คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะการบริการและการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Faculty of Hospitality and Tourism, Prince of Songkla University
ชื่อย่อบรท. / FHT
สถาปนา19 กันยายน พ.ศ. 2535 (31 ปี) (เริ่มต้นจากโครงการจัดตั้ง)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณบดีรศ.ดร.พรพิษณุ พรหมศิวะพัลลภ
ที่อยู่
เลขที่ 80 หมู่ 1 ถนนวิชิตสงคราม อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
สี███ สีบานเย็น HEX color code: EE268E
เว็บไซต์https://fht.psu.ac.th

คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Faculty of Hospitality and Tourism, Prince of Songkla University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งอยู่ที่วิทยาเขตภูเก็ต โดยสภามหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบให้ดำเนินงานเทียบเท่าคณะ ใช้ชื่อ โครงการจัดตั้งคณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว ในคราวประชุมครั้งที่ 170 (7/2535) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2535

ประวัติ[แก้]

คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดิมคือชื่อ คณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว เป็นคณะที่อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (2535-2539) ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยให้ดำเนินงานเทียบเท่าคณะ ใช้ชื่อ โครงการจัดตั้งคณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว ในคราวประชุมครั้งที่ 170 (7/2535) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2535 โดยได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรม (หลักสูตรนานาชาติ) (Bachelor of Business Administration: Hotel Management) ในปีการศึกษา 2537 มุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในหลักสูตรนานาชาติที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ มีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศในภูมิภาค ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถทำงานในระดับนานาชาติและสามารถได้รับการพัฒนาเป็นผู้บริหารระดับสูงได้

ต่อมาในปีการศึกษา 2544 ได้เปิดหลักสูตรสาขาวิชาวิเทศธุรกิจ (จีน) (International Business: China) ชื่อคณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว ได้เปลี่ยนมาเป็นคณะอุตสาหกรรมบริการ เพื่อให้ครอบคลุมสาขาวิชาใหม่ในสาขาบริการอย่างอื่นนอกจากสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว ในปีการศึกษา 2546 คณะได้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ) (Master of Business Administration in Hospitality and Tourism Management) และในปีเดียวกันได้จัดหลักสูตรร่วมกับ College of Human Environment Science, Oklahoma State University, Still water Oklahoma, USA ในระดับปริญญาเอกสาขา วิชาการจัดการโรงแรม ภัตตาคารและการท่องเที่ยว (Ph.D. in Hotel, Restaurant and Tourism Administration) ต่อมาได้เปิดหลักสูตรจีนศึกษา (Chinese Studies) และไทยศึกษา (Thai Studies) เพิ่มในปี 2547 และ 2548 ตามลำดับ และในปี 2549 ก็ได้แยกสาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว ออกเป็นสาขาการจัดการการบริการ และสาขาการจัดการการท่องเที่ยว และในปี 2550 ได้หยุดรับสมัครนักศึกษาสาขาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2550 ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ให้แยกหน่วยงานออกเป็น 2 คณะ คือ คณะวิเทศศึกษา รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิเทศธุรกิจ : จีน, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา สำหรับคณะอุตสาหกรรมบริการ รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบริการ, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น คณะการบริการและการท่องเที่ยว

ในปัจจุบัน คณะการบริการและการท่องเที่ยว มีหลักสูตรระดับปริญญาตรีจำนวน 3 หลักสูตร คือ BBA in Hospitality Management (International Program) BBA in Tourism Management (International Program) และ BBA in Business Innovation Management (International Program) และระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร MBA in Hospitality and Tourism Management (International Program) และ Ph.D. in Integrated Hospitality and Tourism Management (International Program) โดยหลักสูตร BBA in Hospitality Management และ BBA in Tourism Management ได้รับการรับรองคุณภาพหลักสูตรระดับนานาชาติโดย UNWTO.TEDQUAL และ AUN QA

นอกจากนี้ คณะการบริการและการท่องเที่ยว ยังมีบทบาทสำคัญในสมาคมวิชาการด้านการบริการและการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ เช่น Asia Pacific Council on Hotel, Restaurant, and Institutional Education (APacCHRIE), Asia Pacific Tourism Association (APTA) และ ASEAN Tourism Research Association (ATRA) และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังได้รับการจัดอันดับระดับ Top 150 ของโลก โดย QS University World Rankings by Subject: Hospitality and Leisure Management ในปี 2565 และ 2566

หลักสูตร[แก้]

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาการจัดการการบริการ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (2 ปี)
  • สาขาวิชาการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (3ปี)

สาขาวิชาการจัดการการบริการและการท่องเทึ่ยวแบบบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รศ. ดร. พรพิษณุ พรหมศิวะพัลลภ (พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)

รศ. ดร. ปรารถนา กาลเนาวกุล (พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2562)

ผศ. รอ. นพ. ดร. สุมาส วงศ์สุนพรัตน์ (พ.ศ. 2552)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]