คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
ก่อตั้ง23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
ยุติ21 เมษายน พ.ศ. 2535[1]
ประเภทคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง
หัวหน้า
พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
บุคลากรหลัก
พลเอก สุจินดา คราประยูร (รองหัวหน้า)
พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ (รองหัวหน้า)
พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล (รองหัวหน้า)
พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ (รองหัวหน้า)
พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี (เลขาธิการ)

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council - NPKC) เป็นคณะนายทหารที่ก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก และ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ

คณะ รสช. ให้เหตุผลในการยึดอำนาจว่า[2]

  1. พฤติการณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวง รัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นรัฐบาล บุฟเฟ่ต์คาบิเนต ร่ำรวยผิดปกติ
  2. ข้าราชการการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต
  3. รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา
  4. การทำลายสถาบันทางทหาร
  5. การบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อขจัดภยันตรายที่มีต่อประเทศชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากรัฐบาลละเลยคดีลอบสังหารเชื้อพระวงศ์ โดยอ้างอิงคำสารภาพของ พันเอก บุลศักดิ์ โพธิเจริญ ส.ส. พรรคพลังธรรม จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งให้การซัดทอด พลตรีมนูญ รูปขจร (พลตรีมนูญกฤต รูปขจร)

ผู้บริหาร[แก้]

ภายหลังการยึดอำนาจ คณะ รสช. ได้แต่งตั้งให้บุคคล ดังนี้[3][4]

ตำแหน่ง ชื่อ ตำแหน่งทางทหาร
หัวหน้า พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
รองหัวหน้า พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก
รองหัวหน้า พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
รองหัวหน้า พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ
รองหัวหน้า พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ
เลขาธิการ พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก
โฆษก พันเอก ประพาศ ศกุนตนาค โฆษกคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ[5][แก้]

  1. พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ประธานกรรมการ
  2. พลเอก สุจินดา คราประยูร รองประธานกรรมการ
  3. พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ รองประธานกรรมการ
  4. พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล รองประธานกรรมการ
  5. พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองประธานกรรมการ
  6. พลเอก อรุณ ปริวัติธรรม
  7. พลเอก วิมล วงศ์วานิช
  8. พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท
  9. พลเรือเอก วิเชษฐ การุณยวนิช
  10. พลเรือเอก สมพงษ์ กมลงาม
  11. พลอากาศเอก สุเทพ เทพรักษ์
  12. พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ
  13. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
  14. เจริญจิตต์ ณ สงขลา
  15. พลอากาศเอก พิศิษฐ์ ศาลิคุปต์

คณะกรรมการที่ปรึกษา[แก้]

  1. บุญชนะ อัตถากร ประธานที่ปรึกษา
  2. ประภาศน์ อวยชัย รองประธานที่ปรึกษา
  3. พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รองประธานที่ปรึกษา
  4. พลเอก ชัชชม กันหลง ด้านการทหาร
  5. พลเอก บรรจบ บุนนาค ด้านการทหาร
  6. พลเรือเอก ชาติ ดิษฐบรรจง ด้านการทหาร
  7. พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ด้านการทหาร
  8. อุกฤษ มงคลนาวิน ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
  9. อาสา สารสิน ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
  10. มีชัย ฤชุพันธุ์ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
  11. โกเมน ภัทรภิรมย์ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
  12. ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ
  13. อมเรศ ศิลาอ่อน ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
  14. วีรพงษ์ รามางกูร ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
  15. ชวลิต ธนะชานันท์ ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
  16. อานันท์ ปันยารชุน ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
  17. พารณ อิศรเสนา ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
  18. สุธี สิงห์เสน่ห์ ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
  19. พลตำรวจเอก เภา สารสิน ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
  20. เกษม จาติกวณิช ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
  21. เสนาะ อูนากูล ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
  22. สมชัย วุฑฒิปรีชา ด้านสังคมจิตวิทยา
  23. พิชัย วาศนาส่ง ด้านสังคมจิตวิทยา
  24. ไพโรจน์ นิงสานนท์ ด้านสังคมจิตวิทยา
  25. นิเชต สุนทรพิทักษ์ ด้านสังคมจิตวิทยา
  26. สุวรรณ จันทร์สม ด้านสังคมจิตวิทยา
  27. อุทัย สุดสุข ด้านสังคมจิตวิทยา
  28. โกวิท วรพิพัฒน์ ด้านสังคมจิตวิทยา
  29. อาณัติ อาภาภิรม ด้านเทคโนโลยี
  30. สง่า สรรพศรี ด้านเทคโนโลยี
  31. วีระ ปิตรชาติ ด้านเทคโนโลยี
  32. ไพบูลย์ ลิมปพยอม ด้านเทคโนโลยี
  33. สุวิช ฟูตระกูล ด้านเทคโนโลยี
  34. สถาพร กวิตานนท์ ด้านเทคโนโลยี
  35. บดี จุณณานนท์ ด้านเศรษฐกิจและการคลัง (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  36. สมภพ โหตระกิตย์ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  37. ประเสริฐ นาสกุล ด้านการเมืองและการต่างประเทศ (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  38. ชัยเชต สุนทรพิพิธ ด้านการเมืองและการต่างประเทศ (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  39. อำนวย วีรวรรณ ด้านเศรษฐกิจและการคลัง (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  40. จรัส สุวรรณเวลา ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  41. สุธรรม อารีกุล ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  42. เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  43. ณัฐ ภมรประวัติ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  44. ชูศักดิ์ ศิรินิล ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  45. ชาตรี เมืองนาโพธิ์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  46. เอี่ยม ฉายางาม ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  47. ชนะ กสิภาร์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  48. โกศล เพ็ชรสุวรรณ์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  49. ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  50. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)
  51. ไขศรี ศรีอรุณ ด้านสังคมจิตวิทยา (แต่งตั้งเพิ่มเติม)

คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน[แก้]

คณะ รสช. ได้ออกคำสั่งคณะ รสช. ฉบับที่ 26 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) มีพลเอกสิทธิ จิรโรจน์ เป็นประธาน ทำการอายัติและตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จำนวน 23 คน ผลการตรวจสอบทรัพย์สิน สรุปให้ยึดทรัพย์ของอดีตรัฐมนตรีจำนวน 10 คน

ในเวลาต่อมา ผู้ถูกยึดทรัพย์ได้ฟ้องคดีต่อศาลว่า คำสั่งของ รสช. และ คตส. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีคำพิพากษาในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2536 ว่าคำสั่งดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และให้เพิกถอนคำสั่งการยึดทรัพย์ [6]

รายนามคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน[แก้]

  1. พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ ประธานกรรมการ
  2. สุธี อากาศฤกษ์ รองประธานกรรมการ
  3. มงคล เปาอินทร์
  4. ไพศาล กุมาลย์วิสัย
  5. สุชาติ ไตรประสิทธิ์
  6. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
  7. อำนวย วงศ์วิเชียร
  8. พลเอก เหรียญ ดิษฐบรรจง
  9. ชัยเชต สุนทรพิพิธ กรรมการและเลขานุการ

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้แปรสภาพ เป็นสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[แก้]

สภาฯ ตั้งขึ้นหลังประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ตามมาตรา 18 ให้มีสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นกรรมการ ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ อาจแต่งตั้งกรรมการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินสิบห้าคน ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติคนหนึ่งซึ่งสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติแต่งตั้งเป็นรองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และให้เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นเลขาธิการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ให้สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติแต่งตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือไม่ได้เป็นกรรมการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เป็นรองเลขาธิการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติคนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้ ในกรณีที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำหน้าที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และในกรณีที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และรองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

อำนาจหน้าที่[แก้]

มีอำนาจหน้าที่ร่วมกับคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีจะแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเสนอแนะหรือให้ความคิดเห็นในเรื่องใดๆ ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่คณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดิน และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญการปกครองนี้ ในการประชุมร่วมกันของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองนี้ ให้ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม

รายนามประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[แก้]

  1. พลเอก สุนทร คงสมพงษ์

สิ้นสุด[แก้]

สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ตาม มาตรา 216 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2535
  2. "แถลงการณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
  3. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญให้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ)
  4. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญให้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เพิ่มเติม)
  5. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
  6. คอลัมน์ กรองข่าวก้นตะกร้า, หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 24/9/48
  7. "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2534 (มาตรา 216)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-07. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]


ก่อนหน้า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ถัดไป
คณะปฏิวัติ
(พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่) (20 ตุลาคม 2520)
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
(23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 - 21 เมษายน พ.ศ. 2535)
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(คปค.)