คลื่นอนุภาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Propagation of de Broglie waves in 1d – real part of the complex amplitude is blue, imaginary part is green. The probability (shown as the color opacity) of finding the particle at a given point x is spread out like a waveform; there is no definite position of the particle. As the amplitude increases above zero the curvature decreases, so the amplitude decreases again, and vice versa. The result is an alternating amplitude: a wave. Top: plane wave. Bottom: wave packet.

คลื่นอนุภาคเป็นแก่นของทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม เช่น ทวิภาคของคลื่นและอนุภาค ที่อนุภาคทั้งหมดสามารถประพฤติตัวเป็นคลื่นได้ เช่น ลำอิเล็กตรอนสามารถถูกทำให้เกิดการเลี้ยวเบนได้เหมือนกับคลื่นแสงหรือคลื่นน้ำ แนวคิดของอนุภาคที่ประพฤติตัวเป็นคลื่นถูกกล่าวถึงในสมมติฐานของเดอบรอยล์ ที่หลุยส์ เดอ บรอยล์ (Louis De Broglie) นำเสนอในปี 1924 จะเห็นได้จากสมการที่กล่าวถึงความยาวคลื่นของเดอบรอยล์ที่ว่า

ความยาวคลื่นของเดอบรอยล์ คือ ความยาวคลื่น, λ ที่มีความสัมพันธ์กับ โมเมนตัม, p และ ค่าคงที่ของพลังค์, h

เหตุการณ์ที่คลื่นประพฤติตัวเหมือนอนุภาคถูกอธิบายครั้งแรกในการทดลองการเลี้ยวเบนของโลหะบางของทอมสัน (George Paget Thomson) และการทดลองของเดวิสันและเจอเมอร์ (Davisson–Germer) โดยการทดลองคลื่นที่ประพฤติตัวเหมือนอนุภาคเป็นสิ่งสำคัญในวิชาทฤษฎีสมัยใหม่ของฟิสิกส์อะตอมและฟิสิกส์อนุภาค

บริบททางประวัติศาสตร์[แก้]

ในปลายศตวรรษที่ 19 สมการของแมกเวลซ์เป็นที่แพร่หลาย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงสมบัติของคลื่นและอนุภาคจึงได้รับการตรวจสอบและยืนยันเป็นทฤษฎีต่างๆ มากมาย เช่น การแผ่รังสีของวัตถุดำ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ต่อมาในวิชาควอนตัมก็รู้จักแสงในชื่อว่า โฟตอน และพลังงานจะถูกนิยามด้วยความสัมพันธ์ของพลังค์-ไอสไตน์ (Planck–Einstein relation) ดังนี้

และในเทอมของโมเมนตัมจะได้ว่า

สมมติฐานของเดอบรอยล์[แก้]

ผลงานของเดอบรอยล์ในปี 1924 แสดงให้เห็นว่าแสงมีสมบัติของความเป็นคลื่นและอนุภาค อิเล็กตรอนมีสมบัติความเป็นคลื่น จากการจัดเทอมโมเมนตัมที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะทำให้เราสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นและโมเมนตัมของอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องได้ดังสมการ

จากความสัมพันธ์จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสมบัติความเป็นคลื่นและอนุภาค และในปี 1926 แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ (Erwin Schrödinger) ได้ตีพิมพ์สมการที่อธิบายการวิวัฒนาการของคลื่นอนุภาคและนั่นได้ถูกนำมาเพื่อใช้พิสูจน์ระดับชั้นพลังงานของไฮโดรเจน

อ้างอิง[แก้]

http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/debrog.html

https://www.thoughtco.com/de-broglie-hypothesis-2699351