คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่โลกบ่งบอกการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ความทรงจำและสิทธิมนุษยชน กรุงซันเตียโก ประเทศชิลี

คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง (อังกฤษ: truth and reconciliation commission) หรือ คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง (อังกฤษ: truth commission) เป็นคณะกรรมการซึ่งรัฐที่ตั้งตัวหลังจากความไม่สงบ สงครามกลางเมือง หรือระบอบเผด็จการ มักตั้งขึ้นให้มีหน้าที่ค้นหาและเปิดเผยการกระทำมิชอบของรัฐบาลในอดีต รวมตลอดถึงของเอกชนด้วยสุดแล้วแต่พฤติการณ์ ด้วยหมายจะให้คลี่คลายความขัดแย้งที่สั่งสมมาแต่อดีตนั้น คณะกรรมการทำนองนี้มีชื่อแตกต่างกันไป คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองที่ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา กับอัครมุขนายกเดสมอนด์ ทูตู ตั้งขึ้นหลังจากกระแสถือผิวนั้นมีชื่อและนับถือกันเป็นที่สุดว่าเป็นแม่แบบแห่งคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง

บทบาทและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการเหล่านั้นย่อมต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาณัติที่ได้รับ ซึ่งโดยมากแล้วเป็นอาณัติแผ่นดินให้นำตัวผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในอดีตมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คณะกรรมการอาจจัดทำรายงานรัฐบาลระบุข้อพิสูจน์หักล้างการแก้ประวัติศาสตร์ที่กระทำขึ้นในระบบก่อการร้ายของรัฐ ตลอดจนข้อพิสูจน์ความผิดอาญาอย่างอื่นและการใช้สิทธิมนุษยชนไปในทางมิชอบ แต่บางทีก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า ยินยอมให้ผู้กระทำความผิดลอยนวล ซ้ำยังสร้างความคุ้มกันให้แก่บรรดาผู้ใช้สิทธิมนุษยชนไปในทางมิชอบ เช่น ในกรณีประเทศอาร์เจนตินาหลังปี 2526 และประเทศชิลีหลังปี 2533 ที่ปล่อยผู้ใช้สิทธิมนุษยชนไปในทางมิชอบไปเสียเพราะคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงถูกเหล่าผู้มีอำนาจในฝ่ายทหารขู่ว่าจะยึดอำนาจเพื่อต่อต้านประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะเหล่าทหารที่ยึดอำนาจมักคืนการปกครองให้แก่รัฐบาลพลเรือนโดยแลกกับความคุ้มกันมิให้ต้องถูกลงโทษจากการกระทำทั้งปวงในอดีต มีตัวอย่างในกฎหมาย "ตัดตอน" (Full Stop) ของประเทศอาร์เจนตินาที่ห้ามดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานในคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง อันเป็นความคุ้มกันที่รัฐบาลพลเรือนจัดใส่พานให้ไว้ตามกฎหมาย

ในสังคมที่มีการถ่ายโอนอำนาจ ประเด็นซึ่งยากจะแก้ไขประการหนึ่งในเรื่องบทบาทของคณะกรรมการนั้นอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการกับการดำเนินคดีอาญา[1]

รายชื่อคณะกรรมการ[แก้]

เกาหลีใต้[แก้]

แคนาดา[แก้]

ชิลี[แก้]

ศรีลังกา[แก้]

สหรัฐอเมริกา[แก้]

อาร์เจนตินา[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. See Lyal S. Sunga "Ten Principles for Reconciling Truth Commissions and Criminal Prosecutions", in The Legal Regime of the ICC (Brill) (2009) 1075-1108.
  2. "Truth and Reconciliation Commission, Republic of Korea". 14 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2012-06-14.
  3. "President Releases LLRC Report To Parliament, The UN And Public". The Sunday Leader. 18 December 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 29 December 2011.