู | อี-คอมเมิร์ซ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [109] |
《내나라》 | ประเทศของฉัน | ศูนย์ข้อมูลเนนารา | ไม่ทราบ | 10.76.1.11 10.99.1.162 |
[111] |
ไม่ทราบ | รุ่งอรุณ | ร้านค้าออนไลน์ของห้างสรรพสินค้าเปียงยางเลขที่ 1 | store.com.kp[c] | ไม่ทราบ | [112][113] |
《광명》 | แสงสว่าง | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ[d] | 10.50.27.2 | [114] |
《추첨》 | การจับฉลาก | สลากกินแบ่งกีฬา | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [115][116] |
《선구자》 | ผู้บุกเบิก | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 10.208.0.34 | [111] |
《한마음》 | หนึ่งใจเดียว | เพจของศูนย์ข้อมูลโอซัน | ไม่ทราบ | 10.76.1.20 | [111] |
《북극성》 | ดาวเหนือ | เพจของศูนย์ข้อมูลเครือข่ายแห่งชาติ | ไม่ทราบ | 10.76.1.2 | [111] |
《고려의술》 | การแพทย์แผนโบราณเกาหลี | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 10.76.1.18 | [111] |
《릉라》 | รึงรา | เพจของศูนย์โปรแกรมรึงรา | ไม่ทราบ | 172.16.4.200 | [111] |
《비와》 | ฝน (หรือ การบิน) | เพจย่อยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีคิม แช็ก (?) | ไม่ทราบ | 10.15.15.5 | [111] |
ไม่ทราบ[e] | ไม่ทราบ | การผลิตการออกแบบอุตสาหกรรม | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [117] |
ไม่ทราบ[f] | สุขภาพ | ร้านขายยาออนไลน์ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [118] |
《평양》 | เปียงยาง | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 10.99.0.88 | [89] |
《아리랑》 | อารีรัง | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 10.99.1.146 | [89] |
《원격교육》 | การศึกษาทางไกล | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 10.99.0.99 | [89] |
《광홍》[g] | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 10.99.1.50 | [89] |
《의무》 | หน้าที่ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 10.99.1.82 | [89] |
《초원》 | ทุ่งหญ้า | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 10.99.1.202 | [89] |
《고러이도로시》 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [89] |
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 10.30.99.87 | [89] |
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | 193.10.0.10 | [89] |
ดูเพิ่ม
[แก้]- อินเทอร์เน็ตในประเทศเกาหลีเหนือ
- การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศเกาหลีเหนือ
- เรดสตาร์โอเอส
- โทรคมนาคมในประเทศเกาหลีเหนือ
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ชื่อเว็บไซต์มีการถอดเป็นอักษรโรมันว่า “Hwanggumbol”
- ↑ "โฮมเพจอย่างไม่เป็นทางการ" (หน้าแนะนำ) ในหน้าอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยคิม อิล-ซ็อง[107]
- ↑ โดเมนของเซิร์ฟเวอร์อีเมล อาจเป็นโดเมนของเว็บไซต์ด้วย
- ↑ อาจเป็นโดเมนเดียวกับเว็บไซต์ “ควังมย็อง (สำนักงานสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)” (《광명 (중앙과학기술통보사)》)
- ↑ ชื่อเว็บไซต์มีการถอดเป็นอักษรโรมันว่า “Samcholligumsugangsan”
- ↑ ชื่อเว็บไซต์มีการถอดเป็นอักษรโรมันว่า “Kongang”
- ↑ ชื่อเว็บไซต์มีการถอดเป็นอักษรโรมันว่า “Kwangmyong”.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Warf, Barney (2016). e-Government in Asia:Origins, Politics, Impacts, Geographies. Chandos Publishing. ISBN 9780081008997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 December 2021 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Idrc (2008). Digital Review of Asia Pacific 2007/2008. IDRC. ISBN 9780761936749. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 December 2021 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Andrew Jacobs (January 10, 2013). "Google Chief Urges North Korea to Embrace Web". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 7, 2020. สืบค้นเมื่อ January 10, 2013.
- ↑ Talmadge, Eric (2015-08-26). "North Korea's new airport terminal has an Internet room, but can you use it?". USA Today. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Mäkeläinen, Mika (14 May 2016). "Yle Pohjois-Koreassa: Kurkista suljetun maan omaan tietoverkkoon" [Yle in North Korea: Peek into the Network of the Closed Country] (ภาษาฟินแลนด์). Yle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 May 2016.
- ↑ 6.0 6.1 Duffley, Robert (2011). "Information Technology and Control in the DPRK". Cornell International Affairs Review. 5 (1). doi:10.37513/ciar.v5i1.416. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-01. สืบค้นเมื่อ 2022-05-17.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Will Scott (29 December 2014). "Computer Science in the DPRK [31c3]". media.ccc.de. Chaos Computer Club. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2017. สืบค้นเมื่อ 26 June 2017.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Grothaus, Michael (2014-09-24). "What It's Like To Use North Korea's Internet". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Brockman-Hawe, Benjamin (2007). "Using Internet "Borders" to Coerce or Punish: The DPRK as an Example of the Potential Utility of Internet Sanctions" (PDF). Boston University International Law Journal. 25 (163): 177–178. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
- ↑ Cho, Joohee; Park, Cho Long (9 January 2013). "North Korea's Kim Jong Un Hopes Google's Luster Rubs Off on Him". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2022. สืบค้นเมื่อ 31 May 2022.
- ↑ 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 주성하 (2010-04-30). "남한 밀수 컴퓨터에 '야동' 가득 '누리꾼 체육대회'로 채팅방 전격 폐쇄". The Dong-a Ilbo. pp. 1–6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 12.0 12.1 "[ICT광장] 북한 인트라넷에 대한 이해". 정보통신신문 (ภาษาเกาหลี). 2018-09-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ 13.0 13.1 정용수 (2003-03-07). "북한에도 컴퓨터 통신망 쫙 깔렸다". JoongAng Ilbo (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 14.0 14.1 Banks, Stacey (2005). "North Korean Telecommunications: On Hold". North Korean Review. 1: 88–94. doi:10.3172/NKR.1.1.88. ISSN 1551-2789. JSTOR 43908662. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 15.0 15.1 e=2021-03-04. "[단독] 북한, 우표 쇼핑몰 만들어 외화벌이 안간힘". UPI뉴스 (United Press International) (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 Williams, Martyn (2016-11-28). "How the Internet Works ("Works") in North Korea". Slate Magazine (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-21. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 Lintner, Bertil (2007-04-24). "Kwangmyong computer network – North Korea's IT revolution". North Korean Economy Watch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Jong-Heon Lee (2002-05-28). "Internet cafe opens in N.Korea". United Press International (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 "대북매체 "한국 뮤직비디오, 北 젊은층서 유행"". SBS News (ภาษาเกาหลี). 2016-06-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ Boone, Jeb (April 2, 2013). "Anonymous Korea continues attacks against North Korean sites". The World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2021. สืบค้นเมื่อ August 18, 2021.
- ↑ Weber, Peter (January 8, 2015). "Is Anonymous meddling in the North Korea standoff?". The Week. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2021. สืบค้นเมื่อ August 18, 2021.
- ↑ Dewey, Caitlin (April 4, 2013). "Sorry, Anonymous probably didn't hack North Korea's intranet". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
- ↑ Salmon, Andrew (March 2, 2021). "North Korea's cyber commandos range far, strike deep". Asia Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2021. สืบค้นเมื่อ August 18, 2021.
- ↑ Williams, Martyn (13 May 2021). "Rakwon: North Korea's Video Conferencing Paradise". 38 North. The Henry L. Stimson Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2022. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
- ↑ 25.0 25.1 Despite Sanctions, North Koreans Continue to Use Foreign Technology[usurped]
- ↑ 26.0 26.1 26.2 26.3 Eric Talmadge (23 February 2014). "North Korea: Where the Internet has just 5,500 sites". Toronto Star. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
- ↑ Riley, Charles (26 August 2016). "Netflix jokes about North Korean knockoff 'Manbang'". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2022. สืบค้นเมื่อ 31 May 2022.
- ↑ 28.0 28.1 Werman, Marco; Fisher, Max. "North Korea's Internet outage affected few users". The World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2021. สืบค้นเมื่อ August 18, 2021.
- ↑ "Así es Kwangmyong, el internet controlado por Corea del Norte" [This is Kwangmyong, the internet controlled by North Korea]. Excélsior (ภาษาสเปน). 17 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 5 September 2022.
- ↑ Beal, Tim (2001-01-01). "Information and communications technologies in the two Koreas: Contrasts, commonalities, challenges". Global Economic Review. 30 (4): 51–67. doi:10.1080/12265080108449833. ISSN 1226-508X. S2CID 153611667. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-11. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ Stone, R. (2004-09-17). "Scientific Exchanges : The Ultimate, Exclusive LAN". Science (ภาษาอังกฤษ). 305 (5691): 1701. doi:10.1126/science.305.5691.1701. ISSN 0036-8075. PMID 15375243. S2CID 166923747. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-26. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.
- ↑ 32.0 32.1 32.2 32.3 32.4 Russon, Mary-Ann (2016-09-22). "No, North Korea's internet doesn't only have 28 websites, but Reddit did manage to crash them". International Business Times UK (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 33.6 33.7 33.8 Talmadge, Eric (2017-11-11). "North Korea's digital divide: Online elites, isolated masses". The Chicago Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 "Weird but wired". The Economist. 2007-02-01. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 35.3 35.4 Seliger, Bernhard; Schmidt, Stefan (2014). "The Hermit Kingdom Goes Online ... Information Technology, Internet Use and Communication Policy in North Korea". North Korean Review. 10 (1): 71–88. doi:10.3172/NKR.10.1.71. ISSN 1551-2789. JSTOR 43908932. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ Dewey, Caitlin (13 March 2013). "A rare glimpse of North Korea's version of Facebook". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2015. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
- ↑ 37.0 37.1 Ripley, Will; Lourdes, Marc (September 2017). "Secret State: A journey into the heart of North Korea". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 15, 2021. สืบค้นเมื่อ August 18, 2021.
- ↑ Sung, Choi (March 11, 2016). "N. Korea's National Science and Technology Intranet 'Kwangmyong'". The Korea IT Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2021. สืบค้นเมื่อ August 13, 2021.
- ↑ 39.0 39.1 39.2 Inc, IBP (2018). Korea North Telecom Laws and Regulations Handbook (ภาษาอังกฤษ). Vol. 1 Strategic Information and Laws Affecting Telecom Sector and Foreign Investments. Lulu Press. p. 39. ISBN 978-1-4330-8202-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2024. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
- ↑ Williams, Martyn (22 February 2019). "Manbang IPTV Service in Depth". 38 North. The Henry L. Stimson Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 6 March 2019.
- ↑ Rohrlich, Justin (16 January 2013). "Interview with an unlikely capitalist in North Korea". Quartz (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ http://www.stic.ac.kp/[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.icms.he.kp/[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.elib.edu.kp/[ลิงก์เสีย]
- ↑ Jeff Baron (11 March 2013). "Book Review: 'A Capitalist in North Korea'". 38 North. School of Advanced International Studies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2013. สืบค้นเมื่อ 11 March 2013.
- ↑ 46.0 46.1 46.2 "[리얼북한] '광명망' 쇼핑사이트는 모두 22개". 시사주간 (ภาษาเกาหลี). 2020-12-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ 47.0 47.1 "For most, N. Korean online shopping not just a click away". CNBC (ภาษาอังกฤษ). 2015-05-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "North Korea's newest fad: 'Boy General' phone game". CNBC (ภาษาอังกฤษ). 2015-12-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-08. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "北에도 '모바일 결제 앱' 있다…모바일뱅킹 기초 기능". The Dong-a Ilbo (ภาษาเกาหลี). 2020-01-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ Asher, Saira (2016-09-21). "What the North Korean internet really looks like". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 51.0 51.1 Haddou, Rashid; Winsor, Morgan (2019-07-24). "Inside North Korea: What life for a rare foreign student in Pyongyang reveals about the reclusive country". ABC News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 Vladimir, Kropotov; Lin, Philippe; Yarochkin, Fyodor; Hacquebord, Feike (2017-10-17). "A Closer Look at North Korea's Internet". Trend Micro (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ 53.0 53.1 "North Korea Slowly Goes Online". Voice of America. 19 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 31 May 2022.
- ↑ "How North Korea is slowly embracing its own sealed version of the internet – complete with stringent surveillance". The South China Morning Post. The Associated Press. 9 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2020. สืบค้นเมื่อ 31 May 2022.
- ↑ Khazan, Olga (December 11, 2012). "What it's like to use the Internet in North Korea". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2019. สืบค้นเมื่อ 19 July 2016.
- ↑ "North Korea develops internet". Computer Weekly (ภาษาอังกฤษ). 2003-07-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-31. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "First internet cafe opens in P'yang". KBS World. May 27, 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2021. สืบค้นเมื่อ August 18, 2021.
- ↑ Jung, Yang. "Controlling Internet Café in North Korea". Daily NK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 July 2016.
- ↑ 59.0 59.1 Lee, Youkyung; Kim, Tong-Hyung (2014-12-23). "A look at North Korea's limited Internet capabilities". The Seattle Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ Boynton, Robert S. (2011-02-24). "North Korea's Digital Underground". The Atlantic (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ Fisher, Max (2014-12-22). "Yes, North Korea has the internet. Here's what it looks like". Vox (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ Pappas, Stephanie (8 April 2013). "7 Strange Cultural Facts About North Korea". LiveScience. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2022. สืบค้นเมื่อ 31 May 2022.
- ↑ Tackling North Korea's chronically poor sewage 'not rocket science' – U.N.
- ↑ Martyn Williams (30 July 2013). "Android tablet gives rare glimpse at North Korean tech". IT World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
- ↑ 정용환 (2020-08-11). "북한 휴대폰 가입 600만…고급모델은 2년전 갤럭시A7 수준". JoongAng Ilbo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ Jaewon, Kim (June 6, 2019). "North Koreans tap into smartphone apps on restricted state network". The Nikkei. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2021. สืบค้นเมื่อ August 13, 2021.
- ↑ Osnos, Evan (September 7, 2017). "The Risk of Nuclear War with North Korea". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2021. สืบค้นเมื่อ August 18, 2021.
- ↑ Kim, Tong-Hyung; Lee, Youkyung (2014-12-23). "Look At How Bizarre North Korea's 'Internet' Is". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ Son, Hyemin. "North Korea requires cellphone users to install invasive surveillance app". Radio Free Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2022. สืบค้นเมื่อ 5 September 2022.
- ↑ Jakhar, Pratik (15 December 2018). "North Korea's high-tech pursuits: Propaganda or progress?". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2018.
- ↑ Mun, Dong Hui (2023-12-29). "N. Korea begins accepting subscribers to 4G cellular network". Daily NK (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ Jeong, Tae Joo (2023-11-03). "N. Korea imports second-hand Huawei devices to modernize telecommunications network". Daily NK (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ Williams, Martyn (2023-11-04). "Is 4G on the Horizon for North Korea?". North Korea Tech (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-02. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
- ↑ Mun, Dong Hui (2024-11-14). "North Korea's 4G launch: Pyongyang first in phased rollout". Daily NK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-27.
- ↑ Williams, Martyn. "North Korean news and media websites". North Korea Tech (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2017. สืบค้นเมื่อ April 1, 2021.
- ↑ Frank, Ruediger (2013-10-22). "The North Korean Tablet Computer Samjiyon: Hardware, Software and Resources" (PDF). 38 North. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "[단독] 북한, 우표 쇼핑몰 만들어 외화벌이 안간힘". UPI뉴스 (United Press International) (ภาษาเกาหลี). 2021-03-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "Sounding Change in North Korea" (PDF). Daily NK. 2013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ 79.0 79.1 Talmadge, Eric (2014-02-03). "Surfing the Intranet: North Korea's authoritarian alternative to the World Wide Web". Global News. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-15. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ Reddy, Shreyas (2019-07-05). "Analysis: How does North Korea use social media?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "North Korea's Internet strategy and its political implications". The Pacific Review.
- ↑ Christopher Rhoads and Farnaz Fassihi, May 28, 2011, Iran Vows to Unplug Internet เก็บถาวร 2017-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Wall Street Journal
- ↑ Inc, IBP (2013). Myanmar Internet and E-Commerce Investment and Business Guide – Regulations and Opportunities (ภาษาอังกฤษ). Lulu Press. p. 45. ISBN 978-1-4387-3445-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.
- ↑ Radziwill, Yaroslav (2015). Cyber-Attacks and the Exploitable Imperfections of International Law (ภาษาอังกฤษ). Brill. p. 105. ISBN 978-90-04-29830-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.
- ↑ "《만물상》전자상업홈페지 사용자들속에서 인기" [Among the users of the "Manmulsang" electronic commerce homepage]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "인기를 끌고있는 전자상업홈페지 《만물상》" [Popular e-commerce homepage "Manmulsang"]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "주목을 받고있는 새 전자상업홈페지《만물상》" [New e-commerce homepage "Manmulsang" is attracting attention]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "《만물상》전자상업홈페지 사용자들속에서 인기" ["Manmulsang" electronic commerce homepage is popular among the users]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ 89.00 89.01 89.02 89.03 89.04 89.05 89.06 89.07 89.08 89.09 89.10 89.11 Mun Dong Hui (31 October 2024). "Exclusive: A rare look at North Korea's official smartphone apps". Daily NK. สืบค้นเมื่อ 2025-02-01.
- ↑ "《관광》홈페지 새로 개설, 공화국주민들에 대한 국내관광주문봉사 진행" [Newly opened homepage "Tourism", domestic tourism order service for Republic residents in progress]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "《조선우표》홈페지 새로 개설, 우표문화의 발전을 힘있게 추동" [Newly-opened homepage "Korean Stamps", powerfully promoting the development of stamp culture]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "이동통신망 《조선우표》 홈페지 새로 개설" [The newly-opened mobile webpage "Korean Stamps"]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "병렬계산봉사홈페지 《은정》을 통한 구름계산봉사 진행할 전망" [The computing service homepage “Affection” (Unjong) for cloud computing service]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2025-02-01.
- ↑ "인기를 끌고있는 전자상점홈페지 《은파산》" [Popular e-commerce homepage "Silver Mountain"]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "홈페지 《생물공학》이 새로 개설" [Newly-opened website "Bio-engineering"]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ 96.0 96.1 "산림조성사업에 이바지하는 《황금산》, 《푸른 산》홈페지들" ["Golden Mountain" and "Blue Mountain" homepages that contribute to forestation projects]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "수산업발전에 기여할수 있는 《이채어경》홈페지" ["Brilliant Fishing" homepage contributing to the development of the fishing industry]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "망가입자들속에서 호평받고있는 《이채어경》홈페지" [The well-received website "Brilliant Fishing"]. DPRK Today (via KCNA Watch) (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2025-02-01.
- ↑ "신의주화장품공장에서 《봄향기》홈페지 개설, 사용자들속에서 인기" [Sinuiju Cosmetics Factory opens “Spring Fragrance” website that is popular among users]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "Top North Korean cosmetics brand launches new online shop". NK News (ภาษาอังกฤษ). 10 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2025-02-02.
- ↑ "농업생산에 도움을 주는 《황금벌》홈페지" [The "Golden Field" website that helps agricultural production]. arirangmeari.com (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ ""Hwanggumbol" Website Conducive to Agricultural Production". Korean Central News Agency (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-02-02.
- ↑ "New North Korean intranet portal boasts job recruitment service for businesses". NK News. 10 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2025-02-02.
- ↑ "새 영화들을 신속히 볼수 있는 《생활의 벗》홈페지" [The "Friend of Life" website where you can quickly watch new movies]. DPRK Today (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-07.
- ↑ "체육정보열람체계 《체육열풍》이 개설되였다" [The sports information viewing system “Sports Craze” has been opened]. DPRK Today (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
- ↑ "육아원 원아들 보육을 위한 홈페지 개설" [Opening of a homepage for childcare for children in orphanages]. Arirang Meari (via KCNA Watch) (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2025-02-02.
- ↑ "Ryongnamsan Law Office". Kim Il Sung University (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
- ↑ "눈길을 끄는 《룡남산법률사무소》홈페지" [Eye-catching homepage of "Ryongnamsan Law Office"]. DPRK Today (via KCNA Watch) (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
- ↑ "호평받는 《옥류》전자상업봉사체계". DPRK Today (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
- ↑ "Messing around with Naenara, North Korea's web browser". hackaday.com (ภาษาอังกฤษ). 10 January 2015. สืบค้นเมื่อ 2024-01-07.
- ↑ 111.0 111.1 111.2 111.3 111.4 111.5 111.6 "A peek inside North Korea's Intranet". North Korea Tech (ภาษาอังกฤษ). 5 July 2015. สืบค้นเมื่อ 2024-01-07. For amended image, see here.
- ↑ "Pyongyang Department Store No. 1 launches online shop, free delivery service: Dawn". NK News (ภาษาอังกฤษ). 30 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2025-02-02.
- ↑ "Dawn website image". NK News. สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
- ↑ "Kwangmyong website image". NK News. สืบค้นเมื่อ 2025-02-02.
- ↑ "North Korean sports ministry launches online lottery". NK News (ภาษาอังกฤษ). 28 November 2018. สืบค้นเมื่อ 2025-01-02.
- ↑ "Image of sport lottery website". NK News. สืบค้นเมื่อ 2025-01-02.
- ↑ "Propiedad intelectual y técnica informática Samcholli" [Intellectual property and computer technology Samcholli]. Korean Friendship Association – Spain (ภาษาสเปน). 27 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2025-02-02.
- ↑ "Kongang Online Pharmacy". Ministry of Public Health (North Korea) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-02-02.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Abt, Felix (11 June 2016). "North Korea's Illicit Internet". The Diplomat.
- Kates, Glenn (6 May 2014). "Russia's 'Cheburashka' Internet? Probably Not, But Here Are Some Other Options". Radio Free Europe/Radio Liberty.
- Kim, Yoo Hyang (2004). "North Korea's Cyberpath". Asian Perspective. The Johns Hopkins University Press. 28 (3): 191–209. ISSN 0258-9184. JSTOR 42704472.
- Kochetkova, Kate (9 May 2016). "Sometimes Internet is too small to go round". Kaspersky Daily. Kaspersky Lab.
- Lee, Jean H. (24 July 2011). "Quiet digital revolution under way in North Korea". NBC News. The Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2020.
- Riesman, Abraham (5 January 2012). "Inside the Hermit Internet". Vice Motherboard.
- "North Korea To Create Internet Oasis". Radio Free Europe/Radio Liberty. 11 July 2011.
- "Computer Network Expanding Rapidly in DPRK". Choson Sinbo. 24 February 2001.
- Cooper, Stephen (27 August 2021). "North Korea Cyber Profile". Comparitech.
- Ji, Dagyum (17 May 2018). "New North Korean website offering electronic payments, online bookings". NK News.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายชื่อเว็บไซต์บนควังมย็อง ที่ นอร์ทโคเรียเทค
- วิดีโอการท่องเว็บบนควังมย็อง ที่ อีเลอารีนา
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์ควังมย็อง ที่ นอร์ทโคเรียอิโคโนมีวอตช์
- ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลบนคาบสมุทรเกาหลี ที่ สถาบันเพื่อการศึกษาเกาหลี-อเมริกัน
- นักท่องเว็บสันโดษแห่งเปียงยาง ที่ ศูนย์ข้อมูลเทคนิคด้านการป้องกันประเทศ
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ธันวาคม 2017
- หน้าที่มีสัทอักษรสากลภาษาเกาหลี
- บทความที่มีข้อความที่อาจล้าสมัยตั้งแต่ 2013
- รายการที่ยังไม่สมบูรณ์ตั้งแต่พฤษภาคม 2025
- ก่อตั้งในประเทศเกาหลีเหนือในปี พ.ศ. 2543
- การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต
- อินเทอร์เน็ตในประเทศเกาหลีเหนือ
- ทรัพย์สินทางอินเตอร์เน็ตที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2543
- การเฝ้าระวังมวลชน
- บริษัทโทรคมนาคมของประเทศเกาหลีเหนือ
- เครือข่ายพื้นที่กว้าง