คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ก่อตั้ง19 กันยายน พ.ศ. 2549
ยุติ1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(แปรสภาพเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ)
ประเภทคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง
สํานักงานใหญ่กองบัญชาการกองทัพบก
หัวหน้า
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
บุคลากรหลัก

คณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เป็นคณะบุคคล อันประกอบด้วย กลุ่มทหาร ตำรวจ และ พลเรือน ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยไว้ได้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 มีที่ตั้ง ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ที่มาของคณะปฏิรูปการปกครองฯ[แก้]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และ รัฐบุรุษ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายรายงานสถานการณ์ เหตุการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อเวลา 00.19 น. วันพุธที่ 20 กันยายนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคี ของ คนในชาติ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะ ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่เคลือบแคลงสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ อย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระ ถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เกิดปัญหา และ อุปสรรค หลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่เคารพ เทิดทูน ของปวงชนชาวไทย อยู่บ่อยครั้ง แม้หลายภาคส่วนของสังคม จะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์ มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้

คณะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ[แก้]

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะ
  • พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็น หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • พลอากาศเอก ชลิต พุกพาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 1
  • พลเรือเอก สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 2
  • พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็น รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 3
  • พลเอก วินัย ภัทธิยะกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็น เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การจัดส่วนงาน และ การแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ[แก้]

กองบัญชาการ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย 4 ส่วนงาน คือ

  • คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มี หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็น ผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีหน้าที่ดังนี้
    • บริหารราชการแผ่นดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ ประเทศชาติ และ ประชาชน และ ให้เป็นไปตามนโยบาย ที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กำหนด
    • อำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล บริหารงาน ของ กระทรวง ทบวง กรม ในความรับผิดชอบ ให้สามารถสนองตอบ ความต้องการของประชาชน ให้มากที่สุด
  • สำนักเลขาธิการ มี เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็น ผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบ งานธุรการ และ กลั่นกรอง บรรดา แถลงการณ์ คำสั่ง หรือประกาศ หรือ เอกสารอื่นใด ที่ประกาศให้ทราบทั่วไป ก่อนนำเสนอ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • คณะที่ปรึกษา มี ประธานที่ปรึกษา คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็น ผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีหน้าที่ ให้ คำแนะนำปรึกษา ต่อ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใน นโยบายความมั่นคง ด้านต่างๆ ตามที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ร้องขอ หรือ ที่ริเริ่มขึ้นเอง
  • ฝ่ายกิจการพิเศษ มี เลขาธิการฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีหน้าที่ อำนวยการ ประสานงาน ให้เป็นไป ตาม คำสั่ง ของ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สำนักโฆษก[แก้]

มีหน้าที่ เผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้องแก่สื่อมวลชนและประชาชน โดยมีคณะทำงาน รวม 9 นาย ดังต่อไปนี้

    • พลโท พลางกูร กล้าหาญ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร เป็น โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    • พลตรี ทวีป เนตรนิยม เจ้ากรมสารนิเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น รองโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    • พันเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร เป็น รองโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ฝ่ายปฏิบัติการ)
    • พันเอก อัคร ทิพโรจน์ เป็น ผู้ช่วยโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    • พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง เป็น ผู้ช่วยโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    • พันโท ศนิโรจน์ ธรรมยศ เป็น ผู้ช่วยโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    • นาวาโท สุรสันต์ คงสิริ (ร.น.) เป็น ผู้ช่วยโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    • เรือโทหญิง วรศุลี ทองดี (ร.น.) เป็น ผู้ช่วยโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    • ร้อยเอก นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ เป็น คณะทำงานโฆษก คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    • พันเอก ชาญชัย ร่มเย็น เป็น คณะทำงานโฆษก คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

คณะโฆษกทางโทรทัศน์[แก้]

มีหน้าที่ อ่าน แถลงการณ์ คำสั่ง และ ประกาศ ต่างๆ ของ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกอากาศ เป็น รายการพิเศษ ทาง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยมี สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นแม่ข่าย มีรายนามดังต่อไปนี้

คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย[แก้]

ชื่อภาษาอังกฤษ[แก้]

เดิม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy (อักษรย่อ CDRM) ต่อมาได้ตัดคำว่า under Constitutional Monarchy ออก เพื่อไม่ให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความว่า คณะปฏิรูปฯ เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็น Council for Democratic Reform (อักษรย่อ CDR) โดยยังคงใช้ชื่อภาษาไทยตามเดิม [2]

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ[แก้]

หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงแปรสภาพเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดย หัวหน้า คปค. ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภา และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

อ้างอิง[แก้]

  1. "การจัดส่วนงาน และ การแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2006-10-02.
  2. Council for Democratic Reform

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถัดไป
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
(รสช.) (23 กุมภาพันธ์ 2534 - 21 เมษายน 2535)
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(19 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549)
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) (1 ตุลาคม 2549 - 7 กุมภาพันธ์ 2551)