คณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี
คณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี 조선로동당 중앙위원회 | ||
---|---|---|
| ||
![]() ลัญจกรที่ใช้โดยคณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี (ป.1982) | ||
ภาพรวม | ||
รูปแบบ | องค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดเมื่อไม่ได้ประชุมใหญ่ | |
ผู้แต่งตั้ง | การประชุมใหญ่ | |
วาระ | 5 ปี | |
จำกัดวาระ | ไม่จำกัดวาระ | |
ประวัติศาสตร์ | ||
สถาปนา | โดยการประชุมใหญ่ครั้งที่ 1 เมื่อ 30 สิงหาคม 1946 | |
ประชุมครั้งแรก | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1946 | |
โครงสร้าง | ||
เลขาธิการ | คิม จ็อง-อึน, เลขาธิการใหญ่พรรค | |
ฝ่ายบริหาร | กรมการเมือง | |
ฝ่ายธุรการ | สำนักเลขาธิการ | |
ฝ่ายทหาร | คณะกรรมการการทหารกลาง | |
สมาชิก | ||
ทั้งหมด | 139 | |
สมาชิกสำรอง | ||
ทั้งหมด | 111 | |
การเลือกตั้ง | ||
ครั้งล่าสุด | การประชุมใหญ่ครั้งที่ 8 (2021) | |
ที่ประชุม | ||
ศูนย์รัฐบาลเลขที่ 1 เปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ | ||
รัฐธรรมนูญ | ||
ข้อบังคับพรรคแรงงานเกาหลี |
คณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี | |
โชซ็อนกึล | 조선로동당 중앙위원회 |
---|---|
ฮันจา | 朝鮮勞動黨 中央委員會 |
อาร์อาร์ | Joseon Rodongdang Jungang Wiwonhoe |
เอ็มอาร์ | Chosŏn Rodongdang Chungang Wiwŏnhoe |
คณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี เป็นองค์กรสูงสุดระหว่างการประชุมระดับชาติของพรรคแรงงานเกาหลี (WPK) พรรครัฐบาลของประเทศเกาหลีเหนือ ตามข้อบังคับของพรรค คณะกรรมาธิการกลางได้รับการเลือกตั้งโดยการประชุมใหญ่พรรคและการประชุมพรรคสามารถได้รับมอบอำนาจให้ต่ออายุองค์ประกอบสมาชิกได้ ในทางปฏิบัติ คณะกรรมาธิการกลางสามารถปลดและแต่งตั้งสมาชิกใหม่โดยไม่ต้องปรึกษาหารือกับพรรคในวงกว้างในการประชุมเต็มคณะของตนเอง
คณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 1 ได้รับการเลือกตั้งในการประชุมใหญ่พรรคแรงงานเกาหลีครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 1946 ประกอบด้วยสมาชิก 43 คน จำนวนสมาชิกคณะกรรมาธิการกลางได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา โดยในการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 7 ใน ค.ศ. 2017 ได้เลือกตั้งสมาชิก 235 คน สมาชิกที่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียง ปัจจุบันเรียกว่าสมาชิกสำรอง ถูกนำมาใช้ในการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 2
คณะกรรมาธิการกลางมีการประชุมเต็มคณะ ("การประชุม") อย่างน้อยปีละครั้ง และทำหน้าที่เป็นเวทีระดับสูงสำหรับการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการตามหลักการของระบบอุดมการณ์เอกานุภาพและทฤษฎีผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ บทบาทของคณะกรรมาธิการกลางมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดประวัติศาสตร์ ในช่วงแรกเริ่มจนถึงอุบัติการณ์ฝ่ายสิงหาคม คณะกรรมาธิการกลางเป็นเวทีที่ฝ่ายต่าง ๆ แข่งขันกัน หลังจากนั้น โดยทั่วไปแล้วคณะกรรมาธิการกลางใช้อำนาจผ่านกระบวนการที่เป็นทางการซึ่งกำหนดไว้ในข้อบังคับพรรค อย่างไรก็ตาม ความสามารถที่แท้จริงในการส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ของการตัดสินใจเกี่ยวกับบุคลากรระดับชาติไม่มีอยู่จริง เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วหน้าที่นั้นถูกดำเนินโดยตระกูลคิมและกรมการเมือง กระนั้น การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมาธิการกลางทำหน้าที่เป็นสถานที่ซึ่งมีการดำเนินตามนโยบายอย่างเป็นทางการ และมีการประกาศต่อสาธารณะ การตัดสินใจจะถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะในรูปแบบของ "ข้อมติ" หรือ "การตัดสินใจ"
ประวัติศาสตร์
[แก้]คณะกรรมาธิการกลางก่อตั้งขึ้นในการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 1 เมื่อมีการเลือกองค์ประกอบชุดแรก[1] ประกอบด้วยสมาชิก 43 คนและได้ขยายจำนวนขึ้นในการประชุมใหญ่ทุกครั้ง[1] ตั้งแต่ ค.ศ. 1948 ถึง 1961 มีการประชุมเฉลี่ย 2.4 ครั้งต่อปี[2] เป็นอัตราใกล้เคียงกับคณะกรรมาธิการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต[2] การประชุมที่จัดขึ้นในช่วงเวลานี้มักใช้เวลาไม่เกินหนึ่งวัน[2] อำนาจของคณะกรรมาธิการกลางไม่ได้อยู่ที่ความถี่ (หรือระยะเวลา) ในการประชุม แต่อยู่ที่กลไกการทำงานของมัน[2] กลไกนี้ถูกควบคุมโดยกรมการเมืองมากกว่าคณะกรรมาธิการกลาง และเป็นรัฐบาลโดยนิตินัยของเกาหลีเหนือภายใต้การนำของคิม อิล-ซ็อง[2] คณะกรรมาธิการกลางไม่ได้มีการประชุมเต็มคณะระหว่าง ค.ศ. 1993 ถึง 2010[3]
มีช่วงเวลาถึง 37 ปีระหว่างการประชุมใหญ่ครั้งที่ 6 และครั้งที่ 7 คณะกรรมาธิการกลางและกลไกของพรรคอ่อนแอลงอย่างมากภายใต้การนำของคิม จ็อง-อิล โดยมีตำแหน่งหลายตำแหน่งที่ยังคงว่างอยู่[4] ตั้งแต่ ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา เขาเริ่มดำเนินการหลายอย่างเพื่อฟื้นฟูพรรค โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อาวุโสเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ ๆ พัก นัม-กีได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากรมวางแผนและการเงิน และชัง ซ็อง-แท็กได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากรมบริหาร ชังซึ่งดูแลเรื่องความมั่นคงทั้งหมด ได้รับการฟื้นฟูหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะหัวหน้ากรมองค์การและชี้นำโดยอ้อม[5] การประชุมผู้แทนพรรคครั้งที่ 3 (จัดขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010) ได้ปรับองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการกลางใหม่ อย่างไรก็ตาม อำนาจการกำหนดวาระใหม่ของคณะกรรมาธิการกลางนั้นเป็นของการประชุมใหญ่พรรค[6]
กฎระเบียบ
[แก้]การเลือกตั้งและกระบวนการแต่งตั้ง
[แก้]ข้อบังคับของพรรคระบุว่าขนาดของคณะกรรมาธิการกลางจะถูกกำหนดโดยคณะผู้บริหารสูงสุดประจำการประชุมใหญ่พรรค การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมาธิการกลางมีอำนาจปรับเปลี่ยนตำแหน่งของตนได้หาก "จำเป็น" ผู้สมัครสามารถได้รับการเสนอชื่อโดยคณะกรรมาธิการพรรคประจำจังหวัดต่าง ๆ แต่คณะกรรมาธิการกลางผ่านกรมการองค์การและชี้นำมีอำนาจตัดสินใจขั้นสุดท้าย[7]
การประชุมเต็มคณะ
[แก้]ในระหว่างที่ไม่มีการประชุมใหญ่พรรคและการประชุมอื่น ๆ คณะกรรมาธิการกลางถือเป็นองค์กรสูงสุดของพรรคแรงงานเกาหลี[8] ไม่ได้เป็นองค์กรถาวร และตามข้อบังคับของพรรคแรงงานเกาหลี จะต้องจัดการประชุมอย่างน้อยปีละครั้ง[8][9] กรมการเมืองเป็นผู้เรียกประชุมเต็มคณะของคณะกรรมาธิการกลาง[8] การประชุมเต็มคณะตามข้อบังคับของพรรคแรงงานเกาหลี มีหน้าที่หารือและตัดสินใจ "ประเด็นสำคัญของพรรค" และมีอำนาจในการเลือกตั้งกรมการเมืองและคณะผู้บริหารสูงสุด สำนักนโยบายบริหาร คณะกรรมการการทหารกลาง[8] คณะกรรมการควบคุม รองประธานพรรคแรงงานเกาหลี หัวหน้ากรมต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการกลางและตำแหน่งระดับจังหวัดที่ต่ำกว่า[10] ในอดีตเคยมีอำนาจในการเลือกตั้งผู้นำพรรค[8] สามารถเลื่อนตำแหน่งสมาชิกสำรองที่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงให้เป็นสมาชิกเต็มตัวและแต่งตั้งสมาชิกใหม่ที่มีสิทธิ์ออกเสียงและไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในคณะกรรมาธิการกลางได้ในการประชุมเต็มคณะ[10]
หน่วยงานตัดสินใจหลัก
[แก้]กรมการเมือง
[แก้]กรมการเมือง เดิมชื่อคณะกรรมาธิการการเมือง เคยเป็นองค์กรตัดสินใจของพรรคแรงงานเกาหลีจนกระทั่งมีการจัดตั้งคณะผู้บริหารสูงสุด[11][12] กรมการเมืองประกอบด้วยสมาชิกเต็มเต็มตัว (มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง) และสมาชิกผู้สมัคร (ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง) และเป็นองค์กรตัดสินใจสูงสุดของพรรคแรงงานเกาหลีเมื่อมีการประชุม[13] ก่อนการประชุมครั้งที่ 3 กรมการเมืองได้รับเลือกตั้งโดยคณะกรรมาธิการกลางทันทีหลังการประชุมใหญ่[13] แม้ข้อบังคับของพรรคจะระบุว่ากรมการเมืองควรประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง แต่ก็มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง[13] สมาชิกกรมการเมืองอาจดำรงตำแหน่งควบคู่กันในคณะกรรมการของพรรคหรือของรัฐบาล หรือในกลไกของคณะกรรมาธิการกลางได้[13]
หลักฐานบ่งชี้ว่ากรมการเมืองทำหน้าที่คล้ายคลึงกับกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตภายใต้การนำของสตาลิน โดยสมาชิกกรมการเมืองทำหน้าที่เป็นเสมือนเจ้าหน้าที่ส่วนตัวของผู้นำพรรคมากกว่าจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย[13] ซึ่งไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป ก่อนคิม อิล-ซ็องจะกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามในพรรค กรมการเมืองเคยเป็นองค์กรตัดสินใจที่สามารถอภิปรายความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับนโยบายได้[13] นับตั้งแต่การรวบรวมอำนาจของคิม อิล-ซ็อง กรมการเมืองกลายเป็นเพียงองค์กรตรายาง สมาชิกคนสำคัญหายตัวไปโดยไม่มีคำอธิบาย กรณีล่าสุดคือคิม ดง-กยู ที่หายตัวไปใน ค.ศ. 1977[14] สมาชิกกรมการเมืองภายใต้คิม อิล-ซ็องและคิม จ็อง-อิลขาดฐานอำนาจที่แข็งแกร่งและต้องพึ่งพาผู้นำพรรคสำหรับตำแหน่งของตน[14]
คณะผู้บริหารสูงสุด
[แก้]คณะผู้บริหารสูงสุดก่อตั้งขึ้นในการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 6 ใน ค.ศ. 1980 และเป็นองค์กรตัดสินใจสูงสุดภายในพรรคแรงงานเกาหลีในยามกรมการเมืองและคณะกรรมาธิการกลางไม่ได้อยู่ในสมัยประชุม[12] เมื่อโอ จิน-อูเสียชีวิตใน ค.ศ. 1995 คิม จ็อง-อิลจึงยังคงเป็นสมาชิกคณะผู้บริหารสูงสุดเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยสมาชิกอีกสี่คน (คิม อิล-ซ็อง, คิม อิล, โอ จิน-อู, และรี จ็อง-อก) เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง[15] ระหว่างการเสียชีวิตของโอ จิน-อูจนถึงการประชุมพรรคครั้งที่ 3 ไม่มีรายงานใดบ่งชี้ว่าคิม จ็อง-อิลหรือผู้นำพรรคส่วนกลางวางแผนจะเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะผู้บริหารสูงสุด[16] สเตฟาน แฮกการ์ด, ลุก เฮอร์แมน และแจซ็อง รยู ซึ่งเขียนบทความให้แก่ Asian Survey ใน ค.ศ. 2014 โต้แย้งว่าคณะผู้บริหารสูงสุด "ไม่ใช่สถาบันที่ทำหน้าที่ได้อย่างชัดเจน"[17]
สำนักเลขาธิการ
[แก้]สำนักเลขาธิการ ในรูปแบบปัจจุบันนั้น ก่อตั้งขึ้นในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 8 อย่างไรก็ตาม ประวัติของสำนักเลขาธิการสามารถย้อนไปได้ถึงการก่อตั้งสำนักเลขาธิการในการประชุมพรรคครั้งที่ 2 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1966[18] โดยมีบทบาทคล้ายกับสำนักเลขาธิการของสหภาพโซเวียตในสมัยสตาลิน[18] เลขาธิการใหญ่พรรคแรงงานเกาหลีเป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการ และสมาชิกคนอื่น ๆ มีตำแหน่งเป็น "เลขาธิการคณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี" องค์กรนี้มีหน้าที่รับผิดชอบการกำกับดูแลและนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติรวมถึงกำกับดูแลองค์กรต่าง ๆ ของพรรค[18]
คณะกรรมการการทหารกลาง
[แก้]คณะกรรมการการทหารกลางถูกจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1962 โดยการมติการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 5 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 4[19] การแก้ไขข้อบังคับพรรคแรงงานเกาหลีใน ค.ศ. 1982 เชื่อกันว่าทำให้คณะกรรมการการทหารกลางมีสถานะเท่าเทียมกับคณะกรรมาธิการกลาง ทำให้สามารถ (เหนือสิ่งอื่นใด) เลือกผู้นำพรรคแรงงานเกาหลีได้[20] อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์บางคนเชื่อว่าในการประชุมครั้งที่ 3 คณะกรรมการการทหารกลางกลับมาอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการกลางอีกครั้ง[21] ตามมาตรา 27 ของข้อบังคับพรรคแรงงานเกาหลี คณะกรรมการการทหารกลางเป็นองค์กรพรรคสูงสุดในกิจการทางทหารและเป็นผู้นำกองทัพประชาชนเกาหลี มีหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์และนโยบายการจัดหาของกองทัพ[19] เลขาธิการใหญ่พรรคแรงงานเกาหลีเป็นประธานคณะกรรมการการทหารกลางโดยตำแหน่ง[22][แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
คณะกรรมการควบคุม
[แก้]คณะกรรมการควบคุม เดิมชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ ได้รับเลือกตั้งโดยการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 1 ของคณะกรรมาธิการกลางหลังเสร็จสิ้นการประชุมใหญ่พรรค[23][แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ] มีหน้าที่กำกับดูแลการเป็นสมาชิกพรรคและแก้ไขปัญหาทางวินัยที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกพรรค เรื่องที่สอบสวนมีตั้งแต่การทุจริตไปจนถึงกิจกรรมต่อต้านพรรคและการปฏิวัติ โดยทั่วไปแล้วจะครอบคลุมการละเมิดกฎของพรรคทั้งหมด[23] องค์กรพรรคระดับล่าง (เช่น ระดับจังหวัดหรือเทศมณฑล) และสมาชิกแต่ละคนสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการนี้ได้โดยตรง[23] คณะกรรมการควบคุมถูกยุบไปในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2021 และหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ได้ถูกโอนไปยังคณะกรรมการตรวจสอบกลางแทน[24]
ความรับผิดชอบด้านการบริหาร
[แก้]กรม
[แก้]แม้ในสมัยการปกครองของคิม จ็อง-อิล กลไกของคณะกรรมาธิการกลางจะได้รับการปรับโครงสร้างหลายครั้ง แต่บางกรม (ส่วนใหญ่เป็นกรมที่รับผิดชอบกิจการภายในและงานองค์กรของพรรค ได้แก่ กรมองค์การและชี้นำ กรมโฆษณาชวนเชื่อและการปลุกปั่น และกรมแกนนำ) ยังคงไม่ถูกแตะต้องมากนัก[25][26] ตรงกันข้าม กรมที่รับผิดชอบการกำกับดูแลเศรษฐกิจหรือกิจการเกาหลีใต้ (เช่น กรมธุรการ ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 2006 หลังเคยเป็นส่วนหนึ่งของกรมองค์การและชี้นำตั้งแต่ทศวรรษ 1990) มักได้รับการปรับปรุงบ่อยครั้ง[27] แม้กรมแนวร่วมจะประสบกับความผันผวนในสมัยการปกครองของคิม จ็อง-อิล แต่ใน ค.ศ. 2006–2007 กรมนี้กลับกลายเป็นศูนย์กลางของการกวาดล้าง[27]
กรมการวางแผนเศรษฐกิจและกรมนโยบายเกษตรถูกยุบเลิกใน ค.ศ. 2002–2003 เพื่อเสริมสร้างการควบคุมเศรษฐกิจของคณะรัฐมนตรีให้แข็งแกร่งขึ้น[27] มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมใน ค.ศ. 2009 โดยมีการจัดตั้งกรมนโยบายอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมเบาขึ้น สำนักงาน 38 ถูกรวมเข้ากับสำนักงาน 39 (และต่อมาถูกจัดตั้งขึ้นใหม่) กรมประสานงานภายนอกถูกย้ายจากการควบคุมของพรรคแรงงานเกาหลีไปอยู่ภายใต้คณะรัฐมนตรี ขณะที่สำนักงาน 35 (หรือที่รู้จักในชื่อกรมสอบสวนและข่าวกรองภายนอก) และกรมปฏิบัติการถูกย้ายจากการควบคุมของพรรคแรงงานเกาหลีไปยังสำนักข่าวกรองทั่วไป[27]
ใน ค.ศ. 2010 เกาหลีเหนือเปลี่ยนชื่อกรมอุตสาหกรรมยุทโธปกรณ์เป็น "กรมอุตสาหกรรมจักรกล" เพื่อเลี่ยงการคว่ำบาตรที่มุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และเปลี่ยนกลับไปใช้ชื่อเดิมใน ค.ศ. 2017[28]
เมื่อถึงการประชุมครั้งที่ 3 เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้สังเกตการณ์ต่างชาติว่าหัวหน้ากรมบางคน (เช่น ช็อง พย็อง-โฮ, คิม กุก-แท และอี ฮา-อิล) ได้เกษียณอายุไปแล้ว[27]
มีการจัดตั้งกรมกิจการกฎหมายขึ้นใหม่ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020 และการประชุมใหญ่ครั้งที่ 8 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 เปิดเผยให้เห็นถึงการมีอยู่ของสำนักงานนโยบายเศรษฐกิจ[29] ในระหว่างการประชุมใหญ่ครั้งที่ 8 มีการจัดตั้งกรมสอบวินัยขึ้นด้วย
โรดงชินมุน
[แก้]โรดงชินมุน เป็นกระบอกเสียงของคณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลีและทำหน้าที่เป็นปากเสียงอย่างเป็นทางการของพรรค[36] หน้าที่ของหนังสือพิมพ์นี้คือ "บรรลุการเปลี่ยนแปลงปฏิวัติของสังคมและประชาชนตามที่อุดมการณ์ปฏิวัติและแนวคิดชูเชของท่านผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ต้องการ เพื่อรวมพรรคและประชาชนทั้งหมดไว้รอบตัวคิม จ็อง-อิลอย่างแน่นแฟ้น และต่อสู้เพื่อรักษาความเป็นเอกภาพทางการเมืองและอุดมการณ์ของพรรค"[36] บรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์ได้รับแต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการกลางในการประชุมเต็มคณะ[37]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Suh 1988, p. 350.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Lankov 2007, p. 66.
- ↑ Gause 2013, p. 20.
- ↑ Gause 2013, pp. 24–25.
- ↑ Gause 2013, p. 27.
- ↑ "WPK Conference Held". NK News. 28 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2014. สืบค้นเมื่อ 12 March 2014.
- ↑ 4th Conference of Representatives of the Workers' Party of Korea 2010, p. 9.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "The Central Committee". North Korean Leadership Watch. สืบค้นเมื่อ 13 October 2017.
- ↑ Staff writer 2014, p. 64.
- ↑ 10.0 10.1 "2nd Plenary Session of the 7th WPK Central Committee Held". North Korean Leadership Watch. สืบค้นเมื่อ 13 October 2017.
- ↑ Buzo 1999, p. 30.
- ↑ 12.0 12.1 Kim 1982, p. 140.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 Buzo 1999, p. 31.
- ↑ 14.0 14.1 Buzo 1999, p. 32.
- ↑ Kim 2000, p. 257.
- ↑ Kim 2000, pp. 257–258.
- ↑ Haggard, Herman & Ryu 2014, p. 779.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Buzo 1999, p. 34.
- ↑ 19.0 19.1 Gause 2011, pp. 226–227.
- ↑ Gause 2013, p. 43.
- ↑ Gause 2013, p. 44.
- ↑ "4th Party Conference To Convene in "mid-April"". North Korea Leadership Watch. 2 February 2012. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 "Central Control Commission". North Korea Leadership Watch. 21 August 2010. สืบค้นเมื่อ 12 March 2014.
- ↑ "Newstream".
- ↑ Gause 2013, p. 35.
- ↑ Gause 2013, p. 36.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 Gause 2013, p. 37.
- ↑ "COUNCIL IMPLEMENTING REGULATION (EU) 2022/658 of 21 April 2022".
- ↑ Weiser, Martin (8 January 2021). "Mystery man: Kim Hyong Sik's rise to head of the DPRK's new judicial department". NK Pro. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
- ↑ 30.00 30.01 30.02 30.03 30.04 30.05 30.06 30.07 30.08 30.09 30.10 30.11 30.12 30.13 30.14 30.15 30.16 30.17 30.18 Weiser, Martin (12 January 2021). "Full recap: North Korea reshuffles key leadership roles at Eighth Party Congress". NK Pro. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
- ↑ Weiser, Martin (12 January 2021). "Full recap: North Korea reshuffles key leadership roles at Eighth Party Congress". NK Pro. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
- ↑ Koh, Byung-joon (12 February 2021). "N. Korean Foreign Minister Ri named politburo member". Yonhap News Agency. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
- ↑ "Thae Jong Su (T'ae Cho'ng-su)". North Korea Leadership Watch. 24 February 2018. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
- ↑ Colin Zwirko (2021-09-06). "North Korea reveals new top military brass days after politburo meeting". NK News. สืบค้นเมื่อ 2023-06-27.
- ↑ Weiser, Martin (31 March 2021). "Mystery man: Kim Hyong Sik's rise to head of the DPRK's new judicial department". NK Pro. สืบค้นเมื่อ 19 October 2017.
- ↑ 36.0 36.1 Staff writer 2014, p. 337.
- ↑ Madden, Michael (8 October 2017). "2nd Plenary Session of the 7th WPK Central Committee Held". North Korea Leadership Watch. สืบค้นเมื่อ 19 October 2017.
บรรณานุกรม
[แก้]- บันทึกวารสาร
- Haggard, Stephen; Herman, Luke; Ryu, Jaesung (July–August 2014). "Political Change in North Korea: Mapping the Succession". Asian Survey. University of California Press. 54 (4): 773–780. doi:10.1525/as.2014.54.4.773. JSTOR 10.1525/as.2014.54.4.773.
- Kim, Nam-Sik (Spring–Summer 1982). "North Korea's Power Structure and Foreign Relations: an Analysis of the Sixth Congress of the KWP". The Journal of East Asian Affairs. Institute for National Security Strategy. 2 (1): 125–151. JSTOR 23253510.
- หนังสือ
- Buzo, Adrian (1999). The Guerilla Dynasty: Politics and Leadership in North Korea. I.B. Tauris. ISBN 1860644147.
- Gause, Ken E. (2011). North Korea Under Kim Chong-il: Power, Politics, and Prospects for Change. ABC-CLIO. ISBN 978-0313381751.
- — (2013). "The Role and Influence of the Party Apparatus". ใน Park, Kyung-ae; Snyder, Scott (บ.ก.). North Korea in Transition: Politics, Economy, and Society. Rowman & Littlefield. pp. 19–46. ISBN 978-1442218123.
- Kim, Samuel (2000). "North Korean Informal Politics". Informal Politics in East Asia. Cambridge University Press. ISBN 0521645387.
- Lankov, Andrei (2007). Crisis in North Korea: The Failure of De-Stalinization, 1956. University of Hawaii Press. ISBN 978-0824832070.
- Suh, Dae-sook (1988). Kim Il Sung: The North Korean Leader (1st ed.). Columbia University Press. ISBN 0231065736.
- Staff writer (2014) [2012]. Understanding North Korea. Ministry of Unification.
- 4th Conference of Representatives of the Workers' Party of Korea (2010). Charter of the Workers' Party of Korea (PDF). Workers' Party of Korea.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โรดงชินมุน - หนังสือพิมพ์อย่างเป็นทางการของคณะกรรมาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี