คลองระหว่างทะเลขาวกับทะเลบอลติก

พิกัด: 62°48′N 34°48′E / 62.800°N 34.800°E / 62.800; 34.800
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลองระหว่างทะเลขาวกับทะเลบอลติก
White Sea Canal map
White Sea Canal map
ข้อมูลจำเพาะ
ความยาว141[1] ไมล์ (227 กิโลเมตร)
ความยาวเรือสูงสุด443[1] ft 0 in (135.0 m)
ความกว้างเรือสูงสุด47 ft 0 in (14.3 m)
ความลึกเรือสูงสุด4 เมตร
ประตูกั้นน้ำ19[2]
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลสูงสุด334 ft (102 m)
สถานะเปิด
ประวัติ
เริ่มก่อสร้างค.ศ. 1931
วันที่เปิดใช้2 สิงหาคม ค.ศ. 1933
วันที่แล้วเสร็จค.ศ. 1933
ข้อมูลภูมิศาสตร์
จุดเริ่มต้นทะเลสาบโอเนกา, ประเทศรัสเซีย
จุดสิ้นสุดทะเลขาวในเบโลมอร์สค์, ประเทศรัสเซีย

คลองระหว่างทะเลขาวกับทะเลบอลติก (รัสเซีย: Беломо́рско-Балти́йский кана́л, อักษรโรมัน: Belomórsko-Baltíyskiy kanál; อังกฤษ: White Sea–Baltic Canal) มักเรียกโดยย่อว่า คลองทะเลขาว (Belomorkanal; อังกฤษ: White Sea Canal) เป็นคลองเดินเรือสมุทรในประเทศรัสเซีย เปิดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1933 เชื่อมระหว่างทะเลขาวในมหาสมุทรอาร์กติกกับทะเลสาบโอเนกาซึ่งเชื่อมต่อกับทะเลบอลติก มีชื่อเดิมว่า คลองทะเลขาว-บอลติคสตาลิน (อังกฤษ: Stalin White Sea–Baltic Canal; Belomorsko-Baltiyskiy Kanal imeni Stalina) ที่ใช้มาจนถึงปี ค.ศ. 1961

คลองนี้สร้างโดยผู้ต้องขังกูลัก โดยใช้จำนวนแรงงานตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น 126,000 คน ตามบันทึกของทางการรายงานว่ามีคนงานคนเสียชีวิตประมาณ 12,000 ถึง 25,000 คน[3] ขณะที่แอนน์ แอปเปิลบอมประมาณการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 25,000 คน[4]

คลองนี้มีความยาว 227 กิโลเมตร (141 ไมล์) บางส่วนผ่านไปตามแม่น้ำลำคลองหลายสายและทะเลสาบวิโกซีโร ในปี ค.ศ. 2008 มีเรือสัญจรจำนวนน้อยประมาณ 10-40 ลำต่อวันเท่านั้น คลองนี้จำกัดด้วยความลึกของคลองที่ต่ำมากประมาณ 3.5 เมตร (11.5 ฟุต) ซึ่งทำให้เรือเดินทะเลส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าได้ โดยทั่วไปแล้วความลึกระดับนี้รองรับกับเรือบรรทุกสินค้าในแม่น้ำที่มีการบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 600 ตันเท่านั้น ในขณะที่เรือเดินทะเลที่มีระวางขนาด 2,000–3,000 ตัน มักจะมีท้องเรือลึก 4.5-6 เมตร (15-20 ฟุต)[5][6] เดิมทีมีการเสนอให้ขุดคลองที่ความลึก 5.4 เมตร (17.7 ฟุต) แต่เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายและข้อจำกัดด้านเวลาของแผน 5 ปีแรกของสตาลินทำให้คลองนี้มีความลึกตื้นกว่าที่วางแผนมาก[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Сроки работы шлюзов (Lock operation periods), from the site of the Russian Shipping Companies' Association. (in Russian)
  2. "White Sea–Baltic Canal | canal, Russia".
  3. Сталинские стройки ГУЛАГа.1930–53», Москва, 2005,
  4. Anne Applebaum Gulag: A History (London: Penguin, 2003), p79
  5. http://image.slidesharecdn.com/catalog-fenderbollard-130224235209-phpapp01/95/catalog-fenderbollard-47-638.jpg?cb=1361750574 แม่แบบ:Bare URL image
  6. "Chapter 8: TPC and Displacement Curves - Engineering360". www.globalspec.com. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
  7. Morukov 2004, p. 159

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

62°48′N 34°48′E / 62.800°N 34.800°E / 62.800; 34.800