คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 46

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีชาติชาย 2
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2533 - 2534
Chatichai Choonhavan 1976.jpg
วันแต่งตั้ง 14 ธันวาคม​ พ.ศ. 2533
วันสิ้นสุด 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.​ 2534
(0 ปี 71 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หัวหน้าคณะรัฐมนตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ
ประวัติ
ก่อนหน้า คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 45
ถัดไป คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 47

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 46 ของไทย (9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)

พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายนามคณะรัฐมนตรี คณะที่ 46 ของไทย[แก้]

วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังรายนามต่อไป[1]

  1. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
  2. นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ รองนายกรัฐมนตรี
  3. นายโกศล ไกรฤกษ์ รองนายกรัฐมนตรี
  4. พลเอกมานะ รัตนโกเศศ รองนายกรัฐมนตรี
  5. พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี
  6. นายสอาด ปิยวรรณ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  7. นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  8. พลเอกหาญ ลีลานนท์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  9. พลตำรวจโทจำรัส มังคลารัตน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  10. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  11. นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  12. พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  13. นายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  14. นายสุชน ชามพูนท รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  15. นายชวลิต ธนะชานันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  16. นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  17. นายจรัส พั้วช่วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  18. นายณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  19. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  20. นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  21. นายวโรทัย ภิญญสาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  22. นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  23. นายประทวน รมยานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  24. นายเจริญ เชาวน์ประยูร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  25. นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  26. นายอมเรศ ศิลาอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  27. นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  28. นายจำนงค์ โพธิสาโร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  29. พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  30. นายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  31. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  32. นายปกิต พัฒนกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  33. นายวัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  34. นายอุทัย พิมพ์ใจชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  35. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
  36. พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  37. นายบุญถึง ผลพานิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  38. นายสกุล ศรีพรหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  39. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  40. นายเด่น โต๊ะมีนา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  41. นายวีรวร สิทธิธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  42. นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  43. นายสมาน ภุมมะกาญจนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  44. นายประยูร สุรนิวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  45. นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

การปรับปรุงคณะรัฐมนตรี[แก้]

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[2]

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 46 ของไทย[แก้]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจาก พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยอ้างสาเหตุเข้ายึดอำนาจ คณะรัฐบาล ตามแถลงการณ์คณะรักษาความเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่อง คำชี้แจงเหตุผลการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่ง)
  3. "แถลงการณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]