คณะอนุญาโตตุลาการ (วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะอนุญาโตตุลาการแห่งเว็บไซต์วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นคณะผู้เขียน (editor) ที่กำหนดคำวินิจฉัยชี้ขาดซึ่งมีผลผูกมัดในข้อพิพาทระหว่างผู้เขียนอื่นในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[1] จิมมี เวลส์ก่อตั้งคณะอนุญาโตตุลาการขึ้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 โดยเป็นการขยายอำนาจตัดสินใจซึ่งเขาเคยถือในฐานะเจ้าของเว็บไซต์[2][3] คณะอนุญาโตตุลาการทำหน้าที่เสมือนศาลชั้นที่สุดสำหรับข้อพิพาทระหว่างผู้เขียน และได้ตัดสินมาแล้วหลายร้อยคดีตราบจนปัจจุบัน[4] นักวิชาการผู้วิจัยเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทพิจารณาคณะอนุญาโตตุลาการเนื่องจากกิจกรรมของคณะฯ และยังได้รับรายงานในสื่อสาธารณะที่เชื่อมโยงกับคำวินิจฉัยคดีและข้อโต้เถียงที่เกี่ยวกับวิกิพีเดียหลายครั้ง[3][5][6]

ประวัติ[แก้]

เมื่อเดือนตุลาคม 2546 Alex T. Roshuk ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ปรึกษากฎหมายของมูลนิธิวิกิมีเดีย ร่างแบบร่างการไกล่เกลี่ยและการอนุญาโตตุลาการยาว 1,300 คำ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการอภิปรายเรื่องมารยาทบนวิกิพีเดีย แบบร่างนี้วิวัฒนาเป็นคณะกรรมการไกล่เกลี่ยและคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งจิมมี เวลส์ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546[3][7] ต่อมา มโนทัศน์ "คณะอนุญาโตตุลาการ" มีชุมชนอื่นในโครงการที่มูลนิธิวิกิมีเดียดำเนินการรับไปใช้

เมื่อแรกก่อตั้ง คณะอนุญาโตตุลาการประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการ 12 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน[2][8] จนถึงปี 2551 คณะฯ ได้มีคำวินิจฉัยแล้ว 371 คดี โดยมีการแก้ไขตั้งแต่การตักเตือนไปจนถึงการห้าม (ban)[9][10]

ความสนใจและข้อโต้เถียง[แก้]

การศึกษาทางสถิติใน Emory Law Journal ชี้ว่า คณะอนุญาโตตุลาการโดยทั่วไปยึดหลักการเพิกเฉยต่อเนื้อหาข้อพิพาทผู้ใช้และมุ่งให้ความสนใจความประพฤติของผู้ใช้[3] การศึกษาเดียวกันยังพบว่า แม้ทุกคดีจะมีการวินิจฉัยตามความเป็นจริง แต่มีความเชื่อมโยงระหว่างประเภทของความประพฤติที่เกิดขึ้นกับทางแก้และคำวินิจฉัยที่คณะอนุญาโตตุลาการกำหนด

ในปี 2550 อนุญาโตตุลาการคนหนึ่งที่ใช้ชื่อผู้ใช้ Essjay ลาออกจากคณะอนุญาโตตุลาการและคณะฯ พบว่า เขาโกหกเกี่ยวกับวุฒิทางวิชาการและประสบการณ์อาชีพในการสัมภาษณ์กับเดอะนิวยอร์กไทมส์ครั้งหนึ่ง[11][12][13] ในเดือนพฤษภาคม 2552 อนุญาโตตุลาการคนหนึ่งที่ใช้ชื่อผู้ใช้ Sam Blacketer ลาออกจากคณะอนุญาโตตุลาาการหลังทราบว่าเขาปกปิดการแก้ไขในอดีตเพื่อให้ได้รับตำแหน่ง[5]

ในปี 2552 คณะอนุญาโตตุลาการได้รับความสนใจจากสื่อหลังมีคำวินิจฉัยห้าม "เลขที่อยู่ไอพีทั้งหมดซึ่งศาสนจักรไซแอนโทโลจี [Church of Scientology] และที่มีความสัมพันธ์กับศาสนจักรฯ เป็นเจ้าของหรือดำเนินการ ตามการตีความอย่างกว้าง" โดยเป็นส่วนหนึ่งของคดีเกี่ยวกับไซแอนโทโลจีคดีที่สี่[4][14] การกระทำดังกล่าวมี "บรรทัดฐานน้อย"[4] ในประวัติศาสตร์แปดปีของวิกิพีเดียและได้รับรายงานในสำนักข่าวสำคัญหลายแห่ง เช่น เดอะนิวยอร์กไทมส์ เอบีซีนิวส์ และเดอะการ์เดียน[4][14][15]

ในเดือนกรกฎาคม 2555 คณะอนุญาโตตุลาการห้าม Ashley van Haeften ประธาน Wikimedia UK เนื่องจาก "การละเมิดจารีตและนโยบายของวิกิพีเดียหลายครั้ง" ทว่าแม้จะมีการห้ามดังกล่าว คณะกรรมการ Wikimedia UK ยัง "เห็นพ้องต้องกันในมุมมองที่ว่าคำวินิจฉัยนี้ไม่ส่งผลต่อบทบาทของเขาในฐานะผู้จัดการดูแลทรัพย์สินของมูลนิธิ"[16][17][18] ในวันที่ 2 สิงหาคม 2555 van Haeften ลาออกจากตำแหน่งประธาน Wikimedia UK เขาไม่ต้องการอยู่เพื่อให้เกิด "ความแบ่งแยกในชุมชน WMUK ต่อบทบาทของเขาในฐานะประธาน" การลาออกดังกล่าวมีขึ้นหลังมีการเรียกการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่ออภิปรายเหตุการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับการห้ามนี้[19][20]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schiff, Stacy (2006-12-02). "Know-alls". The Age. Fairfax Digital Network. สืบค้นเมื่อ 2009-06-15.
  2. 2.0 2.1 Wales, Jimmy (2003-12-04). "WikiEN-l Wikiquette committee appointments". Wikipedia. Wikimedia Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-17. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Hoffman, David A. (2010). "Wikitruth Through Wikiorder". Emory Law Journal. 59 (2010). SSRN 1354424. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Cohen, Noam (2009-06-07). "The Wars of Words on Wikipedia's Outskirts". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  5. 5.0 5.1 Welham, Jamie (2009-06-08). "Wikipedia sentinel quits after 'sock-puppeting' scandal". The New Zealand Herald. APN Holdings NZ Limited. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  6. Moore, Matthew (2009-05-30). "Church of Scientology members banned from editing Wikipedia". The Daily Telegraph. Telegraph Media Group Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-02. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  7. Roshuk, Alex T. (2008). "Law office of Alex T. Roshuk". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-29. สืบค้นเมื่อ 2009-06-14.
  8. Hyatt, Josh (2006-06-01). "Secrets of Greatness: Great Teams". Fortune. Time Warner. สืบค้นเมื่อ 2009-06-15.
  9. Lamb, Gregory M. (2006-01-05). "Online Wikipedia is not Britannica - but it's close". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 2009-06-15.
  10. Williams, Sam (2004-04-27). "Everyone is an editor". Salon.com. Salon Media Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-21. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  11. Cohen, Noam (2007-03-12). "After False Claim, Wikipedia to Check Degrees". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-06-14.
  12. Hafner, Katie (2006-06-17). "Growing Wikipedia Refines Its 'Anyone Can Edit' Policy". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  13. Cohen, Noam (2007-03-05). "A Contributor to Wikipedia Has His Fictional Side". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  14. 14.0 14.1 Fitzsimmons, Caitlin (2009-05-29). "Wikipedia bans Church of Scientology from editing". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2009-06-14.
  15. Heussner, Ki Mae (2009-05-29). "Wikipedia Blocks Church of Scientology From Editing Entries". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-02. สืบค้นเมื่อ 2009-06-14. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  16. Wikipedia. "Chairman of Wikipedia charity banned after pornography row". Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2012-09-25.
  17. "50 shades of Wikipedia? UK head banned after bondage porn ties". Fox News. สืบค้นเมื่อ 2012-09-25.
  18. "Wikimedia UK board supports chairman banned from editing Wikipedia". Civilsociety.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2012-09-25.
  19. "A message from Jon Davies, Chief Executive of Wikimedia UK | Wikimedia UK Blog". Blog.wikimedia.org.uk. 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ 2012-09-25.
  20. Wikipedia. "Wikipedia charity chairman resigns after pornography row". Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2012-09-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]