คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์
คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์ | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์ |
อาชีพ | นักกีฬายิงธนู, นักแสดง, นักร้อง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | ราเมศ จาก ลูกไม้ลายสนธยา (2561) มิ่ง จาก บ่วงสไบ (2562) ไตรทศ จาก โซ่เวรี (2563) อรชุน จาก เวลากามเทพ (2565) |
สังกัด | ช่อง 7 HD (พ.ศ. 2560 - 2563) อิสระ (พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเล่น | ป่าน | ||||||||||||||
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย | ||||||||||||||
ส่วนสูง | 185 ซม. | ||||||||||||||
น้ำหนัก | 75 กก. | ||||||||||||||
กีฬา | |||||||||||||||
กีฬา | ยิงธนู | ||||||||||||||
ผู้ฝึกสอน | คิม ซ็อนบิน[1] | ||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์ ชื่อเล่น ป่าน เกิดวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นนักยิงธนูทีมชาติไทยผู้มีผลงานโดดเด่น และเป็นตัวหลักในการแข่งขันซีเกมส์ 2009[2][3] ผู้ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญทองกีฬายิงธนูในซีเกมส์ 2009 ร่วมทีมเดียวกันกับเด่นชัย เทพนา และวิทยา ทำว่อง[4][5] และปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ
ประวัติ
[แก้]คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์ เริ่มยิงธนูมาตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง โดยฝึกซ้อมที่โรงเรียนในช่วงบ่ายทุกวัน และได้รับเลือกตัวเข้าร่วมทีมชาติไทยในเวลาต่อมา[3] ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในนักยิงธนูรุ่นใหม่ที่มีระเบียบวินัย เช่นเดียวกับวิทยา ทำว่อง และเด่นชัย เทพนา ที่สมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทยได้เลือกให้พวกเขาทำหน้าที่แทนนักกีฬาเหรียญเงินซีเกมส์ชุดเดิม และทางสมาคมได้ส่งนักยิงธนูทั้งสามไปฝึกซ้อมอย่างจริงจัง ณ ประเทศเกาหลีใต้[6]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์ เข้าแข่งขันซีเกมส์เป็นครั้งแรก[7] ในกีฬายิงธนูในซีเกมส์ 2009 ประเภทคันธนูโค้งกลับทีมชาย ร่วมกับเด่นชัย เทพนา และวิทยา ทำว่อง ในฐานะทีมชาติไทย ซึ่งสามารถชนะทีมชาติลาวซึ่งเป็นเจ้าภาพในรอบแรกที่คะแนน 224-184 ก่อนที่จะพบกับทีมเมียนมาร์ในรอบถัดมา ซึ่งทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะที่คะแนน 215 ต่อ 214 และได้พบกับทีมชาติมาเลเซียในรอบชิงชนะเลิศ โดยทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะที่คะแนน 214 ต่อ 212 และได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันดังกล่าว[8][9] นับเป็นเหรียญทองแรกของทีมชาติไทยในรอบ 8 ปีจากการแข่งยิงธนูในซีเกมส์[10]
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์ เข้าแข่งขันกีฬายิงธนูในเอเชียนเกมส์ 2010 ประเภททีมชายร่วมกับเด่นชัย เทพนา และวิทยา ทำว่อง ซึ่งสามารถชนะทีมมองโกเลียในรอบแรกที่คะแนน 214 ต่อ 212 อย่างไรก็ตาม นักยิงธนูทีมชาติไทยได้แพ้ต่อทีมเกาหลีใต้ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายที่คะแนน 208 ต่อ 229[11] และในวันที่ 24 พฤศจิกายน ของปีเดียวกัน คมกฤษณ์เข้าแข่งขันประเภทบุคคลชาย ในรอบ 16 คน ซึ่งคมกฤษณ์เป็นฝ่ายแพ้ต่อนักยิงธนูอิหร่าน 0-4 เกม[12] และปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ
ผลงาน
[แก้]ละครโทรทัศน์
[แก้]พ.ศ. | เรื่อง | บทบาท | ออกอากาศ |
---|---|---|---|
2561 | ชาติ ลำชี | วิโรจน์ | ช่อง 7 เอชดี |
เชิง ชาย ชาญ | ร.ต.อ.ไชโย มหาสิน | ||
ลูกไม้ลายสนธยา | ราเมศ | ||
บ้านปั้นดาว | บูม (รับเชิญ) | ||
2562 | บ่วงสไบ | มิ่ง (ตัวร้าย)/ หมื่นมิ่งเมือง (อดีต) / มาร์ค (ปัจจุบัน) | |
รักนี้บุญรักษา | ฌอห์น (รับเชิญ) | ||
เจ้าสัวมั่วนิ่ม | ประมุข (ตัวร้าย) | ||
2563 | ม่านบังใจ | สมัย ประทีปทอง (กาย) | |
โซ่เวรี | ไตรทศ (ตัวร้าย) | ||
2564 | พายุทราย | ผู้ช่วยของณรินทร์ (รับเชิญ) | ช่องวัน 31 |
จิตสังหาร | ทิวไม้ การุณ (ทิว) | ||
2565 | เวลากามเทพ | อรชุน เมธีพัฒนา (ชุน) (ตัวร้าย) | |
2566 | พระนคร 2410 | หลวงนพ | |
รักนี้ต้องเจียระไน | ยศ (ตัวร้าย) | ||
ชีวิตภาคสอง | จิรัน สุทธิไพศาลี (จิ) (ตัวร้าย) | ||
2567 | วิมานสีทอง | ชีวีวัฒน์ ดุริยพร (ชีวี) | |
เป็นต่อ 2024 | คุณวิน (รับเชิญ) | ||
เกมรักปาฏิหาริย์ | ธนา (วัยรุ่น) (รับเชิญ) | ||
หยดฝนกลิ่นสนิม | สารวัตรแดนสยาม | TV Thunder/ช่องวัน 31 |
เพลงรวมศิลปิน
[แก้]- (2559) รวมศิลปินLa Banda Thailand ซุป'ตาร์บอยแบนด์ ครั้งที่ 1
- เพลง พูดทำไม ร่วมกับ ซีเกมส์, ชายธัช, บอย, เจมส์
เพลงประกอบละคร
[แก้]ปี พ.ศ. | ละคร | สถานีโทรทัศน์ | เพลง |
---|---|---|---|
พ.ศ. 2561 | ชาติ ลำชี | ช่อง 7 | ชาติลำชี |
มิวสิกวิดีโอ
[แก้]ปี | เพลง | ศิลปิน | แสดงร่วม |
---|---|---|---|
2560 | แยกทางกันเดิน | สุภาพร มะลิซ้อน | ชัชฎาภรณ์ กิมากรณ์, คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์ |
โฆษณา
[แก้]- พ.ศ. 2565 เครื่องดื่มตราช้าง เติมเต็มคำว่าเพื่อน ร่วมกับ ยงวรี อนิลบล[ต้องการอ้างอิง]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[13]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
คมกฤษณ์กับคิม ซ็อนบิน
-
ขณะฝึกซ้อมร่วมกับเด่นชัย เทพนา และวิทยา ทำว่อง
-
ขณะประกบคู่กับวิทยา ทำว่อง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ธนูลบคำสบประมาท 'วิทยา คว้าตั๋วใบประวัติศาสตร์ อลป. เดินหน้าก็ไม่ได้ ถอยหลังก็ไม่ได้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-09-16.
- ↑ "กว่างโจวเกมส์ : ธนูช้ำหวังเหรียญแต่ไร้สังเวียนซ้อม!!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-22. สืบค้นเมื่อ 2012-09-16.
- ↑ 3.0 3.1 "ส่องอนาคต 6 นักกีฬาดาวรุ่ง พุ่งแรง ที่น่าจับตามองมากที่สุด...แห่งปี : มติชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-09-16.
- ↑ 3 นักธนูไทยคว้าเหรียญทอง - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ Trio memanah lunas เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (มลายู)
- ↑ "เคาต์ดาวน์ ซีเกมส์ : 3 ทองธนูไทยความหวังที่ต้องพิสูจน์!!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-16.
- ↑ ธนูหนุ่มไทยโค่นแชมป์ 3 สมัยซิวทองรอบ 32 ปี[ลิงก์เสีย]
- ↑ โรบินฮูดไทยซิวทองคันธนูโค้งกลับทีมชาย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "คมกฤษณ์-น้าเด่นชัย" ขอยิงเป้าในเอเชียนเกมส์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ยิงธนูทีมชายไทย ซิวทองแรก รอบ 8 ปีซีเกมส์ - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ "ยิงธนูชาย" จอดป้าย 8 ทีม[ลิงก์เสีย]
- ↑ สรุปผลการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ย้อนหลัง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๙, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2534
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักยิงธนูชาวไทย
- นักกีฬาทีมชาติไทย
- นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักร้องชายชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชายชาวไทย
- นักแสดงชายชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ง.ภ.
- ผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้จากจังหวัดเชียงใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนเทพลีลา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง