ข้ามไปเนื้อหา

คลาวด์แฟลร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลาวด์แฟลร์
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS18915M1071 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ก่อตั้งกรกฎาคม 2009; 15 ปีที่แล้ว (2009-07)
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่ซานฟรานซิสโก, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
บุคลากรหลัก
ตราสินค้า1.1.1.1
บริการพร็อกซีย้อนกลับ, การประมวลผลแบบเอดจ์, สื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่อง, การจัดการตัวตนและสิทธิ์การเข้าถึงทรัพยากร, เครือข่ายส่วนตัวเสมือน
รายได้เพิ่มขึ้น US$1.669 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2567)
รายได้จากการดำเนินงาน
Negative increase US$−155 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2567)
รายได้สุทธิ
Negative increase US$−79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2567)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$3.301 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2567)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น US$1.046 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2567)
พนักงาน
4,263 (2567)
บริษัทในเครือแอเรีย 1 ซีเคียวริตี้
หมายเลข AS 13335
เว็บไซต์www.cloudflare.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1]

บริษัท คลาวด์แฟลร์ จํากัด (มหาชน) (อังกฤษ: Cloudflare, Inc.) เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันที่ให้บริการ เครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา, การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์, การลดผลกระทบจากการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ, บริการเครือข่ายงานบริเวณกว้าง, พร็อกซีย้อนกลับ, ระบบการตั้งชื่อโดเมน, การลงทะเบียนโดเมนที่ได้รับการรับรองจากองค์กรความร่วมมือด้านการจัดสรรชื่อและหมายเลขทางอินเทอร์เน็ตและบริการอื่นฯ[2][3][4][5] สำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[3] ตามข้อมูลจาก W3Techs เมื่อมกราคม พ.ศ. 2568 คลาวด์แฟลร์ถูกใช้โดยประมาณ 19.3% ของเว็บไซต์ทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ตสำหรับบริการความปลอดภัยของเว็บไซต์[6]

ประวัติของบริษัท

[แก้]

คลาวด์แฟลร์ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดย แมทธิว พรินซ์, ลี ฮอลโลเวย์ และ มิเชลล์ แซทลิน[7][8] โดยก่อนหน้านี้ พรินซ์ และ ฮอลโลเวย์ เคยร่วมมือกันในโปรเจคฮันนี่พอท ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของอันสแปมเทคโนโลยี และเป็นแรงบันดาลใจบางส่วนในการก่อตั้งคลาวด์แฟลร์[9] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 บริษัทได้รับการระดมทุน[10] ต่อมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 คลาวด์แฟลร์ ได้ยื่นเอกสาร เอส-1 เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป บนตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ภายใต้เครื่องหมายหุ้น NET[11] และเริ่มทำการซื้อขายสาธารณะในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ราคาเปิด 15 ดอลลาร์ต่อหุ้น[12]

ในปี พ.ศ. 2563 มิเชลล์ แซทลิน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของคลาวด์แฟลร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบริษัท ทำให้เธอเป็นหนึ่งในผู้หญิงเพียงไม่กี่คนที่ดำรงตำแหน่งประธานในบริษัทเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา[13]

คลาวด์แฟลร์ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทด้านเว็บเซอร์วิซและความปลอดภัย ได้แก่ StopTheHacker (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557),[14] CryptoSeal (มิถุนายน พ.ศ. 2557),[15] Eager Platform Co. (ธันวาคม พ.ศ. 2559),[16] Neumob (พฤศจิกายน พ.ศ. 2560),[17] S2 Systems (มกราคม พ.ศ. 2563),[18] Linc (ธันวาคม พ.ศ. 2563),[19] Zaraz (ธันวาคม พ.ศ. 2564),[20] Vectrix (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565),[21] Area 1 Security (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565),[22] Nefeli Networks (มีนาคม พ.ศ. 2567), BastionZero (พฤษภาคม พ.ศ. 2567),[23] และ Kivera (ตุลาคม พ.ศ. 2567)[24]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา คลาวด์แฟลร์ได้ใช้กำแพงทีมีโคมลาวาในสำนักงานใหญ่ที่ซานฟรานซิสโกเป็นตัวสร้างตัวเลขสุ่มแบบฮาร์ดแวร์สำหรับกุญแจเข้ารหัส ควบคู่ไปกับลูกตุ้มคู่ในสำนักงานที่ลอนดอน และเครื่องวัดกัมมันตภาพรังสีในสำนักงานที่สิงคโปร์[25] โดยกล้องจะเปลี่ยนรูปทรงที่คาดเดาไม่ได้ของฟอง "ลาวา" ให้เป็นภาพดิจิทัล วิธีนี้เรียกว่าการสุ่มด้วยโคมลาวา[26][25]

ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2565 คลาวด์แฟลร์ให้บริการแบบชำระเงินแก่ลูกค้า 162,086 ราย[27]

สินค้าและบริการ

[แก้]

คลาวด์แฟลร์ ให้บริการเครือข่ายและผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ทั่วไปและธุรกิจ เช่น, การประมวลผลแบบเอดจ์, พร็อกซีย้อนกลับสำหรับการรับส่งข้อมูลเว็บ, การเชื่อมต่อศูนย์ข้อมูล, และเครือข่ายการจัดส่งเนื้อหาเพื่อให้บริการเนื้อหาผ่านเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ของตน[28] รองรับโปรโตคอลชั้นสื่อสารนำส่งข้อมูล ได้แก่ TCP, UDP, QUIC และโปรโตคอลชั้นสื่อสารแอปพลิเคชันหลายตัว เช่น DNS ผ่าน HTTPS, SMTP และ HTTP/2 โดยรองรับ HTTP/2 Server Push[29] ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2566 คลาวด์แฟลร์จัดการคำขอ HTTP โดยเฉลี่ย 45 ล้านคําขอครั้งต่อวินาที[30]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567 เซิร์ฟเวอร์ของคลาวด์แฟลร์ ทํางานโดยใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 9684X[31]

คลาวด์แฟลร์ ยังให้บริการการวิเคราะห์และรายงานเกี่ยวกับการหยุดทำงานในขนาดใหญ่ รวมถึงการหยุดทำงานของ เวอไรซอน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567[32]

ปัญญาประดิษฐ์

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2566 คลาวด์แฟลร์ ได้เปิดตัว Workers AI ซึ่งเป็นกรอบงานที่อนุญาตให้สามารถใช้งาน GPU ของ Nvidia ภายในเครือข่ายของคลาวด์แฟลร์ได้[33]

ในปี พ.ศ. 2567 คลาวด์แฟลร์ ได้เปิดตัวเครื่องมือที่ป้องกันไม่ให้บอทดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ โดยบริษัทได้วิเคราะห์บอท AI และปริมาณการใช้งานของโปรแกรมรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างโมเดลตรวจจับบอทอัตโนมัติ[34]นอกจากนี้ บริษัทยังได้เปิดตัวผู้ช่วย AI ที่สามารถสร้างกราฟตามคำถามโดยใช้เทคโนโลยี Workers AI[35]และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 คลาวด์แฟลร์ประกาศแผนที่จะเปิดตลาดที่เจ้าของเว็บไซต์สามารถขายสิทธิ์ให้ผู้ให้บริการโมเดล AI เพื่อเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์เพื่อนำไปดึงข้อมูล[36]

การลดผลกระทบจากการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (DDoS)

[แก้]

คลาวด์แฟลร์ ให้บริการป้องกัน DDoS ทั้งฟรีและเสียค่าบริการที่ช่วยปกป้องลูกค้าจากการโจมตีแบบปฏิเสธการให้บริการ (DDoS) โดยคลาวด์แฟลร์ ได้รับความสนใจจากสื่อในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 สำหรับการให้บริการป้องกัน DDoS สำหรับเว็บไซต์ของลูลซ์เซค กลุ่มแฮกเกอร์ประเภทแบล็กแฮต[37]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 โครงการสแปมเฮาส์ถูกโจมตีด้วยการโจมตีแบบ DDoS ซึ่ง คลาวด์แฟลร์รายงานว่าแบนด์วิธของการโจมตีเกิน 300 กิกะบิตต่อวินาที (Gbit/วิ)[38][39] โดย แพทริก กิลมอร์ จาก อาคาไม กล่าวในขณะนั้นว่า "มันเป็นการโจมตี DDoS ที่ประกาศต่อสาธารณะครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต" ขณะที่ คลาวด์แฟลร์กำลังพยายามปกป้องสแปมเฮาส์จากการโจมตี DDoS ก็เกิดการโจมตีที่ตัวคลาวด์แฟลร์เองด้วยเช่นกัน ต่อมา กูเกิล และบริษัทอื่นๆ ได้เข้ามาช่วยปกป้องสแปมเฮาส์ และช่วยให้สามารถรับมือกับการโจมตีที่มีปริมาณข้อมูลมหาศาลนี้ได้[40]

ในปี พ.ศ. 2557 คลาวด์แฟลร์ เริ่มให้บริการป้องกัน DDoS ฟรีแก่ศิลปิน, นักเคลื่อนไหว, นักข่าว และกลุ่มสิทธิมนุษยชน ภายใต้ชื่อ "โครงการกาลิเลโอ (Project Galileo)"[41]ในปี พ.ศ. 2560 พวกเขาขยายบริการไปยังโครงสร้างพื้นฐานการเลือกตั้งและแคมเปญทางการเมืองภายใต้ชื่อ "โครงการเอเธนเนียนส์ (Athenian Project)"[42][43] ภายในปี พ.ศ. 2563 มีผู้ใช้และองค์กรเข้าร่วมโครงการกาลิเลโอ มากกว่า 1,000 ราย รวมถึง 31 รัฐในสหรัฐอเมริกา[44][45]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 คลาวด์แฟลร์ อ้างว่าได้ป้องกันการโจมตีแบบ NTP reflection ต่อผู้ใช้รายหนึ่งในยุโรป ซึ่งพวกเขาระบุว่ามีจุดสูงสุดที่ 400 กิกะบิตต่อวินาที (Gbit/วิ)[46][47] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 พวกเขารายงานว่าเกิดการโจมตี DDoS ขนาด 500 กิกะบิตต่อวินาที (Gbit/วิ) ในฮ่องกง[48] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 บริษัทอ้างว่าได้ดูดซับการโจมตี DDoS ที่มีขนาดใหญ่กว่าการโจมตีใด ๆ ที่เคยบันทึกไว้ถึงสามเท่า ซึ่งในบล็อกของบริษัทมีนัยว่าการโจมตีครั้งนี้มีขนาดมากกว่า 1.2 เทระบิตต่อวินาที (Tbit/วิ) [49] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 คลาวด์แฟลร์ รายงานว่าได้ป้องกันการโจมตี DDoS ขนาด 71 ล้านคำขอต่อวินาที ซึ่ง "บริษัทระบุว่าเป็นการโจมตี DDoS แบบ HTTP ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีการบันทึกไว้"[50]

คลาวด์แฟลร์ ได้บล็อกการโจมตี DDoS สาธารณะที่ใหญ่ที่สุดที่บันทึกไว้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยการโจมตีแบบวอลุ่มเมตริกสูงสุดที่ 5.6 เทระบิตต่อวินาที[51]

การประมวลผลแบบเอดจ์

[แก้]

ในปี พ.ศ.2560 คลาวด์แฟลร์ ได้เปิดตัว Cloudflare Workers ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการประมวลผลแบบไร้เซิร์ฟเวอร์ ที่ช่วยให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันใหม่หรือปรับปรุงแอปพลิเคชันที่มีอยู่ได้ โดยไม่ต้องตั้งค่าหรือดูแลโครงสร้างพื้นฐาน ต่อมามีการขยายบริการให้ครอบคลุม Workers KV ซึ่งเป็นฐานข้อมูลแบบคีย์-ค่า (key-value) ที่มีความหน่วงต่ำ, ครอนทริกเกอร์สำหรับตั้งเวลาเรียกใช้งานครอน และเครื่องมือเพิ่มเติมสำหรับนักพัฒนาในการปรับใช้และขยายโค้ดไปทั่วโลก[52]

ในปี พ.ศ. 2563 คลาวด์แฟลร์ ได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม แจมสแต็ค (JAMstack) สำหรับนักพัฒนา เพื่อใช้ในการปรับใช้เว็บไซต์บนโครงสร้างพื้นฐานเอดจ์ ของคลาวด์แฟลร์ ภายใต้ชื่อ "Pages"[53]

ในปี พ.ศ. 2565 คลาวด์แฟลร์ ได้ประกาศเปิดตัวฐานข้อมูล เอดจ์เอสคิวแอล ชื่อ ดี1 ซึ่งพัฒนาขึ้นบน เอสคิวแอลไลต์[54]

ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2566 คลาวด์แฟลร์และไอบีเอ็ม ได้ประกาศความร่วมมือในการให้บริการระบบจัดการบอท เพื่อปกป้องลูกค้าของไอบีเอ็มคลาวด์ จากบอทที่เป็นอันตรายและภัยคุกคามอัตโนมัติ[55]

ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2566 คลาวด์แฟลร์ ยังได้รับการว่าจ้างจาก สเปซเอ็กซ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสตาร์ลิงก์[56] และในเดือนกันยายน บริษัทได้เปิดตัว คลาวด์แฟลร์ฟอนต์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของ กูเกิลฟอนต์[57]

ความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต

[แก้]

ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2563 คลาวด์แฟลร์ ประกาศว่าจะเลิกใช้ รีแคปต์ชา และเปลี่ยนไปใช้ เฮชแคปต์ชา[58] และในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2565 คลาวด์แฟลร์เริ่มทดสอบ เทิร์นสไตล์ ซึ่งเป็นทางเลือกแทน แคปต์ชา โดยผลิตภัณฑ์นี้จะไม่แสดงแคปต์ชา แบบภาพให้ผู้ใช้แก้ไข แต่ใช้กระบวนการตรวจสอบอัตโนมัติผ่านจาวาสคริปต์ ภายในเบราว์เซอร์เพื่อตรวจสอบว่าผู้ใช้เป็นบุคคลจริงหรือบอทอัตโนมัติ ทั้งนี้ อัลกอริธึมของ เทิร์นสไตล์ มีการใช้การเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตรวจสอบ[59]

ภายใต้สัญญากับสำนักงานความมั่นคงทางไซเบอร์และโครงสร้างพื้นฐาน คลาวด์แฟลร์ให้บริการระบบทะเบียนและ DNS หลักสำหรับโดเมนระดับบนสุด .gov[60]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 คลาวด์แฟลร์ ประกาศเปิดตัว Cloudflare for Teams ซึ่งประกอบด้วยตัวแก้ไข DNS และเกตเวย์เว็บที่เรียกว่า "Gateway" และบริการการยืนยันตัวตนแบบไร้ขอบเขต ที่เรียกว่า "Access"[61]

คลาวด์แฟลร์ ประกาศความร่วมมือกับโฟนเป ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เพื่อปกป้องระบบการชำระเงินผ่านมือถือของบริษัท[62] ในเดือนกุมภาพันธ์ คลาวด์แฟลร์ เปิดตัววิลเดอบีสต์ เพื่อให้ผู้ใช้มาสโตดอนสามารถตั้งค่าและเรียกใช้งานอินสแตนซ์ของตัวเองบนโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์แฟลร์ได้[63]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 คลาวด์แฟลร์ เริ่มโปรแกรม Project Cybersafe Schools เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทุนมูลค่า $20 ล้านดอลลาร์จากแอมะซอนเว็บเซอร์วิซ ซึ่งทำให้เขตการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลในสหรัฐอเมริกาถึง %70 เปอร์เซ็นต์สามารถเข้าถึงบริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย[64]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 คลาวด์แฟลร์ ประกาศเปิดตัว ไฟร์วอลล์เพื่อปัญญาประดิษฐ์ เพื่อปกป้องแอปพลิเคชันที่ใช้งานโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLMs)[65] ในเดือนกันยายน คลาวด์แฟลร์ประกาศเปิดตัวรหัสประจำตัวชั่วคราวซึ่งช่วยในการระบุการกระทำที่หลอกลวงโดยการเชื่อมโยงพฤติกรรมกับลูกค้าผ่านไอดีที่สร้างขึ้นและมีอายุสั้น แทนการใช้ที่อยู่ไอพีแบบดั้งเดิม[66] ในเดือนเดียวกัน บริษัทยังประกาศว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถใช้ตัวแก้ไข DNS ของพวกเขาฟรี[67]

บริการการเข้าถึงที่ปลอดภัย

[แก้]

คลาวด์แฟลร์วัน แพลตฟอร์มบริการการเข้าถึงที่ปลอดภัยที่ครอบคลุมของบริษัท เปิดตัวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563[68]

คลาวด์แฟลร์วัน ประกาศการเข้าซื้อกิจการของ แอเรีย 1 ซีเคียวริตี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับต่อสู้กับการโจมตีด้วยอีเมลฟิชชิง[69]

คลาวด์แฟลร์วัน ประกาศการเข้าซื้อกิจการของ เนเฟลี่ เน็ตเวิร์คส์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นบริษัทด้านเครือข่ายคลาวด์ที่ก่อตั้งร่วมโดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชื่อ ซิลเวีย รัทนาซามี

เครือข่ายส่วนตัวเสมือน

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2562 คลาวด์แฟลร์ ได้เปิดตัวบริการเครือข่ายส่วนตัวเสมือนชื่อ วาร์ป (WARP)[70][71] และได้เปิดโค้ดของการใช้งานไวร์การ์ด ที่เขียนขึ้นเองในภาษารัสต์ที่เป็นพื้นฐานของบริการนี้[72][73]

บริการอื่นๆ

[แก้]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 บริษัทได้เริ่มให้บริการผลิตภัณฑ์ "Waiting Room" สำหรับคิวดิจิทัลฟรีเพื่อการนัดหมายการฉีดวัคซีน โควิด-19 ภายใต้ชื่อ "Project Fair Shot"[74] โครงการ Fair Shot ต่อมาได้รับรางวัลเว็บบี้พีเพิลส์ชอยส์ ในปี พ.ศ. 2565 สำหรับการจัดการงานภายใต้หมวดแอปและซอฟต์แวร์[75]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 คลาวด์แฟลร์ ประกาศว่าจะให้บริการการเข้ารหัสหลังควอนตัมฟรีและถาวรสำหรับบริการคลาวด์, แอปพลิเคชัน และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต[76]

ในปี พ.ศ. 2567 คลาวด์แฟลร์ ประกาศแผนที่จะเปิดตัววิธีการชำระเงินใหม่ที่ชื่อว่า สไตรป์ลิงค์ ซึ่งจะเริ่มเปิดตัวเบต้าในช่วงในฤดูใบไม้ร่วง[77]

ปัญหาด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

[แก้]

การบุกรุก

[แก้]

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 กลุ่มแฮกเกอร์ UGNazi ได้บุกรุกบัญชีของ แมทธิว พรินซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ คลาวด์แฟลร์และเปลี่ยนเส้นทางผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ โฟร์แชน ไปยังบัญชีทวิตเตอร์ของ UGNazi พวกเขาอ้างว่าใช้วิธีการทางวิศวกรรมสังคม หลอกลวงเจ้าหน้าที่สนับสนุนของเอทีแอนด์ที เพื่อให้เข้าถึงกล่องข้อความเสียงของพรินซ์ และจากนั้นใช้ช่องโหว่ในระบบการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนของกูเกิลที่คลาวด์แฟลร์ใช้อยู่ เมื่อเข้าควบคุมบัญชีอีเมลของพรินซ์ได้แล้ว UGNazi ก็สามารถเปลี่ยนเส้นทางโดเมนโฟร์แชนผ่านฐานข้อมูลของคลาวด์แฟลร์ได้[78][79]

ข้อมูลรั่วไหลปี พ.ศ. 2559-2560

[แก้]

ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 จนถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พบข้อบกพร่องสำคัญในคลาวด์แฟลร์ ที่ถูกตั้งชื่อว่า คลาวด์บลีด[80] ซึ่งทำให้ข้อมูลที่สำคัญ รวมถึงรหัสผ่านและโทเค็นการยืนยันตัวตน รั่วไหลจากเว็บไซต์ของลูกค้า โดยข้อมูลส่วนเกินจะถูกส่งกลับในคำตอบของการร้องขอเว็บไซต์[81]

ข้อโต้แย้ง

[แก้]

คลาวด์แฟลร์ ได้กล่าวว่า บริษัทมีนโยบายความเป็นกลางของเนื้อหา และคัดค้านการตรวจสอบลูกค้าของตนในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ยกเว้นกรณีที่ลูกค้าฝ่าฝืนกฎหมาย[82][83] บริษัทได้เผชิญกับการวิจารณ์จากการไม่ยกเลิกเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคำพูดแสดงความเกลียดชัง และเว็บไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่าเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย[84] แต่คลาวด์แฟลร์ยืนยันว่ายังไม่มีหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายใด ๆ ที่ขอให้บริษัทยุติการให้บริการเหล่านี้ และบริษัทจะเฝ้าระวังหน้าที่ของตนภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด[85]

ในปี พ.ศ. 2565 งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่า คลาวด์แฟลร์เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายการจัดส่งเนื้อหาชั้นนำในหมู่ผู้ให้บริการหลายรายที่มีส่วนรับผิดชอบในการให้บริการเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลที่ผิด[86][87] คลาวด์แฟลร์ต้องเผชิญกับความกดดันหลายครั้งเนื่องจากบริการของตนถูกนำไปใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาการเมืองฝ่ายขวาจัด

การยุติการให้บริการ

[แก้]

เดอะเดลี่สตอร์มเมอร์

[แก้]

คลาวด์แฟลร์ ได้ให้บริการการกำหนดเส้นทาง DNS และการป้องกัน DDoS สำหรับเว็บไซต์กลุ่มพวกนิยมคนผิวขาวและนีโอนาซีชื่อว่า เดอะเดลี่สตอร์มเมอร์ ในปี พ.ศ. 2560 คลาวด์แฟลร์ได้หยุดให้บริการกับ เดอะเดลี่สตอร์มเมอร์ หลังจากที่เว็บไซต์ประกาศว่า "ผู้นำระดับสูง" ของคลาวด์แฟลร์เป็น "ผู้สนับสนุนลับๆ ของอุดมการณ์ของพวกเขา"[88]

ก่อนหน้านี้ คลาวด์แฟลร์ได้ปฏิเสธที่จะดำเนินการใด ๆ กับเว็บไซต์เดอะเดลี่สตอร์มเมอร์ [89] โดย แมทธิว พรินซ์ ผู้ก่อตั้งกล่าวว่าเขาคิดว่าเนื้อหาของเว็บไซต์นั้น "น่ารังเกียจ" แต่เขารู้สึกเสียใจที่เขาเพียงคนเดียวสามารถ "ตัดสินชะตากรรม" ของมันได้[90] เขากล่าวกับ บิสซิเนสอินไซเดอร์ ว่า "ความสามารถของใครบางคนในการเลือกที่จะทำให้เนื้อหาหายไปนั้นไม่สอดคล้องกับแนวคิดหลักของกระบวนการยุติธรรมและการพิจารณาคดี ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของประเทศที่ทำการโจมตีหรือบุคคลที่ทำการโจมตี"[90]

ในฐานะที่เป็น "ผู้สนับสนุนสิทธิในการพูดอย่างสมบูรณ์" ตามที่เขาบรรยายไว้เอง พรินซ์ได้ประกาศในบล็อกโพสต์ว่าจะไม่ยอมให้ภายนอกกดดันอีกต่อไป และตั้งเป้าที่จะสร้าง "ร่มการเมือง" สำหรับอนาคต พรินซ์ยังได้กล่าวถึงอันตรายจากการที่บริษัทขนาดใหญ่ตัดสินใจว่าอะไรควรจะอยู่บนออนไลน์ โดยเป็นความกังวลที่ได้รับการแชร์จากหลายกลุ่มที่สนับสนุนสิทธิเสรีภาพและผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัว[91][92][93] มูลนิธิพรมแดนอิเล็กทรอนิกส์, กลุ่มสิทธิทางดิจิทัลของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าบริการอย่างคลาวด์แฟลร์ "ไม่ควรตัดสินว่าอะไรเป็นคำพูดที่ยอมรับได้" พร้อมเสริมว่า "เมื่อเกิดเรื่องที่ผิดกฎหมาย เช่น การปลุกระดมความรุนแรงหรือการหมิ่นประมาท ช่องทางที่เหมาะสมในการจัดการกับมันคือระบบกฎหมาย"

เหตุการณ์กราดยิงและเอทแชน

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2562 คลาวด์แฟลร์ ถูกวิจารณ์สำหรับการให้บริการแก่เว็บไซต์ฟอรัมและกระดานภาพอย่าง เอทแชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโจมตีหมู่ในสหรัฐอเมริกาและเหตุกราดยิงมัสยิดในเมืองไครสต์เชิร์ชในนิวซีแลนด์[94] นอกจากนี้ยังมีการรายงานจากองค์กรข่าวหลายแห่ง เช่น เดอะวอชิงตันโพสต์ และ เดอะเดลี่ดอท เกี่ยวกับการมีอยู่ของกระดานที่มีการพูดคุยเกี่ยวกับสื่อลามกเด็กและการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก[95][96][97]

ตัวแทนของคลาวด์แฟลร์ กล่าวว่าแพลตฟอร์มนี้ "ไม่ได้โฮสต์เว็บไซต์ที่กล่าวถึง, ไม่สามารถบล็อกเว็บไซต์, และไม่ทำธุรกิจในการซ่อนบริษัทที่โฮสต์เนื้อหาผิดกฎหมาย"[98] คลาวด์แฟลร์ไม่ได้ยกเลิกการให้บริการกับเอทแชน จนกระทั่งเกิดแรงกดดันจากสาธารณะและกฎหมายหลังจากเหตุการณ์ยิงกันที่วอลมาร์ตในเมืองเอลปาโซปี 2019 ซึ่งเอกสารที่เกี่ยวข้องถูกเผยแพร่บน เอทแชน[99][100] ในการสัมภาษณ์กับ เดอะการ์เดียน ทันทีหลังจากเหตุการณ์นั้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แมทธิว พรินซ์ ปกป้องการสนับสนุนของคลาวด์แฟลร์ต่อเอทแชน โดยกล่าวว่าเขามี "ภาระหน้าที่ทางศีลธรรม" ที่จะทำให้เอทแชนยังคงออนไลน์อยู่[101]

ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562 คลาวด์แฟลร์ ได้ยุติการให้บริการกับเอทแชน[102] หลังจากนั้นเอทแชนได้ย้ายฟอรั่มของตนจากเคลียร์เน็ตไปยังดาร์กเว็บ[103] คลาวด์แฟลร์อธิบายว่าเอทแชน "ได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นกลุ่มที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตหลายครั้ง ถึงแม้ว่าเอทแชนอาจไม่ได้ละเมิดกฎหมายในเรื่องการไม่ตรวจสอบชุมชนที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง พวกเขาก็ได้สร้างสภาพแวดล้อมที่สนุกสนานกับการละเมิดจิตวิญญาณของกฎหมาย"[104] พรินซ์กล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเอลพาโซนั้น "น่ารังเกียจในทุกทางที่เป็นไปได้" และการลบเอทแชนออกจากอินเทอร์เน็ต "เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะทำ"[105][106] ฟอรั่มนี้มักเกี่ยวข้องกับการคุกคามและการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเป้าหมาย[107] และถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายของคนอย่างน้อยสามคน[108][109][110][111] กีวีฟาร์มยังมีชื่อเสียงในเรื่องเนื้อหาที่เป็นการเหยียดเพศ และมีผู้ใช้บางคนทำการสวาทติ้งต่อบุคคลที่เปราะบาง[112][113][114][115] แม้ว่าคลาวด์แฟลร์จะไม่ใช่ผู้ให้บริการโฮสต์เว็บไซต์หลัก แต่ก็ได้ให้บริการที่สำคัญในการรักษาให้กีวีฟาร์มออนไลน์ โดยการป้องกันการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการและเพิ่มประสิทธิภาพในเครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา[116][117][118]

ในปี พ.ศ. 2565 คลาร่า ซอร์เรนติ นักเคลื่อนไหวที่เป็นคนข้ามเพศ ซึ่งเคยเป็นเป้าหมายของฟอรั่มนี้ ได้เริ่มแคมเปญเพื่อกดดันให้คลาวด์แฟลร์ ยุติการให้บริการกับกีวีฟาร์ม[119][120] โดยคลาวด์แฟลร์ได้ตอบกลับด้วยการออกแถลงการณ์เกี่ยวกับนโยบายการละเมิด และกล่าวว่า พวกเขาไม่ต้องการตั้งเป็นบรรทัดฐานสำหรับการควบคุมคำพูดในอินเทอร์เน็ต โดยการตัดสินใจในกรณีนี้ถือเป็นการตัดสินใจที่ "พิเศษ"[121]

บริษัทได้ออกบล็อกโพสต์และเปรียบเทียบบริการของตนกับบริการสาธารณะ[122] โดยกล่าวว่า "เหมือนกับที่บริษัทโทรศัพท์ไม่ยกเลิกสายของคุณหากคุณพูดสิ่งที่เลวร้าย, เชื้อชาติ, หรือมีอคติ, เราได้สรุปว่า ... การปิดบริการด้านความปลอดภัยเพราะเราคิดว่าเนื้อหาที่คุณเผยแพร่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นนโยบายที่ผิด" แต่ยอมรับว่า การยกเลิกบริการให้กับเว็บไซต์ที่ทีมงานคลาวด์แฟลร์ "รู้สึกส่วนตัวว่า [มัน] น่ารังเกียจและไม่เป็นศีลธรรม" น่าจะเป็น "ทางเลือกที่ได้รับความนิยม"[123][124] บริษัทยังปกป้องการตัดสินใจของพวกเขาด้วยการกล่าวว่า "เมื่อพวกเขาให้บริการป้องกัน DDoS กับเว็บไซต์ที่ต่อต้าน LGBTIQ+ พวกเขาได้บริจาคค่าบริการ 100% ให้กับองค์กรที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ"[125] โพสต์บล็อกนี้ได้กล่าวถึงข้อตกลงการใช้บริการของคลาวด์แฟลร์ ที่อนุญาตให้ยุติการให้บริการในกรณีที่มี "เนื้อหาที่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน, [และ] กระตุ้นหรือแสวงหาประโยชน์จากความรุนแรงต่อบุคคล" แต่ตามรายงานของ เดอะการ์เดียน คำแถลงดังกล่าว "ไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะเจาะจงว่าเหตุใดผู้ใช้กีวีฟาร์มที่ทำการเปิดเผยข้อมูลคนอื่นจึงไม่ได้ละเมิดข้อกำหนดเหล่านี้"[125]

เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2565 คลาวด์แฟลร์ได้บล็อกกีวีฟาร์ม โดยอ้างถึงการใช้ถ้อยคำที่รุนแรงที่เพิ่มขึ้นต่อกลุ่มเป้าหมายของกีวีฟาร์ม โดยกล่าวว่า "เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตมนุษย์" ตามรายงานจาก เดอะวอชิงตันโพสต์ มี "การเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามที่รุนแรงที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์" และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แมทธิว พรินซ์ กล่าวว่าบริษัทเชื่อว่า "มีภัยคุกคามที่ใกล้เข้ามา และความเร็วที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามเหล่านั้น เราคิดว่าไม่เร็วพอที่จะตามทัน"[126][127][128]

สวิตเตอร์

[แก้]

สวิตเตอร์ เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับชุมชนการค้าประเวณี ที่สร้างขึ้นโดยบริษัท แอสเซมบลีโฟร์ ซึ่งตั้งอยู่ในออสเตรเลีย โดยใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สของมาสโตดอน ก่อนที่คลาวด์แฟลร์จะยกเลิกการให้บริการสวิตเตอร์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 โดยอ้างถึงการละเมิดเงื่อนไขการให้บริการ[129] การยกเลิกการบริการนี้เกิดขึ้นไม่นานหลังจากการผ่านกฎหมาย ฟอสต้า-เซสต้า ซึ่งเป็นชุดของกฎหมายที่ทำให้เว็บไซต์ที่ "สนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกในการค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณี" เป็นสิ่งผิดกฎหมายในปี พ.ศ. 2561 กฎหมายเซสต้าทำให้การคุ้มครองสำหรับบริษัทโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตอ่อนแอลง และได้รับคำวิจารณ์ในด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่ไม่สมดุลและการขัดขวางชีวิตของผู้ให้บริการทางเพศ[130][131][132]

คลาวด์แฟลร์ กล่าวว่าการตัดสินใจดังกล่าว "เกี่ยวข้องกับความพยายามของเราในการทำความเข้าใจกฎหมาย ฟอสต้า ซึ่งเป็นกฎหมายที่แย่มากและ [สร้าง] บรรทัดฐานที่อันตรายอย่างยิ่ง"[133] ทาง แอสเซมบลีโฟร์ ระบุว่า "จากจุดยืนก่อนหน้านี้ของคลาวด์แฟลร์ในเรื่องความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพ ตลอดจนการต่อสู้ร่วมกับมูลนิธิพรมแดนอิเล็กทรอนิกส์ เราหวังว่าพวกเขาจะลุกขึ้นต่อต้าน ฟอสต้า-เซสต้า"[134]

การก่อการร้าย

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2558 จากคำให้การต่อคณะกรรมการกิจการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา มีรายงานว่า 2 ใน 3 ของฟอรัมสนทนาออนไลน์และเว็บไซต์เกือบ 40 แห่งที่เป็นของรัฐอิสลาม ได้รับการป้องกันโดยคลาวด์แฟลร์[135]

ในปี พ.ศ. 2561 เดอะฮัฟฟิงตันโพสต์ รายงานว่าคลาวด์แฟลร์ให้บริการแก่ "กลุ่มก่อการร้ายอย่างน้อย 7 กลุ่ม" ตามที่คณะกรรมการกิจการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมถึง กลุ่มก่อการร้ายอัล-ชาบาบ, กลุ่มตอลิบาน, แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์, กองกำลังอัลกุดส์, พรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน, กองพลน้อยผู้พลีชีพอัลอักศอ และฮะมาส โดยที่ปรึกษาทั่วไปของคลาวด์แฟลร์ ดั๊ก แครมเมอร์ กล่าวกับ เดอะฮัฟฟิงตันโพสต์ ว่าเขาไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ได้รับแจ้งเกี่ยวกับองค์กรก่อการร้ายที่อาจใช้บริการของบริษัทได้ แต่คลาวด์แฟลร์ทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีทางกฎหมาย

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 คลาวด์แฟลร์ รายงานในแบบฟอร์มเอส-1 ว่าเทคโนโลยีของบริษัทถูก "ใช้โดย หรือเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลหรือหน่วยงานบางแห่ง" ที่ถูกขึ้นบัญชีดำเนื่องจากกฎระเบียบด้านมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐอเมริกา[136] รวมถึง "หน่วยงานที่ถูกระบุในโครงการคว่ำบาตรต่อต้านการก่อการร้ายและการค้ายาเสพติดของ สำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ หรือหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่อยู่ภายใต้การคว่ำบาตรโดยครอบคลุมของสหรัฐอเมริกา"[137]

อาชญากรรม

[แก้]

คลาวด์แฟลร์ ถูกอ้างถึงในรายงานของโครงการสแปมเฮาส์ ซึ่งเป็นองค์กรติดตามสแปมระดับนานาชาติ เนื่องจากมีจำนวนการดำเนินการของบ็อตเน็ตอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่โฮสต์โดยคลาวด์แฟลร์เป็นจำนวนมาก[138][139][140] รายงานในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 พบว่าคลาวด์แฟลร์จัดหาใบรับรอง SSL ให้กับ 40% ของเว็บไซต์ฟิชชิงแบบชื่อโดเมนที่คล้ายกัน ซึ่งใช้ชื่อโดเมนที่หลอกลวงโดยเลียนแบบธนาคารและผู้ให้บริการชำระเงินเพื่อโจมตีธุรกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต[141] นอกจากนี้ คลาวด์แฟลร์ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการให้บริการป้องกัน DDoS ทั้งแก่ผู้ให้บริการและเหยื่อของบริการ "stresser"[142][143]

ในปี พ.ศ. 2561 สหภาพยุโรปได้ระบุให้คลาวด์แฟลร์ อยู่ในรายชื่อเฝ้าระวังสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และของปลอม ว่าเป็นอาจเป็นของจาก "ตลาดที่มีชื่อเสียงในทางลบ" ซึ่งมีส่วนร่วม อำนวยความสะดวก หรือได้รับประโยชน์จากการละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลงสินค้า โดยรายงานระบุว่า คลาวด์แฟลร์ปกปิดและทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ดำเนินการเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ถึง 40% ของเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วโลก และ 62% ของ 500 เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์รายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ยังระบุว่าคลาวด์แฟลร์ "ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างรอบคอบเมื่อเปิดบัญชีให้กับเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ผิดกฎหมายใช้บริการของตน"[144][145]

ในปี พ.ศ. 2563 ศาลอิตาลีมีคำตัดสินให้ คลาวด์แฟลร์ต้องบล็อกโดเมนและที่อยู่ไอพี ทั้งในปัจจุบันและอนาคตของบริการไอพีทีวีเถื่อน ชื่อ "ไอพีทีวีเดอะเบส" เนื่องจากละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของ เซเรียอา[146] โดยในขณะนั้น คลาวด์แฟลร์ได้บล็อกโดเมนไปแล้ว 22 แห่งในอิตาลี[147] นอกจากนี้ ศาลเยอรมนียังมีคำวินิจฉัยในทำนองเดียวกันว่า "คลาวด์แฟลร์และบริการทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้ ดึงดูดเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ในเชิงโครงสร้าง"[148]

การตอบสนองต่อการรุกรานยูเครนของรัสเซีย

[แก้]

หลังจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลของยูเครน มิคาอิโล เฟโดรอฟ[149] และบุคคลอื่นๆ[150] เรียกร้องให้คลาวด์แฟลร์ ยุติการให้บริการในตลาดประเทศรัสเซีย ท่ามกลางรายงานว่าเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกับรัสเซียซึ่งเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนกำลังใช้บริการเครือข่ายการจัดส่งเนื้อหาของบริษัทคลาวด์แฟลร์[151] ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของคลาวด์แฟลร์ แมทธิว พรินซ์ ตอบว่าบริษัทตัดสินใจให้บริการแก่ประชาชนชาวรัสเซียต่อไป เพื่อคัดค้านความพยายามของรัฐบาลรัสเซียในการสร้าง "ม่านเหล็กดิจิทัล"[152][153]พรินซ์ระบุว่า "การยุติบริการโดยไม่เลือกปฏิบัติจะไม่ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลรัสเซียมากนัก แต่จะจำกัดการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอกประเทศของประชาชน และทำให้ผู้ที่ใช้บริการของเราเพื่อปกป้องตนเอง ขณะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลมีความเสี่ยงมากขึ้น"[154] ต่อมา บริษัทระบุว่ามียอดขายและกิจกรรมทางการค้าในรัสเซียเพียงเล็กน้อย และได้ "ยุติการให้บริการแก่ลูกค้าที่เราระบุได้ว่ามีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ถูกคว่ำบาตร"[155]

โครงการกาลิเลโอของคลาวด์แฟลร์ ซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2557 ได้ให้บริการป้องกัน DDoS แก่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และในปี พ.ศ. 2565 บริษัทได้ขยายการให้บริการป้องกันฟรีไปยังหน่วยงานรัฐบาลและภาคโทรคมนาคมของยูเครน[156][157]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Cloudflare, Inc. 2024 Annual Report (Form 10-K)". U.S. Securities and Exchange Commission. February 20, 2025. pp. 18, 97–98.
  2. "List of Accredited Registrars". www.icann.org. สืบค้นเมื่อ 2023-04-25.
  3. 3.0 3.1 Clifford, Tyler (6 October 2020). "Cloudflare CEO: Dozens of U.S. states are using Athenian Project for election security". CNBC. สืบค้นเมื่อ 25 January 2021.
  4. Durant, Richard (19 May 2020). "Cloudflare: Thinking Big". Seeking Alpha. สืบค้นเมื่อ 25 January 2021.
  5. Lardinois, Frederic (2018-09-27). "Cloudflare launches a low-cost domain registrar". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 2023-04-25.
  6. "Usage statistics and market share of Cloudflare". w3techs.com. สืบค้นเมื่อ 2025-01-14.
  7. Lagorio-Chafkin, Christine (6 November 2020). "Why the CEO of a $350 Million Internet Security Company Practices Radical Transparency". Inc.
  8. "Cloudflare, in its IPO filing, thanks a third co-founder: Lee Holloway". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). August 15, 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  9. Kleinman, Zoe (25 September 2016). "The firm that protects both banks and the Eurovision Song contest". BBC News. สืบค้นเมื่อ 4 September 2022.
  10. Kawamoto, Dawn (March 12, 2019). "Cloudflare's $150 million funding round puts its IPO plans in question". San Francisco Business Times. สืบค้นเมื่อ March 12, 2019. (ต้องสมัครสมาชิก)
  11. Shieber, Jonathan (August 15, 2019). "Cloudflare files for initial public offering". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  12. Loizos, Connie (September 13, 2019). "Cloudflare co-founder Michelle Zatlyn on the company's IPO today, its unique dual class structure, and what's next". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ September 16, 2019.
  13. Mehta, Stephanie (December 17, 2020). "Exclusive: Cloudflare promotes Michelle Zatlyn to president, a gain for women in tech". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ December 20, 2020.
  14. "Fresh off IPO, this high-profile Bay Area cloud company just snapped up a browser isolation company". bizjournals.com. 2020-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  15. Tung, Liam (19 June 2014). "CloudFlare acquires VPN service CryptoSeal, shuts it down". ZDNet.
  16. "Cloudflare acquires app platform Eager, will sunset service in Q1 2017". VentureBeat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  17. Miller, Ron (November 14, 2017). "Neumob acquisition gives Cloudflare missing mobile component – TechCrunch". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ September 18, 2020.
  18. Miller, Ron (January 7, 2020). "Cloudflare acquires stealthy startup S2 Systems, announces Cloudflare for Teams – TechCrunch". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ September 17, 2020.
  19. Wiggers, Kyle (December 22, 2020). "Cloudflare acquires Linc to automate web app deployment". VentureBeat. สืบค้นเมื่อ December 22, 2020.
  20. Sawers, Paul (2021-12-08). "Cloudflare acquires Zaraz to speed up websites and solve third-party bloat". VentureBeat.
  21. "Cloudflare Acquires Vectrix to Help Businesses Gain Visibility and Control of Their Applications". ITSecurityWire (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-02-11. สืบค้นเมื่อ 2022-02-11.
  22. Charlotte Trueman (March 23, 2022). "Noteworthy tech acquisitions 2022". Computerworld. สืบค้นเมื่อ March 25, 2022.
  23. Novinson, Michael (2024-05-30). "Cloudflare Buys BastionZero to Guard Critical Infrastructure". Data Breach Today. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
  24. "Cloudflare Acquires Kivera to Deliver Simple, Preventive Cloud Security". Yahoo Finance (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-10-08. สืบค้นเมื่อ 2025-01-30.
  25. 25.0 25.1 Schwab, Katharine (2017-08-18). "The Hardest Working Office Design In America Encrypts Your Data–With Lava Lamps". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
  26. "LavaRand in Production: The Nitty-Gritty Technical Details". The Cloudflare Blog (ภาษาอังกฤษ). 2017-11-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
  27. Palumbo, Angela (2023-02-10). "Cloudflare Sales Guidance Looks Good. But It's Still Contending With a Spending Slowdown". Barron's (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-11. สืบค้นเมื่อ 2023-10-15.
  28. Kincaid, Jason (September 27, 2010). "Cloudflare Wants To Be A CDN For The Masses (And Takes Five Minutes To Set Up)". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ September 26, 2020.
  29. Osborne, Charlie (April 28, 2016). "Cloudflare figured out how to make the Web one second faster". ZDNet. สืบค้นเมื่อ May 17, 2016.
  30. Kerner, Sean Michael (14 March 2023). "Attackers Target Microsoft Exchange, According to Cloudflare Application Security Report". SDX Central. สืบค้นเมื่อ 30 March 2023.
  31. Aaron Klotz (2024-09-25). "Cloudflare switches to EPYC 9684X Genoa-X CPUs with 3D V-Cache — 145% faster than previous-gen Milan servers". Tom's Hardware (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-02-21.
  32. Kelly, Ross (7 October 2024). "Scale of Verizon outage impact laid bare in Cloudflare report". TechRadar (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 February 2025.
  33. Moss, Sebastian (29 September 2023). "Cloudflare to deploy Nvidia GPUs at the Edge for generative AI inference - in up to 300 data centers". Datacenter Dynamics. สืบค้นเมื่อ 9 July 2024.
  34. Wiggers, Kyle (2024-07-03). "Cloudflare launches a tool to combat AI bots". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-07-16.
  35. Arghire, Ionut (2024-03-05). "Cloudflare Introduces AI Security Solutions". SecurityWeek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-02-09.
  36. Zeff, Maxwell (2024-09-23). "Cloudflare's new marketplace will let websites charge AI bots for scraping". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-03-25.
  37. Hesseldahl, Arik (June 10, 2011). "Web Security Start-Up Cloudflare Gets Buzz, Courtesy of LulzSec Hackers". All Things Digital. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2011. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
  38. Storm, Darlene (March 27, 2013). "Biggest DDoS attack in history slows Internet, breaks record at 300 Gbps". Computerworld. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  39. Markoff, John; Perlroth, Nicole (March 26, 2013). "Online Dispute Becomes Internet-Snarling Attack". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  40. Gayomali, Chris (9 January 2015). "The biggest cyberattack in Internet history is happening right now". The Week.
  41. Newman, Lily Hay (June 12, 2019). "Cloudflare's Five-Year Project to Protect Nonprofits Online". Wired (ภาษาอังกฤษ). ISSN 1059-1028. สืบค้นเมื่อ August 5, 2019.
  42. Melendez, Steven (11 June 2020). "Amid pandemic and protests, Cloudflare is defending vulnerable websites". Fast Company. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
  43. Hatmaker, Taylor (19 July 2018). "Cloudflare Recruits State and Local Governments for Free Election Site Security Programs". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 28 January 2021.
  44. Melendez, Steven (2020-06-11). "Amid pandemic and protests, Cloudflare is defending vulnerable websites". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  45. "After a series of cyberattacks, states look to secure election results websites". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
  46. Musil, Steven (11 February 2014). "Record-breaking DDoS attack in Europe hits 400 Gbit/s". CNET.
  47. Gallagher, Sean (February 11, 2014). "Biggest DDoS ever aimed at Cloudflare's content delivery network". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ May 17, 2016.
  48. Olson, Parmy (November 20, 2014). "The Largest Cyber Attack in History Has Been Hitting Hong Kong Sites". Forbes. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  49. Greig, Jonathan. "Cloudflare says it stopped the largest DDoS attack ever reported". ZDNet (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-19.
  50. Arghire, Ionut (14 February 2023). "Record-Breaking 71 Million RPS DDoS Attack Seen by Cloudflare". SecurityWeek. สืบค้นเมื่อ 18 February 2023.
  51. Otto, Greg (January 22, 2025). "Cloudflare detected (and blocked) the biggest DDoS attack on record". cyberscoop.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-01-31.
  52. "Cloudflare creates Workers Unbound platform for serverless development". datacenternews.asia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
  53. Dillet, Romain (17 December 2020). "Cloudflare launches Cloudflare Pages, a platform to deploy and host JAMstack sites" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
  54. "Cloudflare gets serious about infrastructure services". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-05-12.
  55. Kerner, Sean Michael (August 8, 2023). "IBM and Cloudflare partner to protect user sites against malicious bots". SDX Central. สืบค้นเมื่อ 13 June 2024.
  56. "SpaceX working with Cloudflare to speed up Starlink service- The Information". Yahoo Finance (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-08-23. สืบค้นเมื่อ 2024-05-17.
  57. Craig Hale (2023-09-27). "Cloudflare launches new fight against Google over...fonts?". TechRadar (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-06.
  58. "Cloudflare moves from reCAPTCHA to hCaptcha". Thank You Robot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
  59. Shakir, Umar. "Turnstile is Cloudflare's latest attempt to rid the web of CAPTCHAs". The Verge. สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
  60. Kass, D. Howard (2023-01-17). "Cloudflare Lands $7.2M Project from CISA for Registry, DNS Services". MSSP Alert (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
  61. "Cloudflare for Teams: Protecting corporations without sacrificing performance". Help Net Security (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
  62. "Digital payments leader partners with Cloudflare to accelerate, secure monthly mobile payments". VentureBeat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-01-20. สืบค้นเมื่อ 2023-05-08.
  63. Porter, Jon (2023-02-10). "Cloudflare wants to help you set up your own Mastodon-compatible server in 'minutes'". The Verge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
  64. "K-12 Schools Improve Protection Against Online Attacks, But Are Vulnerable to Ransomware". www.newsnetmedia.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-27.
  65. Staff, S. C. (2024-03-05). "Cloudflare's Firewall for AI". SC Media (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-08-19.
  66. "Ephemeral IDs: Cloudflare's Latest Tool for Fraud Detection". InfoQ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-03-07.
  67. Williams, Mike (6 November 2024). "Best free and public DNS server of 2025". TechRadar (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 March 2025.
  68. Alspach, Kyle (July 27, 2022). "Cloudflare expanding into zero-trust network security - Protocol". www.protocol.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-05-22.
  69. Williams, Joe (February 23, 2022). "Cloudflare to Buy Area 1 Security in Push to Protect Against Phishing Emails". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.
  70. Khalid, Amrita (April 2, 2019). "Cloudflare's privacy-focused DNS app adds a free VPN". Engadget. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2019. สืบค้นเมื่อ April 2, 2019.
  71. Humphries, Matthew (September 26, 2019). "Cloudflare Finally Launches Warp, But It's Not a Mobile VPN". PCMag (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-19.
  72. Krasnov, Vlad (18 ธันวาคม 2018). "BoringTun, a userspace WireGuard implementation in Rust". Cloudflare Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2019.
  73. "CloudFlare Launches "BoringTun" As Rust-Written WireGuard User-Space Implementation". phoronix.com. สืบค้นเมื่อ 29 March 2019.
  74. Etherington, Darrell (22 January 2021). "Cloudflare introduces free digital waiting rooms for any organizations distributing COVID-19 vaccines" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  75. "Cloudflare's Project Fair Shot". Webby Awards (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 May 2022.
  76. "Post-quantum crypto should be free, so we're including it for free, forever". The Cloudflare Blog. March 16, 2023.
  77. "Stripe partners with Nvidia, Pepsi and Rivian | Payments Dive". www.paymentsdive.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-04-02.
  78. Simcoe, Luke (June 14, 2012). "The 4chan breach: How hackers got a password through voicemail". Maclean's. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2014. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  79. Smith, Ms. (June 3, 2012). "Hacktivists UGNazi attack 4chan, Cloudflare and Wounded Warrior Project". Privacy and Security Fanatic. NetworkWorld. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2013. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  80. Molina, Brett (February 28, 2017). "Cloudfare bug: Yes, you should change your passwords". USA Today. สืบค้นเมื่อ March 1, 2017.
  81. Conger, Kate (February 23, 2017). "Major Cloudflare bug leaked sensitive data from customers' websites". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  82. Hill, Kashmir (17 August 2014). "The Company Keeping Your Favorite (And Least Favorite) Websites Online". Forbes. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
  83. Peterson, Becky (17 August 2017). "Cloudflare CEO explains his emotional decision to punt The Daily Stormer and subject it to hackers: I woke up 'in a bad mood and decided to kick them off the Internet'". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
  84. "Web services firm CloudFlare accused by Anonymous of helping Isis". The Guardian. 19 November 2015. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021. The week before the Paris attacks, Ghost Security counted almost 40 ISIS websites that use Cloudflare's services.
  85. "CloudFlare CEO blasts Anonymous claims of ISIS terrorist support". The Register. 18 November 2015. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.
  86. Han, Catherine; Kumar, Deepak; Durumeric, Zakir (May 31, 2022). "On the Infrastructure Providers That Support Misinformation Websites". Proceedings of the International AAAI Conference on Web and Social Media. 16: 287–298. doi:10.1609/icwsm.v16i1.19292. S2CID 237300450. สืบค้นเมื่อ August 27, 2022.
  87. Stokel-Walker, Chris (August 26, 2022). "Cloudflare Is One of the Companies That Quietly Powers the Internet. Researchers Say It's a Haven for Misinformation". Time (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ August 27, 2022.
  88. Johnson, Steven (January 16, 2018). "Inside Cloudflare's Decision to Let an Extremist Stronghold Burn". Wired. ISSN 1059-1028. สืบค้นเมื่อ August 5, 2019.
  89. Lee, Timothy B. (December 4, 2017). "Cloudflare's CEO has a plan to never censor hate speech again". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ August 5, 2019.
  90. 90.0 90.1 Peterson, Becky. "Cloudflare CEO explains his emotional decision to punt The Daily Stormer and subject it to hackers: I woke up 'in a bad mood and decided to kick them off the Internet'". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-05-15.
  91. Citron, Danielle Keats (November 28, 2017). "What to Do about the Emerging Threat of Censorship Creep on the Internet" (PDF). Cato Institute. 282: 3–4 – โดยทาง Cato.org.
  92. Keller, Daphne (August 15, 2017). "The Daily Stormer, Online Speech, and Internet Registrars". Stanford Center for Internet and Society. Stanford Law School. สืบค้นเมื่อ August 6, 2019.
  93. Shaban, Hamza (August 18, 2017). "Banning neo-Nazis online may be slippery slope, tech group warns Silicon Valley". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ August 6, 2019.
  94. Roose, Kevin (August 4, 2019). "8chan Is a Megaphone for Gunmen. 'Shut the Site Down,' Says Its Creator". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 5, 2019.
  95. O'Neill, Patrick Howell (November 17, 2014). "8chan, the central hive of Gamergate, is also an active pedophile network". The Daily Dot. สืบค้นเมื่อ August 5, 2019.
  96. Machkovech, Sam (August 17, 2015). "8chan-hosted content disappears from Google searches: Domain-specific searches contain warning about "suspected child abuse content"". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ August 5, 2019.
  97. Dewey, Caitlin (January 13, 2015). "This is what happens when you create an online community without any rules". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  98. "Cloudflare embroiled in child abuse row". BBC News. October 22, 2019. สืบค้นเมื่อ November 15, 2019.
  99. Uebele, Hannah (August 6, 2019). "El Paso: When Freedom Of Speech Turns Violent". WGBH. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
  100. Collins, Ben (August 4, 2019). "Investigators 'reasonably confident' Texas suspect left anti-immigrant screed". NBC News. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  101. Wong, Julia Carrie (August 3, 2019). "8chan: the far-right website linked to the rise in hate crimes". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ August 3, 2019.
  102. "Terminating Service for 8Chan". The Cloudflare Blog. August 5, 2019.
  103. "8chan goes dark after hardware provider discontinues service". The Verge. August 5, 2019.
  104. Wong, Julia Carrie (2019-08-05). "8chan: the far-right website linked to the rise in hate crimes". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-04-30.
  105. Kelly, Makena (2019-08-05). "Cloudflare to revoke 8chan's service, opening the fringe website up for DDoS attacks". The Verge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.

    กีวีฟาร์ม

    [แก้]

    คลาวด์แฟลร์ ได้ให้บริการป้องกัน DDoS และทำหน้าที่เป็นพร็อกซีย้อนกลับให้กับ กีวีฟาร์ม ซึ่งเป็นฟอรั่มอินเทอร์เน็ตที่มักถูกมองว่าขวาจัด<ref>"Inside Keffals' Battle to Bring Down Kiwi Farms". September 7, 2022.

  106. "TechScape: How Kiwi Farms, the worst place on the web, was shut down". TheGuardian.com. September 7, 2022.
  107. Pless, Margaret (July 19, 2016). "Kiwi Farms, the Web's Biggest Community of Stalkers". Intelligencer. New York Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
  108. Baj, Lavender (July 13, 2021). "Kiwi Farms Has 14 Days To Find A New Domain Host After Being Booted Off DreamHost". Kotaku Australia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2021. สืบค้นเมื่อ July 13, 2021.
  109. Wodinsky, Shashona (June 29, 2021). "The Worst Site on the Web Gets DDoS'd After Being Connected to Prominent Developer's Suicide". Gizmodo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2021. สืบค้นเมื่อ August 31, 2022.
  110. Kotaku Staff (June 28, 2021). "The Brilliant SNES Emulator Author Known As Near Has Died". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2021. สืบค้นเมื่อ June 28, 2021.
  111. Colombo, Charlotte (August 3, 2021). "Kiwi Farms, the forum that has been linked to 3 suicides, was made to troll Chris Chan years before she was arrested on an incest charge". Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2021. สืบค้นเมื่อ August 31, 2022.
  112. Goforth, Claire (August 22, 2022). "Pressure grows on Cloudflare to drop Kiwi Farms after latest doxing campaign". The Daily Dot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ August 23, 2022.
  113. Cole, Samantha (August 23, 2022). "People Are Demanding That Cloudflare Drop Kiwi Farms". Vice (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ August 24, 2022.
  114. Rosenberg, Scott (August 25, 2022). "Campaign pushes Cloudflare to drop trans hate site". Axios. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2022. สืบค้นเมื่อ 25 August 2022.
  115. Bardhan, Ashley (25 August 2022). "As Twitch Streamer Flees, Pressure Mounts On Cloudflare To Stop Protecting Controversial Kiwi Farms Site". Kotaku. สืบค้นเมื่อ 26 August 2022.
  116. "What is a reverse proxy? Proxy servers explained". Cloudflare. สืบค้นเมื่อ 2 September 2022. A reverse proxy is a server that sits in front of web servers ... typically implemented to help increase security, performance, and reliability.
  117. Czachor, Emily Mae (September 1, 2022). "Cloudflare indicates services will continue for controversial website Kiwi Farms". CBS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2022. สืบค้นเมื่อ 2 September 2022.
  118. Claburn, Thomas (August 31, 2022). "Cloudflare tries to explain why it protects far-right forums that stalk and harass victims". The Register. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2022. สืบค้นเมื่อ 2 September 2022. ... the company continues to provide security – its reverse proxy service – that helps Kiwi Farms defend against denial of service attacks and keeps the web forum online.
  119. D'Anastasio, Cecilia (August 30, 2022). "Cloudflare Urged to Cut Ties to Site That Promotes Harassment". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2022. สืบค้นเมื่อ 30 August 2022.
  120. Gilbert, David (September 7, 2022). "Inside Keffals' Battle to Bring Down Kiwi Farms". Vice News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  121. Tenbarge, Kat; Abbruzzese, Jason; Collins, Ben (3 September 2022). "Internet services company Cloudflare blocks Kiwi Farms citing 'targeted threats'". NBC News (ภาษาอังกฤษ). NBC. สืบค้นเมื่อ 24 July 2023.
  122. "Cloudflare's abuse policies & approach". The Cloudflare Blog (ภาษาอังกฤษ). Cloudflare. 31 August 2022. สืบค้นเมื่อ 21 February 2023.
  123. Alspach, Kyle (August 31, 2022). "Cloudflare probably won't terminate services for 'despicable' sites". Protocol. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
  124. D'Anastasio, Cecilia (August 31, 2022). "Cloudflare Hints It Won't Cut Ties to Site Linked to Harassment". BNN Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2022. สืบค้นเมื่อ 31 August 2022.
  125. 125.0 125.1 Taylor, Josh (September 1, 2022). "Cloudflare defends providing security services to trans trolling website Kiwi Farms". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2022. สืบค้นเมื่อ 2 September 2022.
  126. Menn, Joseph; Lorenz, Taylor (September 3, 2022). "Under pressure, security firm Cloudflare drops Kiwi Farms website". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2022. สืบค้นเมื่อ 3 September 2022.
  127. Prince, Matthew (September 3, 2022). "Blocking Kiwifarms". Cloudflare. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2022. สืบค้นเมื่อ 3 September 2022.
  128. Tenbarge, Kat; Abbruzzese, Jason; Collins, Ben (September 3, 2022). "Internet services company Cloudflare blocks fringe message board Kiwi Farms citing 'targeted threats'". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2022. สืบค้นเมื่อ 4 September 2022.
  129. O'Donovan, Caroline (April 16, 2018). "Trump Just Signed A Law That Helped Create A New Twitter For Sex Workers". BuzzFeed News. BuzzFeed. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2022. สืบค้นเมื่อ 2 September 2022.
  130. "Cloudflare Just Banned a Social Media Refuge for Thousands of Sex Workers". Vice News. 19 April 2018.
  131. Romano, Aja (2 July 2018). "A new law intended to curb sex trafficking threatens the future of the internet as we know it". Vox. สืบค้นเมื่อ 1 September 2022.
  132. McSherry, Corynne; York, Jillian C. (13 October 2022). "The Internet Is Not Facebook: Why Infrastructure Providers Should Stay Out of Content Policing". Electronic Frontier Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 August 2023.
  133. "Cloudflare and FOSTA/SESTA". Assembly Four. 18 April 2018.
  134. Cole, Samantha (April 19, 2018). "Cloudflare: FOSTA Was a 'Very Bad Bill' That's Left the Internet's Infrastructure Hanging". Vice News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2022. สืบค้นเมื่อ 2 September 2022.
  135. Kohlmann, Evan F. (January 27, 2015). "Charlie Hebdo and the Jihadi Online Network: Assessing the Role of American Commercial Social Media Platforms" (PDF). United States House of Representatives. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  136. Sun, Mengqi (10 September 2019). "Cloud-Services Company Cloudflare Discloses Potential Sanctions Violations". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 4 March 2023.
  137. Stone, Jeff (11 September 2019). "Cloudflare may have provided service to terrorists, drug traffickers in violation of U.S. sanctions". CyberScoop. สืบค้นเมื่อ 4 March 2023.
  138. "Spamhaus Botnet Threat Report Q1-2020, ISPs hosting botnet C&Cs". The Spamhaus Project. สืบค้นเมื่อ May 1, 2020.
  139. "Cloudflare and Spamhaus". Word to the Wise. July 16, 2017. สืบค้นเมื่อ February 28, 2017.
  140. "The Spamhaus Project". The Spamhaus Project. สืบค้นเมื่อ September 30, 2019.
  141. Edgecombe, Graham (October 12, 2015). "Certificate authorities issue SSL certificates to fraudsters". Netcraft. สืบค้นเมื่อ October 14, 2015.
  142. Krebs, Brian (20 October 2016). "Spreading the DDoS Disease and Selling the Cure – Krebs on Security". สืบค้นเมื่อ 11 October 2023.
  143. Team, SecureWorld News (3 May 2018). "Is this OK? DDoS Defense Vendor Protected World's Largest DDoS-for-Hire Site". www.secureworld.io (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 11 October 2023.
  144. "Counterfeit and Piracy Watch List" (PDF). European Commission. 2018-12-07. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  145. Maxwell, Andy (2018-12-10). "New EU Piracy Watchlist Targets Key Pirate Sites and Cloudflare". TorrentFreak. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  146. Pekic, Branislav (2021-02-17). "Court orders CloudFlare to stop hosting illegal IPTVs" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-06-02.
  147. Van der Sar, Ernesto (2020-10-14). "Italian Court Orders Cloudflare to Block a Pirate IPTV Service". TorrentFreak. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  148. Nordemann, Jan Bernd (2021-07-12). "Duties of DNS resolvers and CDN providers – the CoA Cologne finds Cloudflare accountable". Wolters Kluwer. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  149. Timberg, Craig; Zakrzewski, Cat; Menn, Joseph (4 March 2022). "A new iron curtain is descending across Russia's Internet". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 11 May 2022.
  150. Moore, Logan; Vanjani, Karishma (25 March 2022). "These Companies Haven't Left Russia. Behind Their Decisions to Stay". Barron's. สืบค้นเมื่อ 17 May 2022.
  151. Stone, Jeff; Gallagher, Ryan (8 March 2022). "Cloudflare Rebuffs Ukraine Requests to Stop Working With Russia". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 11 May 2022.
  152. Brodkin, Jon (2022-03-08). "Cloudflare refuses to pull out of Russia, says Putin would celebrate shutoff". Ars Technica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
  153. "Disrupters and Defenders: What the Ukraine War Has Taught Us About the Power of Global Tech Companies". www.institute.global (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
  154. Brodkin, Jon (8 March 2022). "Cloudflare refuses to pull out of Russia, says Putin would celebrate shutoff". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022.
  155. Morrow, Allison (26 May 2022). "Crypto is dead. Long live crypto: Davos Dispatch". CNN. สืบค้นเมื่อ 26 May 2022.
  156. "CloudFlare Teams Up With 15 NGOs To Protect Citizen Journalists And Activists From DDoS Attacks". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). June 12, 2014. สืบค้นเมื่อ 2022-06-26.
  157. Garson, Melanie; Furlong, Pete (May 2022). "Disrupters and Defenders: What the Ukraine War Has Taught Us About the Power of Global Tech Companies". Tony Blair Institute for Global Change (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]