คติบอยชุก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตรกร (Живопи́сець), ไม่ทราบศิลปิน, ทศวรรษ 1910

คติบอยชุก (ยูเครน: Бойчукі́зм; Boychukism) เป็นปรากฏการณ์ทางศิลปะและวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ศิลปะยูเครนระหว่างทศวรรษ 1910 ถึงทศวรรษ 1930 มีลักษณะเด่นคือรูปแบบ "มอนิวเมนทัล-สังเคราะห์" (monumental-synthetic style) คติบอยชุกถือเป็นหนึ่งในรูปแบบศิลปะที่มีต้นกำเนิดในยูเครน เกิดจากการผสมผสานศิลปะพื้นถิ่นยูเครน, ศิลปะแบบโบสถ์ไบแซนไทน์ และเรอแนซ็องส์ดั้งเดิม ชื่อของรูปแบบศิลปะนี้ได้มาจากมือคัยลอ บอยชุก ศิลปินกราฟิกและมอนิวเมนทัลลิสต์

ศิลปะไบแซนไทน์ใหม่[แก้]

ศิลปินยุโรปในเวลานั้นเช่น ปาโบล ปิกาโซ, ออแลกซันดร์ อาร์คือแปนกอ และกาซือมือร์ มาแลวึช ล้วนมีความเข้าใจต่อความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติเชิงจิตวิญญาณ (spiritual nature) ของวัฒนธรรมโบราณกับการตีความอย่างลื่นไหล (language of its plasticity) ศิลปินคติบอยชุกมีลัทธิไบแซนไทน์และศิลปะไร้มายายูเครนเป็นหมุดหมายทางศิลปะ[1]

ในปี 1909 บอยชุกตั้งสตูดิโอศิลปะไบแซนไทน์ใหม่ (Neo-Byzantine art) ในปารีส ถือเป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะขบวนการนี้ ศิลปินมีความมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูศิลปะยูเครนบนพื้นฐานของความสำเร็จที่ศิลปะไบแซนไทน์กับรุสเคียฟมี ศิลปินคติบอยชุกเชี่ยวชาญด้านการลงสีแบบ อัลเฟรสโก และ อัลเซกโก ซึ่งก็คือการลงสีโดยใช้สีแห้งและเปียก (ตามลำดับ) ผสมกับไข[2]

ในฝรั่งเศสเรียกขบวนการศิลปะใหม่นี้ว่า Renovation Byzantine ("ไบแซนไทน์บูรณะ") และต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อมอนิวเมนทัลลิสต์แบบยูเครน (Ukrainian monumentalism) และคติบอยชุก[3]

โมเสกภาพนักบุญยอห์น โดยมือคัยลอ บอยชุก (1910) "Harvest" โดยมือคัยลอ บอยชุก (ทศวรรษ 1910)

มอนิวเมนทัลลิสม์แบบยูเครน[แก้]

เป็นเวลานับสิบปีหลัง Renovation Byzantine ริเริ่มขึ้น ขบวนการทางศิลปะนี้จึงเปลี่ยนมาเป็นมอนิวเมนทัลลิสม์แบบยูเครน (Ukrainian monumentalism) สถาบันศิลปะแห่งรัฐยูเครนก่อตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม 1917 และกลายมาเป็นศูนย์กลางของลัทธิมอนิวเมนทัล

ลักษณะเด่นร่วมของคติบอยชุกคือการใช้สีฝุ่นแทนการใช้น้ำมัน ซึ่งถือเป็นการกลับไปสู่วิธีการผลิตงานตามแบบโบราณและเป็นซิงคริทิสม์ของรูปแบบศิลปะนี้[1]

ในทศวรรษ 1920 คติบอยชุกเริ่มแตกแขนงออกเป็นขบวนการศิลปะย่อย ๆ เฉพาะบุคคล เช่น ซอฟียา นาแลปึนสกา-บอยชุก และอีวัน ปาดัลกา ในสายศิลปะกราฟิก, วาซึล แซดเลียร์, ออกซานา เปาแลนกอ และแซร์ฮีย์ กอลอส ในสายออกแบบอุตสาหกรรม และฮรือฮอรีย์ กอมาร์ ในสายจิตรกรรม[3]

การกดขี่[แก้]

หลักการทางอุดมคติและทางศิลปะของคติบอยชุกเข้ากันไม่ได้กับเฟรมเวิร์กหลักของ "ศิลปะโซเวียต" ซึ่งนำไปสู่การกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่โซเวียตว่าเป็นการบิดเบือนภาพของความเป็นจริงในสหภาพโซเวียต ในช่วงเปลี่ยนผ่านของทศวรรษ 1920 กับ 1930 การเขียนภาพในท้องเรื่องชาวไร่ชาวนาตามคติบอยชุกถูกกล่าวหาว่าเป็นการผลิตองค์ประกอบของกระฎุมพี-กูลาก (bourgeois-kulak element), ความเป็นชาตินิยม และฟอร์มัลลิสม์ (formalism)[1]

งานเขียนสาธารณะขนาดใหญ่โตทั้งหมดตามคติบอยชุกถูกทำลายในสมัยโซเวียต คงเหลือเพียงภาพร่างบางส่วนเท่านั้น[3]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Boychukism | Encyclopedy of Modern Ukraine". esu.com.ua. สืบค้นเมื่อ 2020-09-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Mykhailo Boychuk |Encyclopedia of Modern Ukraine". esu.com.ua. สืบค้นเมื่อ 2020-09-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 "BOYCHUKISM. Great style project". Арсенал (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-09-03.